เศรษฐกิจที่ยั่งยืน (sustainable economy)มีลักษณะดังนี้
1
มีการลงทุนที่สมดุล
บริหารการลงทุนให้สมดุลระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง
2
มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น
3
โมเดลเศรษฐกิจที่ทำาให้เชื่อมั่นทั้งระยะสั้น
และระยะยาว
4
ธุรกิจให้ผลผลิตมากขึ้นด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง
5
ผลผลิตต่างๆ
ต้องเป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภค
6
ต้องมีความรับผิดชอบต่อการใช้จ่ายต่างๆ
ซึ่งตรวจสอบได้
ส่วน เศรษฐกิจพอเพียง
Self-Sufficient Economyหมายถึง
เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเองสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างไม่เดือดร้อนคือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท
โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน
การตัดสินใจและการกระทำซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นตัวการที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
หรือในภาษาอังกฤษ คือ Sustainable Development
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวความคิด
เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง
และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย
๓ คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
1.
ความพอประมาณ: หมายถึง
ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2.
ความมีเหตุผล: หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
ๆ อย่างรอบคอบ
3.
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว: หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
·
เงื่อนไขความรู้: ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
·
เงื่อนไขคุณธรรม: ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย
มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น