การวิเคราะห์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ระหว่าง AIS และ TRUE


1.ตัวอย่าง การวิเคราะห์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)ของทั้ง 2 หน่วยงาน ใครคือ คู่แข่ง  ใครคือลูกค้าเป้าหมาย ใน ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ Truemove H  VS AIS       
  ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านการสื่อสารในไทยระหว่างผู้ให้บริการเป็นไปอย่างเข้มข้นภายหลังที่ TRUE ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่น้องใหม่สามารถพัฒนาจนก้าวเข้ามาสู่แถวหน้าได้ใกล้เคียงกับ AIS และ DTAC ซึ่งในปัจจุบันการใช้งานด้านดาต้าที่ยังคงเติบโตขึ้นทุกวันและมีมูลค่าการบริการมากกว่าการให้บริการเสียงแบบเดิม
 สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์และแนวทางรวมถึงนโยบายต่างๆของบริษัทโดยอาศัยความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยีจาก 2G เป็น 3G จนกระทั่งเป็น 4Gและ 4.5G ในปัจจุบัน ทำให้สามารถรองรับการ Streaming Live,Video Conference,การดูภาพยนตร์แบบ HD ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรวมถึงการเข้ามาในตลาดการให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านไฟเบอร์ออฟติคของ AIS ซึ่งสอดคล้องและรองรับ Life Style ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้ง True และ AIS จะต้องก้าวให้ทันเพื่อเป็นผู้นำในตลาดนั่นเอง


1.      ทรูมูฟ เอช และเอไอเอส เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการทั้งบริการเสียงและดาต้าบนระบบ 4.5G/4G 3G และ 2G ซึ่งทั้งสองรายอ้างว่ามีการรองรับการใช้งานครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากรไทยทั่วประเทศ ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช มีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5.4 ล้านราย ในปี 2559 ผลักดันให้มีฐานผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 24.5 ล้านราย ณ สิ้นปี 2559 จุดแข็งของ มีจุดที่ได้เปรียบในการแข่งขันคือการมีคลื่นย่านความถี่สูง (1800 MHz และ 2100 MHz) ในเรื่องความจุ และคลื่นย่านความถี่ต่ำ (850 MHz ภายใต้ CAT Telecom และ 900 MHz ที่ประมูลมาได้พร้อมกับ Ais) ในเรื่องความครอบคลุม บนคลื่นความถี่ที่มีจำนวนแบนด์วิธสูงสุดถึง 55 MHz ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานดาต้า 3g และ 4G พร้อมๆกับการใช้งานทางด้านเสียงแบบ  2G และมีจุดเด่นที่มีคลื่น 900 MHz ซึ่งสามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าความถี่ 1800 MHz หรือ 2100 MHz ได้ ได้ไกลกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งเคยเป็นข้อที่เสียเปรียบทางด้าน AIS ในการใช้งานต่างจังหวัด การใช้งานคลื่น 900 MHz ทำให้ รัศมีการใช้งานของ Truemove ใกล้เคียงกับทางด้าน Ais และสามารถประหยัดค่าขยายโครงข่ายได้มากขึ้นในขณะที่ AIS ไม่สามารถประมูลคลื่น 900 MHz ได้ในการประมูลครั้งแรกสำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz ซึ่งทั้ง True และ AIS ล้วนแต่เป็นผู้ประมูลได้ ซึ่ง AIS เป็นผู้ประมูลรอบที่สอง แทน JAS ที่ประมูลได้พร้อมกับ True ในรอบแรกแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยที่ค่าประมูลคลื่น 900 MHz ซึ่งมีการทุ่มเงินเพื่อประมูลคลื่นย่านดังกล่าวสูงกว่า 1800 Mhz เนื่องจากคลื่นความถี่ต่ำสามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้มากกว่า 2 เท่าและสามารถลดการลงทุนด้านโครงข่ายลงได้กว่า 10 เท่า โดยแพ้ให้กับ JAS
สำหรับเอไอเอสมีข้อได้เปรียบที่มีการทำตลาดมายาวนานกว่าและมีฐานลูกค้าผู้ใช้งานมากกว่าทางด้าน Truemove H ปัจจุบัน เอไอเอสได้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยให้บริการทั้งเทคโนโลยี 2G 3G และ 4G รองรับลูกค้า
รวมกว่า 41 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าระบบเติมเงินประมาณ 34.6 ล้านราย และมีลูกค้าระบบรายเดือนประมาณ 6.4 ล้านราย ในปี 2559 เอไอเอสได้ขยายสถานีฐาน 3G ไปทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นกว่า51,200 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากร และสถานีฐาน4G มีจำนวน 42,100 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากร

ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 15 MHz โดย TRUE เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นใบอนุญาตแรกที่ราคา 39,792 ล้านบาท ส่วน AIS เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นใบอนุญาตที่สองที่ราคา 40,986 ล้านบาท รวมมูลค่าเงินประมูล 80,778 ล้านบาท มูลค่าเงินประมูลรวมสูงกว่าราคาตั้งต้นถึง 48,954 ล้านบาท หรือ 154% สะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันของผู้ประกอบการเพื่อขยายโครงข่ายให้รองรับกับความต้องการใช้งานด้านข้อมูลที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ในช่วงปี 2010-2014 ผู้ใช้บริการมือถือมีความต้องการใช้งานด้านข้อมูลเพิ่มขึ้นกว่า 35% ต่อปี จึงทำให้ผู้ประกอบการมีความต้องการคลื่นความถี่เพิ่มเติม เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อประกอบกับการประมูลคลื่นที่มีผู้เข้าร่วมประมูลมากถึง 4 ราย ในขณะที่ใบอนุญาตมีเพียง 2 ใบ จึงทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงและราคาประมูลรวมถูกดันให้สูงกว่าราคาตั้งต้นกว่า 154% และสูงกว่ามูลค่าประเมินคลื่นความถี่ โดยใบอนุญาตแรก คิดเป็น 200% ของมูลค่าคลื่น และใบอนุญาตที่สอง คิดเป็น 206% ของมูลค่าคลื่น

          ประมูลสูงมีผลกระทบบางส่วนต่อผู้ประกอบการแต่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเนื่องจากธุรกิจโทรคมนาคมมีผู้เล่นน้อยราย และผู้เล่นแต่ละรายต่างมีฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ อีกทั้งยังมีเงินทุนและสายป่านที่ยาวกว่าผู้ประกอบการดิจิทัลทีวี แต่ต้นทุนค่าใบอนุญาตที่สูงอาจกระทบต่อผลประกอบการและกำไรในช่วงแรกราว 5-10% และทำให้ระยะเวลาคืนทุนของผู้ประกอบการนานขึ้นด้วยเงื่อนไขเรื่องค่าบริการของ กสทช. ทำให้ผู้ชนะประมูลต้องหากลยุทธ์อื่นที่ไม่ใช่ด้านราคา เพื่อรักษาฐานรายได้และกำไรของบริษัท ทั้งนี้ แม้ว่าราคาประมูลที่ดีดตัวสูงจากราคาตั้งต้นและมูลค่าคลื่นค่อนข้างมาก แต่เนื่องจาก กสทช. กำหนดให้ค่าบริการทั่วไปของคลื่น 1800 MHz จะต้องถูกลงกว่าค่าบริการเฉลี่ยของการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz และจะต้องมีแพ็คเกจราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้ต่ำ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส จึงเป็นตัวแปรสำคัญทำให้ผู้ประกอบการต้องหาแนวทางอื่นๆ เพื่อทำให้บริษัทยังคงมีการเติบโตของรายได้และกำไร ยกตัวอย่างเช่น การร่วมมือกับผู้ผลิต content เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเรียกใช้งานข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และนำเสนอแพ็คเกจที่ให้ใช้ข้อมูลในปริมาณมากในราคาที่เพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งจะยังทำให้ราคาค่าบริการต่อหน่วยยังคงถูกกว่าค่าบริการของคลื่น 2100 MHz เป็นต้น
ในภาพรวมการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี 4G มีโอกาสสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หากผู้ประกอบการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการทำการตลาดและลงทุนระบบ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz จะมีโอกาสช่วยเร่งอัตราการใช้ข้อมูลของลูกค้า (data usage) และเพิ่มรายได้ค่าบริการเฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) ให้แก่ผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญ โดยในกรณีศึกษาของเกาหลีใต้พบว่าเมื่อ SK Telecom ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ของเกาหลีใต้เริ่มให้บริการ 4G และใช้กลยุทธ์ Unlimited LTE data plan ซึ่งมีราคาแพ็คเกจที่สูงขึ้นเกือบ 1 เท่าของอัตราค่าใช้บริการเฉลี่ย เพื่อจับกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ที่ต้องการใช้งานข้อมูลในปริมาณมาก ทำให้รายได้ค่าบริการเฉลี่ยต่อเลขหมายยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 14% ภายในระยะเวลา 3 ปี ส่วนกรณีของไทย อีไอซีคาดว่าการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยี 4G จะทำให้รายได้จากการให้บริการข้อมูลของผู้ประกอบการมือถือในปี 2016 มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 20-25%YOY
นอกจากการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz จะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเติบโตได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องได้รับประโยชน์ตามมา การประมูลคลื่นความถี่และการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี 4G มีผลโดยตรงต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม โดยการประมูลคลื่นความถี่ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินโดนีเซียและอินเดีย ก่อให้เกิดการลงทุนด้านโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นกว่า 16-40%YOY ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกแก่ผู้รับเหมาติดตั้งและขยายโครงข่าย รวมถึงผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคม นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น ผู้ผลิตและจำหน่ายสมาร์ทโฟน การค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมผ่านมือถือ รวมถึงการให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง อีกด้วย 

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       สถานการณ์ในตลาดโทรคมนาคมในยุคเปลี่ยนผ่านจากระบบ 2G เป็นระบบ 3G และ 4G อย่างสมบูรณ์แบบเกือบสะดุด จากกรณีที่ลูกค้าเอไอเอสเกือบซิมดับ 4 แสนราย ในคืนวันที่ 15 มีนาคม 2559 ตามเวลาที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดไว้ ว่าหลังจากผู้ประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz มาชำระเงินค่าประมูล และออกใบอนุญาตเรียบร้อยจะต้องปิดระบบ ดีที่ฟ้ามีตา ศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของ กสทช.ให้ความคุ้มครองชั่วคราวออกไปอีก 30 วัน จนถึงวันที่ 14 เม.ย.เวลา 24.00 น.
              เมื่อมองย้อนไปมองถึงสถานการณ์ที่เกิดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2558 ที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวเลส เน็ตเวิร์ก จำกัด (AWN) ภายใต้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) พลาดการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่กสทช. จัดประมูลขึ้น และ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในคลื่นชุดที่ 1 คือ คลื่นความถี่ 895-905 MHz คู่กับ 940-950 MHz ด้วยราคาสุดท้ายที่เสนอ 75,654 ล้านบาท และ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) ผู้ชนะการประมูลในคลื่นชุดที่ 2 คือ คลื่นความถี่ 905-915 MHz คู่กับ 950-960 MHz กับราคาสุดท้ายที่เสนอ 76,298 ล้านบาท
              โดยภายหลังการประมูล เอไอเอส ได้ชี้แจงว่า ราคาประมูลดังกล่าวเป็นช่วงราคาที่สูงเกินไป ซึ่งหากบริษัทนำเงินจำนวนดังกล่าวมาใช้ในการลงทุนเสริมโครงข่ายทั้งบนคลื่น 2100 MHz และ 1800 MHz ที่เพิ่งประมูลได้มา ก็จะสามารถให้บริการลูกค้าได้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับในอนาคตทาง กสทช.จะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่เพิ่มเติมอีกในอนาคต
              ด้วยสถานการณ์ที่บีบบังคับ ทำให้เอไอเอสต้องเร่งโอนย้ายลูกค้าที่ยังใช้งาน 2G บนคลื่นความถี่ 900 MHz ที่เหลืออยู่ในช่วงเวลานั้นกว่า 1 ล้านรายให้เปลี่ยนมาใช้งาน AIS 3G รวมถึงลูกค้าที่ใช้งาน AIS 3G แต่เครื่องยังรองรับเพียง 2G อีกกว่า 11 ล้านราย ด้วยการงัดกลยุทธ์การแจกเครื่อง 3G ให้แก่ลูกค้าที่มาเปลี่ยนเครื่อง
              แต่จนแล้วจนรอดเมื่อถึงช่วงเวลาที่ทางทรูมูฟมาชำระเงินค่าประมูล และได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz ในวันที่ 14 มีนาคม 2559 ก็ยังเหลือลูกค้าเอไอเอสที่ยังใช้งาน 2G บนคลื่น 900 MHz อีกกว่า 4 แสนราย ไม่นับรวมกับลูกค้าที่ใช้งาน AIS 3G บนเครื่อง 2G อีกกว่า 7.6 ล้านราย เพียงแต่ลูกค้าที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคือลูกค้ากลุ่มแรก 4 แสนรายที่หลังจากซิมดับจะไม่สามารถใช้งานเลขหมายได้อีกต่อไป
              จากข้อมูลล่าสุดของทางเอไอเอส ระบุว่า กลุ่มลูกค้า 4 แสนรายที่ยังใช้งาน 2G อยู่ถือเป็นกลุ่มลูกค้าที่เน้นการโทร.เพียงอย่างเดียว และที่สำคัญคืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางมายังศูนย์บริการ จึงทำให้ไม่ได้มาทำเรื่องโอนย้ายมาใช้งาน AIS 3G แม้ว่าทางเอไอเอสจะมีมาตรการทั้งการแจ้งเตือนผ่านการส่ง SMS และโทร.เข้าไปแจ้งข้อมูลแล้วก็ตาม
              ขณะที่ในกลุ่มของลูกค้า 7.6 ล้านรายนั้น เอไอเอส ไม่เป็นห่วงมากนัก เพราะได้มีการเตรียมการร่วมกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ในการโรมมิ่งเครือข่าย 2G บนคลื่น 1800 MHz มาให้บริการแก่ลูกค้าในกลุ่มนี้ โดยอาจจะมีบางพื้นที่ที่สัญญาณ 2G เข้าไม่ถึงทางเอไอเอสก็อยู่ในช่วงขยายสัญญาณให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
              สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ให้ข้อมูลไว้ว่า ในยุคสมัยของการแข่งขัน 2G เชื่อว่าสถานีฐานของเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ในตลาดมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมไม่ต่างกันมากอยู่แล้ว ดังนั้นเชื่อว่าจะสามารถรองรับลูกค้ากว่า 7.6 ล้านรายได้อย่างแน่นอน เพียงแต่จะมีบางจุดตามภูเขา หรือพื้นที่ห่างไกลที่จะได้รับผลกระทบแต่มีเพียงผู้ใช้งานส่วนน้อยเท่านั้น 

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
        รวมถึงทางด้าน ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค ยังออกมาให้ข้อมูลว่า เพราะดีแทคแคร์ผู้ใช้มือถือทุกคนไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายไหน จึงพร้อมให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือทุกคน เพื่อไม่ให้กังวลว่าซิมจะดับ พร้อมติดแอชแท็ก #FairFight ออกมาสร้างมาตรฐานของการแข่งขันที่ขาวสะอาดบนพื้นฐานการใช้งานของผู้บริโภค
              นอกเหนือไปจากการลงทุนขยายโครงข่าย ทำแคมเปญแจกมือถือ 3G ฟรีแก่ลูกค้า และการหาพันธมิตรในการโรมมิ่งสัญญาณจากดีแทคแล้ว อีกแนวทางหนึ่งที่เอไอเอสทำ คือการส่งหนังสือถึงกสทช.ในการขอขยายระยะเวลาเยียวยาลูกค้า 2G อย่างต่อเนื่อง แต่ถูกบอกปัดจาก กสทช.ที่ระบุว่า ต้องยึดตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) คือเมื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่ง มาตรการคุ้มครองก็ต้องสิ้นสุดลง
              พร้อมกับมีการรับทราบข้อเสนอของ TUC ที่เสนอให้AWN สามารถใช้งานคลื่นความถี่ 900MHz จำนวน 10 MHz ในส่วนของบริษัทต่อไปได้อีก 3 เดือน เพื่อให้ลูกค้า 2G สามารถเปลี่ยนไปใช้ซิมใหม่ได้โดยยังคงใช้เบอร์เดิม โดย เอไอเอส จะต้องจ่ายค่าเช่าใช้งานคลื่นความถี่จำนวน 450 ล้านบาทต่อเดือนให้แก่ทรู
              ก่อนที่ทางประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทรู ศุภชัย เจียรวนนท์จะออกมาให้ข้อมูลผ่านสื่อในวันที่มาชำระเงินค่าใบอนุญาตว่าพร้อมที่จะให้ใช้คลื่นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่สุดท้ายข้อเสนอดังกล่าวก็ตกไป เพราะการทำข้อตกลงในการเช่าใช้โครงข่ายดังกล่าวขัดกับเงื่อนไขการประมูลรวมถึงการที่ทางหน่วยงานกำกับดูแลมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางมิชอบโดยกฎหมายอาญาในหลายประเด็น
              ว่ากันว่าแนวทางให้ใช้ความถี่ฟรี อาจเป็นการหวังดีประสงค์ร้าย เพราะหากลูกค้า 7.6 ล้านรายไปใช้การโรมมิ่งกับดีแทคหมด ช่วงความถี่ที่ว่างหรือถนนที่กว้างขึ้นอาจทำให้เอไอเอสแข็งแรงในการหาลูกค้าใหม่ 3G/4G มาขวางคอตัวเองก็เป็นได้
              แต่สุดท้ายยังดีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลามติของทาง กสทช. ทำให้ทางเอไอเอส สามารถให้บริการต่อเนื่องออกไปอีกเป็นระยะเวลา 30 วัน จนถึงวันที่ 14 เมษายน 2559 เวลา 24.00 น. โดยระบุว่า หากศาลมีมติคุ้มครองก็ไม่ทำให้ TUC ได้รับความเดือดร้อนเสียหายแต่อย่างใด      
       และเมื่อเป็นเช่นนั้น ทางออกที่เตรียมการไว้ด้วยการโรมมิ่งลูกค้า 2G กับทางดีแทคก็สามารถยืดระยะเวลาออกไปก่อน แต่ภารกิจหนักก็ยังคงตกอยู่ที่เอไอเอส ในการลงทุนขยายเครือข่าย 3G ให้ครอบคลุมเทียบเท่า 2G พร้อมกับการกระตุ้นให้ลูกค้าที่ใช้งานคลื่น 900 MHz ให้มาทำการย้ายมาใช้เครือข่าย 3G เช่นเดียวกับการเปลี่ยนเครื่องลูกค้าที่เป็น 2G รวมๆกว่า 8 ล้านเลขหมายให้เป็นเครื่องที่รองรับ 3G หรือ 4G 

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
                     ย้อนกลับไปทางฝั่งของกลุ่มทรู หลังจากที่ประมูลได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ก็กลายเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีคลื่นความถี่บนใบอนุญาตให้บริการมากที่สุดในประเทศไทย พร้อมระบุว่า การได้คลื่นความถี่ 900 MHz มาทำให้ทรูสามารถประหยัดการลงทุนโครงข่าย 4G ได้ถึง 45,000 ล้านบาท จากประสิทธิภาพของคลื่นที่ให้บริการได้ครอบคลุม และกว้างไกลกว่าขณะเดียวกันยังมีลูกค้าที่ใช้งาน 2G อยู่จริงถึง 15 ล้านราย (ในเวลานั้น)
              ส่งผลให้หลังจากนั้น ทางกลุ่มทรูก็เริ่มเดินเกมแย่งชิงลูกค้าที่ใช้งานคลื่น 900 MHz ด้วยการออกแคมเปญกระตุ้นให้ลูกค้าที่ใช้งานร้านสะดวกซื้อ 7-11 ที่มีกว่า 8,000 สาขา เพื่อให้ลูกค้าย้ายค่ายเบอร์เดิมเพื่อรับโทรศัพท์เครื่องใหม่ฟรี ด้วยการงัดกลยุทธ์ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในเรื่อง ของการให้บริการบนคลื่นความถี่ต่าง ด้วยการโจมตีทั้งเอไอเอส และดีแทค ก่อนออกมาระบุว่าเป็นการกระทำของทางร้านค้า ไม่ได้เป็นนโยบายจากทางบริษัทแม่ และกลับเข้าสู่การแข่งขันตามปกติในเวลาต่อไป
              ก่อนจะเริ่มเกมการฟ้องร้องจาก TUC แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กรณีที่เอไอเอสปิดกั้นไม่ให้ลูกค้าโทร.ติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือทรูมูฟ เอช แคร์ 1331 เพื่อขอย้ายค่ายเบอร์เดิมจากเครือข่ายเอไอเอส มาเป็นทรูมูฟ เอช โดยในเวลานั้นทาง บก.ปคบ.ได้มีการรับเรื่องไว้ และส่งต่อให้ทางสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มารับเรื่องร้องเรียนแทน โดยระบุด้วยว่า กรณีดังกล่าวหากเกิดความเสียหายต่อการดำเนินธุรกิจนั้นเป็นคดีอาญาถึงจะดำเนินการ แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการก็จะให้ทางกสทช.ดูแลต่อไป
              หลังจากนั้นฝาก เอไอเอส ได้มีการทำหนังสือชี้แจงออกมาระบุว่า บริษัทไม่ได้มีการปิดกั้นการสื่อสารของลูกค้าแต่อย่างใด และลูกค้าเอไอเอสสามารถโทร.ออกไปยังทุกเบอร์ได้ตามปกติ เพียงแต่ขณะนี้อยู่ในช่วงการสื่อสารถึงลูกค้าที่ยังใช้เครื่อง 2G จึงทำให้เมื่อโทร.ออกแล้วจะได้ยินเสียงประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเปลี่ยนเครื่องฟรี ก่อนเชื่อมกับเบอร์ปลายทางตามปกติ
              ขณะเดียวกัน จากปริมาณลูกค้าที่ทำเรื่องย้ายค่ายจาก 7-11 มีการร้องขอเข้ามาในปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทั้งเอไอเอส และดีแทค ยื่นหนังสือร้อง กสทช.ให้ตรวจสอบการโอนย้ายลูกค้าว่าอาจจะไม่ถูกตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช.กำหนด เพราะมีการใช้งานลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้มีการลงนามในเอกสาร เพียงแต่ที่ประชุม กทค.ได้พิจารณาแล้วว่า การโอนย้ายเลขหมายผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ โดยใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ มิได้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและยังเป็นไปตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
              นอกจากนี้ที่ประชุม กทค. ยังมีมติให้สำนักงาน กสทช.ออกคำสั่งทางปกครองให้ เอไอเอส และดีแทค โอนย้ายลูกค้ากว่า 6 แสนราย ไปยัง ทรูมูฟ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหม่โดยด่วน จากเหตุแห่งการปฏิเสธการโอนย้ายของ เอไอเอส และดีแทค ไม่เข้าเงื่อนไขการปฏิเสธการโอนย้ายทั้ง 8 ประการ ตามที่กำหนดในข้อ 4.9 ของเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
              ที่สำคัญทางกสทช. ยังระบุว่า หน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้องหรือไม่เป็นของทางสำนักงาน กสทช. ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่ เอไอเอส ดีแทค และทรู จะขัดขวางการโอนย้าย ทำให้ดีแทค และเอไอเอส ถึงกับไปต่อไม่เป็นว่า ถ้าต้นทางส่งหนังสือมาไม่ครบ แล้วปลายทางจะทำเรื่องให้สมบูรณ์ได้อย่างไร
              เนื่องจากการปฏิเสธการโอนย้ายดังกล่าวส่งผลกระทบกับประชาชนโดยตรง พร้อมกันนี้ได้ให้สำนักงาน กสทช.ไปดำเนินการตรวจสอบว่ากระบวนการขอโอนย้ายเลขหมายของทรูมูฟ เอช ถูกต้องตามที่ได้มีการร้องเรียนมาหรือไม่ว่ามีการส่งข้อมูลเฉพาะบัตรประชาชนเพียงอย่างเดียวไม่มีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์แนบมาด้วย ทำให้เกิดการปฏิเสธการโอนย้าย
               อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพลาดทั้งการประมูล ความถี่ 900 MHz และเพลี่ยงพล้ำใน เรื่องของการย้ายค่ายเบอร์เดิม แต่เอไอเอสพยายามเล่นเกมโต้กลับหวัง หาทางเพิ่มความถี่ ด้วยการตกลงเป็นพันธมิตรกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ด้วยการทำสัญญาในคลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz เป็นระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่คณะกรรมการบริษัททีโอทีมีมติรับรองในเรื่องนี้ไปแล้วในที่ประชุมเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2558 ซึ่งในขณะนั้น มนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที คาดว่าจะใช้เวลาในการร่างสัญญาเพื่อลงนามความร่วมมือกันได้ภายในสิ้นปี 2558ที่ผ่านมา
              แต่จนแล้วจนรอด การทำงานร่วมกันของทั้ง 2 บริษัท ก็ยังไม่มีการลงนามแต่อย่างใด หากแต่กระบวนการยังคงวนอยู่ในทีโอทีเองซึ่งดูเหมือนไม่ได้เดินหน้าไปไหน
              ทั้งนี้กระบวนการเหมือนจะไม่มีอะไรซับซ้อนเพราะสัญญาดังกล่าวไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ดังนั้นจึงเพียงแค่ให้บอร์ดพิจารณาร่างสัญญา ก่อนที่จะส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และนำกลับมาให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบเท่านั้น
              นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้แจ้งว่า หากเป็นรูปแบบการให้เช่าเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อนำไปให้บริการ แต่ทีโอทียังคงเป็นผู้บริหารคลื่นความถี่เหมือนเดิม ก็ไม่ต้องเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวได้นำกรณีตัวอย่างการทำสัญญาธุรกิจมือถือรูปแบบใหม่ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มาเปรียบเทียบซึ่งสัญญาดังกล่าวไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
              แต่อะไรที่กลุ่มทรูทำสำเร็จกับ กสท ไม่ได้แปลว่าหากเอไอเอสทำในทำนองเดียวกับทีโอที ทุกอย่างจะราบรื่นเสมอไป เพราะหากเอไอเอสเป็นพันธมิตรกับทีโอที ไม่ใช่เฉพาะได้สิทธิใช้ความถี่ 2100 MHz เพื่อ 3G เท่านั้น แต่ยังมองยาวไปถึงการพัฒนาความถี่ 2300 MHz ของทีโอทีอีกจำนวน 60 MHz ที่มีคนบอกว่าทำอะไรได้มากมายชนิดที่ใครบางคนคาดไม่ถึง
              บอร์ดทีโอทีบางคนให้ความเห็นค้านว่า การเป็นพันธมิตรระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสน่าจะเข้าข่าย “ppp” ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เท่านั้น ทุกอย่างก็หยุดสนิท เพราะหากต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ก็เหมือนกับเริ่มนับหนึ่งใหม่ ทีโอทีต้องนำเรื่องสอบถามกฤษฎีกาว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ และนำเข้าที่ประชุมบอร์ดทีโอที ที่ประชุมเดือนละครั้ง ก่อนจะนำเรื่องเสนอให้กระทรวงไอซีที เสนอ ครม.ว่าจะสามารถดำเนินการหรือไม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน ซึ่งเวลาทุกเดือนที่ผ่านไปในธุรกิจโทรคมนาคม เท่ากับความสามารถในการแข่งขันที่ถูกลิดรอนลงไปทุกขณะ
              ทั้งๆ ที่การเป็นพันธมิตรกับเอไอเอส จะสามารถสร้างรายได้สุทธิให้ทีโอทีกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปีใน 5 ปีแรกจากอายุสัญญา 10 ปีที่คาดว่าจะได้รับรายได้ตลอดอายุสัญญาจำนวนแสนล้านบาท โดยมีรายได้จาก 1.การให้เช่าเสาโทรคมนาคมจำนวนประมาณ 12,000 กว่าแห่ง และโครงข่าย 2G คลื่น 900 MHz ซึ่งทีโอทีจะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละกว่า 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก และ 3,000 กว่าล้านบาทต่อปีใน 10 ปีหลัง โดยเอไอเอสจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และ 2.การเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz โดยพันธมิตรจะลงทุนขยายโครงข่ายและเสนอซื้อความจุที่ 80% ซึ่งทีโอที จะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละเกือบ 4,000 ล้านบาทต่อปี และพันธมิตรเป็นผู้รับผิดชอบค่าบำรุงรักษาโครงข่ายประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz ความจุที่เหลือ 20% ทีโอที จะทำตลาดเองโดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท
              
แต่เนื่องจาก JAS ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ตามข้อกำหนดของกสทช. ดังนั้นจึงทำให้ AIS กลับมาประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ได้ ในรอบที่สองโดยมีราคาประมูลเท่ากับ ค่าประมูลสูงสุดที่ JAS ประมูลไว้ เนื่องจาก AIS พบว่าหากไม่ประมูลคลื่น 900 MHz จะเกิดปัญหากับลูกค้าที่ใช้งาน 2G ซิมจะดับตามมติกสทช.และไม่สามารถย้ายลูกค้า 2G เดิมมาใช้ความถี่ใหม่ของตนได้ทันจำนวนหลายแสนรายซึ่งลูกค้าเหล่านี้อาจจะย้ายค่ายไปยัง True หรือ DTAC ได้นั่นเอง
โทรศัพท์ระบบเติมเงิน
Ais ยังคงมีส่วนแบ่งของตลาดกลุ่มนี้มากกว่าทาง Truemove สำหรับกลุ่มลูกค้าโดย โดยทั่วไปแล้วเมื่อจดทะเบียนซิม ลูกค้าจะเลือกแพ็คเกจหลักซึ่งมีทั้งแบบรวมการใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะรวมบริการ AIS WiFi ไว้ด้วย หรือแพ็คเกจ NET SIM ที่ให้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความนิยมเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เช่น แท็บเล็ต และแบบสุดท้ายคือ แบบใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ที่มีอัตราค่าโทรแตกต่างกันไปทั้งในเครือข่ายและนอกเครือข่าย และนอกจากนี้ ยังมีรูปแบบค่าโทรราคาพิเศษสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและทางสายตาเช่นเดียวกันกับทาง Truemove H
โทรศัพท์ระบบรายเดือน
เป็นรูปแบบที่ลูกค้าใช้บริการก่อนแล้วจึงชำระค่าใช้จ่ายเมื่อสิ้นสุดรอบการใช้ โดยสามารถเลือกแพ็คเกจที่สามารถแบ่งประเภทได้เช่นเดียวกับระบบเติมเงิน แบบรวมการใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีบริการ AIS WiFi รวมอยู่เช่นกันกับของ Truemove H ที่มีบริการ True Wifi รวมอยู่ในแพคเกจ แต่ Truemove H จะได้เปรียบตรงที่มีจำนวนจุดการเชื่อมต่อ Wifi มากกว่า Ais ในปัจจุบัน โดยที่รูปแบบการใช้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ต และรูปแบบการใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ของลูกค้าในระบบรายเดือนนี้จะมีแพ็คเกจการใช้งานให้เลือกอย่างหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่จะมีข้อแตกต่างจากระบบเติมเงินคือการชำระเงินหลังรอบการใช้บริการในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าจำนวนมาก พึงพอใจกับความสะดวกสบายในแง่นี้โดยทาง Ais มีกลุ่มลูกค้ารายเดือนที่มากกว่าทาง Truemove H
สำหรับข้อได้เปรียบของทางทรูอีกประการหนึ่งคือช่องทางการเติมเงินการใช้งานประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน (Pre Pay)ซึ่งรายได้ของทรูมูฟ เอช ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้บริการระบบเติมเงิน ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่าผู้ใช้งานแบบรายเดือน โดยผู้ใช้บริการซื้อซิมการ์ดพร้อมค่าโทรเริ่มต้น และเมื่อค่าโทรเริ่มต้นหมดก็สามารถเติมเงินได้ในหลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น บัตรเงินสด บัตรเติมเงิน เครื่องเอทีเอ็ม การโอนเงินจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรูมูฟ เอช รายอื่น และการเติมเงินอัตโนมัติแบบ“over-the-air” นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการของทรูมูฟ เอช ยังสามารถชำระค่าใช้บริการด้วยบริการการเงินบนโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทรูมันนี่ ทรูไอเซอร์วิส และทรูไอดี แต่สิ่งที่สำคัญคือการเติมเงินผ่านร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven ที่มีสาขาอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทาง 7-Eleven ได้ยุติการให้บริการการเติมเงินในระบบ One2Call ของ Ais โดยอ้างว่าได้มีการขอจัดเก็บส่วนแบ่งค่าบริการเติมเงินโทรศัพท์แบบเติมเงินจากทาง Ais เพื่อให้เท่ากับการเรียกจากทาง DTAC และ Truemove แต่เนื่องจาก Ais ไม่ยอมรับตามเงื่อนไขที่ทาง 7-Eleven เสนอมาเนื่องจากเห็นว่าลูกค้าเติมเงินในระบบ One2Call ที่ 7-Eleven ต่อเดือนมีจำนวนมากกว่าลูกค้าค่ายอื่นๆอยู่แล้วและทาง Ais ได้จ่ายส่วนแบ่งการเติมเงินให้กับ 7-Eleven ในจำนวนยอดเงินที่สูงอยู่แล้วทำให้การเจรจาล้มเหลวโดยที่ทาง 7-Eleven งดบริการการเติมเงินโทรศัพท์ One2Call ส่งผลทำให้ Truemove Hได้เปรียบในการเติมเงินในร้านสะดวกซื้อ ส่วนทาง Ais ได้แก้ปัญหาโดยการแนะนำลูกค้าให้เติมเงินผ่านตู้บุญเติมซึ่งบางส่วนก็ตั้งอยู่หน้าร้าน 7-Eleven โดยไม่มีค่าธรรมเนียมเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ารวมถึงการเสนอวิธีเติมเงินผ่านช่องทางอื่นๆได้แก่ ช่องทางเอไอเอสAIS Shop, Telewiz Shop, mPAY STATION, AIS Buddy ธนาคารตู้ ATM, Internet Banking ตู้เติมเงินบุญเติม, SINGER, Feel Top แอปพลิเคชันmPAY App, Mobile Banking App ร้านจำหน่ายมือถือJaymart, TG, BKK, CSC ร้านสะดวกซื้อ และอื่นๆTesco Lotus, Big C, FamilyMart, MaxValu, 108 Shop, ไปรษณีย์ไทย จำหน่าย Pin สำหรับเติมเกมLawson 108, CJ Express, Jiffy, SE-ED, Central, Tops, B2S เป็นการแก้ปัญหาการเติมเงิน
            สำหรับการแข่งขันแบบรายเดือนนั้นเนื่องจากความนิยมในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ และการใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงโครงข่ายประสิทธิภาพของทั้งทางด้าน Ais และ Truemove H เพิ่มสูงมากขึ้นโดยทั้งคู่ทำการออกโฆษณาว่าสามารถรองรับการใช้งานได้มากถึง 4.5G ส่งผลให้รายได้จากบริการโมบาย อินเทอร์เน็ต เติบโตแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้จากบริการที่ไม่ใช่เสียงในปี 2559 เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการใช้งานบริการทางด้านเสียงแบบเดิมโดยทาง Truemove H แจ้งว่ารายได้จากการใช้งานจากบริการที่ไม่ใช่เสียงร้อยละ 45.0 จากปีก่อนหน้า เป็น 34.0 พันล้านบาท โดยรายได้จากบริการที่ไม่ใช่เสียงมีสัดส่วนร้อยละ 59 ของรายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย และค่าเช่าโครงข่าย) ของทรูมูฟ เอช
การจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์
ทางทรูมูฟ เอช มีจัดจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพสูง รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ นอกเหนือจากแบรนด์ทั่วๆไปโดยผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายคือสมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ รวมถึงมือถือและดีไวซ์หลากหลายที่สามารถรองรับบริการระบบ 4G และ 3G ภายใต้แบรนด์ทรูเองโดยเฉพาะผ่านความร่วมมือกับ China Mobile อาทิ “True Smart 4G 5.5" Enterprise” “True Smart Series”และ “True Super” โดยดีไวซ์เหล่านี้จะเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าในระดับกลางถึงล่างเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการ 4G และ 3G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและง่ายขึ้นและจะส่งผลดีให้มีการใช้งานบริการที่ไม่ใช่เสียงหรือดาต้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เครื่องโทรศัพท์ที่จัดจำหน่าย เป็นทั้งการจำหน่ายเครื่องเปล่าโดยไม่ผูกพันกับบริการใด ๆ กับการจำหน่ายเครื่องโดยลูกค้าใช้แพ็กเกจค่าบริการของทรูมูฟ เอชแล้วได้ส่วนลดค่าเครื่องเป็นต้น
          ทาง AIS ได้จัด เอไอเอสซุปเปอร์คอมโบนำเสนอสมาร์ทโฟนหลากหลายรุ่นภายใต้แบรนด์เอไอเอส Super Combo LAVA ที่เป็นแบรนด์พิเศษที่พัฒนาร่วมกันโดยเอไอเอสกับผู้ผลิตมือถือ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน โดยโทรศัพท์ที่นำมาจัดแคมเปญนี้ มีทั้งโทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยี 3G/4G และยังรวมถึงโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่รองรับเทคโนโลยี 4G ด้วยเช่นเดียวกับทาง Truemove H เช่นกัน
            นอกจากนี้ทั้งสองค่ายยังนำเสนอสมาร์ทโฟนแบรนด์ดังหลากหลายรุ่น พร้อมส่วนลดค่าเครื่องในราคาพิเศษ เมื่อสมัครแพ็คเกจรายเดือน พร้อมชำระค่าบริการล่วงหน้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าในระบบรายเดือนทั้งลูกค้าเปิดเบอร์ใหม่ ย้ายค่ายเบอร์เดิม เปลี่ยนจากเติมเงินเป็นรายเดือน และลูกค้าปัจจุบันในระบบรายเดือนอีกด้วย เพื่อเป็นการดึงลูกค้าเก่าให้อยู่ต่อไปและดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ให้เปิดเบอร์ใหม่หรือย้ายค่ายเบอร์เดิมให้มาอยู่กับตนมากขึ้นนั่นเอง
บริการโรมมิ่งและบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
การออกซิมเน็ตโรมมิ่งข้ามประเทศของทางด้าน TRUE และ AIS
เอไอเอส เสนอบริการโรมมิ่งหรือบริการข้ามแดนอัตโนมัติ ซึ่งลูกค้าสามารถนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้เมื่อเดินทางต่างประเทศได้ทันทีเมื่อเปิดบริการและไม่ต้องเปลี่ยนซิม โดยใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการในประเทศนั้นๆ เอไอเอสได้ตกลงทำสัญญากับผู้ให้บริการระหว่างประเทศ 432 รายในทุกทวีป มีเครือข่ายให้บริการ 464 เครือข่าย และมีเครือข่าย 4G โรมมิ่งครอบคลุม 82 ประเทศ กับ140 เครือข่าย มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย อีกทั้งยังมีบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ เพื่อการโทรจากประเทศไทยไปยังประเทศปลายทางกว่า 240 ประเทศ ในปี 2559 เอไอเอสได้เปิดตัวแพ็คเกจโรมมิ่งใหม่ล่าสุด ชื่อว่า“Roam Like Home” ที่ลูกค้าซึ่งเดินทางอยู่ต่างประเทศสามารถโทรกลับประเทศไทยและโทรในประเทศนั้นๆ ได้ไม่จำกัด พร้อมทั้งใช้บริการโรมมิ่งอินเทอร์เน็ตได้ต่อเนื่องด้วยแพ็คเกจเดียวกันในประเทศยอดนิยม 40 ประเทศ แพ็คเกจนี้ยังทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานโรมมิ่งทั้งการโทรและใช้อินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องกังวล และไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์
ในขณะที่ทาง Truemove H ก็นำเสนอบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ (โรมมิ่ง) เป็นบริการเสริมที่ช่วยให้ลูกค้าของทรูมูฟ เอช สามารถนำเครื่องโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่ไปใช้งานในต่างประเทศ (Outbound Roaming) ได้โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศที่ทรูมูฟ เอช มีสัญญาบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการในการโทรออกและรับสายเข้า การส่งข้อความ (SMS) และการใช้งานดาต้า ในกว่า 200 ปลายทางทั่วโลก
นอกจากนี้ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จากต่างประเทศที่มีสัญญาบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศกับทรูมูฟ เอช ก็สามารถใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายของ ทรูมูฟ เอช (Inbound Roaming) เมื่อเดินทางมาเมืองไทยได้เช่นกัน ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มทรูได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายพันธมิตรคอนเน็กซัส โมบายล์ (Conexus Mobile Alliance)ในปี 2551 นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมตกลงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) กับ China Mobile ในปี 2557 โดยปัจจุบันคอนเน็กซัส โมบายล์ และ China Mobile มีฐานผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมอยู่ประมาณ 1,130 ล้านราย ทำให้ผู้ใช้บริการเหล่านี้สามารถใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศเมื่อเดินทางเข้ามายังประเทศไทยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ของทรูมูฟ เอช อีกด้วย
บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศของทรูมูฟ เอช ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มุ่งขยายเครือข่ายการให้บริการ 4G Roaming โดยครอบคลุมกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้านักเดินทางที่เดินทางไปต่างประเทศและมีความต้องการที่จะติดต่อสื่อสารด้วยคุณภาพของดาต้าที่มีความเร็วสูง พร้อมกับความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกที่เป็นผู้ให้บริการ4G ในต่างประเทศ ทำให้ทรูมูฟ เอช เป็นผู้ให้บริการรายแรกในประเทศไทยที่มีเครือข่าย 4G Roaming ครอบคลุมทุกทวี ทั่วโลก นอกจากนี้ยังนำเสนอราคาแพ็กเกจเสริมต่างๆ ทั้งดาต้า โรมมิ่งแบบ Non-Stop ในราคาเริ่มต้นเพียง 99 บาทต่อวัน หรืออัตราค่าบริการโทรออกและรับสายขณะอยู่ต่างประเทศ ในราคาเริ่มต้น 9 บาทต่อนาที เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทรูมูฟ เอช ในระบบรายเดือนและระบบเติมเงินที่เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายพันธมิตรของทรูมูฟ เอช นอกจากนี้ ทรูมูฟ เอชได้พัฒนา บริการ “Smart Data Roaming Protection”ขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าหมดความกังวลในปัญหาค่าบริการดาต้าเกิน พร้อมทั้งยังปรับปรุงการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายเพื่อให้ผู้ใช้ดาต้าสามารถเข้าถึงบริการ เปิดใช้บริการ สอบถามและค้นหาข้อมูลบริการ เลือกใช้บริการเสริมต่างๆ และตรวจสอบค่าใช้บริการหรือจำนวนการใช้งานได้ด้วยตนเอง (e-Service) ขณะเดินทางต่างประเทศผ่านทาง Smartphone Application ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายผ่านคอลเซนเตอร์เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการ
นอกจากนี้ กลุ่มทรูได้แจ้งว่าได้มีการร่วมมือกับ China Mobile พัฒนานวัตกรรมบริการเบอร์ไทย-แดนมังกรด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ลูกค้ามีเบอร์ทรูมูฟ เอช เบอร์จีน และเบอร์ฮ่องกง ในซิมเดียว เพื่อการติดต่อที่ต่อเนื่องได้ทั้งในประเทศไทย จีน ฮ่องกง และประเทศอื่นๆ ไว้ในซิมเดียว ด้วยอัตราค่าโทรเริ่มต้นนาทีละ 5 บาท ทั้งนี้ บริการเบอร์ไทย-แดนมังกร สามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านความสะดวกสบายและความคุ้มค่า เพื่อนำเสนอแก่นักธุรกิจ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางไปยังประเทศจีน และฮ่องกง รวมถึงชาวจีน และฮ่องกงที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย
ส่วนการแข่งขันการใช้งานโรมมิ่งข้ามประเทศอื่นๆระหว่างTrue และ  AIS TrueMove H มีการบริการในลักษณะเดียวกันกับ AIS ในชื่อ Travel SIM Asia ซิมพร้อมใช้สำหรับท่องเที่ยวในทวีปเอเชีย 7 ประเทศยอดนิยม (เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง) โดยในแพ็กเกจให้เน็ตเต็มสปีดปริมาณ 4GB ในราคา 399 บาท ใช้ได้นาน 8 วัน แถมในกรณีเน็ตไม่พอใช้งาน ลูกค้ายังสามารถกดซื้อแพ็กเกจเสริม เติมเน็ตได้อีก 1GB (150 บาท 3 วัน) และ 4GB (299 บาท 8 วัน) อีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก TrueMove H

การออก Travel SIM Asia ของ TrueMove H ถือว่ามาสู้กับ Sim2Fly แพ็กเกจเที่ยวเอเชียของ AIS โดยตรง แต่ให้เน็ตแบบเต็มสปีดเยอะกว่า (ของ True ให้ 4GB เทียบกับ 3GB ของ AIS แต่ซิมทั้งสองค่ายก็สามารถใช้ต่อแบบลดสปีดได้ถ้าเน็ตหมด)
ส่งผลให้อีกไม่กี่วันต่อมา AIS ก็ตอบโต้ด้วย Sim2Fly เอเชีย ออสเตรเลีย เวอร์ชันใหม่ที่ปรับเน็ตเพิ่มเป็น 4GB เท่ากัน ตั้งราคาเท่ากันที่ 399 บาท ใช้ได้นาน 8 วัน แต่ใช้ได้หลากหลายประเทศกว่า (ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮองกง, มาเก๊า, ลาว, อินเดีย, เนปาล, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, พม่า, ออสเตรเลีย) รวมถึงสมัครแพ็กเกจเสริมเติมเน็ต 1GB (119 บาท)/4GB (299 บาท) ได้ในลักษณะเดียวกัน
ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก AIS

การจำหน่ายซิมโรมมิ่งครั้งนี้ถือว่าน่าจับตามาก เพราะซิมจากทั้งสองค่ายเป็นซิมแบบเติมเงิน มีรูปแบบการใช้งานคือซื้อมาใช้ชั่วคราวระหว่างไปเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะ เปิดใช้งานเมื่ออยู่ต่างประเทศ และไม่จำเป็นต้องผูกกับเบอร์โทรศัพท์หลัก ดังนั้นลูกค้าจะเลือกซื้อตามมูลค่าของซิมที่ได้รับ หรือความสะดวกในการซื้อใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องอิงกับค่ายเดิมที่ตัวเองใช้อยู่
การตอบโต้ของ AIS ในการเพิ่มเน็ตอีก 1GB จึงสะท้อนให้เห็นเกมการแข่งขันอย่างชัดเจนว่า เป็นเรื่องของสงครามราคาล้วนๆ เมื่อซิมทั้งสองค่ายตั้งราคา 399 บาทเท่ากัน ฝั่งของ AIS จึงต้องขยับด้วยการเพิ่มมูลค่าของเน็ตให้เท่ากันด้วย แล้วหวังจุดขายด้านอื่นๆ อย่างจำนวนประเทศที่มากกว่าแทน
เรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการที่ดุเดือด แต่สุดท้ายแล้วผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็มๆ เพราะไม่ว่าซื้อของค่ายไหนก็ได้ราคา-ปริมาณเน็ตเท่ากัน
 ธุรกิจออนไลน์ trueonline VS Ais Fibre

ที่ผ่านมาสีสันการแข่งขันในธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน ไม่รุนแรงมากนัก เมื่อเทียบกับโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ แต่มาวันนี้ ถ้าสังเกตจะเห็นว่า การแข่งขันอินเทอร์เน็ตบ้านเริ่มมีความร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ จากการไล่บี้กันแบบไม่มีใครยอมใคร ไม่ว่าจะเป็น True Online, 3BB, TOT และ AIS โดยมุ่งไปที่การทำโปรโมชั่น สงครามราคา และ ความแรง โดยเฉพาะทิศทางที่กำลังมุ่งมาสู่ อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ ออพติก เพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่ ควบคู่กับการ Replace ครัวเรือนเดิมที่ยังคงใช้เทคโนโลยีเก่า เช่น ADSL (ระบบสายโทรศัพท์) ซึ่งคิดเป็น 70 – 80% ของตลาดรวมอินเตอร์เน็ตบ้านที่มีผู้ใช้งาน 7 ล้านราย หรือคิดเป็น Penetration 32.9% ของจำนวนครัวเรือนในไทยที่มีกว่า 22 ล้านครัวเรือนโดยคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ Penetration อินเทอร์เน็ตบ้านในประเทศไทย จะขยับไปอยู่ที่ 46% ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ
สำหรับเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในปัจจุบัน พบว่าคนต้องการความเร็วของอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ ทั้งที่อยู่ในบ้านและนอกบ้าน โดยเมื่ออยู่นอกบ้าน คุ้นเคยกับความเร็วของ 4G ทำให้เมื่อกลับเข้ามาบ้าน จึงต้องการได้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 20 – 30 Mbpsประกอบกับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของครอบครัวรุ่นใหม่ ทั้งครอบครัวเดี่ยว ที่มีสมาชิกประมาณ 2 – 3 คน และครอบครัวใหญ่ พบว่าสมาชิกในครอบครัว มีพฤติกรรมการใช้งานเป็นในลักษณ์ Multiple Device คือ 1 คน มีมากกว่า 1 เครื่อง ด้วยเหตุนี้เองจึงยิ่งต้องการอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสม่ำเสมอ ไม่สะดุด ในราคาคุ้มค่าดังนั้น การที่ 4 ค่าย ทำราคาให้เข้าถึงง่าย บวกกับการพยายามขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จะเป็นการเปลี่ยนภาพ อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ จากในอดีตเป็นของพรีเมียม ราคาสูง มีให้บริการเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง กลายเป็นเทคโนโลยีที่จับต้องได้ ทำให้ครัวเรือนไหนที่ติดอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว และในพื้นที่มีอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ย่อมกระตุ้นให้เกิดการ Replace เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ADSL / Docsis / VDSL ในขณะที่กลุ่มลูกค้าใหม่ หากในโซนที่อาศัยอยู่ มีบริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการติดตั้งอินเทอร์เน็ตประเภทนี้โดยอัตโนมัติส่งให้ให้เวลานี้ เป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน และมีการแข่งขันแพ็คเกจดึงดูดใจลูกค้ามากขึ้น
การแข่งขันทางด้านแพ็กเกจไฟเบอร์อินเตอร์เน็ต

เผยตลาดเน็ตบ้านไทย 2017 : TrueOnline ยังคงนำ ตามมาด้วย 3BB, TOT, AIS Fibre

โดยสถิติล่าสุดตัวเลขของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทย พบว่าเจ้าตลาดยังคงเป็น TrueOnline ที่ครองอันดับ 1 มาได้อย่างยาวนาน ตามมาด้วย 3BB, TOT และ AIS Fibre

สถิติจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามค่ายในไทย
·         TrueOnline มีสมาชิก 2.76 ล้านราย (ข้อมูลถึง 3 มีนาคม 2017)
·         3BB มีสมาชิก 2.42 ล้านราย (ข้อมูลถึง 1 มีนาคม 2017)
·         TOT มีสมาชิก 1.5 ล้านราย (ข้อมูลถึงสิ้นปี 2016)
·         AIS Fibre มีสมาชิก 0.3 ล้านราย (ข้อมูลถึง 3 กุมภาพันธ์ 2017)
เมื่อดูถึงเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ TrueOnline ยังคงครองตลาดอันดับ 1 มาได้อย่างยาวนาน คงเพราะพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศ โปรโมชั่นใหม่ๆ ที่ต่อยอดไปใช้กับบริการอื่นๆ ของทรูได้เช่น TrueVisions และ TrueMove H นอกจากนี้ยังมีการให้บริการระดับที่ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วถึง 3 ปีซ้อน

แม้จะมีการแข่งขันที่รุนแรง แต่ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทยก็มีแนวโน้มเติบโตที่ดี โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนผู้ใช้บริการเน็ตบ้านปี 2560-2561 จะเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 และ 9.9 ล้านรายตามลำดับซึ่งการที่ตลาดขยายตัวนี้น่าจะส่งผลให้การแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้นไปอีก
 “True Online” เป็นผู้นำตลาดอินเทอร์เน็ตบ้าน ขณะนี้มีฐานลูกค้า 2.7 ล้านราย โดยยังคงใช้กลยุทธ์ “Convergence” สินค้าและบริการในกลุ่มทรูด้วยกัน ทำแพ็คเกจพ่วงเข้าไป เช่น ในระดับ 100 Mbps เมื่อไม่นานนี้เปิดตัวแพ็กเกจ Fibre ความเร็ว 100/30 Mbps ราคา 1,399 บาทต่อเดือน โดย Bundle ทั้ง True Online + True Visions + Truemove H

“3BB” อันดับ 2 ของตลาด ปัจจุบันมีฐานลูกค้า 2.345 ล้านราย ขณะที่ความหลากหลายของแพ็คเกจไฟเบอร์ ยังมีไม่หลากหลายมากนัก เนื่องจากเวลานี้ 3BB กำลังโฟกัสกับระบบ VDSL เป็นหลัก โดยมีตัวหลักเป็นแพ็กเกจไฟเบอร์ 200/50 Mbps ราคา 1,200 บาทต่อเดือน

“TOT” อันดับ 3 ของตลาด ปัจจุบันมีฐานลูกค้าประมาณ 1.4 – 1.5 ล้านราย ด้วยความที่เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ทำให้การขยับตัวแต่ละครั้งอาจไม่ทันคู่แข่ง ส่งผลให้ที่ผ่านมาต้องเสียฐานลูกค้ารอบนอกเมืองให้กับ 2 ผู้ให้บริการอย่าง True และ 3BB ไป อย่างไรก็ตามในการบุกตลาดอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ ทาง TOT มีการเปิดตัวแพ็กเกจมาแข่งขันเช่นกัน

“AIS Fibre” ถือเป็นน้องเล็กสุดในธุรกิจนี้ เพราะเพิ่งกระโดดเข้ามาทำตลาดจริงจังเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว แต่ความที่เป็นอันดับ 1 ในธุรกิจโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้การเข้ามาของ AIS สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับผู้ที่ให้บริการมาก่อนไม่น้อย เพราะมาพร้อมกับจุดขายเป็น อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ ตั้งแต่แรก และมีฐานลูกค้ามือถืออยู่แล้ว ประกอบกับมี AIS Playbox จึงสามารถทำ Bundle แพ็กเกจร่วมกันได้ เพื่อดึงกลุ่มลูกค้ามือถือของตนเองมาใช้ ควบคู่กับการขยายฐานลูกค้าใหม่
ตัวอย่างอย่างล่าสุด เปิดตัวแพ็กเกจใหม่ “100/10 Mbps” ราคา 1,100 บาทต่อเดือน และพิเศษสำหรับลูกค้า AIS ราคา 990 บาทต่อเดือน ขณะที่ลูกค้า AIS Serenade เหลือ 899 บาทต่อเดือนโดยที่ AIS Fibre เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปีที่แล้ว ด้วยฐานลูกค้า 12,000 ราย และได้ขยับเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการประมาณการว่าสิ้นปี2559 ที่ผ่านมาจะมีฐานลูกค้า 300,000 ราย

ปัจจุบันพื้นที่ให้บริการ “AIS Fibre” ครอบคลุม 28 จังหวัด ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ โดยในปีหน้ายังไม่เปิดพื้นที่ให้บริการใหม่มากนัก เพราะต้องการอุดช่องโหว่พื้นที่ให้บริการเดิมก่อน เพื่อมั่นใจได้ว่าลูกค้าในพื้นที่บริการสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพจริงโดยทาง ผู้บริหาร AIS Fibre กล่าวว่า “Ais Fibre อยากขึ้นเบอร์ 2 มีฐานลูกค้าไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านราย และส่วนแบ่งการตลาด 25% ภายใน 5 ปีนับจากนี้ (ปี2564)  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่นี่เป็นเป้าหมายที่ Ais Fibre ตั้งเอาไว้” 


ธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก truevisions VS Ais Play
ประเทศไทยมีจำนวนสมาชิกในระบบโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกประมาณ 6.8 ล้านครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30
ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ ในปี 2559 (แหล่งที่มา: Media Partners Asia “MPA”) ทั้งนี้ ทรูวิชั่นส์ เป็นผู้นำในการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและบริการในระบบ HD ทั่วประเทศ โดยมีฐานลูกค้ารวมทั้งสิ้น 3.9 ล้านราย

ธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายช่องทางทั้งภายใต้กฎหมายและผิดกฎหมาย รวมถึงการมีผู้ให้บริการรายใหม่เพิ่มมากขึ้นภายหลังการออกใบอนุญาตเพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลของคณะกรรมการ กสทช. ในปี 2557 อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปรับชมคอนเทนต์ โดยเฉพาะคอนเทนต์ประเภท streaming ผ่านอินเทอร์เน็ต และความนิยมในการรับชมสื่อบันเทิงผ่านอินเทอร์เน็ต อาทิ Youtube และ Facebook Live มากยิ่งขึ้น


          ทรูวิชั่นส์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและบริการในระบบ HD รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยังคงเติบโตทั้งในด้านรายได้และฐานลูกค้า ภายหลังที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกอีกรายคือ CTH ได้ยุติการให้บริการตามหลัง GMMZ ทำให้ Truevisions กลายเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกรายใหญ่ที่สุดเหมือนเดิม และมีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย รวมถึงการได้คอนเทนต์สำคัญอย่าง EPL กลับมาออกอากาศผ่าน Truevisions ที่ช่อง bein sports ทั้งนี้ทำให้ Truevisions ผสานบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกกับแพลตฟอร์มการให้บริการที่ครบวงจรของกลุ่มทรูทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต และดิจิตอลแพลตฟอร์มของกลุ่ม กลายเป็นธุรกิจคอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู ยังสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ทรูวิชั่นส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลูกค้าในตลาดระดับแมส สิ่งเหล่านี้ ร่วมกับ
กลยุทธ์ในการขายพ่วงบริการอื่นของกลุ่มเพื่อจูงใจลูกค้าในการสมัครแพ็กเกจที่สูงขึ้น ช่วยเพิ่มศักยภาพการเติบโตให้ทรูวิชั่นส์แม้สภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมยังคงอยู่ในระดับที่สูงสำหรับความเสี่ยงหลักของกลุ่มทรูวิชั่นส์ที่ผ่านมา ได้แก่การต้องพึ่งพาผู้จัดหารายการเพื่อซื้อรายการจากต่างประเทศ และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั้งในธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลหลังการออกใบอนุญาตเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติจำนวน 24 ช่องรายการ ในเดือนเมษายน พ.. 2557ของคณะกรรมการ กสทช. ซึ่งเป็นช่องรายการที่มีความหลากหลาย ทั้งยังเป็นคู่แข่งที่กระทบต่อการประกอบกิจการของ กลุ่มทรูวิชั่นส์ โดยผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ต่างแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดและเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการแพร่
ภาพคอนเทนต์สำคัญๆ ซึ่งอาจทำให้กลุ่มทรูวิชั่นส์มีค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งคอนเทนต์ต่างๆ เหล่านี้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ทรูวิชั่นส์ยังมีความเสี่ยงจากการถูกลักลอบใช้สัญญาณหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้หากกลุ่มทรูวิชั่นส์ไม่สามารถจัดหารายการที่เป็นที่สนใจของสมาชิก หรือหากต้นทุนของการจัดหารายการเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตก็จะมีผลกระทบต่อผลประกอบการของกลุ่มทรูวิชั่นส์ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการเจรจาเพื่อต่อสัญญาให้ได้มาซึ่งสิทธิในการแพร่ภาพคอนเทนต์ซึ่งอาจทำให้กลุ่มทรูวิชั่นส์ไม่อาจนำเสนอช่องรายการบางช่องรายการ หรือรายการบางรายการ ต่อไปได้ ซึ่งการยกเลิกช่องรายการ หรือรายการ
ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ลูกค้าจะยกเลิกการใช้บริการ หรือใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายได้ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนได้แก่การที่กลุ่มทรูวิชั่นส์ต้องยกเลิกการออกอากาศช่อง HBO ซึ่งออกอากาศทางช่อง Truevisions มาอย่างยาวนานเนื่องจากปัญหาการตกลงด้านผลประโยชน์และจำเป็นต้องเพิ่มช่องภาพยนต์อื่นๆเข้ามาทดแทนเพื่อดึงลูกค้าไว้ต่อไป ปัจจุบันลูกค้าที่สนใจในรายการจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่สมัครแพ็กเกจพรีเมียม ซึ่ง ณ สิ้น ปี พ.. 2559 มีจำนวนประมาณ 2 แสนราย ของฐาน
ลูกค้ารวมของกลุ่มทรูวิชั่นส์อย่างไรก็ดี กลุ่มทรูเชื่อว่าคอนเทนต์คุณภาพสูงที่หลากหลายและครบถ้วน ซึ่งโดยส่วนใหญ่กลุ่มทรูวิชั่นส์เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์เพียงรายเดียวในประเทศไทย รวมถึงคอนเทนต์ที่ทรูวิชั่นส์เป็นผู้ผลิตเองซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้รับชมในประเทศอีกทั้งการสามารถผสมผสานบริการอื่นๆ ของกลุ่มทรูผ่านยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ จะช่วยรักษาความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของกลุ่มทรูวิชั่นส์ นอกจากนี้ ฐานสมาชิกที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งประสบการณ์ในการดำเนินงานในธุรกิจนี้มายาวนานของ
กลุ่มทรูวิชั่นส์ ยังเป็นหลักประกันด้านรายได้สำหรับผู้ให้บริการคอนเทนต์ จึงรักษาความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างผู้ให้บริการคอนเทนต์กับกลุ่มทรูวิชั่นส์ได้เป็นอย่างดีทั้งนี้ กลุ่มทรูวิชั่นส์ ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากหลักเกณฑ์การกำกับดูแลของ คณะกรรมการ กสทช. เช่น หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ และการจัดเรียงช่องรายการ รวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแจ้งผู้ใช้บริการถึงยกเลิกช่องรายการ
ซึ่งอาจมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าได้ตามกำหนดเวลาตัวอย่างเช่นการแจ้งยกเลิกช่อง HBO อีกทั้ง ยังมีความเสี่ยงในความไม่ชัดเจนของการกำกับดูแลของคณะกรรมการ กสทช. อาทิ การกำกับดูแลโฆษณา เนื้อหารายการ และการพิจารณามาตรการเยียวยาต่างๆ ที่กลุ่มทรูวิชั่นส์นำเสนอเมื่อมีความจำเป็นต้องยกเลิกช่องรายการ ความเสี่ยงจากการที่กลุ่มทรูวิชั่นส์อาจถูกจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ในการแพร่ภาพแพร่เสียงของคอนเทนต์ต่างๆ ทางกลุ่มทรูวิชั่นส์มีนโยบายที่จะแพร่ภาพแพร่เสียงเฉพาะคอนเทนต์ที่กลุ่มทรูวิชั่นส์ได้สร้างขึ้นมาและที่กลุ่มทรูวิชั่นส์ได้รับสิทธิให้แพร่ภาพแพร่เสียงจากผู้ทรงสิทธิในลิขสิทธิ์ของคอนเทนต์นั้น โดยบริษัทฯ เข้าใจว่าสิทธิที่กลุ่มทรูวิชั่นส์ได้รับมาในการแพร่ภาพแพร่เสียงนั้น ผู้ให้บริการช่องรายการได้รับสิทธิในงานนั้นๆ แล้วนอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการในผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านกฎเกณฑ์การกำกับดูแลต่างก็มีส่วนทำให้มีการเปิดตลาดและให้บริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงคาดว่าปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น จะยังคงมีผลต่อธุรกิจสื่อสารของประเทศไทยในอนาคตเพื่อตอบรับกับแนวโน้มใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี อาจทำให้กลุ่มทรูมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการดำเนินงานสูงขึ้นเป็นอย่างมากและหากกลุ่มทรูไม่ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่อาจจะมีผลทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้าลดลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มทรูคาดว่า ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ตลอดจนฐานรายได้และลูกค้าที่มีความหลากหลายจะทำให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและรักษารายได้ให้อยู่ในกลุ่มทรูได้ดีกว่าผู้ให้บริการที่มีเพียงบริการเดียวได้

          ในขณะเดียวกัน Ais ได้เปิดให้บริการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกโดยให้บริการที่เรียกว่า Ais Play ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Ais Playbox โดยการรับชมผ่านโครงข่าย Ais Fibre เป็นหลักโดยการจัดแพคเก็จเริ่มต้น 2 แบบคือ Gold Full HD 299 บาท/เดือน หรือ Platinum Full HD 599 บาท/เดือน โดยลูกค้าแพคเกจนี้จะสามารถรับชมคอนเท้นต์อย่าง HBO ที่ไม่มีการต่อสัญญากับทาง Truevisions มาออกอากาศที่ Ais Playbox โดยผ่านโครงข่าย  Ais Fibre แทน นั่นเอง สำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ลูกค้าสามารถชมคอนเทนต์วิดีโอ ทั้งรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์กีฬา และคาราโอเกะ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการรับชมความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ นอกจาก AIS PLAYBOX ที่เป็นอุปกรณ์ Set top box สำหรับลูกค้าเอไอเอส ไฟเบอร์แล้ว ในปี 2559 เอไอเอสยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการรับชมคอนเทนต์ผ่านมือถือ ชื่อว่า AIS PLAY ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนมือถือที่เพิ่มความสะดวกสบาย ทำให้ลูกค้าสามารถรับชมรายการต่างๆ ได้ทุก
ที่ทุกเวลา และในปีนี้ เอไอเอสยังได้ร่วมมือกับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เพื่อนำเสนอการถ่ายทอดคอนเสิร์ต อีกทั้งยังมีคอนเทนต์กีฬา เช่น โอลิมปิค พาราลิมปิค ที่ลูกค้าสามารถเลือกรับชมได้หลากหลายกว่าการถ่ายทอดทางช่องฟรีทีวี

อย่างไรก็ตามการออกอากาศ Ais Playbox จะยังคงถูกจำกัดในการออกอากาศในโครงข่ายของ Ais Fibre เท่านั้น ซึ่งนับว่ายังเป็นข้อจำกัดในการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกเมื่อเทียบกับ Truevisions ที่มีการออกอากาศในระบบดาวเทียมและเคเบิลรวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ เช่น Truevisions Anywhere รวมถึงการดูผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งทางมือถือและคอมพิวเตอร์โดยการผูกติดกับ True ID ซึ่งทำให้ Truevisions ยังคงได้เปรียบ Ais Playbox อยู่พอสมควร
Trueyou vs Serenade

เอไอเอส เซเรเนด เป็นโปรแกรมการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าที่เอไอเอสจัดขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าที่มีการใช้งานสม่ำเสมอมียอดค่าใช้บริการตามลำดับขั้น มีทั้งเซเรเนด แพลทินัม โกลด์และเอ็มเมอรัลด์ โดยลูกค้าเซเรเนดจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆตามรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น หมายเลขคอลเซ็นเตอร์เฉพาะสำหรับลูกค้าเซเรเนด สิทธิในการเข้าใช้เซเรเนดคลับ บริการผู้ช่วยส่วนตัวของขวัญวันเกิด บริการที่จอดรถ ณ ศูนย์การค้า ส่วนลดร้านค้าต่างๆ ฯลฯปีนี้เอไอเอสได้ฉลองครอบรอบ 12 ปีเซเรเนด ด้วยแคมเปญ“The Ultimate Pride” ภายใต้แนวคิดยิ่งกว่าที่สุด คือความประทับใจไม่รู้จบโดยยกระดับการมอบความพิเศษที่มากยิ่งขึ้นครอบคลุมทั้ง 360 องศา ประกอบไปด้วย
1) Ultimate Digital Life สิทธิพิเศษหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ชีวิตดิจิตอล ทั้งส่วนลดพิเศษสำหรับมือถือ และเอไอเอส ไฟเบอร์รวมถึงบริการเสริมอื่นๆ
2) Ultimate Pretty and Lucky Number เลือกรับเบอร์สวยหรือเบอร์มงคล พร้อมรับสิทธิเซเรเนด แพลตินั่ม และผู้ช่วยส่วนตัว
3) Ultimate Wealth & Investment ร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อมอบสิทธิพิเศษความคุ้มค่าในด้านการเงินการลงทุน และด้านประกันภัย
4) Ultimate Surprises ให้ลูกค้าลุ้นรับของขวัญประสบการณ์พิเศษ อาทิ ทริปสำหรับลูกค้าคนพิเศษ
5) Ultimate Lifestyle Privileges มอบประสบการณ์เหนือระดับด้วยสิทธิพิเศษ อาทิ ส่วนลดร้านค้า สิทธิพิเศษที่จอดรถ บริการเครื่องดื่มฟรีที่สนามบิน
6) Ultimate Dining ที่สุดของประสบการณ์ความอร่อย ด้วยส่วนลดหรือสิทธิพิเศษหลากหลายจากร้านอาหารชื่อดัง
โดยที่เซเรเนดของ Ais ดำเนินการมาได้ 12 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่
ส่งมอบบริการและสิทธิพิเศษเหนือระดับให้กับลูกค้ามาโดยตลอดซึ่งการคัดสรรสิทธิพิเศษต่างๆ เกิดจากความมุ่งมั่นศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าในเชิงลึก เพื่อออกแบบเป็นบริการที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม (Segmentation) และพัฒนาต่อยอดไปสู่การดูแลลูกค้าที่เหมาะกับแต่ละบุคคล (Personalization) ทำให้ลูกค้าเอไอเอส เซเรเนด เกิดความผูกพัน รู้สึกถึงความเป็นคนพิเศษ และด้วยตัวเลขที่แสดงความพึงพอใจของลูกค้าในไตรมาส 1 ปี 2559 ที่สูงถึงร้อยละ 88 และมี Net Promoter Score (NPS) เป็นบวกอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงความสำเร็จของการดูแลลูกค้าคนพิเศษด้วยโปรแกรม เอไอเอส เซเรเนด ถือได้ว่าเอไอเอสเป็นผู้ให้บริการที่สร้างความแตกต่างในงานบริการด้านการดูแลลูกค้าและสิทธิพิเศษให้กับตลาดโทรคมนาคมไทย
          ส่วนทางทรูจะใช้การใช้บัตร TrueCard แทนซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ระดับคือ True BlackCard และ True RedCard ซึ่งแทนลูกค้าที่มียอดการใช้งานและเงื่อนไขดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้ถือบัตร TrueCard


True BlackCard
• ลูกค้าทรูที่ใช้สินค้าและบริการในกลุ่มทรูติดต่อกันนานอย่างน้อย 6 เดือน โดยมียอดค่าชำระสินค้า/บริการรวมกันเฉลี่ยตั้งแต่ 3,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
• ลูกค้าทรูที่ใช้สินค้าและบริการในกลุ่มทรู มานานติดต่อกันมากกว่า 10 ปี โดยมียอดค่าชำระสินค้า/บริการรวมกันเฉลี่ย 6 เดือนย้อนหลัง 2,000 - 2,999 บาทต่อเดือน 






True RedCard
• ลูกค้าทรูที่ใช้สินค้าและบริการในกลุ่มทรูติดต่อกันนานอย่างน้อย 6 เดือน โดยมียอดค่าชำระสินค้า/บริการรวมกันเฉลี่ย 2,000 - 2,999 บาทต่อเดือน
• ลูกค้าทรูที่ใช้สินค้าและบริการในกลุ่มทรู มานานติดต่อกันมากกว่า 5 ปี โดยมียอดค่าชำระสินค้า/บริการรวมกันเฉลี่ย 6 เดือนย้อนหลัง 500 - 1,999 บาทต่อเดือน





เงื่อนไขทรูการ์ด
1. ลูกค้าจดทะเบียนในนามบุคคล(individual) เท่านั้น
2. สินค้า/บริการอย่างน้อย 1 สินค้าจะต้องมีอายุอย่างน้อย 6 เดือน
3. ยอดเฉลี่ยจากทุกสินค้า/บริการตามเกณฑ์ เป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน ภายใต้หมายเลขบัตรประชาชนหรือ passport เดียวกัน
4. ยอดชำระค่าบริการที่นำมาเป็นยอดเฉลี่ย จะนำมาจากสินค้า/บริการที่มีสถานะปกติ (Active) เท่านั้น
 
5. ลูกค้ามีประวัติการชำระค่าบริการตรงตามกำหนดในทุกสินค้าและบริการ โดยไม่มีประวัติถูกระงับบริการ
6. สิทธิพิเศษทรูการ์ด มีสถานะ 1 ปีนับจากวันที่ทรูออกบัตรให้ [วันที่หมดอายุหน้าบ้ตร คือวันหมดอายุของกระเป๋าเงินทัช]


บัตร TrueYou MasterCard
ทรูยูมาสเตอร์การ์ด (TrueYou MasterCard) ให้กับลูกค้าคนไทยที่เข้าเงื่อนไขทรูแบล็คการ์ด และทรูเรดการ์ด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป และลูกค้าที่ถือบัตรทรูการ์ด รูปแบบเก่า ทางทรูยูก็จะเริ่มทยอยทำการเปลี่ยนบัตรให้กับลูกค้าทั้งหมดภายในต้นปี 2017 ทรูยูมาสเตอร์การ์ด ที่มีการจัดส่งให้ลูกค้า จะมีรูปแบบดังนี้
ทรูยูมาสเตอร์การ์ด (เรดการ์ด)
 
 
ทรูยูมาสเตอร์การ์ด (แบล็คการ์ด) 
 
 

บัตรทรูยูมาสเตอร์การ์ด คือ
 บัตรมาสเตอร์การ์ดแบบเติมเงินที่ทรูยูมอบให้ลูกค้าทรูการ์ด ที่นอกจากลูกค้าจะได้รับสิทธิพิเศษของทรูแบล็คการ์ด หรือทรูเรดการ์ดปกติแล้ว ลูกค้าที่ลงทะเบียนเปิดใช้บัตรมาสเตอร์ผ่าน https://wallet.truemoney.com/ จะสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ เช่น ซื้อแอพและไอเทมในเกม จาก Apple AppStore และ Google PlayStore ช้อปออนไลน์ อาทิ iTrueMart, WeLoveShopping, Lazada ซื้อตั๋วออนไลน์ อาทิ การบินไทย, AirAsia, SF Cinema สั่งอาหารออนไลน์ อาทิ KFC, McDonald’s และหรือซื้อ/ชำระค่าสินค้ากับร้านค้าที่รับบัตรมาสเตอร์ และอีกทั้งยังจะสามารถได้รับสิทธิพิเศษจากบัตรมาสเตอร์อีกด้วย โดยทุกๆ รายการ 25 บาทที่ลูกค้าใช้จ่ายผ่านทรูยูมาสเตอร์การ์ด ลูกค้าจะได้รับคะแนนสะสม TruePoint จำนวน 1 คะแนน
TrueYou MasterCard
  • พร้อมสำหรับทุกการใช้จ่าย แบบไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิต หรือบัญชีเงินฝาก
    • ซื้อสินค้า กับทุกร้านค้าที่รับบัตรมาสเตอร์การ์ด
    • ซื้อแอพและไอเทมในเกม จาก Apple App Store และ Google Play Store
    • ช้อปออนไลน์ อาทิ iTrueMart, WeLoveShopping, Lazada
    • ซื้อตั๋วออนไลน์ อาทิ การบินไทย, AirAsia, SF Cinema
    • สั่งอาหารออนไลน์ อาทิ KFC, McDonald’s
  • สะสม ทุก 25 บาท ที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร รับ TruePoint 1 คะแนน
  • สะดวก เติมเงินได้หลากหลายช่องทาง
  • มั่นใจ ด้วยระบบความปลอดภัยมาตรฐานโดยธนาคารชั้นนำ ทั้งยังสามารถสั่งงาน เปิด - ปิด การใช้บัตรโดยตรงจากแอพบนมือถือ
โดยมีขั้นตอนของการเริ่มต้นใช้งานคือ
1.      ลงทะเบียน เพื่อสร้างบัญชีกระเป๋าเงิน Wallet ซึ่งเงินในการใช้จ่ายจะถูกตัดจากกระเป๋าเงินนี้ ผ่านเว็บไซต์ trueyou.truemoney.coผ่านแอพ Wallet by TrueMoney
2.      เปิดบัตร เข้าไปที่เมนู เปิดใช้บัตรผ่านเว็บไซต์หรือผ่านแอพ โดยใส่ Activation No. จำนวน 18 หลัก ที่แสดงอยู่ด้านหลังบัตรทรูการ์ด พร้อมใส่หมายเลขบัตร 4 หลักสุดท้าย ที่อยู่ด้านหน้าบัตรทรูการ์ด (ใส่เพียง 4 หลักสุดท้ายจาก 16 หลัก)
3.      เติมเงินเข้ากระเป๋า (Wallet) โดยสามารถเติมเงินได้หลากหลายช่องทาง อาทิ ตู้ทรูมันนี่, ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven, FamilyMart, CP FreshMart, ผ่านธนาคารออนไลน์ หรือผูกบัญชีธนาคาร กับแอพ Wallet เพื่อความสะดวกในการเติมเงินเข้าแอพ Wallet ได้ทุกที่ ทุกเวลา จากนั้นบัตรของท่าน ก็สามารถใช้ซื้อสินค้าได้ทันที
*ด้วยระเบียบการใช้งานเงินอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน ผู้ใช้งานบัตร TrueYou MasterCard ในการจ่ายเงิน จะต้องระบุรหัสบัตรประจำตัวประชาชนในการสมัครและเปิดใช้งาน
ซึ่งแนวทางการใช้งานระบบ Truecard จะแตกต่างจากการเป็นสมาชิก Serenade Card ของ Ais อยู่พอสมควร รวมถึงการเพิ่มระบบ True ID ที่ใช้สำหรับล็อคอินทีเดียว เข้าถึงทุกบริการ ทุกแอพพลิเคชั่นของทรู และใช้สะสมTruePoint โดยการเปลี่ยนยอดการใช้จ่ายเปลี่ยนเป็นคะแนนสะสม เพื่อใช้เป็นส่วนลดต่างๆ เช่น แลกรับส่วนลดเพื่อซื้อสินค้าที่ร่วมรายการ ที่ 7-Eleven ใช้แลกค่าโทร WiFi หรือ SMS ฟรี จาก TrueMove H รับส่วนลดเมื่อซื้อเครื่องดื่ม ที่ True Coffee การรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทรูคลาวด์ไม่จำกัด และลูกค้าทั่วไปรับพื้นที่เก็บข้อมูลทรูคลาวด์จำนวน 5GB
               ซึ่งนับว่าทั้ง Ais และ True ล้วนมีการทำกลยุทธ์ที่น่าสนใจทั้งคู่สำหรับอื่นๆที่ Ais น่าจะยังคงเหนือกว่าทาง True คือระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า(Customer Relation Management)


   2. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน จาก Web และ Annual Report ของ องค์กร ดังนี้
     2.1) โครงสร้างองค์กร - แผนก  ฝ่าย
โครงสร้างองค์กรของกลุ่มบริษัทฯ True

กลุ่มทรู เป็นผู้ให้บริการสื่อสาร โดยกลุ่มทรูประกอบด้วยบริการด้านเสียง (โทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่) บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต ทั้งแบบมีสายและไร้สาย บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล บริการด้านข้อมูลและคอนเทนต์ โดยกลุ่มทรูได้มีการแบ่งกลุ่มธุรกิจหลักออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย
1.      ธุรกิจออนไลน์ ภายใต้ทรูออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย บริการโทรศัพท์พื้นฐานและบริการเสริมต่าง ๆ บริการอินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบริการบรอดแบนด์ บริการโครงข่ายข้อมูล และบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi)
2.      ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้ทรูมูฟ เอช ซึ่งให้บริการครบทุกมิติทั้งระบบ 4.5G/4G 3G และ 2G ที่ครอบคลุมสูงสุดทั่วประเทศ
3.      ธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ภายใต้ ทรูวิชั่นส์
1.ทรูออนไลน์ ประกอบด้วยบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่ยังคงมีกิจกรรมทางธุรกิจ 25 บริษัท และกิจการร่วมค้า 2 บริษัท
ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน
1)      บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
2)      บริษัท ทรู พับลิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
3)      บริษัท ทรู ทัช จำกัด
4)      บริษัท เอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
5)      บริษัท ทรู วอยซ์ จำกัด

ธุรกิจให้บริการสื่อสารข้อมูล
1)      บริษัท ทรู มัลติมีเดีย จำกัด
2)      บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน)
3)      บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เดิมชื่อบริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด”)
4)      ธุรกิจบรอดแบนด์และบริการอินเทอร์เน็ต
5)      บริษัท ทรู มัลติมีเดีย จำกัด
6)      บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด
7)      บริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส จำกัด
8)      บริษัท ศูนย์บริการวิทยาการอินเตอร์เนต จำกัด
9)      บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียลอินเตอร์เนต จำกัด
10)  บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด
ธุรกิจอื่นๆ
ธุรกิจลงทุน
1)      บริษัท เทเลคอมโฮลดิ้ง จำกัด
2)      บริษัท กรุงเทพอินเตอร์ เทเลเทค จำกัด (มหาชน)
3)      K.I.N. (Thailand) Co., Ltd.(จดทะเบียนต่างประเทศ)
4)      บริษัท เอ็มเคเอสซี เวิลด์ดอทคอม จำกัด
5)      บริษัท ทรู อินคิวบ์ จำกัด
6)      True Trademark Holdings Company Limited
7)      Gold Palace Investments Limited
8)      Golden Light Co., Ltd.
9)      Goldsky Co., Ltd.
ธุรกิจอื่น ๆ
1)      บริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด
2)      บริษัท บีบอยด์ ซีจี จำกัด
3)      บริษัท ทรู วิสต้าส์ จำกัด
4)      บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด
5)      True Internet Technology (Shanghai) Co., Ltd
6)      บริษัท ทรู ไอคอนเท้นท์ จำกัด
7)      บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม จำกัด
 2.ทรูโมบาย ประกอบด้วยบริษัทย่อยที่ยังคงมีกิจกรรมทางธุรกิจ 8 บริษัท
1)      บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด
2)      บริษัท ทรู มูฟ จำกัด
3)      บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลล์ จำกัด
4)      บริษัท ทรู มิวสิค จำกัด
5)      บริษัท เทเลคอม แอสเซท เมเนจเมนท์ จำกัด
6)      บริษัท เรียล มูฟ จำกัด
7)      บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
8)      บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด
3.ทรูวิชั่นส์ ประกอบด้วยบริษัทย่อยที่ยังคงมีกิจกรรมทางธุรกิจ 13 บริษัท กิจการร่วมค้า 2 บริษัท และบริษัทร่วม 1 บริษัท
1)      บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด
2)      บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
3)      บริษัท ซีนิเพล็กซ์ จำกัด
4)      บริษัท ทรู วิชั่นส์ เคเบิ้ล จำกัด (มหาชน)
5)      บริษัท แซทเทลไลท์ เซอร์วิส จำกัด
6)      บริษัท แพนเทอร์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด
7)      บริษัท เอพีแอนด์เจ โปรดักชัน จำกัด
8)      บริษัท ทรู มีเดีย โซลูชั่นส์ จำกัด(เดิมชื่อบริษัท ทรู ดิจิตอล มีเดีย จำกัด”)
9)      บริษัท ทรู ยูไนเต็ด ฟุตบอล คลับ จำกัด
10)  บริษัท เอสเอ็ม ทรู จำกัด
11)  บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด
12)  บริษัท ทรู จีเอส จำกัด
13)  บริษัท เทเลเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด
14)  บริษัท บีอีซี-เทโร ทรู วิชั่นส์ จำกัด
15)  บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด
16)  บริษัท ทรู ซีเจ ครีเอชั่นส์ จำกัด



โครงสร้างการถือหุ้นบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
บริษัท แอดวานซ์คอนแท็ค เซ็นเตอร์ จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด
บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด
บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ ไวส์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด
บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด
บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด
บริษัท อินฟอรเมชั่น ไฮเวย์ จำกัด
บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำกัด
บริษัท ไมโมเทค จำกัด
บริษัท แฟกซ์ ไลท์ จำกัด
บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิ เลขหมายโทรศัพท์ จำกัด
บริดจ์ โมบาย พีทีอี แอลทีดี
โครงสร้างการถือหุ้นกลุ่มอินทัช
ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย
·       บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
1.      บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด
2.      บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด
3.      บริษัท แอดวานซ์ คอนแท็ค เซ็นเตอร์ จำกัด
4.      บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด
5.      บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด
6.      บริษัท เอไอเอ็นโกลบอลคอม จำกัด
7.      บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด
8.      บริษัท ไมโมเทค จำกัด
9.      บริษัท แฟกซ์ไลท์ จำกัด
10.  บริษัท แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด
11.  บริษัท อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด
12.  บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำกัด
13.  บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด
14.  บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
15.  บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิ เลขหมายโทรศัพท์ จำกัด
16.  บริดจ์ โมบาย พีทีอี แอลทีดี
ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศ
บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)
·       ดาวเทียม
1.      บริษัท ไอพีสตาร์ จำกัด
2.      บริษัท ไอพีสตาร์ นิวซีแลนด์ จำกัด
3.      บริษัท ไอพีสตาร์ ออสเตรเลีย พีทีวาย จำกัด
4.      บริษัท โอไรออน แซทเทลไลท์ซิสเทม พีทีวาย จำกัด
5.      บริษัท ไอพีสตาร์อินเตอร์เนชั่นแนล พีทีอี จำกัด
6.      บริษัท ไอพีสตาร์โกลเบิลเซอร์วิส จำกัด
7.      บริษัท ไอพีสตาร์ เจแปน จำกัด
8.      บริษัท สตาร์ นิวเคลียส จำกัด
9.      สเปซโคด แอล แอล ซี
10.  บริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จำกัด
11.  บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลแซทเทลไลท์ จำกัด
12.  บริษัท ไอพีสตาร์ (อินเดีย) ไพรเวท จำกัด
13.  บริษัท ทีซี โกลเบิลเซอร์วิส จำกัด
·       โทรศัพท์ในต่างประเทศ
1.      บริษัท เชนนิงตัน อินเวสเม้นท์ส พีทีอี ลิมิเต็ด
2.      บริษัท ลาวเทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
·       อินเทอร์เน็ตและสื่ออื่น
1.      บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด
2.      บริษัท ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ จำกัด (มหาชน)
3.      บริษัท เทเลอินโฟมีเดีย จำกัด (มหาชน)
4.      บริษัท เอดี เวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
5.      บริษัท แคมโบเดียน ดีทีวีเน็ตเวิร์ค จำกัด
บริษัท อุคบี จำกัด
บริษัท กอล์ฟดิกก์ จำกัด
บริษัท ซินโนส จำกัด
บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด
บริษัท เพลย์เบสิส พีทีอี ลิมิเต็ด
บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด
บริษัท ไอ.ที. แอปพลิเคชันส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
บริษัท อินทัช มีเดีย จำกัด
บริษัท ทัช ทีวี จำกัด
บริษัท ไฮ ช็อปปิ้ง จำกัด
บริษัท ไฮ ช็อปปิ้ง ทีวี จำกัด
กิจการร่วมค้ากันตนาและอินทัช
บริษัท แมทช์บอกซ์ จำกัด
บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
บริษัท อาร์ตแวร์มีเดีย จำกัด

    2. 2)  ความโดดเด่นขององค์กร
ความโดดเด่นขององค์กร AIS
จุดเด่นของ AIS คือการที่ประกอบธุรกิจมานานและมีความเป็นเจ้าตลาดการให้บริการโทรศัพท์มือถือทำให้ได้เปรียบทาง True อยู่พอสมควร ซึ่งธุรกิจหลักของเอไอเอส สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1. ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ปัจจุบัน เอไอเอสได้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ย่าน2.1 กิกะเฮิรตซ์ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยให้บริการทั้งเทคโนโลยี 2G 3G และ 4G ทั้งหมดนี้พร้อมรองรับลูกค้ารวมกว่า 41 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าระบบเติมเงินประมาณ 34.6 ล้านราย และมีลูกค้าระบบรายเดือนประมาณ 6.4 ล้านราย ในปี2559 เอไอเอสได้ขยายสถานีฐาน 3G ไปทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นกว่า
51,200 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากร และสถานีฐาน4G มีจำนวน 42,100 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากรนอกเหนือไปจากแพ็คเกจการใช้งานหลักของทั้งระบบเติมเงินและระบบรายเดือนแล้ว ลูกค้าสามารถซื้อแพ็คเกจเสริม เพื่อใช้งานเพิ่มเติมและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการ เช่นเพิ่มจำนวนนาทีในการโทร เพิ่มปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยสามารถเลือกซื้อเป็นแพ็คเกจเสริมใช้ครั้งเดียว หรือใช้ต่อเนื่อง เป็นประจำ ซึ่งมีช่องทางการซื้อ
ที่ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ทั้งการสมัครแพ็คเกจเสริมด้วยการกดรหัส สมัครผ่านช่องทางออนไลน์อื่นๆ เช่น eService หรือAIS Online store และผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น AIS App และ
LINE เป็นต้นซึ่งบริการต่างๆเหล่านี้ยังทำให้ AIS ยังคงเป็นเบอร์ 1 ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันนั่นเอง
แพ็คเกจและซิมใหม่
เอไอเอสให้บริการและนำเสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ในปี 2559 จึงได้มีการศึกษา วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อนำมาพัฒนาแพ็คเกจในรูปแบบใหม่ๆทั้งในระบบรายเดือนและระบบเติมเงิน ที่สอดคล้องและเหมาะกับการใช้งานบนเครือข่าย 4G เพื่อให้การใช้งานของลูกค้าเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพโดยการแบ่งแพคเกจตามพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นหลักโดยครอบคลุมทุกการใช้งานไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ หรือคอนเทนต์ดิจิทัลอื่นๆ และลูกค้าจะและสามารถเลือกซื้อแพ็คเกจเพิ่มเพื่อให้สามารถใช้งานต่อได้ นอกจากนี้ยังมีบริการ Multi SIM ที่ลูกค้าระบบรายเดือนสามารถสมัครใช้เพียงแพ็คเกจเดียว เพื่อเล่นเน็ตพร้อมกันได้ถึง 5 เครื่อง
ระบบเติมเงิน ลูกค้าสามารถเลือกเติมเงินผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ผ่าน เอไอเอสช็อป mPAY ผ่านธนาคาร เครื่องเอทีเอ็มผ่านร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ เพื่อให้มีเงินคงอยู่ในระบบ จากนั้นสามารถใช้บริการโดยเลือกจากแพ็คเกจที่หลากหลาย ภายใต้แบรนด์เอไอเอส วันทูคอล! เพื่อให้ตรงตามลักษณะการใช้งานมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วเมื่อจดทะเบียนซิม ลูกค้าจะเลือกแพ็คเกจหลักซึ่งมีทั้งแบบรวมการใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะรวมบริการ AIS WiFi ไว้ด้วย หรือแพ็คเกจ NET SIM ที่ให้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ต
ซึ่งได้รับความนิยมเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เช่น แท็บเล็ต และแบบสุดท้ายคือ แบบใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ที่มีอัตราค่าโทรแตกต่างกันไปทั้งในเครือข่ายและนอกเครือข่ายเอไอเอส และนอกจากนี้ ยังมีรูปแบบค่าโทรราคาพิเศษสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและทางสายตาอีกด้วยทำให้แพคเกจการจัดทำโปรโมชั่นของ AIS ค่อนข้างที่จะหลากหลายและมีตัวเลือกค่อนข้างมาก
ระบบรายเดือน เป็นรูปแบบที่ลูกค้าใช้บริการก่อนแล้วจึงชำระค่าใช้จ่ายเมื่อสิ้นสุดรอบการใช้ โดยสามารถเลือกแพ็คเกจที่สามารถแบ่งประเภทได้เช่นเดียวกับระบบเติมเงิน แบบรวมการใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีบริการ AIS WiFi รวมอยู่เช่นกัน หรือรูปแบบการใช้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ต และรูปแบบ
การใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ลูกค้าในระบบรายเดือนมีแพ็คเกจการใช้งานให้เลือกอย่างหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่จะมีข้อแตกต่างจากระบบเติมเงินคือการชำระเงินหลังรอบการใช้บริการในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าจำนวนมาก พึงพอใจกับความสะดวกสบายในแง่นี้นอกเหนือไปจากแพ็คเกจการใช้งานหลักของทั้งระบบเติมเงินและระบบรายเดือนแล้ว ลูกค้าสามารถซื้อแพ็คเกจเสริม เพื่อใช้งานเพิ่มเติมและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการ เช่นเพิ่มจำนวนนาทีในการโทร เพิ่มปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยสามารถเลือกซื้อเป็นแพ็คเกจเสริมใช้ครั้งเดียว หรือใช้ต่อเนื่อง เป็นประจำ ซึ่งมีช่องทางการซื้อที่ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ทั้งการสมัครแพ็คเกจเสริมด้วย
การกดรหัส สมัครผ่านช่องทางออนไลน์อื่นๆ เช่น eService หรือAIS Online store และผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น AIS App และLINE เป็นต้น
แพ็คเกจรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ที่สนุกกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงต่างๆ เช่น ดูคลิปดูหนัง ดูดิจิทัลทีวี และฟังเพลง แพ็คเกจนี้รวมการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง และให้ลูกค้าสามารถดูหนัง ฟังเพลงไปกับแอปพลิเคชันชั้นนำ AIS PLAY, YouTube, JOOX, Atime Online,Coolism และ Seed ได้ทุกที่ทุกเวลา ระบบเติมเงินเอไอเอสยังได้ออกโปรโมชั่นเครื่องโทรศัพท์คุณภาพดี ในราคาที่คุ้มค่าให้ลูกค้าเลือกใช้ตามความต้องการที่หลากหลาย โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนซึ่งเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน สอดคล้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือที่เพิ่มขึ้นตามรูปแบบการใช้ชีวิต
โดยเอไอเอสได้เสนอแบรนด์ตัวเองคือ เอไอเอสซุปเปอร์คอมโบ
โดยนำเสนอสมาร์ทโฟนคุณภาพดี ราคาคุ้มค่าหลากหลายรุ่นภายใต้แบรนด์เอไอเอส Super Combo LAVA ที่เป็นแบรนด์พิเศษที่พัฒนาร่วมกันโดยเอไอเอสกับผู้ผลิตมือถือ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน โดยโทรศัพท์ที่นำมาจัดแคมเปญนี้ มีทั้งโทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยี 3G/4G และยังรวมถึงโทรศัพท์
รุ่นใหม่ที่รองรับเทคโนโลยี 4G
บริการโรมมิ่งและบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
เอไอเอสมีบริการโรมมิ่งหรือบริการข้ามแดนอัตโนมัติ ซึ่งลูกค้าสามารถนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้เมื่อเดินทางต่างประเทศได้ทันทีเมื่อเปิดบริการและไม่ต้องเปลี่ยนซิม โดยใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการในประเทศนั้นๆ เอไอเอสได้ตกลงทำสัญญากับผู้ให้บริการระหว่างประเทศ 432 รายในทุกทวีป มีเครือข่ายให้บริการ 464เครือข่าย และมีเครือข่าย 4G โรมมิ่งครอบคลุม 82 ประเทศ กับ140 เครือข่าย มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย อีกทั้งยังมีบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ เพื่อการโทรจากประเทศไทยไปยังประเทศปลายทางกว่า 240 ประเทศในปี 2559 เอไอเอสได้เปิดตัวแพ็คเกจโรมมิ่งใหม่ล่าสุด ชื่อว่า
“Roam Like Home” ที่ลูกค้าซึ่งเดินทางอยู่ต่างประเทศสามารถโทรกลับประเทศไทยและโทรในประเทศนั้นๆ ได้ไม่จำกัด พร้อมทั้งใช้บริการโรมมิ่งอินเทอร์เน็ตได้ต่อเนื่องด้วยแพ็คเกจเดียวกันในประเทศยอดนิยม 40 ประเทศ แพ็คเกจนี้ยังทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานโรมมิ่งทั้งการโทรและใช้อินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องกังวล และไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์นอกจากนี้ เอไอเอส ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นทางเลือกสำหรับการใช้บริการโรมมิ่ง ได้แก่ SIM2Fly ซึ่งเป็นซิมแบบเติมเงินและพ็อคเก็ตไวไฟของประเทศปลายทาง โดยมีจำนวนวันและปริมาณการใช้งานให้เลือกตามความต้องการ ใช้งานได้หลากหลายประเทศที่ลูกค้านิยมเดินทางไป ทั้งโซนเอเชีย ยุโรป และอเมริกามอบความสะดวกสบายและความคุ้มค่าให้กับลูกค้า โดยสามารถซื้อซิมได้จากเมืองไทยก่อนเดินทาง และเมื่อถึงประเทศปลายทางก็สามารถใช้งานได้ทันที
2. ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
เอไอเอสได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ภายใต้แบรนด์เอไอเอส ไฟเบอร์ โดยให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เข้าตรงสู่บ้าน (FTTH) และอาคาร (FTTB) โดยมาพร้อม AIS PLAYBOX กล่องทีวีอินเทอร์เน็ต ในปี 2559 เอไอเอสมีผู้ใช้บริการ 301,500 ราย ด้วยพื้นที่บริการครอบคลุม 28 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี
สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานีนครราชสีมา เชียงใหม่ ภูเก็ตพระนครศรีอยุธยา ระยอง อุบลราชธานี บุรีรัมย์ หนองคาย เชียงราย พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี
สงขลา สระบุรี สุรินทร์ ราชบุรี สกลนคร มหาสารคาม นราธิวาสและนครศรีธรรมราช โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นผู้ให้บริการหลักในตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในระยะเวลา 3 ปี โดยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เจ้าตลาดอย่างทรูและเบอร์สองอย่าง 3BB และเจ้าอื่นอย่าง TOT CAT ต้องทำการปรับตัวทั้งทางด้านราคาและเทคโนโลยี ซึ่งทาง AIS ใช้ไฟเบอร์ออฟติคในการเชื่อมต่อ เจ้าอื่นๆจึงต้องทำการอัพเกรดเทคโนโลยีเดิม เช่น ADSL สายทองแดงต่างๆ เป็นไฟเบอร์ออฟติคเช่นเดียวกับ AIS
ผลิตภัณฑ์และการบริการในปีที่ผ่านมา
เน็ตหอ
เอไอเอสไฟเบอร์เปิดให้บริการเน็ตหอ โดยเอไอเอสไฟเบอร์มิติใหม่ของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบเติมเงินครั้งแรกของไทยโดยตอบสนองกลุ่มลูกค้า ที่พักอาศัยตามหอพักต่างๆ
การร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
เอไอเอสไฟเบอร์จับมือร่วมกันกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายโครงการ เพื่อวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้ผู้พักอาศัยสามารถใช้งานได้ทันทีที่เข้าอยู่ในโครงการ
3. ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์
นอกจากการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายเพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าแล้ว อีกสิ่งที่เอไอเอสได้พัฒนามาโดยตลอดคือบริการเสริมที่ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้นอกเหนือจากการรับสายเข้าหรือโทรออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เอไอเอสเป็นผู้นำในการให้บริการเสริมมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นบริการเสียงเพลงรอสาย(Calling Melody) บริการหนังสืออิเลคโทรนิคส์ (E-Book) และบริการเสริมอื่นๆ ที่ได้ร่วมทำกับพันธมิตรทางธุรกิจจนทำให้ตลาดบริการเสริมมีการเติบโตมาโดยลำดับในปัจจุบัน เครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถรองรับเทคโนโลยีที่ดียิ่งขึ้น ทั้ง 3G 4G และ Super WiFi อีกทั้งการใช้งาน
สมาร์ทโฟนก็ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เอไอเอสจึงพัฒนาบริการในแบบดิจิทัลและดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น โดยเน้นไปที่ 5 แกนหลักที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบันได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ได้แก่วิดีโอ เกม ธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ คลาวด์ และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Machine-to-Machine หรือ M2M)
วิดีโอ
เอไอเอสได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ลูกค้าสามารถชมคอนเทนต์วิดีโอ ทั้งรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์กีฬา และคาราโอเกะ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการรับชมความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ นอกจาก AIS PLAYBOX ที่เป็นอุปกรณ์ Set top box สำหรับลูกค้าเอไอเอส ไฟเบอร์แล้ว ในปี2559 เอไอเอสยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการรับชมคอนเทนต์ผ่านมือถือ ชื่อว่า AIS PLAY ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนมือถือที่เพิ่มความสะดวกสบาย ทำให้ลูกค้าสามารถรับชมรายการต่างๆ ได้ทุก
ที่ทุกเวลา และในปีนี้ เอไอเอสยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้พัฒนาคอนเทนต์ เพื่อสรรหาคอนเทนต์ที่หลากหลายมาให้ลูกค้าได้รับชมเช่น การร่วมมือกับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เพื่อนำเสนอการถ่ายทอด
คอนเสิร์ต อีกทั้งยังมีคอนเทนต์กีฬา เช่น โอลิมปิค พาราลิมปิคที่ลูกค้าสามารถเลือกรับชมได้หลากหลายกว่าการถ่ายทอดทางช่องฟรีทีวี
เกม
เอไอเอสได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาเกมเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่นิยมการเล่นเกม โดยได้พัฒนาช่องทางการชำระเงินผ่านทางการหักเงินจากเครือข่าย และการชำระเงินผ่านทางบัตรเติมเงินวันทูคอล
ธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ
เอไอเอสยังได้พัฒนาบริการด้านการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าสามารถโอนเงินถอนเงิน ผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างง่ายดาย ผ่านแอปพลิเคชันAIS mPAY และในปี 2559 ยังเพิ่มความสะดวกสบายด้วยบริการ“AIS mPAY MasterCard” บัตร MasterCard แบบเติมเงิน เพื่อซื้อ
สินค้าออนไลน์ได้ทุกสกุลเงินทั่วโลก เป็นรายแรกของไทย ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถซื้อของออนไลน์ได้อย่างสบายใจ มั่นใจในความปลอดภัย
คลาวด์ ในปี 2559 นี้ เอไอเอสได้เปิดตัว “AIS Business Cloud” ซึ่งเป็นบริการคลาวด์สำหรับลูกค้าองค์กร ตามแนวโน้มที่องค์กรธุรกิจของไทยกำลังเปลี่ยนหันมาใช้ระบบคลาวด์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในยุคปัจจุบัน โดยให้บริการครบวงจร นับตั้งแต่ศูนย์ข้อมูล ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure-as-a-Service)เช่น virtual machine พื้นที่จัดเก็บการสำรองข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ไปจนถึงบริการซอฟต์แวร์ (Software-asa-Service) เช่น Office365, Mobile Threat Prevention App,
Enterprise Storage Box รวมทั้งบริการการจัดการคลาวด์ และบริการให้คำปรึกษาจากมืออาชีพ อีกทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลมาตรฐานระดับโลก สามารถรองรับธุรกิจได้ทุกระดับเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจได้กับระบบความปลอดภัย และยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจระดับสากลที่จะช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพของบริการคลาวด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (M2M)
บริการ M2M ของเอไอเอส ได้มีการทำตลาดในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ลอจิสติกส์ การเงินและธนาคาร สาธารณูปโภคเป็นต้น และมีการร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการชั้นนำ ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการการเชื่อมต่ออุปกรณ์ M2M ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ในการพัฒนาคอนเทนต์โดยเฉพาะการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันใหม่ๆ เอไอเอสได้ให้การสนับสนุนและผลักดันผู้ประกอบการยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า Startup อย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ AIS the StartUp CONNECT ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้
Startup ทั้งหลายทั่วประเทศสามารถส่งผลงานผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมให้บริการบนเครือข่ายของเอไอเอส พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากระบบ Enablers ต่างๆของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้บริการ ระบบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายและออกบิล รวมถึงการเข้าถึงลูกค้าทั้งระบบเติมเงิน
หรือรายเดือน
ความโดดเด่นขององค์กร True
จุดเด่นขององค์กรทรู ปี 2559 ทรูมูฟ เอช เติบโตอย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง จากความแข็งแกร่งในเรื่องเครือข่ายประสิทธิภาพสูงและความครอบคลุมทั่วประเทศ การนำเสนอแคมเปญดีไวซ์ร่วมกับแพ็กเกจค่าบริการได้อย่างคุ้มค่าและตอบสนองความต้องการใช้งานของลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงการขยายและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับช่องทางการขายของกลุ่ม ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช เติบโตสูงทั้งในกลุ่มลูกค้าระบบรายเดือนและเติมเงิน ซึ่งมีฐานลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 28.2 และร้อยละ 28.4 จากปีก่อนหน้า ตามลำดับโดยทรูมูฟ เอช มีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 5.4 ล้านราย ในปี 2559 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิในอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีฐานผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 24.5 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.2 ของจำนวนผู้ใช้บริการในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวมของประเทศ (ไม่รวม CAT Telecom ทีโอที และผู้ให้บริการ MVNO ของทีโอที)ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.1 ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายของทรูมูฟ เอช เติบโตต่อเนื่อง โดยเพิ่มสูงขึ้นเป็น217 บาท ต่อเดือน ในปี 2559 เมื่อเทียบกับ 171 บาท ต่อเดือน ในปีก่อนหน้าสามารถให้บริการครอบคลุมในทุกมิติทั้งบริการเสียงและดาต้าบนระบบ 4.5G/4G 3G และ 2G ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากรไทยทั่วประเทศ ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช มีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5.4 ล้านราย ในปี 2559 ผลักดันให้มีฐานผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 24.5 ล้านราย ณ สิ้นปี ทรูออนไลน์ เป็นผู้นำในการให้บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตและ WiFi ด้วยโครงข่ายไฟเบอร์คุณภาพสูงทั่วประเทศ และผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดย ทรูออนไลน์ เดินหน้าขยายโครงข่ายบรอดแบนด์อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมกว่า 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ในขณะที่ แคมเปญไฟเบอร์บรอดแบนด์ของกลุ่มได้รับผลตอบรับอย่างสูง ส่งผลให้ฐานผู้ใช้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของทรูออนไลน์ เพิ่มขึ้นแข็งแกร่งเป็น 2.8 ล้านราย ณ สิ้นปี 2559 ทรูวิชั่นส์ ผู้นำในการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและบริการในระบบ HD ทั่วประเทศ มีฐานลูกค้าเติบโตสูงเป็น 3.9 ล้านราย ณ สิ้นปี 2559 โดยลูกค้าประมาณ2 ล้านราย บอกรับบริการประเภทพรีเมียมและมาตรฐาน และลูกค้าส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าประเภท FreeView และ Free-to-Airกลุ่มทรูได้รับการสนับสนุนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจด้านการเกษตรครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียซึ่งถือหุ้นทรูในสัดส่วนร้อยละ 56 และ China Mobile ผู้ให้บริการทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งถือหุ้นทรูในสัดส่วนร้อยละ 18 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
ความสามารถเติมเงินได้ในหลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น บัตรเงินสด บัตรเติมเงิน เครื่องเอทีเอ็ม การโอนเงินจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรูมูฟ เอช รายอื่น และการเติมเงินอัตโนมัติแบบ “over-the-air” นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการของทรูมูฟ เอช ยังสามารถชำระค่าใช้บริการด้วยบริการการเงินบนโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทรูมันนี่ ทรูไอเซอร์วิส และทรูไอดี เพื่อตอบสนองบริการที่ไม่ใช่เสียง (Non-voice)ทรูมูฟ เอช ให้บริการที่ไม่ใช่เสียง ที่หลากหลายเพื่อเติมเต็มและสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า โดยลูกค้าสามารถใช้บริการคอนเทนต์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้หลายทาง ทั้งบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และที่เว็บพอร์ทัล บริการที่ไม่ใช่เสียงประกอบด้วยคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการ อาทิ การสื่อสารด้วยภาพหรือรูปถ่าย บริการข้อมูลทางการเงิน เกม การ์ตูน สกรีนเซฟเวอร์ และริงโทน รวมถึง คอนเทนต์ประเภทเพลงและกีฬา ลูกค้าที่ใช้บริการที่ไม่ใช่เสียง มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดาวน์โหลดและอัพโหลดภาพถ่าย และวิดีโอ รวมถึงการใช้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยผ่าน
บริการโมบาย อินเทอร์เน็ต
ทรูมูฟ เอช แบ่งบริการที่ไม่ใช่เสียงออกเป็น 3 ประเภทดังนี้:
·       บริการส่งข้อความ ซึ่งประกอบด้วย Short Messaging Service (SMS): บริการส่งข้อความไปยังผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่น Voice SMS: บริการส่งข้อความเสียงไปยังผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์พื้นฐาน และMultimedia Messaging Service (MMS): บริการส่งภาพ ข้อความ และเสียง ไปยังผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่น
·       บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โมบาย อินเทอร์เน็ต ผ่านเทคโนโลยี 4.5G/4G 3G และ EDGE/GPRS รวมทั้งเทคโนโลยี WiFi ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อใช้บริการอีเมล อินเทอร์เน็ต VoIP ตลอดจนบริการวิดีโอและเสียง รวมทั้งบริการเสริมอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย Mobile Chat บริการรับ-ส่งข้อความในรูปของWAP based ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือสนทนาสดออนไลน์
·       บริการด้านคอนเทนต์ ซึ่งประกอบด้วย Ring-back Tone บริการเสียงรอสาย ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกเสียงหรือเพลงได้ด้วยตัวเอง Voicemail และ Multimedia Content Services บริการคอนเทนต์มัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย เพลง กีฬา ข่าว และข่าวการเงิน ทรูมูฟ เอช สามารถใช้ประโยชน์จากคอนเทนต์ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ทรูมิวสิค ทรูไลฟ์ ทรูออนไลน์ และทรูวิชั่นส์ เพื่อสร้างความเติบโตให้กับรายได้ความนิยมในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ และการใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงโครงข่ายประสิทธิภาพสูงสุดของทรูมูฟ เอช ส่งผลให้รายได้จากบริการโมบายอินเทอร์เน็ต เติบโตแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้จากบริการที่ไม่ใช่เสียงในปี 2559 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 45.0 จากปีก่อนหน้า เป็น 34.0พันล้านบาท โดยรายได้จากบริการที่ไม่ใช่เสียงมีสัดส่วนร้อยละ 59 ของรายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย และค่าเช่าโครงข่าย) ของทรูมูฟ เอช
การจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์
ทรูมูฟ เอช จัดจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพสูง รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายคือสมาร์ทโฟและสมาร์ทดีไวซ์คุณภาพสูง รวมถึงมือถือและดีไวซ์หลากหลายที่สามารถรองรับบริการระบบ 4G และ 3G ภายใต้แบรนด์ทรูโดยเฉพาะผ่านความร่วมมือกับ China Mobile อาทิ “True Smart 4G 5.5" Enterprise” “True Smart Series”และ “True Super” โดยดีไวซ์เหล่านี้ได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการ 4G และ 3G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เครื่องโทรศัพท์ที่จัดจeหน่าย เป็นทั้งการจำหน่ายเครื่องเปล่าโดยไม่ผูกพันกับบริการใด ๆ กับการจำหน่ายเครื่องโดยลูกค้าใช้แพ็กเกจค่าบริการของทรูมูฟ เอช
บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ (International Roaming Services)
บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ (โรมมิ่ง) เป็นบริการเสริมที่ช่วยให้ลูกค้าของทรูมูฟ เอช สามารถนำเครื่องโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่ไปใช้งานในต่างประเทศ (Outbound Roaming) ได้โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศที่ทรูมูฟ เอช มีสัญญาบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการในการโทรออกและรับสายเข้า การส่งข้อความ (SMS) และการใช้งานดาต้า ในกว่า 200 ปลายทางทั่วโลก นอกจากนี้ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จากต่างประเทศที่มีสัญญาบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศกับทรูมูฟ เอช ก็สามารถใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายของ ทรูมูฟ เอช (Inbound Roaming) เมื่อเดินทางมาเมืองไทยได้เช่นกันธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มทรูได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายพันธมิตรคอนเน็กซัส โมบายล์ (Conexus Mobile Alliance)ในปี 2551 นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมตกลงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) กับ China Mobile ในปี 2557 โดยปัจจุบันคอนเน็กซัส โมบายล์ และ China Mobile มีฐานผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมอยู่ประมาณ 1,130 ล้านราย ทำให้ผู้ใช้
บริการเหล่านี้สามารถใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศเมื่อเดินทางเข้ามายังประเทศไทยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ของทรูมูฟ เอช อีกด้วยบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศของทรูมูฟ เอช ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มุ่งขยายเครือข่ายการให้บริการ 4G Roamingโดยครอบคลุมกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้านักเดินทางที่เดินทางไปต่างประเทศและมีความต้องการที่จะติดต่อสื่อสารด้วยคุณภาพของดาต้าที่มีความเร็วสูง พร้อมกับความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกที่เป็นผู้ให้บริการ4G ในต่างประเทศ ทำให้ทรูมูฟ เอช เป็นผู้ให้บริการรายแรกในประเทศไทยที่มีเครือข่าย 4G Roaming ครอบคลุมทุกทวีป
ทั่วโลก ด้วยอัตราค่าบริการที่ตอบสนองความต้องการในหลายรูปแบบ ลูกค้าทรูมูฟ เอช จึงสามารถเลือกโปรโมชั่นที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้
ทรูมูฟ เอช ยังคงมุ่งเน้นที่จะเป็นผู้นำในการบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศในการให้บริการเสียงและดาต้าคุณภาพระดับโลก ในราคาที่คุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอราคาแพ็กเกจเสริมต่างๆ ทั้งดาต้า โรมมิ่งแบบ Non-Stop ในราคาเริ่มต้นเพียง 99 บาทต่อวัน หรืออัตราค่าบริการโทรออกและรับสายขณะอยู่ต่างประเทศ ในราคาเริ่มต้นเพียง 9 บาทต่อนาที เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทรูมูฟ เอช ในระบบรายเดือนและระบบเติมเงินที่เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายพันธมิตรของทรูมูฟ เอช นอกจากนี้ ทรูมูฟ เอชได้พัฒนา บริการ “Smart Data Roaming Protection” เพื่อช่วยให้ลูกค้าหมดความกังวลในปัญหาค่าบริการดาต้าเกินอีกด้วย พร้อมทั้งยังปรับปรุงการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายเพื่อให้ผู้ใช้ดาต้าสามารถเข้าถึงบริการ เปิดใช้บริการ สอบถามและค้นหาข้อมูลบริการ เลือกใช้บริการเสริมต่างๆ และตรวจสอบค่าใช้บริการหรือจำนวนการใช้งานได้ด้วยตนเอง (e-Service) ขณะเดินทางต่างประเทศผ่านทาง Smartphone Application ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการนอกจากนี้ กลุ่มทรูได้ร่วมมือกับ China Mobile พัฒนานวัตกรรมล่าสุดบริการเบอร์ไทย-แดนมังกรด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ลูกค้ามีเบอร์ทรูมูฟ เอช เบอร์จีน และเบอร์ฮ่องกง ในซิมเดียว เพื่อการติดต่อที่ต่อเนื่องได้ทั้งในประเทศไทย จีน ฮ่องกง และประเทศอื่นๆ ไว้ในซิมเดียว ด้วยอัตราค่าโทรเริ่มต้นเพียงนาทีละ 5 บาท ทั้งนี้ บริการเบอร์ไทย-แดนมังกร สามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งด้านความสะดวกสบายและความคุ้มค่า เหมาะกับนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางไปยังประเทศจีน และฮ่องกง รวมถึงชาวจีน และฮ่องกงที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ
กลุ่มทรูเริ่มต้นเปิดให้บริการและทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานของบริการดังกล่าวภายใต้ธุรกิจทรูออนไลน์ ในภายหลัง ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 ได้มีมติอนุมัติให้โอนย้าย TIC มาอยู่ภายใต้ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มทรู ทั้งนี้ TIC ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ประเภท 3 จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) เพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และบริการเสริม โดยเปิดให้บริการผ่านหมายเลข “006” ซึ่งเป็นบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แบบต่อตรงอัตโนมัติ (International Direct Dialing: IDD) โดยไม่
ต้องผ่าน Operator ที่ให้คุณภาพระดับพรีเมียม เสียงคมชัด ต่อติดง่าย สายไม่หลุดและไม่ดีเลย์ขณะสนทนา ด้วยเทคโนโลยีTime Division Multiplexing (TDM) บนเครือข่ายที่ครอบคลุมกว่า 200 ปลายทางทั่วโลกธุรกิจโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2559 ทั้งในกลุ่มลูกค้าบุคคลและกลุ่มลูกค้าธุรกิจ โดย TIC นำเสนอบริการโทรต่างประเทศผ่านรหัส 006 และบริการเสริมอื่นๆ ด้วยบริการคุณภาพสูงและอัตราค่าโทรที่คุ้มค่า โดยเฉพาะ กลุ่มประเทศ CLMV ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม ซึ่งมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมถึงประเทศปลายทางยอดนิยมอื่นๆ อาทิ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา และประเทศในเอเชียอื่นๆ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริการขายส่งทราฟฟิค (Trafiic) โทรศัพท์ระหว่างประเทศของ TIC ยังมีการเติบโตที่ดีจากความพยายามในการขยายเครือข่ายพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้ ร่วมกับการให้บริการโทรทางไกลคุณภาพสูงตลอดมา
ส่งผลให้บริการโทรทางไกลต่างประเทศของกลุ่มยังคงได้รับความนิยมและความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ กลุ่มทรูยังเสนอบริการโทรทางไกลต่างประเทศประเภทอื่น ๆ ในอัตราค่าโทรที่คุ้มค่า อาทิ บริการผ่านรหัส“00600” ด้วยเทคโนโลยี VoIP “4G ทัวร์ริสซิม” “ซิมมิงกะละบาสำหรับการโทรไปประเทศพม่าซิมซัวสะเดยสำหรับการโทรไปประเทศกัมพูชา และการโทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชั่น “NetTalk by True” ซึ่งเป็นการโทรผ่านอินเทอร์เน็ตในราคาประหยัดโครงข่าย
โครงข่ายประสิทธิภาพสูง ยังคงเป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มทรู ซึ่งทรูมูฟ เอช มุ่งมั่นสร้างโครงข่ายประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง มุ่งขยายความครอบคลุมเพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศสามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพสูงได้มากยิ่งขึ้น โดยโครงข่าย 4.5G/4G 3G และ 2G ของทรมูฟ เอช มีความครอบคลุมถึงร้อยละ 98 ของประชากรไทย และเข้าถึงพื้นที่ในระดับหมู่บ้านทั้ง 77 จังหวัด ทั่วประเทศ ด้วยการผสานจุดเด่นของคลื่นย่านความถี่ต่ำและคลื่นย่านความถี่สูงได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ ทรูมูฟ นำเทคโนโลยีการรวมคลื่น 3 คลื่น หรือ 3CA (Carrier Aggregation) มาผสานกับเทคโนโลยีสถานีฐานประเภท 4T4R (เทคโนโลยีฐานแบบ 4 Transmit 4 Receiver หรือ 4x4 MIMO) จำนวน 7,000 สถานี ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในโลก รับรองโดยสถาบัน Global Mobile Suppliers Association ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคดิจิตอลได้เป็นอย่างดี
กลุ่มทรูวิชั่นส์
ทรูวิชั่นส์ คือ ผู้นำในการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและบริการในระบบ HD ซึ่งให้บริการทั่วประเทศผ่านดาวเทียมในระบบดิจิตอลตรงสู่บ้านสมาชิก และผ่านโครงข่ายผสมระหว่างเคเบิลใยแก้วนำแสง และสายโคแอ็กเชียล (coaxial) ที่มีประสิทธิภาพสูง
ทรูวิชั่นส์ ให้บริการในระบบดิจิตอลผ่านดาวเทียม โดยการส่งสัญญาณในระบบ Ku-band และ C-band โดยใช้ระบบการบีบอัดสัญญาณ MPEG-2 และ MPEG-4 ซึ่งทำให้ทรูวิชั่นส์สามารถเพิ่มจำนวนช่องรายการได้มากขึ้น ปรับปรุงคุณภาพเสียงและภาพให้คมชัดยิ่งขึ้น สามารถควบคุมการเข้าถึงสัญญาณของทรูวิชั่นส์ และสามารถกระจายสัญญาณให้บริการไปยังทุกๆ พื้นที่ในประเทศไทย ผ่านดาวเทียมไทยคม นอกจากนั้น ทรูวิชั่นส์ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกระบบเคเบิลผ่านโครงข่ายของทรูมัลติมีเดีย และ TU ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มทรู
ในต้นปี 2549 กลุ่มทรูประสบความสำเร็จในการรวมทรูวิชั่นส์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทรู ทำให้กลุ่มทรู ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 91.8 ของทรูวิชั่นส์ ต่อมาในปี 2553 ทรูวิชั่นส์ ได้ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท เป็นกลุ่มบริษัททรูวิชั่นส์ ทั้งนี้ เพื่อรองรับกรอบการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และทำให้การดำเนินธุรกิจของทรูวิชั่นส์มีความคล่องตัวมากขึ้นรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต โดย ณ สิ้นปี 2559 กลุ่มทรูมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ทรู วิชั่นส์จำกัด ซึ่งเป็น holding company สำหรับธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกของกลุ่มทรูอยู่ร้อยละ 100.0 และมีสัดส่วนการถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 99.5 ในบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และร้อยละ 99.1 ในบริษัท ทรู วิชั่นส์ เคเบิ้ล จำกัด (มหาชน)ในวันที่ 8 ตุลาคม ปี 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการ อสมท มีมติอนุญาตให้ทรูวิชั่นส์สามารถสร้างรายได้จากการรับทำโฆษณาผ่านช่องรายการต่างๆ โดยจ่ายส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 6.5 ให้แก่ อสมท ทำให้ ทรูวิชั่นส์เริ่มหารายได้จากการรับทำโฆษณาผ่าช่องรายการต่าง ๆ โดยเริ่มทำการโฆษณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดจังหวะการรับชมรายการของสมาชิก
กลุ่มทรูวิชั่นส์ เริ่มให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล หลังจากได้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติจำนวน 2 ช่อง สำหรับช่องข่าว และวาไรตี้ จากคณะกรรมการ กสทช. ในเดือนเมษายน ปี 2557 โดยช่อง “True4U” และ “TNN24” ได้รับความนิยมสูงอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ การได้รับในอนุญาตดังกล่าว นอกจากจะส่งเสริมการเติบโตของรายได้ค่าโฆษณาแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำการตลาดคอนเทนต์ ของทรูวิชั่นส์ผ่านฐานลูกค้าขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้นทรูวิชั่นส์ยังคงมุ่งสร้างความแตกต่างและเสริมความแข็งแกร่งให้กับแพลตฟอร์ม พร้อมเดินหน้าเพิ่มประสบการณ์การรับชมโทรทัศน์ที่ดีที่สุดแก่สมาชิกผ่าน รายการคุณภาพระดับโลกที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณภาพการรับชมคมชัดระดับHD พร้อมทั้งทำสัญญากับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกเพื่อนำคอนเทนต์พิเศษที่ทรูวิชั่นส์ได้รับสิทธิเฉพาะมาเผยแพร่ให้กับลูกค้าทั้งนี้ ทรูวิชั่นส์ ได้นำเสนอคอนเทนต์ชั้นนำที่หลากหลายจากทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ อาทิ ภาพยนตร์ กีฬา สาระบันเทิงและข่าว รวมถึงนวัตกรรมของบริการเสริมระดับพรีเมียมสำหรับลูกค้า อาทิ บริการ High Definition Personal Video Recorder (HD PVR) ซึ่งเป็นกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่ที่ให้ภาพคมชัดและสามารถอัดรายการและขยายภาพในระหว่างการรับชมหรือเล่นซ้ำได้และการรับชมช่องรายการจากทรูวิชั่นส์และช่องรายการฟรีทูแอร์ ผ่านทรูวิชั่นส์ เอนิแวร์ ทำให้ลูกค้าสามารถดูรายการจากทรูวิชั่นส์ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านหลายแพลตฟอร์ม
ในปี 2559 ทรูวิชั่นส์ ตอกย้ำการเป็นผู้นำเพย์ทีวีและการถ่ายทอดสดรายการกีฬายอดนิยม ด้วยการได้รับสิทธิ์ถ่ายทอดสด ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ บนช่องบีอินสปอร์ตในประเทศไทย ตลอด 3 ฤดูกาล ตั้งแต่ ฤดูกาล 2559/ 2560 ถึงฤดูกาล 2561/ 2562 รวมถึงรายการฟุตบอลชั้นนำอีกหลายรายการ อาทิ ลา ลีกา สเปน กัลโช่ เซเรียอา อิตาลี ลีกเอิง ฝรั่งเศส ยูเอสเอ เมเจอร์ลีก ซอกเกอร์ ร่วมด้วย โตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก นอกจากนี้ ทรูวิชั่นส์ ยังเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
ในกลยุทธ์สำหรับตลาดแมสด้วยการนำเสนอแพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์ที่คุ้มค่า ผสมผสานสินค้าและบริการอื่น ๆ ภายใต้กลุ่มทรู และการผลิตคอนเทนต์คุณภาพซึ่งตรงใจผู้บริโภคชาวไทย ในขณะที่ แคมเปญกล่องรับสัญญาณทีวีรุ่นไฮบริดยังคงได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มโอกาสในการทำการตลาดคอนเทนต์ของทรูวิชั่นส์ผ่านฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มรายได้โฆษณาและกระตุ้นการสมัครสมาชิกแพ็กเกจของทรูวิชั่นส์ได้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้ทรูวิชั่นส์มีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2559 ผลักดันให้ฐานลูกค้ารวมเติบโต
เป็น 3.9 ล้านราย ณ สิ้นปี 2559
แพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์
กลุ่มทรู มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ด้วยการนำเสนอแพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์ที่โดดเด่นและน่าดึงดูดใจ โดยเป็นการผสมผสานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในกลุ่มทรูเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดด้วยราคาที่คุ้มค่า ทั้งนี้ แพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์ที่ครบครันและหลากหลายของกลุ่ม ทั้งแคมเปญทรู สมาร์ท ช้อยส์และทรูซูเปอร์สปีด ไฟเบอร์มอบความคุ้มค่าด้วยการผนวกบริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต แบบไฟเบอร์จากทรูออนไลน์ช่องรายการคุณภาพจากทรูวิชั่นส์ บริการเสียงและดาต้าจากทรูมูฟ เอช และบริการโทรศัพท์บ้านพื้นฐาน ได้อย่างลงตัวโดยผู้บริโภคสามารถเลือกสมัครใช้บริการแต่ละสินค้าของกลุ่มหรือซื้อแพ็กเกจเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ แคมเปญคอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มฐานลูกค้าและความผูกพันของลูกค้าต่อสินค้าและบริการภายใต้กลุ่มทรู โดยกลุ่มทรูเชื่อมั่นว่า คอนเวอร์เจนซ์คือยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่ม
การตลาด
กลุ่มทรู มุ่งมั่นให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมประสิทธิภาพสูง โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้วยเครือข่ายคุณภาพสูงสุดและครอบคลุมทั่วประเทศ ผ่านเทคโนโลยีทันสมัย นอกจากนี้ ยังมอบความคุ้มค่าให้แก่ผู้บริโภคด้วยการเชื่อมโยงทุกบริการภายในกลุ่มทรู ทั้งบริการอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์แบบมีสายและไร้สาย บริการด้านเสียง และคอนเทนต์คุณภาพทั้งต่างประเทศและในประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ พร้อมพัฒนาโซลูชั่นหลากหลาย โดยเฉพาะดิจิตอลโซลูชั่น เพื่อตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ตรงใจลูกค้าได้อย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้ ทำให้กลุ่มทรูแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น และมีส่วนสำคัญในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด รักษาฐานลูกค้า และเพิ่มความผูกพันของลูกค้าต่อสินค้าและบริการภายใต้กลุ่มทรูได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การมุ่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการทำการตลาดเฉพาะในแต่ละพื้นที่และกลุ่มลูกค้า ช่วยให้กลุ่มทรูเข้าถึง
และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กลุ่มทรูเติบโตแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องการจำหน่ายเเละช่องทางการจำหน่ายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าบุคคล กลุ่มทรู ได้เปิดศูนย์บริการทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งต่างจังหวัด โดยในแต่ละศูนย์บริการจะมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำแบบ One-stop shopping ในแห่งเดียว เกี่ยวกับบริการสื่อสารทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพย์ทีวี เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ รวมทั้งโมเด็ม ซึ่งในศูนย์บริการใหญ่จะเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย นอกจากนี้ กลุ่มทรูยังได้จำหน่ายสินค้าและบริการผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ทั้งที่เป็นร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและตัวแทนจำหน่ายอิสระซึ่งรับค่าตอบแทนจากค่าคอมมิชชั่น
ช่องทางการจำหน่ายของกลุ่มทรู ประกอบด้วย
1.    ทรูช้อป และ ทรูช้อป โดย Com7 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เห็นได้ง่ายและเป็นแหล่งชุมชน อย่างเช่น ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ อาคารสำนักงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึง ทรูสเฟียร์ (TrueSphere) โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ระดับเฟิร์สคลาส ซึ่งเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่มอบประสบการณ์ระดับเฟิร์สคลาส ผสานทุกมิติของบริการและเทคโนโลยีล้ำสมัยของกลุ่มทรูให้แก่ลูกค้า โดยกลุ่มทรู ได้เข้าลงนามในสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจกับ บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) “Com7” ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกไอทีของประเทศไทย เพื่อร่วมกันบริหารจัดการการขายสินค้าและการให้บริการในจุดให้บริการลูกค้าทรู166 แห่ง ในห้างบิ๊กซีและห้างเทสโก้ โลตัสทั่วประเทศ อีกทั้งเพิ่มจุดให้บริการลูกค้าทรูในรูปแบบ True AuthorizedReseller ในร้านขายปลีกภายใต้คอมเซเว่น อาทิ Banana IT และอื่นๆ ประมาณ 300 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวไม่เพียงแต่จะสร้างความพึงพอใจด้านบริการให้กับลูกค้าทรู ยังช่วยขยายช่องทางการขายสินค้าทั้ง 3 ธุรกิจหลักของกลุ่มทรู ผ่านร้านขายปลีกภายใต้การบริหารของคอมเซเว่น
2.    ทรู พาร์ทเนอร์ และดีลเลอร์
3.    ร้านค้าปลีกประเภท Multi-retailer ซึ่งตั้งอยู่ในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Hypermart) ร้านค้าประเภท Specialty Store
4.    ร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงร้าน 7-Eleven
5.    ค้าขายส่ง คือ คู่ค้าขายส่งซิมการ์ดที่ยังไม่ได้เปิดใช้งานและบัตรเติมเงินเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของกลุ่มทรู โดยเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังตัวแทนจำหน่าย (Sub-dealer) ตลอดจนดูแลและให้การสนับสนุนด้านการกระจายสินค้ากับ Sub-dealer โดยคู่ค้าขายส่งจะเป็นผู้ขายซิมการ์ดระบบเติมเงินและบัตรเติมเงิน ในขณะที่ Sub-dealer จะให้บริการอื่น ๆ ด้วย อาทิ บริการซ่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการดาวน์โหลดเพลงและเกมต่าง ๆ
6.    ช่องทางการขายตรง โดยขายผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่มทรู ให้กับลูกค้า SME และลูกค้าองค์กรธุรกิจ ช่องทางจัดจำหน่ายนี้มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการให้กับกลุ่ม ช่องทางการขายตรงแบ่งออกเป็นทีมขายตรง ตัวแทนขายตรง และตัวแทนอิสระ
7.    เทเลเซลล์ และ อี คอมเมอร์ซ อาทิ ไอ ทรูมาร์ทสำหรับบริการเติมเงิน มีช่องทางผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์หลายช่องทาง นอกเหนือจากการใช้บัตร (เช่น บัตรเงินสดหรือบัตรเติมเงิน) ดังต่อไปนี้
8.    เครื่องเอทีเอ็มโดยผู้ใช้บริการสามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารของตนเองเพื่อเติมเงินได้โดยตรง
9.    ทรูมันนี่ ทรูไอเซอร์วิส และทรูไอดี ซึ่งเป็นบริการการเงินบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
10.                        บัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถซื้อได้จากคู่ค้า เช่น 7-Eleven
11.                        เติมเงินโดยตรง ลูกค้าสามารถเติมเงินได้จากอุปกรณ์ที่ติดตั้งในร้านค้าปลีกของกลุ่มทรู และคู่ค้า อาทิ 7-Eleven หรือเติมเงินผ่านระบบออนไลน์
12.                        ตู้เติมเงิน และตู้เติมทรู ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าในทุกสินค้าและบริการของกลุ่มทรู
นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการทรูมูฟ เอช ยังสามารถเติมเงินอัตโนมัติแบบ over-the-air ผ่านตัวแทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือร้านค้าขนาดเล็กที่ลงทะเบียนกับกลุ่มทรู และได้รับอนุญาตให้โอนค่าโทรแบบ over-the-air ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ โดยตัวแทนเหล่านี้สามารถใช้บริการเติมเงินได้ผ่านหลายช่องทาง (เช่น บัตรเงินสด บัตรเติมเงิน และเครื่องเอทีเอ็ม) ทั้งนี้ ช่องทางผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีวิธีชำระเงินที่หลากหลาย และ มีสถานที่ให้บริการเพิ่มมากขึ้นโดยช่วยให้กลุ่มทรูประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับบัตรเติมเงิน (การผลิต การกระจายสินค้า และการจัดเก็บ) ได้เป็นอย่างดี
การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์และบริการ
กลุ่มทรู ได้สั่งซื้ออุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ชั้นนำของโลก นอกจากนั้น ยังมีผู้รับเหมาจำนวนมากในการจัดหาและติดตั้งโครงข่ายของกลุ่มทรู ซึ่งกลุ่มทรู ไม่ได้มีการพึ่งพิง ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้รับเหมารายใดเป็นการเฉพาะ และกลุ่มทรูไม่มีปัญหาในการจัดหาผู้จัดจำหน่ายและผู้รับเหมาเนื่องจากมีจำนวนมากราย นอกจากนี้ กลุ่มทรู ยังสามารถได้ประโยชน์ทางด้าน economy of scale จากการร่วมมือกับ China Mobile ในด้านการจัดซื้ออุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมต่าง ๆ
การสนับสนุนทางด้านเทคนิคและการบริหาร
ในอดีตกลุ่มทรูเคยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค และการบริหารจากพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยบริษัท Verizon Communications, Inc สำหรับบริษัท Orange SA ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการบริหารสำหรับทรูมูฟ และบริษัท MIH สำหรับทรูวิชั่นส์ แต่ในปัจจุบันกลุ่มทรูไม่ได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคและการบริหารจากพันธมิตรทางธุรกิจดังกล่าวอีกต่อไป เนื่องจากพันธมิตรเหล่านี้ได้ขายหรือลดสัดส่วนการถือหุ้นลง อย่างไรก็ตาม กลุ่มทรูสามารถรับถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ไว้จนสามารถบริหารงานได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของ China Mobile ตั้งแต่ปี 2557 นำมาซึ่งความร่วมมือในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงด้านบุคลากร ความรู้ และการปฎิบัติงานในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้การบริหารของกลุ่มทรูมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น

ความสำเร็จอื่นๆของกลุ่มทรู ได้แก่
กลุ่มทรู ร่วมมือกับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป เปิดตัวโรงภาพยนตร์ดิจิตอล 4 มิติ “TRUE 4DX” เพื่อให้ลูกค้าได้รับอรรถรสการชมภาพยนตร์สุดพิเศษ ด้วยเทคโนโลยีระดับโลกและเทคนิคพิเศษเสมือนจริง สำหรับโรงภาพยนตร์ True4DX มีทั้งสิ้น 6 สาขา ซึ่งกระจายให้บริการอยู่ตามจุดสำคัญและหัวเมืองใหญ่ ประกอบด้วย พารากอน ซีนีเพล็กซ์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์ พรอมานาดซีนีเพล็กซ์ และอีสต์วิลล์ ซีนีเพล็กซ์ โดยลูกค้าทรู จะได้รับสิทธิพิเศษและส่วนลดในการซื้อตั๋วภาพยนตร์
กลุ่มทรู ประกาศความร่วมมือกับบริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) ในการสร้าง “True IBM Innovation Studio @Bangkok” เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดิจิตอล (Digital Hub) ในอาเซียน และเป็นศูนย์การพัฒนานวัตกรรมบนดิจิตอลแพลตฟอร์มแห่งแรกในเอเชีย ทั้งนี้ กลุ่มทรูและไอบีเอ็ม ยังใช้ศักยภาพความเป็นผู้นำคอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรูที่ให้บริการหลากหลายบนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย ผสานกับเทคโนโลยีและประสบการณ์ระดับเวิลด์คลาสของไอบีเอ็ม เพื่อส่งมอบประสบการณ์ดิจิตอลที่ตรงใจไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการ และสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนประมาณ 60 พันล้านบาท ผ่านการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนทั้งสิ้น 8,391,181,658 หุ้น ซึ่งทำให้โครงสร้างทางการเงินของกลุ่มทรูมีความแข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการขยายธุรกิจของกลุ่ม และรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจบรอดแบนด์ทั้งแบบมีสายและไร้สาย รวมถึงธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
กลุ่มทรู ประสบความสำเร็จในการได้รับสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษบนช่องบีอิน สปอร์ตส์ครบทุกแมตช์การแข่งขัน ตลอด 3 ปี ตั้งแต่ฤดูกาล 2559/2560 ถึง 2561/2562 พร้อมด้วยฟุตบอลรายการใหญ่ระดับโลก อาทิ ลา ลีกา สเปน กัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี ลีกเอิง ฝรั่งเศส และ ยูเอสเอ เมเจอร์ลีก ซอกเกอร์ ร่วมด้วยโตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก โดยกลุ่มทรูนำเสนอคอนเทนต์เหล่านี้ผ่านแพ็กเกจทรู ซูเปอร์ ซอคเกอร์โดยสามารถรับชมผ่านแพลตฟอร์มโทรศัพท์เคลื่อนที่ บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต และโทรทัศน์ของกลุ่มทรู ซึ่งจะทำให้สมาชิกเข้าถึงคอนเทนต์คุณภาพได้มากขึ้น และตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านผู้ให้บริการคอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู
กลุ่มทรู และChina Mobile สร้างความแข็งแกร่งทางพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และได้ลงนามสัญญากรอบความร่วมมือทางธุรกิจภายใต้โครงการ Hand-in-Hand อย่างเป็นทางการ โดยครอบคลุม5 เรื่องหลัก ซึ่งรวมถึงเรื่องการผสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดด้านดีไวซ์ ในการริเริ่มงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เรื่องการเสริมความแข็งแกร่งให้มีศักยภาพในธุรกิจบริการดาต้าเรื่องการขยายบริการธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านความร่วมมือในการโรมมิ่งทั่วโลกและการแบ่งปันข้อมูล เรื่องการยกระดับการใช้ทรัพยากรเครือข่ายเพื่อให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และเรื่องการร่วมกันพัฒนาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ หรือInternet of Things ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนี้ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาบริการที่สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสารและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่จะพัฒนามากขึ้นในอนาคต

     2.3)  เป้าหมาย จุดมุ่งหมายขององค์กร
จุดมุ่งหมายขององค์กร True
อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย และสภาวะการแข่งขันธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทย เติบโตดีในปี 2559 จากการเติบโตอย่างสูงของความต้องการใช้งาน 4G และบริการนอนวอยซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานสำหรับสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Interactive social network) ทั้งบนเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น อาทิ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม รวมถึงการใช้งานสมาร์โฟนและสมาร์ทดีไวซ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งความต้องการใช้งานดาต้าดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2560 พร้อมกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิตอล(Digitalization) ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ยังคงอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี 2559 ภายหลังการประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ในปลายปี 2558 โดยผู้ให้บริการมุ่งเน้นขยายโครงข่าย 4G ทั่วประเทศ และนำเสนอประสิทธิภาพด้านความเร็วของโครงข่าย 4G ผ่านเทคโนโลยีการรวมคลื่นความถี่ (Carrier Aggregation) และเทคโนโลยีสถานีฐาน (MIMO) ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการยังนำเสนอแคมเปญที่น่าดึงดูดใจหลากหลายให้แก่ลูกค้าในระบบแบบเติมเงินและลูกค้าที่ยังอยู่บนระบบ 2G ให้โอนย้ายมาอยู่ในระบบแบบรายเดือน และบนโครงข่าย 3G และ 4G มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผู้ให้บริการยังดำเนินกลยุทธ์ด้านต่างๆในการรักษาฐานลูกค้า ควบคู่ไปกับการนำเสนอแคมเปญสินค้าและบริการที่คุ้มค่าและหลากหลาย โดยเฉพาะแพ็กเก็จที่ผสานค่าบริการร่วมกับกับดีไวซ์ 4G และ 3G รวมถึงแคมเปญที่แจกอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ในการเพิ่มฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้
ณ สิ้นปี 2559 ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวมของอุตสาหกรรม (ไม่รวมจำนวนผู้ใช้บริการของ CAT Telecom และทีโอที และผู้ให้บริการ MVNO ของทีโอที) มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 90.0 ล้านราย เมื่อเทียบกับ 82.8 ล้านราย ณ สิ้นปี 2558 โดยจำนวนผู้ใช้บริการในระบบรายเดือนและระบบเติมเงิน เติบโตสูง เป็น 17.5 ล้านราย และ 72.5 ล้านราย ตามลำดับ ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอชมีจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง และเหนือกว่าภาพรวมของอุตสาหกรรม ทั้งในระบบรายเดือนและระบบเติมเงินโดย ทรูมูฟ เอช มีผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิในปี 2559 จำนวน 5.4 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิของทั้งตลาด ทำให้ฐานผู้ใช้บริการของทรูมูฟ เอช เพิ่มขึ้นเป็น 24.53 ล้านราย ณ สิ้นปี 2559 ถือครองส่วนแบ่งตลาดรวมประมาณร้อยละ 27.2 (ไม่รวมจำนวนผู้ใช้บริการของ CAT Telecom และ ทีโอที และผู้ให้บริการ MVNO ของทีโอที)ประกอบด้วย ผู้ใช้บริการในระบบเติมเงินจำนวน 18.47 ล้านราย และเป็นผู้ใช้บริการระบบรายเดือนจำนวน 6.06 ล้านราย
การแข่งขันในระดับสูงของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ คาดว่าจะยังคงดำเนินต่อเนื่องในปี 2560 จากการที่ผู้ให้บริการต่างมุ่งแข่งขันกันในด้านการพัฒนาโครงข่ายและชูประสิทธิภาพด้านความเร็ว พร้อมจูงใจด้วยข้อเสนอที่คุ้มค่าและบริการด้านดิจิตอลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎข้อบังคับใหม่สำหรับการย้ายค่ายเบอร์เดิม ที่ทำให้การย้ายค่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมเช่นกัน ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช มีความพร้อมอย่างเต็มที่สำหรับการเติบโต และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านการใช้งานดาต้าพร้อมความเร็วที่เพิ่มขึ้น ด้วยความพร้อมด้านเครือข่ายประสิทธิภาพสูง ซึ่งให้บริการข้อมูลที่รวดเร็วและมีความครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงการนำเสนอบริการคอนเวอร์เจนซ์ที่คุ้มค่า ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มทรู นอกจากนี้ ทรูมูฟ เอช ได้พิสูจน์ความมุ่งมั่นในการมอบประสบการณ์การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ดีที่สุด และความเป็นผู้นำโมบาย บรอดแบนด์ ตัวจริง ด้วยมาตรฐานระดับโลก จากการได้รับรางวัลผู้ให้บริการเครือข่าย LTE เชิงพาณิชย์ที่มีพัฒนาการเด่นชัดที่สุด” (Most Significant Development of a Commercial LTE Network) จากเวทีการประชุมระดับโลก 5G & LTE Asia Awards ซึ่งจัดขึ้นโดย Informa Telecoms &Media ในปี 2559 ณ ประเทศสิงคโปร์
ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน
บริการโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศไทยในปัจจุบัน ให้บริการโดยทีโอที ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานทั้งในกรุงเทพมหานครกับปริมณฑลและต่างจังหวัดเพียงรายเดียวของประเทศ และทรูผู้ให้บริการที่อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานฯ ของทีโอที ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พร้อมขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐานยุคใหม่ (Fixed line plus) ภายใต้ใบอนุญาตอย่างต่อเนื่องโดยให้บริการควบคู่กับบริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต แบบไฟเบอร์ ของกลุ่มทรู ในพื้นที่ต่างจังหวัดผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศไทยยังคงลดลงต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคและสมาร์ทดีไวซ์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปี 2559 จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศ ลดลงเป็น 4.8 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.2 ของประชากรไทย เมื่อเทียบกับสัดส่วนร้อยละ 7.9 ของประชากรไทย ณ สิ้นปี 2558 (แหล่งที่มา:สำนักงานคณะกรรมการ กสทช. ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559) โดยกลุ่มทรูเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 1.3 ล้านราย และถือครองส่วนแบ่งตลาดราวร้อยละ 26.0 ของตลาดโดยรวมธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และธุรกิจสื่อสารข้อมูลธุรกิจธุรกิจบรอดแบรนด์ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเติบโตสูงต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามแนวโน้มการใช้งานสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้น จากความนิยมของคอนเทนต์ออนไลน์ เกมส์ออนไลน์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งส่งผลให้มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ ปี 2559 ฐานผู้ใช้บริการ บรอดแบนด์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากปีก่อนหน้า เป็น 7.0 ล้านราย ซึ่งผลักดันให้อัตราผู้ใช้บริการบรอดแบนด์โดยรวมต่อจำนวนครัวเรือนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33.0 เมื่อเทียบกับร้อยละ 29.2 ในปี 2558 และร้อยละ 26.4 ในปี 2557 (แหล่งที่มา: สำนักงานคณะกรรมการ กสทช. ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559) โดยทรูออนไลน์ ยังคงเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการ 2.8 ล้านราย และถือครองส่วนแบ่งตลาดจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ทั่วประเทศประมาณร้อยละ 39 อย่างไรก็ตาม การเข้าถึง บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียโดยรายงานการชี้วัดดัชนีความสามารถในการแข่งขันของ World Economic Forum ในปี 2559 พบว่าประเทศไทยมีการเข้าถึงบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตของครัวเรือนอยู่ที่อันดับ 62 ของโลก (ปรับตัวดีขึ้นจากอันดับที่ 88 ในปี 2558) ในขณะที่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซีย อยู่ที่อันดับ 1 อันดับ 12 และ อันดับ 31 ของโลกตามลำดับ (แหล่งที่มา:WEF, The Global Information Technology Report 2016) ซึ่งแผนการดำเนินงานของรัฐบาลในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0” จะยิ่งผลักดันให้โครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตมีความครอบคลุมกว้างขวางยิ่งขึ้น และจะส่งผลให้ประชากรไทยเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต ได้มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ พร้อมเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเข้าสู่สังคมดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบตลาดบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ยังคงมีการแข่งขันที่สูง ส่วนหนึ่งจากการที่มีผู้ให้บริการรายใหม่เพิ่มในตลาดและการให้ส่วนลดค่าบริการในช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างจูงใจลูกค้าด้วยการเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตและยกระดับเทคโนโลยีให้สูงขึ้น โดยในปี 2559 การนำเสนอบริการอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์ ยังคงเติบโตสูงต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ ทรูออนไลน์ ยังคงเติบโตแข็งแกร่งและสามารถรักษาความเป็นผู้นำบริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์รายใหม่สุทธิเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2559 จากการขยายโครงข่ายไฟเบอร์บรอดแบนด์ของกลุ่ม ร่วมกับแคมเปญคอนเวอร์เจนซ์ภายใต้กลุ่มทรู ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ธุรกิจโครงข่ายข้อมูลของประเทศไทย ยังคงเติบโตในปี 2559 เนื่องจากความนิยมในการส่งข้อมูลออนไลน์และจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การแข่งขันในธุรกิจโครงข่ายข้อมูลยังคงอยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ให้บริการหลายราย ประกอบกับลูกค้ามีทางเลือกเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มทรูเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายข้อมูลรายใหญ่ที่สุดและมีส่วนแบ่งตลาดรายได้ในปี 2559 ประมาณร้อยละ 25.2 ของตลาดโดยรวม ในขณะที่ ผู้ให้บริการรายใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 ของตลาด มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 19.1 และร้อยละ 18.1 ตามลำดับ (แหล่งข้อมูล: ประมาณการโดยกลุ่มทรู)
ธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
ประเทศไทยมีจำนวนสมาชิกในระบบโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกประมาณ 6.8 ล้านครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ ในปี 2559 (แหล่งที่มา: Media Partners Asia “MPA”) ทั้งนี้ ทรูวิชั่นส์ เป็นผู้นำในการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและบริการในระบบ HD ทั่วประเทศ โดยมีฐานลูกค้ารวมทั้งสิ้น 3.9 ล้านรายธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายช่องทางทั้งภายใต้กฎหมายและผิดกฎหมาย รวมถึงการมีผู้ให้บริการรายใหม่เพิ่มมากขึ้นภายหลังการออกใบอนุญาตเพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลของคณะกรรมการ กสทช. ในปี 2557 อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปรับชมคอนเทนต์ โดยเฉพาะคอนเทนต์ประเภท streaming ผ่านอินเทอร์เน็ต และความนิยมในการรับชมสื่อบันเทิงผ่านอินเทอร์เน็ต อาทิ Youtube และ Facebook Live มากยิ่งขึ้นทรูวิชั่นส์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและบริการในระบบ HD รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยังคงเติบโตทั้งในด้านรายได้และฐานลูกค้า จากการมีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ครบถ้วนด้วยคอนเทนต์คุณภาพชั้นนำทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมถึงการผสานบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกกับแพลตฟอร์มการให้บริการที่ครบวงจรของกลุ่มทรูทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต และดิจิตอลแพลตฟอร์มของกลุ่ม นอกจากนี้ ความเป็นผู้นำด้านธุรกิจคอนเวอร์เจนซ์
ของกลุ่มทรู ยังสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ทรูวิชั่นส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลูกค้าในตลาดระดับแมส สิ่งเหล่านี้ ร่วมกับกลยุทธ์ในการขายพ่วงบริการอื่นของกลุ่มเพื่อจูงใจลูกค้าในการสมัครแพ็กเกจที่สูงขึ้น ช่วยเพิ่มศักยภาพการเติบโตให้ ทรูวิชั่นส์แม้สภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมยังคงอยู่ในระดับที่สูง
ทรูออนไลน์
ทรูออนไลน์ ประกอบด้วย บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และบริการเสริมต่างๆ บริการอินเทอร์เน็ต บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต บริการโครงข่ายข้อมูล และดาต้าเกตเวย์
I)            บริการโทรศัพท์พื้นฐานและบริการเสริม
ทรูออนไลน์เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสามารถให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานจำนวนทั้งสิ้น2.6 ล้านเลขหมาย และมีเลขหมายที่ให้บริการอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 1.3 ล้านเลขหมาย(ภายใต้สัญญาร่วมการงานฯระหว่างกลุ่มทรูกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทีโอที”)เป็นระยะเวลา 25 ปี สิ้นสุดปี 2560 กลุ่มทรูได้โอนทรัพย์สินที่เป็นโครงข่ายทั้งหมดให้แก่ทีโอที โดยทีโอทีเป็นผู้จัดเก็บรายได้จากลูกค้าในโครงข่ายทั้งหมด และชำระให้กลุ่มทรูตามสัดส่วนที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมการงานฯ คือในอัตราร้อยละ 84.0 สำหรับบริการโทรศัพท์พื้นฐานในส่วน 2 ล้านเลขหมายแรก และอัตราร้อยละ 79.0 สำหรับในส่วน 6 แสนเลขหมายที่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมในภายหลัง ในส่วนของบริการเสริมต่าง ๆ ที่กลุ่มทรูได้ให้บริการอยู่ กลุ่มทรูได้รับส่วนแบ่งรายได้ในอัตราร้อยละ 82.0 ของรายได้จากบริการเสริมนั้น ๆ
บริการเสริม
·       บริการรับฝากข้อความอัตโนมัติ (Voice Mailbox) บริการรับสายเรียกซ้อน (Call Waiting) บริการสนทนา 3 สาย(Conference Call) บริการโอนเลขหมาย (Call Forwarding) บริการเลขหมายด่วน (Hot Line) บริการย่อเลขหมาย(Abbreviated Dialing) บริการโทรซ้ำอัตโนมัติ (Automatic Call Repetition) บริการจำกัดการโทรออก (Outgoing Call Barring) บริการแสดงหมายเลขเรียกเข้า (Caller ID) และ บริการแจ้งเตือนเบอร์บ้านที่ไม่ได้รับสาย (Smart Alert)
·       บริการตู้สาขาอัตโนมัติระบบต่อเข้าตรง (Direct Inward Dialing หรือ “DID”)
·       บริการเลขหมายนำหมู่ (Hunting Line) เป็นบริการที่จัดกลุ่มเลขหมายให้สามารถเรียกเข้าได้โดยใช้เลขหมายหลักเพียงเลขหมายเดียว
·       โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (Integrated Service Digital Network: ISDN) เป็นบริการรับ-ส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลพร้อมกันได้บนคู่สายเพียง 1 คู่สายในเวลาเดียวกัน
·       บริการ Televoting
·       บริการฟรีโฟน 1-800 (Free Phone 1-800) เป็นบริการหมายเลขโทรฟรี เพื่อให้ลูกค้าสามารถโทรมายังหมายเลขต้นทางซึ่งเป็นศูนย์บริการของบริษัท โดยบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าโทร
·       บริการประชุมผ่านสายโทรศัพท์ (Voice Conference)
·       บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Voice over Internet Protocol หรือ VoIP) ภายใต้ชื่อ NetTalk by True
II)          บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต และบริการสื่อสารข้อมูลธุรกิจ
การให้บริการบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศ ด้วยฐานลูกค้ารวม 2.8 ล้านราย และมีโครงข่ายครอบคลุมประมาณ 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศTU เป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกลุ่มทรู ซึ่งได้รับใบอนุญาตประเภทที่ 3 จากคณะกรรมการ กทช. เพื่อให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน บริการบรอดแบนด์ และบริการโครงข่ายข้อมูลทั่วประเทศ โดย TU ให้บริการวงจรสื่อสารข้อมูล และบรอดแบนด์รวมทั้งโครงข่ายสื่อสารข้อมูล ให้แก่บริษัทย่อยอื่นในกลุ่มทรู ซึ่งรวม ทรู อินเทอร์เน็ต และทรู มัลติมีเดีย เพื่อนนำไปให้บริการต่อแก่ลูกค้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรายย่อย บริการข้อมูล และบริการที่ไม่ใช่เสียง แก่ลูกค้าทั่วไปและลูกค้าธุรกิจ ตามลำดับประกอบด้วยบริการ ADSL บริการเคเบิลโมเด็ม  อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงหรือ WiFi ULTRA Broadband VDSL FTTH (Fiber to the home) หรือ ใยแก้วนำแสง DOCSIS 3.0 FTTx
สามารถให้บริการบรอดแบนด์ด้วยความเร็วสูงและมีความเสถียรในการเชื่อมต่อ อีกทั้งสามารถรองรับความเร็วสำหรับการดาวน์โหลดกว่า 1 Gbps และรองรับการให้บริการแบบทริปเปิ้ลเพลย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นการให้บริการบรอดแบนด์ บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการเสียงผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อหรือ Routerบนโครงข่ายเดียวกันได้อีกด้วย
การรับชมภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Audio-visual streaming และการใช้งาน Real-time livestreaming
แคมเปญ “TRUE Super Speed FIBER” ซึ่งมอบความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้าผ่านอินเทอร์เน็ตประสิทธิภาสูง ร่วมกับการผสมผสานสินค้าและบริการอื่นภายใต้กลุ่มทรู
            การให้บริการอินเทอร์เน็ตไปสู่ลูกค้าในกลุ่มอพาทเมนท์ ด้วยการเปิดตัวบริการ “True A Plus” ซึ่งให้บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต แบบไฟเบอร์ด้วยความเร็ว 300 Mbps และ 200 Mbps ร่วมกับช่องรายการที่น่าดึงดูดใจของทรูวิชั่นส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ และช่องรายการภาพยนตร์จาก Hollywood
สำหรับลูกค้าธุรกิจ กลุ่มทรูให้บริการโครงข่ายข้อมูลในลักษณะโซลูชั่น ทั้งบริการด้านเสียงและข้อมูลไปด้วยกัน รวมทั้งให้บริการด้านการบริหารโครงข่ายข้อมูลผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วย บริการโครงข่ายข้อมูลดิจิตอลDDN (Digital Data Network) หรือบริการวงจรเช่า (Leased Line) บริการโครงข่ายข้อมูลผ่านเครือข่าย IP ได้แก่ บริการ MPLS (Multiprotocol Label Switching) บริการ Metro Ethernet ซึ่งเป็นบริการโครงข่ายข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยี Fiber-to-the-building และถูกออกแบบมาเฉพาะลูกค้าธุรกิจ รวมทั้งบริการวงจรเช่าผ่านเครือข่าย IP (IP-based leased line) ที่ผสมผสานระหว่างบริการข้อมูลผ่านเครือข่าย IP และบริการวงจรเช่า ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าบริการเครือข่าย IP แบบมาตรฐาน นอกจากนั้นยังเน้นการให้บริการการบริหารจัดการเครือข่ายข้อมูล (Managed Network Service) ซึ่งเป็นบริการที่ผสมผสานบริการเกี่ยวกับการปฏิบัติการเครือข่าย 3 บริการเข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดการประสิทธิภาพของเครือข่าย การบริหารข้อผิดพลาด และการกำหนดค่าต่าง ๆ ของเครือข่าย ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณูปโภคด้านโครงข่ายของกลุ่มทรูยังสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี IP ที่ทันสมัยพร้อมสนับสนุนการทำงานบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
บริการทรู อีเธอร์เน็ต ไฟเบอร์” (True Ethernet Fiber) ของกลุ่มทรู เป็นบริการวงจรสื่อสารความเร็วสูง บนโครงข่าย IP ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้หลากหลายประเภท ผ่านโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีความเร็ว ความเสถียร และความปลอดภัยของข้อมูลสูง ด้วยความเร็วตั้งแต่ 2 Mbps ถึง 10 Gbps ซึ่งให้บริการด้วยมาตรฐานระดับโลกจาก Metro Ethernet Forum (MEF) รายแรกในประเทศไทย
กลุ่มธุรกิจโครงข่ายข้อมูลธุรกิจ ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าในตลาดใยแก้วนำแสง ซึ่งยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก โดยได้วางระบบใยแก้วนำแสง โดยใช้เทคโนโลยี Gigabit-capable Passive Optical Network (GPON) ซึ่งได้เข้าถึงลูกค้าองค์กรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในอาคารและบนถนนสายสำคัญ ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด และพื้นที่ท่องเที่ยวหลัก ๆ
            การอัพเกรดอินเทอร์เน็ตแบ็คโบนเป็น 100 กิกะบิตต่อวินาที เป็นรายแรกในเอเชียด้วย Cisco Nexus 7000 มาตรฐานระดับโลกจากซิสโก้ เพื่อเพิ่มศักยภาพเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในอนาคต ให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพและมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น
            การนำเสนอบริการ “SME Package” ที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจและความต้องการใช้งานของลูกค้าเอสเอ็มอีรวมถึง Fixed IP Address ที่รองรับการใช้งานบนเว็บไซต์และอีเมลล์ บริการ Streaming Server บริการ VDO conferenceบริการ VOIP และบริการโทรทัศน์วงจรปิด CCTV
III)        บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ
TIG ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มทรู ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ (International Internet Gateway) และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต (Domestic Internet Exchange Service) ประเภทที่ 2 แบบมีโครงข่ายและใบอนุญาตโทรคมนาคม ประเภทที่ 3 สำหรับการให้บริการขายต่อวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศจากคณะกรรมการ กสทช.ใบอนุญาตดังกล่าว ทำให้ TIG สามารถให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และข้อมูลระหว่างประเทศได้ผ่านเส้นทางภาคพื้นดินและภาคพื้นน้ำ ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ TIG มีชุมสายในกรุงเทพฯ สิงคโปร์ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ทำให้การเชื่อมต่อไปยังประเทศเหล่านี้ มีประสิทธิภาพดีขึ้น และทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ ณ สิ้นปี 2559 TIG มีขนาดแบนด์วิธของโครงข่ายหลัก (Backbone network)อยู่ประมาณ 500 Gbps และบริษัทมีแผนที่จะขยายขนาดแบนด์วิธเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในปี 2560 บริการของ TIG ครอบคลุมทั้งบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ (International Internet Gateway) และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต (National Internet Exchange Service หรือ Domestic Internet Exchange) รวมถึงบริการโครงข่ายข้อมูลระหว่างประเทศ ได้แก่ บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit - IPLC) บริการวงจรเช่าแบบอีเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ (International Ethernet Line) บริการวงจรเช่าเสมือนส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (Internet Protocol Virtual Private Network - IPVPN) และ บริการ Virtual Node
ทรูมูฟ เอช
ทรูมูฟ เอช ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านคลื่นย่านความถี่สูง (850 MHz 900 MHz 1800 MHz และ 2100 MHz)มีจำนวนแบนด์วิธสูงสุด 55 MHz
การเข้าซื้อหุ้น 4 บริษัทของกลุ่มฮัทชิสัน(เดือนมกราคม 2554)เอื้อประโยชน์ในการขยายฐานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มทรูถัดมาในเดือนเมษายน 2554 กลุ่มทรู โดยเรียลมูฟ ได้ลงนามในสัญญาเพื่อขายต่อบริการของ CAT Telecom โดยสัญญาดังกล่าวมีระยะเวลาไปจนถึงปี 2568 เป็นผลให้กลุ่มทรู เปิดตัวแบรนด์ ทรูมูฟ เอช เพื่อขายต่อบริการ 3G ของ CAT Telecom เชิงพาณิชย์ได้ทั่วประเทศ ผ่านเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 850 MHz ทั้งนี้ทรูมูฟ เอช เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2554 ทำให้กลุ่มทรูมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันจากการเป็นผู้ให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ทั่วประเทศรายแรกของประเทศไทย
TUC เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz และได้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวจากคณะกรรมการ กสทช. ในเดือนธันวาคม ปี 2555 ซึ่งทำให้ ทรูมูฟ เอช ได้รับประโยชน์อย่างสูงจากการเปิดให้บริการ 4G เชิงพาณิชย์ บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz เป็นรายแรกในประเทศไทย ในเดือนพฤษภาคม ปี 2556
TUC เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2558 ตามลำดับ โดยได้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ในเดือนธันวาคม ปี 2558 และใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ในเดือนมีนาคม ปี 2559 ซึ่งการได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ดังกล่าวเพิ่มเติมนี้ นอกจากจะช่วยขยายระยะเวลาในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มอย่างน้อยถึงปี 2576 ยังสำคัญกับกลุ่มทรู ใน
การใช้งาน 4G และ อินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ไร้สาย โดยทรูมูฟ เอช ได้นำเอาเทคโนโลยีในการรวมคลื่นทั้ง 3 คลื่น ที่เรียกว่า 3CA (Carrier Aggregation) และเทคโนโลยีสถานีฐาน 4x4 MIMO ที่สามารถรองรับความเร็วสำหรับการดาวน์โหลดได้สูงสุดประมาณ 300 Mbps สำหรับดีไวซ์ที่รองรับเทคโนโลยีดังกล่าว
จุดมุ่งหมายขององค์กร AIS     บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอสก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ด้วยการดำเนินธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริการดิจิทัลคอนเทนต์ ณ สิ้นปี2559 เอไอเอสในฐานะผู้นำด้านการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน
ประเทศไทย มีส่วนแบ่งทางการตลาดเชิงรายได้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50และมีผู้ใช้บริการจำนวน 41 ล้านรายทั่วประเทศ เอไอเอสได้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นระยะเวลากว่า 26 ปี โดยรายได้จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทและด้วยคลื่นความถี่ที่เอไอเอสถือครองในปัจจุบัน จึงสามารถให้บริการโครงข่ายที่มีคุณภาพทั้งเทคโนโลยี 2G 3G และ 4Gตลอดจนบริการคุณภาพอื่นๆ นอกจากนี้ จากการที่เอไอเอสได้รับใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มาเมื่อเดือนมิถุนายน 2559
และใบอนุญาตจะสิ้นสุดในปี 2574 ทำให้สามารถใช้คลื่นเพื่อให้บริการเทคโนโลยี 2G ควบคู่ไปกับการใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับเทคโนโลยี 3G และ 4G ในปัจจุบันเทคโนโลยี 3G ของเอไอเอสดำเนินงานอยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งใบอนุญาตจะสิ้นสุดในปี 2570 โดยเครือข่าย 3G มีความครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 98 ของประชากรไทย ส่วนเทคโนโลยี 4G ของ
เอไอเอส ดำเนินงานอยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตคลื่น 1800เมกะเฮิรตซ์ และใบอนุญาตจะสิ้นสุดในปี 2576 โดย ณ สิ้นปี 2559 เครือข่าย 4G มีความครอบคลุมถึงร้อยละ 98 ของประชากรนอกจากนี้แล้ว เอไอเอสยังให้บริการอื่นๆ ได้แก่ บริการการโทรอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ดิจิทัลคอนเทนต์ วีดีโอสตรีมมิ่ง ธุรกรรม
ทางการเงินบนมือถือ บริการโทรศัพท์ทางไกล และบริการข้ามแดนอัตโนมัตินอกเหนือจากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว ในปี 2558 เอไอเอสได้เริ่มดำเนินธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายใต้แบรนด์เอไอเอสไฟเบอร์และต่อมาในปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่สองของการดำเนินธุรกิจเอไอเอส ไฟเบอร์ได้เติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องมาจากการขยายความครอบคลุมอย่างต่อเนื่องและการมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยที่ตลาด
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขยายตัวเช่นกันเนื่องจากความต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เอไอเอสไฟเบอร์สามารถใช้จุดเด่นด้านความแตกต่างของเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (FTTx) พร้อมด้วยราคาที่เหมาะสมจูงใจให้ผู้ใช้บริการเทคโนโลยี ADSL มาใช้เทคโนโลยีใยแก้วนำแสง ส่งผลให้ปีนี้รายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 616จากเมื่อปีก่อน และจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 6.8 เท่า จากผู้ใช้บริการ 44,000 ราย เมื่อสิ้นปีที่แล้ว เป็น 301,500 ราย และครอบคลุม 5.2 ล้านครัวเรือน ณ สิ้นปีนี้ พร้อมกันนี้ เอไอเอสจะยังคงดำเนินการต่อยอดธุรกิจในปีหน้าและตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้บริการรายหลักในตลาด ภายใน 3 ปีธุรกิจหลักส่วนสุดท้ายของเอไอเอสคือ ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ซึ่งการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจยุคดิจิทัล ทำให้เอไอเอสในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ ได้มีการคิดค้นและพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์และบริการต่างๆ ให้แก่ลูกค้า โดยเอไอเอสได้ร่วมมือกับผู้สร้างและให้บริการคอนเทนต์ในการพัฒนาระบบนิเวศของการทำธุรกิจแบบเชื่อมโยงร่วมกับพันธมิตรเพื่อการเติบโตไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เอไอเอสได้เน้นการทำดิจิทัลคอนเทนต์ใน 5 ด้านได้แก่ วิดีโอ เกม ธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ คลาวด์ และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (M2M) โดยตัวอย่างของความสำเร็จในปี 2559 ได้แก่ AIS PLAY ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนมือถือที่ให้บริการวิดีโอคอนเทนต์และการเปิดตัวบริการคลาวด์สำหรับองค์กร
ทั้งนี้ ในท้ายที่สุด ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ของเอไอเอสจะสามารถยกระดับและขยายธุรกิจในทุกๆ ด้านแบบองค์รวม พร้อมกับการปัจจุบัน ความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งานโทรศัพท์มือถือได้เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น เครือข่ายครอบคลุมทั่วถึงและใช้งานได้ด้วยความเร็วสูงกว่าเดิม อีกทั้งสมาร์ทโฟนมีราคาถูกลง พร้อมกับมีคอนเทนต์และแอปพลิเคชันที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกใช้ ดังนั้น การใช้งานโทรศัพท์มือถือจึงเน้นไปที่การใช้อินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของรายได้จากการให้บริการข้อมูลที่มีสัดส่วนสูงกว่ารายได้จากการโทร นอกจากนี้ เอไอเอสยังขยายสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและให้บริการดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างครบวงจร ตามรูปแบบการใช้งานของลูกค้าในยุคดิจิทัล
1. ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ปัจจุบัน เอไอเอสได้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ย่าน2.1 กิกะเฮิรตซ์ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยให้บริการทั้งเทคโนโลยี 2G 3G และ 4G ทั้งหมดนี้พร้อมรองรับลูกค้ารวมกว่า 41 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าระบบเติมเงินประมาณ 34.6ล้านราย และมีลูกค้าระบบรายเดือนประมาณ 6.4 ล้านราย ในปี2559 เอไอเอสได้ขยายสถานีฐาน 3G ไปทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นกว่า51,200 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากร และสถานีฐาน4G มีจำนวน 42,100 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากรนอกเหนือไปจากแพ็คเกจการใช้งานหลักของทั้งระบบเติมเงินและระบบรายเดือนแล้ว ลูกค้าสามารถซื้อแพ็คเกจเสริม เพื่อใช้งานเพิ่มเติมและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการ เช่น
เพิ่มจำนวนนาทีในการโทร เพิ่มปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยสามารถเลือกซื้อเป็นแพ็คเกจเสริมใช้ครั้งเดียว หรือใช้ต่อเนื่อง เป็นประจำ ซึ่งมีช่องทางการซื้อที่ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ทั้งการสมัครแพ็คเกจเสริมด้วยการกดรหัส สมัครผ่านช่องทางออนไลน์อื่นๆ เช่น eService หรือAIS Online store และผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น AIS App และLINE เป็นต้นทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ในส่วนของการบริการที่ไม่ใช่บริการเสียงนั่นเอง
เอไอเอสมุ่งให้บริการและนำเสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ในปี 2559 จึงได้มีการศึกษา วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อนำมาพัฒนาแพ็คเกจในรูปแบบใหม่ๆทั้งในระบบรายเดือนและระบบเติมเงิน ที่สอดคล้องและเหมาะกับการใช้งานบนเครือข่าย 4G เพื่อให้การใช้งานของลูกค้าเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพโดยพยายามที่จะทำให้แพ็คเกจที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่เน้นการใช้งานอินเทอร์เน็ต ครอบคลุมทุกการใช้งานไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ หรือคอนเทนต์ดิจิทัลอื่นๆ โดยแพ็คเกจเหล่านี้ทำให้ลูกค้าสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ที่ความเร็วสูงสุดในปริมาณที่กำหนด ซึ่งจะให้มากกว่าแพ็คเกจแบบไม่จำกัด (non-stop) อื่นๆ และเมื่ออินเทอร์เน็ตในแพ็คเกจหมด ลูกค้าจะหยุดการใช้งานและสามารถ
เลือกซื้อแพ็คเกจเพิ่มเพื่อให้สามารถใช้งานต่อได้ นอกจากนี้ยังมีบริการ Multi SIM ที่ลูกค้าระบบรายเดือนสามารถสมัครใช้เพียงแพ็คเกจเดียว เพื่อเล่นเน็ตพร้อมกันได้ถึง 5 เครื่องซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้งานข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ระบบเติมเงิน ลูกค้าสามารถเลือกเติมเงินผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ผ่าน เอไอเอสช็อป mPAY ผ่านธนาคาร เครื่องเอทีเอ็มผ่านร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ เพื่อให้มีเงินคงอยู่ในระบบ จากนั้นจึงสามารถใชบริการโดยเลือกจากแพ็คเกจที่หลากหลาย ภายใต้แบรนด์เอไอเอส วันทูคอล! เพื่อให้ตรงตามลักษณะการใช้งานมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วเมื่อจดทะเบียนซิม ลูกค้าจะเลือกแพ็คเกจหลักซึ่งมีทั้งแบบรวมการใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะรวมบริการ AIS WiFiไว้ด้วย หรือแพ็คเกจ NET SIM ที่ให้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ต
ซึ่งได้รับความนิยมเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เช่น แท็บเล็ต และแบบสุดท้ายคือ แบบใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ที่มีอัตราค่าโทรแตกต่างกันไปทั้งในเครือข่ายและนอกเครือข่ายเอไอเอส และนอกจากนี้ ยังมีรูปแบบค่าโทรราคาพิเศษสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและทางสายตา
ระบบรายเดือน เป็นรูปแบบที่ลูกค้าใช้บริการก่อนแล้วจึงชำระค่าใช้จ่ายเมื่อสิ้นสุดรอบการใช้ โดยสามารถเลือกแพ็คเกจที่สามารถแบ่งประเภทได้เช่นเดียวกับระบบเติมเงิน แบบรวมการใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีบริการ AIS WiFi รวมอยู่เช่นกัน หรือรูปแบบการใช้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ต และรูปแบบ
การใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ลูกค้าในระบบรายเดือนมีแพ็คเกจการใช้งานให้เลือกอย่างหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่จะมีข้อแตกต่างจากระบบเติมเงินคือการชำระเงินหลังรอบการใช้บริการในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าจำนวนมาก พึงพอใจกับความสะดวกสบายในแง่นี้นอกเหนือไปจากแพ็คเกจการใช้งานหลักของทั้งระบบเติมเงินและระบบรายเดือนแล้ว ลูกค้าสามารถซื้อแพ็คเกจเสริม เพื่อใช้งานเพิ่มเติมและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการ เช่นเพิ่มจำนวนนาทีในการโทร เพิ่มปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยสามารถเลือกซื้อเป็นแพ็คเกจเสริมใช้ครั้งเดียว หรือใช้ต่อเนื่อง เป็นประจำ ซึ่งมีช่องทางการซื้อที่ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ทั้งการสมัครแพ็คเกจเสริมด้วย
การกดรหัส สมัครผ่านช่องทางออนไลน์อื่นๆ เช่น eService หรือ AIS Online store และผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น AIS App และ LINE เป็นต้น
บริการโรมมิ่งและบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
เอไอเอสมีบริการโรมมิ่งหรือบริการข้ามแดนอัตโนมัติ ซึ่งลูกค้าสามารถนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้เมื่อเดินทางต่างประเทศได้ทันทีเมื่อเปิดบริการและไม่ต้องเปลี่ยนซิม โดยใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการในประเทศนั้นๆ เอไอเอสได้ตกลงทำสัญญากับผู้ให้บริการระหว่างประเทศ 432 รายในทุกทวีป มีเครือข่ายให้บริการ 464เครือข่าย และมีเครือข่าย 4G โรมมิ่งครอบคลุม 82 ประเทศ กับ140 เครือข่าย มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย อีกทั้งยังมีบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ เพื่อการโทรจากประเทศไทยไป
ยังประเทศปลายทางกว่า 240 ประเทศในปี 2559 เอไอเอสได้เปิดตัวแพ็คเกจโรมมิ่งใหม่ล่าสุด ชื่อว่า
“Roam Like Home” ที่ลูกค้าซึ่งเดินทางอยู่ต่างประเทศสามารถโทรกลับประเทศไทยและโทรในประเทศนั้นๆ ได้ไม่จำกัด พร้อมทั้งใช้บริการโรมมิ่งอินเทอร์เน็ตได้ต่อเนื่องด้วยแพ็คเกจเดียวกันในประเทศยอดนิยม 40 ประเทศ แพ็คเกจนี้ยังทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานโรมมิ่งทั้งการโทรและใช้อินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องกังวล และไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์นอกจากนี้ เอไอเอส ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นทางเลือกสำหรับการใช้บริการโรมมิ่ง ได้แก่ SIM2Fly ซึ่งเป็นซิมแบบเติมเงินและพ็อคเก็ตไวไฟของประเทศปลายทาง โดยมีจำนวนวันและปริมาณการใช้งานให้เลือกตามความต้องการ ใช้งานได้หลากหลายประเทศที่ลูกค้านิยมเดินทางไป ทั้งโซนเอเชีย ยุโรป และอเมริกามอบความสะดวกสบายและความคุ้มค่าให้กับลูกค้า โดยสามารถซื้อซิมได้จากเมืองไทยก่อนเดินทาง และเมื่อถึงประเทศปลายทางก็สามารถใช้งานได้ทันที
2. ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
เอไอเอสต้องการได้เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ภายใต้แบรนด์เอไอเอส ไฟเบอร์ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านDigital home service infrastructure โดยให้บริการบรอดแบนด์
อินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เข้าตรงสู่บ้าน (FTTH) และอาคาร (FTTB) สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งในด้านความเร็วและความเสถียรในการใช้งาน โดยมาพร้อม AIS PLAYBOX กล่องทีวีอินเทอร์เน็ตที่ช่วยสร้างความบันเทิงได้อย่างครบครัน
ในปี 2559 เอไอเอสมีผู้ใช้บริการ 301,500 ราย ด้วยพื้นที่บริการครอบคลุม 28 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานีสมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานีนครราชสีมา เชียงใหม่ ภูเก็ต พระนครศรีอยุธยา ระยองอบุ ลราชธานี บุรีรัมย์ หนองคาย เชียงราย พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี
สงขลา สระบุรี สุรินทร์ ราชบุรี สกลนคร มหาสารคาม นราธิวาสและนครศรีธรรมราช โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นผู้ให้บริการหลักในตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในระยะเวลา 3 ปีแพ็คเกจของเอไอเอส ไฟเบอร์ให้ลูกค้าเลือกใช้บริการแบ่ง 3 ประเภท เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่แตกต่างกัน ตามการใช้งานของลูกค้านั่นเอง
การขยายความร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
เอไอเอสไฟเบอร์จับมือร่วมกันกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายโครงการ เช่น บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)บริษัทเอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด บริษัท ดีเวลแกรนด์แอสเสทจำกัด และบริษัทมั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) เพื่อวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ผู้พักอาศัยสามารถใช้งานได้ทันที
ที่เข้าอยู่ในโครงการและเป็นการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น
3. ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์
นอกจากการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายเพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าแล้ว อีกสิ่งที่เอไอเอสได้พัฒนามาโดยตลอดคือบริการเสริมที่ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้นอกเหนือจากการรับสายเข้าหรือโทรออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เอไอเอสเป็นผู้นำในการให้บริการเสริมมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นบริการเสียงเพลงรอสาย(Calling Melody) บริการหนังสืออิเลคโทรนิคส์ (E-Book) และบริการเสริมอื่นๆ ที่ได้ร่วมทำกับพันธมิตรทางธุรกิจจนทำให้ตลาดบริการเสริมมีการเติบโตมาโดยลำดับการจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่ายช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมกลยุทธ์ของบริษัท เนื่องจากเป็นจุดส่งผ่านสินค้าและบริการต่างๆของเอไอเอสไปยังลูกค้าที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
เอไอเอสให้ความสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับตัวแทนจำหน่าย รวมถึงการพัฒนาและจัดหาตัวแทนจำหน่ายเพิ่มเติม เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ทำให้เอไอเอสมีรูปแบบของช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายเพื่อตอบสนองรูปแบบการดำเนินชีวิตของลูกค้าทุกกลุ่ม โดยร้อยละ 97 เป็นการจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาทั้งจากทำเลที่ตั้ง ผลงานที่ผ่านมา รวมทั้งสถานะทางการเงิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ต่างจังหวัดจะต้องเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยในพื้นที่และเป็นนักธุรกิจที่มีศักยภาพภายในพื้นที่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและส่งมอบบริการที่ดีให้กับลูกค้าได้
ดังรต่อไปนี้
1. เอไอเอส ช็อป
เอไอเอสมีการขยายสาขาเอไอเอส ช็อป เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้ในพื้นที่ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากระบวนการให้บริการที่ทำให้คล่องตัว เพื่อความรวดเร็ว อีกทั้งยังปรับปรุงการจัดพื้นที่และแสดงสินค้าในช็อป ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยในปี 2559 มีเอไอเอส ช็อป 130 สาขาซึ่งจำนวน 43 สาขาจากทั้งหมดนี้ เอไอเอสได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารร้านเอไอเอส ช็อป โดยเรียกว่า AIS Shop by Partner โดยมีมาตรฐานการให้บริการที่เหมือนกับ AIS Shop ที่ทาง AIS ควบคุมเองเพื่อช่วยให้การขยายสาขาเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยเอไอเอสช็อปที่บริหารโดยตัวแทนจำหน่ายนี้จะมีมาตรฐานการขายและการให้บริการอย่างมีคุณภาพเช่นเดียวกับการบริหารโดยเอไอเอสเองซึ่งกระบวนการคัดเลือกพนักงานและการฝึกอบรมถูกจัดขึ้นโดยทีมงานพัฒนาบุคคลของเอไอเอส เพื่อให้เกิดความเป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละสาขา
2. ตัวแทนจำหน่ายเทเลวิซ
เอไอเอสมีตัวแทนจำหน่ายเทเลวิซจำนวนทั้งสิ้นกว่า 100 รายและมีร้านเทเลวิซ และเทเลวิซพลัส กว่า 430 แห่งทั่วประเทศ โดยตัวแทนจำหน่ายเทเลวิซมีสิทธิในการจำหน่ายสินค้าและบริการภายใต้เครื่องหมายการค้าของเอไอเอส รวมถึงมีสิทธิในการให้บริการรับจดทะเบียนรายเดือน ให้บริการเกี่ยวกับงานทะเบียน
ต่างๆ และเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดโดยนอกเหนือจากรายได้จากการขายโดยทั่วไปแล้ว ตัวแทนจำหน่ายเทเลวิซจะได้รับค่าตอบแทนจากการลงทะเบียนให้ลูกค้าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอไอเอส รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดในอัตราที่เอไอเอสกำหนด ทั้งนี้ เอไอเอสจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไข ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของการให้บริการ รวมถึงแนวทางในการดำเนินการของตัวแทนจำหน่ายเชน่ การเลือกและพัฒนาสถานที่ การโฆษณาและส่งเสริมการขาย
และการให้บริการต่างๆ เพื่อให้ได้ระดับมาตรฐาน ในปี 2559เอไอเอสได้จัดทำแผนยกระดับคุณภาพร้านเทเลวิซ จำนวน 20 สาขาโดยเน้นพัฒนามาตรฐานการการขาย และการให้บริการ ให้ดียิ่งขึ้น
เพื่อพร้อมสู่การเป็นเอไอเอส ช็อป
3. ตัวแทนจำหน่ายแอดวานซ์ ค้าส่ง (Advanced Distribution Partnership หรือ ADP)
ตัวแทนจำหน่ายแอดวานซ์ ค้าส่งได้รับการคัดเลือกจากตัวแทนจำหน่ายเทเลวิซ และตัวแทนจำหน่ายทั่วไปที่มีศักยภาพในการกระจายสินค้าในพื้นที่มีสถานะทางการเงินที่ดี เพื่อทำหน้าที่ดูแลบริหารการจัดส่งสินค้าให้กับตัวแทนค้าปลีก ในเขตพื้นที่ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการ
ตลาดในพื้นที่
4. ตัวแทนจำหน่ายเอไอเอส บัดดี้
ตัวแทนจำหน่ายเอไอเอส บัดดี้ ได้รับการคัดเลือกจากตัวแทนจำหน่ายค้าปลีกที่มีศักยภาพในการขายและอยู่ในพื้นที่สำคัญต่างๆในแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นร้านจุดจำหน่ายสินค้าและให้บริการอื่นๆของเอไอเอส ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการรับจดทะเบียนรายเดือน ให้บริการเกี่ยวกับงานทะเบียนต่างๆ และให้บริการรับชำระค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งสามารถให้บริการได้ใกล้เคียงกับตัวแทนจำหน่ายเทเลวิซ ในปี 2559 ทางบริษัทได้เปิดตัวแทนจำหน่ายเอไอเอส บัดดี้เพิ่มจำนวนเป็นกว่า 1,100 ร้านค้า กระจายตัวอยู่ในตามแต่ละอำเภอ ทั่วประเทศ และมุ่งขยายสาขามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าเอไอเอสที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน“Easy App” เพื่อรองรับการทำงานบริการต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟนทำให้ตัวแทนจำหน่ายสามารถทำงานบริการได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
และเพิ่มศักยภาพในการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ
5. ตัวแทนแอดวานซ์ ค้าปลีก (Advanced Retail Shop หรือARS)
ตัวแทนแอดวานซ์ ค้าปลีกเป็นร้านค้าปลีกที่จำหน่ายโทรศัพท์ทั่วไปที่กระจายอยู่หลากหลายพื้นที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี นับเป็นช่องทางส คัญเพราะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรง ปัจจุบันมีมากกว่า 22,000 ราย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของชุมชน และในปี 2559มีการพัฒนารูปแบบการขายให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยตัวแทนจำหน่ายค้าปลีกสามารถทำงานบริการผ่านแอปพลิเคชัน “Easy App” เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น
6. ตัวแทนจำหน่ายขนาดใหญ่ (Key Account and Modern Trade)
เอไอเอสได้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ เช่น การให้บริการเปิดเบอร์เติมเงิน และรายเดือน การรับชำระค่าบริการรายเดือนรวมไปถึงการเติมเงิน ผ่านตัวแทนจำหน่ายขนาดใหญ่ซึ่งมีสาขาหรือร้านค้าของตนเองอยู่ทั่วประเทศ ได้แก่ เจมาร์ท ทีจีโฟนบางกอกเทเลคอม ซีเอสซี กลุ่มร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น เทสโก้
โลตัส บิ๊กซี เพาเวอร์บาย เซเว่นอีเลเว่น กลุ่มช่องทางขายอุปกรณ์ไอที ตัวแทนจำหน่ายไอที กลุ่มไอทีค้าปลีก เช่น ไอสตูดิโอ ไอทีซิตี้แอดไวซ์ ไอที เป็นต้น โดยกระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 50 ราย และเป็นสาขามากกว่า 10,000 แห่ง รวมถึงได้เพิ่มจำนวนพนักงานส่งเสริมการขาย เป็น 350 คน คอยทำหน้าที่แนะนำสินค้าและบริการแก่ลูกค้า พร้อมทั้งมีการเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางจำหน่ายโดยเพิ่มความสามารถในการขายสินค้า และให้บริการของเอไอเอส ตลอดจนการเพิ่มสื่อต่างๆในสาขาของตัวแทนจำหน่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายและสร้างภาพลักษณ์ให้กับเอไอเอส ในปี 2559 นี้ เอไอเอสได้ร่วมมือกับตัวแทนจำหน่ายกลุ่ม ไอสตูดิโอจำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท เอส พี วี ไอจำกัด บริษัท คอปเปอร์ไวร์ด จำกัด บริษัท ยูฟิคอน จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำประสบการณ์ของการให้บริการเครือข่ายผสานรวมกับความเชี่ยวชาญด้านแอปเปิ้ล ทำให้ตอบรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าแอปเปิ้ลได้ดียิ่งขึ้น
7. การจำหน่ายทางตรง
เป็นช่องทางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายให้สามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรง เช่นการออกบูธ ซึ่งดำเนินการโดยการคัดสรรจากตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพและความชำนาญในแต่ละพื้นที่ และโดยจัดตั้งทีมงาน AISDirect Sales เพื่อรองรับการเติบโตและขยายตัวของตลาดในอนาคตโดยมีการพัฒนาอุปกรณ์ และเครื่องมือการทำงานที่เรียกว่า“Easy App” ให้พนักงานขายสามารถดำเนินการขายสินค้า จดทะเบียนและทำบริการต่างๆ ให้ลูกค้าในทันทีจึงทำให้การบริการทำได้
สะดวก รวดเร็ว และทันสมัยมากขึ้น
8. การจำหน่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เอไอเอส ส่งเสริมให้ตัวแทนจำหน่ายระบบ วัน ทู คอล! ให้บริการเติมเงินผ่านตัวแทนหน่วยเติมเงิน AIS Online top-upช่วยให้ลูกค้าเอไอเอสสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพัฒนาวิธีการเติมเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นผ่านเครื่องเติมเงินอัตโนมัติ เอทีเอ็ม ธุรกรรมการเงินผ่านมือถือ
อินเทอร์เน็ต mPAY โดยปัจจุบันเอไอเอสมีการจำหน่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กว่า 500,000 จุด ปัจจุบันการเติมเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่า การเติมเงินทั้งหมด รวมถึงยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตบัตรเติมเงินและบัตรเงินสดอีกด้วย
ช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์
เอไอเอสจัดช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับบริการเอไอเอสไฟเบอร์ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำเสนอบริการให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯปริมณฑล และภูมิภาคต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นอีกจากการขยายเครือข่ายการให้บริการในอนาคตในปี 2559 ช่องทางหลักที่ให้บริการจัดจำหน่ายได้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งหมด โดยมีทั้งเอไอเอสช็อป และร้านค้าเทเลวิซ กว่า440 แห่งใน 28 จังหวัดในพื้นที่ให้บริการของเอไอเอส ไฟเบอร์ รวมทั้งมีการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งและตัวแทนขายตรงในแต่ละพื้นที่ให้บริการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2560 จะมีการขยายช่องทางต่างๆ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือโมบายแอปพลิเคชัน ในการให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยสามารถสมัครตรวจสอบสถานะการใช้บริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทั้งนี้ กลยุทธ์ที่เอไอเอสใช้ในการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย
การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า และประสบการณ์ลูกค้า
เอไอเอสตระหนักดีว่าการบริการลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ ดังนั้นเอไอเอสจึงทุ่มเทเพื่อมาตรฐานบริการที่ยอดเยี่ยม และเพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านการดูแลลูกค้า เอไอเอสได้ต่อยอดแนวคิด AIS LIVE 360º ด้วย
แคมเปญที่สุดจากใจ ที่ 1 การให้บริการ เพื่อส่งมอบบริการด้วยใจ พร้อมคัดสรรสิทธิพิเศษที่ตรงใจให้แก่ลูกค้าในยุค 4G ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ออกแบบมาด้วยความเข้าใจและใส่ใจในทุกรายละเอียด ยกระดับการดูแลลูกค้าให้เป็นที่สุดในทุกด้าน โดยประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์ คือ
1) เร็วที่สุด โดยเอไอเอส ได้รับรางวัลในฐานะผู้ให้บริการด้านโซเชียล มีเดีย ที่ให้ข้อมูลลูกค้าบนพันทิปเร็วที่สุดในประเทศไทย
2) สะดวกที่สุด ด้วยบริการที่จัดการได้ด้วยตนเอง (Self Service) ที่หลากหลาย
3) ทันสมัยที่สุด ด้วยการนำเทคโนโลยีมาออกแบบงานบริการ
ที่ตรงใจลูกค้า
4) หลากหลายที่สุด กับสิทธิประโยชน์ที่เติมเต็มครบทั้ง 360องศาการใช้ชีวิต พร้อมยกระดับพัฒนาศักยภาพพนักงานอย่างต่อเนื่องเอไอเอสมีการบริหารความสัมพันธ์และประสบการณ์ลูกค้าผ่านแคมเปญและรูปแบบบริการที่หลากหลาย เช่นกัน

      2.4)  แผนกลยุทธ์ไอที และความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์ไอทีเพื่อสนับสนุนการแข่งขันทางธุรกิจ
AIS
AIS ต้องการก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นผู้นำด้านบริการดิจิทัลเพื่อคนไทย
โลกในปัจจุบันนี้ ได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างชัดเจน อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยยังเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยความต้องการในการใช้งานไม่ได้จำกัดแค่เพียงการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ได้รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา เพื่อสื่อสารรับข่าวสาร ข้อมูลได้จากทั่วโลก และยังสามารถใช้งานคอนเทนต์ที่มีหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในแง่มุมต่างๆ ทั้งคอนเทนต์ด้านสาระประโยชน์ ความบันเทิง ธุรกรรมทางการเงิน
รวมทั้งแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น เอไอเอสตระหนักถึงแนวโน้มนี้เป็นอย่างดี จึงมองว่าการให้บริการโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่ เอไอเอสได้ปรับวิสัยทัศน์พัฒนาตัวเองเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ที่พร้อม
ให้บริการในทุกมิติ สามารถตอบรับรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าในยุคดิจิทัล อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ครอบคลุมเพื่อช่วยยกระดับชีวิตของคนไทยทั่วประเทศในทุกแง่มุม เช่น สื่อบันเทิงสุขภาพ การศึกษา การเกษตร และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และการวางรากฐานอันแข็งแกร่งที่พัฒนามากว่า 26 ปี เพื่อให้บริการใน 3 ธุรกิจหลักได้แก่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการดิจิทัลคอนเทนต์คงความเป็นผู้นำในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเครือข่ายและบริการคุณภาพ
ปัจจุบัน ความต้องการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไป จากที่ใช้การโทรเป็นหลัก กลายมาเป็นใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความนิยมในแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารง่ายดาย มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนที่สูงขึ้น
ควบคู่ไปกับความนิยมใช้เทคโนโลยี 4G ที่มีความเร็วสูง ทำให้การสื่อสารและใช้คอนเทนต์ต่างๆ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับฐานลูกค้าเอไอเอส ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและมีอัตราผู้ใช้งานเครื่องโทรศัพท์ 4G ร้อยละ 29 นอกจากนี้รัฐบาลก็มีส่วนผลักดันด้วยเป้าหมายที่จะสร้างระบบบริหารงานแบบดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยบริการโทรคมนาคมจะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายที่รองรับการให้บริการจึงต้องมีประสิทธิภาพที่ดี สามารถใช้งานได้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า อันเป็นรากฐานสำคัญในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
เอไอเอสจึงต้องวางแผนมุ่งพัฒนาเครือข่ายให้มีคุณภาพ มีความเสถียร และไว้
วางใจได้ ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบโครงข่าย และพร้อมพัฒนาเพื่อนวัตกรรมในการให้บริการคุณภาพกับลูกค้า นับตั้งแต่การวางโครงข่ายให้ครอบคลุมพร้อมสำหรับการติดต่อสื่อสารในทุกพื้นที่ ซึ่งเอไอเอสยังคงเดินหน้าพัฒนาเครือข่ายด้วยการลงทุนเพื่อขยายโครงข่าย 4G ให้เข้าถึงพื้นที่เพิ่มเติม ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า และไม่หยุดพัฒนาเครือข่าย3G เพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ลูกค้าจะมีความต้องการใช้งานที่หลากหลายไปกว่าเดิม เช่น คอนเทนต์วิดีโอความละเอียดสูงระดับ Ultra HD เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง Virtual Reality และ Augmented reality ไปจนถึง Internet of Things(IoT) หรือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่ออำนวยความสะดวก นับตั้งแต่อุปกรณ์ใกล้ตัว อาทิ โทรศัพท์มือถือ นาฬิการถยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ อย่างเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นฯลฯ ซึ่งจะผสมผสานการใช้งานจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
ประจำวัน เมื่อความต้องการเหล่านี้ ผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่ อย่างเช่น 5G ที่คาดว่าจะเริ่มพัฒนามาตรฐานสำหรับเชิงพาณิชย์ในอีกประมาณ 4-5 ปีข้างหน้า ยิ่งทำให้เอไอเอสต้องเตรียมการพัฒนาให้ทันกับลูกค้าและสภาพแวดล้อม การมีคลื่นความถี่ให้เพียงพอและการพัฒนาเครือข่ายอย่างไม่หยุดยั้งจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการแข่งขันในอนาคต
สิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับเอไอเอสเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม คือ การให้ความสำคัญกับการบริการ ซึ่งช่วยรักษาฐานลูกค้า ก่อให้เกิดรายได้ที่ดีและยั่งยืน ทั้งนี้ เอไอเอสได้มุ่งพัฒนามาตรฐานบริการเพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าโดยทิศทางในการนำพาองคก์ รเข้าสู่ยุคดิจิทัลคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น ช่วยในการเก็บข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ เพื่อให้บริการลูกค้าได้ตรงใจยิ่งขึ้น และยังนำอุปกรณ์ดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการให้บริการ อีกทั้งยังนำเสนอสิทธิพิเศษที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการและทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า เพื่อครองความเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้าต่อไป
โครงการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมของเอไอเอส
เอไอเอสได้ริเริ่มดำเนินโครงการ “AIS InnovationTransformation” ขึ้นในปี พ.. 2558 เพื่อเป็นการรวบรวมและติดตามการทำโครงการเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ
และเกิดความสะดวกต่อการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรจากเดิมที่การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมจะถูกกระจายอยู่ในแต่ละสายงานตามความรับผิดชอบ โครงการ AIS InnovationTransformation ยังมีเป้าหมายในการสร้างให้เอไอเอสเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมกระตุ้นให้พนักงานมีการคิดค้น พัฒนา
และสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงบวกใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างช่องทางการจัดหารายได้ในรูปแบบใหม่ โดยกรอบการดำเนินงานภายใต้ AIS Innovation Transformation เป็นดังต่อไปนี้
กรอบการดำเนินงานทางด้านนวัตกรรมจะถูกขับเคลื่อนโดย
สำนักความร่วมมือทางด้านนวัตกรรม (Innovation Collaboration Officer) โดยครอบคลุมตั้งแต่
1. การกำหนดแหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์ หรือ creativity ที่เปิดกว้างทั้งจากภายในและภายนอก ผ่านการดำเนินงานด้วยเอไอเอสและบริษัทย่อยเอง หรือผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ มหาวิทยาลัย และองค์กรภาครัฐต่างๆ
2. การนำความคิดสร้างสรรค์ที่ได้มาทำการคัดเลือก ปรับปรุงและทดสอบ/ทดลองเบื้องต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ โดยเอไอเอสจัดให้มีศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม(Innovation Center) เป็นผู้ดำเนินการ
3. การนำเสนอผลการทดสอบ/ทดลองต่อคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรม (Innovation Competitive Development
Steering Committee) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทน ผู้บริหารจากสายงานต่างๆ โดยมีหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เป็นประธานเพื่อพิจารณาว่าแนวคิดดังกล่าวสมควรนำไปใช้งาน หรือพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าและ/หรือบริการของเอไอเอสต่อไปหรือไม่สำหรับ ศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็น
แกนกลางของกรอบการดำเนินงานนั้น นอกจากจะทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้และทดสอบ/ทดลองนวัตกรรมที่มีการคิดค้นขึ้นมาแล้ว ยังถูกกำหนดให้เป็นศูนย์รวมของการสร้างและส่งเสริมนวัตกรรมขององค์กร โดยการทำงานของศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จะประกอบไปด้วย คณะทำงานที่มาจากสายงานต่างๆ เช่น วิศวกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ การตลาด และการบริการลูกค้า เป็นต้น และใช้หลักการทำงานแบบหน่วยงานเสมือนจริง กล่าวคือ พนักงานจะรวมกลุ่มกันและสร้างทีมงานขึ้นมา
โดยมีรูปแบบการทำงานร่วมกันเสมือนเป็นหน่วยงานหนึ่งในองค์กร โดยสมาชิกแต่ละท่านก็ยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบหลักตามหน่วยงานที่สังกัดอยู่เช่นเดิม แต่จะมาร่วมกันศึกษา ทดลองในเรื่องที่เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านต่างๆ ตามที่แต่ละคณะทำงานจะได้รับมอบหมาย และจะเรียกแต่ละคณะทำงานนี้ว่า Lab ปัจจุบันนี้
ภายใต้ศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มี Lab ทั้งหมดดังนี้
เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย
โครงข่ายโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
การเกษตรอัจฉริยะ
บ้านอัจฉริยะ
ระบบการศึกษาอัจฉริยะ
ระบบการแพทย์และสุขภาพอัจฉริยะ
ระบบขนส่งอัจฉริยะ
พลังงานอัจฉริยะ
ธุรกิจค้าปลีกอัจฉริยะ
โดยนอกจาก 10 Labs ดังกล่าว ซึ่งจะอยู่ในรูปของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ หรือ นวัตกรรมด้านสินค้าและบริการ แล้วศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยังให้การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมด้านกระบวนการทำงานใหม่อีกด้วย โดยจะมองเป็นรายโครงการ ซึ่งอาจจะไม่ได้ถูกจัดอยู่ใน 10 Labs ข้างต้น
การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
ถึงแม้ว่าเอไอเอสจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมและมีพนักงานที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆมากมาย แต่ก็ยังอยู่ในระดับของผู้ใช้เทคโนโลยี และจำกัดอยู่แค่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อเติมเต็มความสามารถทั้งในด้านการสร้างนวัตกรรม และการขยายความรู้ออกไปสู่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เอไอเอสจึงให้ความสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในหลากหลายรูปแบบ
1. การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เอไอเอสสามารถเข้าถึงบุคลากร นักวิจัย และเทคโนโลยีใหม่ๆ ของพันธมิตร รวมทั้งได้ประโยชน์จากความสามารถในการทำวิจัยและพัฒนาขั้นสูงของพันธมิตร โดยไม่ก่อให้เกิดต้นทุนการดำเนินงานที่สูง ขณะเดียวกัน พันธมิตรก็จะได้ประโยชน์จากการรับทราบมุมมองใหม่ๆ และความคิดสร้างสรรค์ในมุมของผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์จากเอไอเอส เพื่อนำไปต่อยอดแนวทางการดำเนินธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพันธมิตร รวมทั้งพันธมิตรสามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังกล่าวมาทดลองใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงกับเอไอเอสและลูกค้าของเอไอเอสได้ ซึ่งจะช่วยให้พันธมิตรสามารถนำไปขยายผลกับลูกค้ารายอื่นของพันธมิตรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น โครงการความร่วมมือศูนย์นวัตกรรมร่วมกับหัวเหว่ยผู้ให้บริการสื่อสารและเทคโนโลยีโทรคมนาคมชั้นนำ ในชื่อ
โครงการว่า Joint Innovation Center หรือ JIC ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.. 2555 ในส่วนของเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย (MobileInnovation Center : MIC) ซึ่งตัวอย่างของความสำเร็จที่ได้เคยกล่าวไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา คือ การพัฒนานวัตกรรม “3G 2100MHz 6 Sectors” ที่ถูกนำมาใช้งานจริงในการรองรับปริมาณการใช้งานดาต้าของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยที่เอไอเอสไม่จำเป็นต้องเพิ่มความถี่หรือจำนวนสถานีฐาน ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินงานต่อมา ในปี พ.. 2558 เอไอเอสและหัวเหว่ย ได้ขยายความ
ร่วมมือไปครอบคลุมถึงเทคโนโลยีโครงข่าย (Network Innovation Center: NIC) เทคโนโลยีด้านไอซีที และ
แอปพลิเคชัน (Application Innovation Center: APIC)รวมเป็น 3 แกนหลักของความร่วมมือ โดยตัวอย่างโครงการที่อยู่ในช่วงของการศึกษาทดลอง เช่น โครงการ พัฒนาเทคโนโลยีการใช้งานอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์สำหรับโครงข่ายหลักที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความเรียบง่าย เป็นต้น
2. การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันและอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากโทรคมนาคม ซึ่งเอไอเอสไม่มีความถนัด โดยเอไอเอสได้ประโยชน์จากการนำความรู้มาใช้ต่อยอดในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ สร้างฐานรายได้ใหม่ รวมทั้งสร้างการเชื่อมต่อระหว่างบุคลากรและนักศึกษาจากมหาวิยาลัยและสถาบันวิจัยดังกล่าว ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ก็จะได้ประโยชน์จากการนำงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่มาพัฒนาให้เกิดเป็นธุรกิจจริง หรือได้รับงบประมาณ
สนับสนุนงานวิจัยและข้อมูลที่สำคัญต่างๆ จากเอไอเอสเป็นต้น ทำให้งานวิจัยดังกล่าวได้รับการยอมรับในเชิงปฏิบัติและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โครงการความร่วมมือกับสถาบัน Knowledge Exchange (KX)มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า ธนบุรี ชื่อโครงการ “Internetof Things for Farm”

ขยายธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต่อเนื่อง
มุ่งให้บริการครบวงจรจากความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลที่ต้องการเชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ทำให้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในที่พักอาศัยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกค้ายุคใหม่จำนวนมาก และ
ด้วยเทคโนโลยี ADSL ของเดิมนั้น เริ่มล้าสมัยและมีข้อจำกัดทางเทคนิคในเรื่องความเร็วและความเสถียร จึงทำให้ลูกค้าเริ่มมองหาบริการใหม่สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพใช้งานได้ดียิ่งขึ้น กสทช. คาดการณ์จำนวนครัวเรือนที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ประมาณร้อยละ 33 และหรือมีผู้ใช้งานประมาณ 7 ล้านราย ณ สิ้นปี 2559 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตได้อีกจากที่เคยมีพื้นที่หลายแห่งที่บริการยังไม่สามารถเข้าถึง ด้วยเหตุนี้ เอไอเอสจึงเห็นโอกาสที่จะนำเสนอบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออพติก ภายใต้แบรนด์เอไอเอส ไฟเบอร์ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากโครงข่ายไฟเบอร์ของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
สำหรับปีที่ผ่านมา นับเป็นก้าวแรกๆ ของธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เอไอเอส ไฟเบอร์ แต่ด้วยการวางรากฐานให้แข็งแกร่งในปีแรก ด้วยการพัฒนาขั้นตอนการทำงาน ทั้งหน่วยงานขาย การติดตั้ง และบริการหลังการขาย รวมทั้งการมีเงินลงทุนสนับสนุนทำให้เอไอเอสสามารถขยายบริการธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ดี และในอนาคตข้างหน้า เอไอเอสยังคงมุ่งมั่นกับเป้าหมายที่จะมีส่วนแบ่งการตลาดอย่างมีนัยสำคัญในอีก 3 ปี โดยเน้นที่การหาลูกค้าทั้งที่เป็นผู้ที่เคยใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก่อนหรือ
เป็นลูกค้าใหม่ ดังนั้น สิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจจึงอยู่ที่การขยายพื้นที่บริการด้วยการลงทุนวางโครงข่าย โดยขยายจากพื้นที่ตัวเมืองและจังหวัดหลักๆ ในประเทศไทย ให้เข้าถึงลูกค้าในพื้นที่ใหม่ๆ ได้มากขึ้น และมุ่งที่การหาลูกค้าด้วยโปรแกรมการตลาดที่ดึงดูดใจแพ็คเกจราคาที่สามารถแข่งขันได้ และยังนำเสนอบริการควบคู่ไปกับดิจิทัลคอนเทนต์ ผ่านอุปกรณ์ AIS PLAYBOX โดยคาดว่าธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะมีการเติบโตที่ดี เป็นแหล่งรายได้ใหม่สำหรับเอไอเอส รวมทั้งเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจมือถือ
กลยุทธ์การเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลไลฟ์เพื่อคนไทยเดินหน้าสร้างนวัตกรรมผ่านดิจิทัลคอนเทนต์ สำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้าธุรกิจจากความเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์
ประเภทสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีความนิยมและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยราคาที่ถูกลง และความสามารถที่หลากหลาย พร้อมไปกับแอปพลิเคชันที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อตอบสนองการใช้งานในไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ และเมื่อผนวกกับแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตที่มีราคาดึงดูดใจ ยิ่งทำให้ลูกค้าปรับพฤติกรรม หันมาใช้ดิจิทัลคอนเทนต์มากขึ้น เป็นที่มาของการพัฒนาคอนเทนต์ให้หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงใจยิ่งขึ้นเอไอเอสได้ให้ความสำคัญกับดิจิทัลคอนเทนต์เช่นกัน โดยมองว่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่และเป็นรายได้ที่มีคุณภาพ เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจโดยรวม และยังช่วยเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งในแพลตฟอร์มผ่านมือถือและการใช้งานในที่พักอาศัย
 เอไอเอสมีแนวทางที่ชัดเจนสำหรับธุรกิจนี้ โดยมุ่งเน้นดิจิทัลคอนเทนต์ใน 5 แกนหลัก ได้แก่ วิดีโอ เกม ธุรกรรมทางการเงิน คลาวด์ และ M2M มีกลยุทธ์หลักคือการพัฒนาระบบหรือแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมต่อกับผู้พัฒนาและให้บริการคอนเทนต์ เข้าถึงพันธมิตรหลากหลายกลุ่มพร้อมจะสร้างการเติบโตไปด้วยกัน อีกทั้งยังมีการขยายบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น โดยมุ่ง
ขยายแพลตฟอร์มการให้บริการจากลูกค้าทั่วไป ไปสู่กลุ่มธุรกิจองค์กรมากยิ่งขึ้น
สำหรับวิดีโอและเกมนั้น เป็นคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยดี และเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาใช้งานมากขึ้น เอไอเอสจึงยังคงมุ่งพัฒนา โดยหาคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่หลากหลายยิ่งขึ้นโดยเฉพาะคอนเทนต์ที่คัดสรรเฉพาะสำหรับลูกค้าเอไอเอสเท่านั้นเพื่อให้ลูกค้าสามารถรับชมความบันเทิงด้วยแพลตฟอร์ม AIS PLAY ผ่านมือถือ และ AIS PLAYBOX ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในที่พักอาศัย ส่วนธุรกรรมทางการเงิน เอไอเอสได้ขยายการใช้งานระบบ mPAY ทั้งการหาลูกค้าเพิ่ม และหาร้านค้าที่รองรับการจ่ายผ่าน mPAY
สำหรับธุรกิจคลาวด์ เอไอเอสได้ให้บริการทั้งพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์สำหรับลูกค้าทั่วไป และยังจับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ด้วยการเปิดตัว AIS Cloud for Business เพื่อให้บริการลูกค้าองค์กรทุกระดับที่ต้องการใช้งานระบบคลาวด์ แทนการสร้างระบบและอุปกรณ์ไอทีที่ต้องลงทุนสูง นอกจากนี้ การพัฒนาคอนเทนต์
ด้าน M2M ยังช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าองค์กรได้มากขึ้นด้วยการนำเสนอโซลูชั่นส์ที่เหมาะกับการใช้งานของลูกค้าที่แตกต่างกันไปดำเนินธุรกิจบนความสมดุลสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนเอไอเอสได้ให้ความสำคัญกับระบบการพัฒนาธุรกิจแบบเชื่อมโยงหรือ ecosystem ซึ่งเปรียบเสมือนระบบนิเวศวิทยาด้านโทรคมนาคมที่ผนวกรวมความสามารถของพันธมิตรทางธุรกิจให้
เข้ากับความต้องการของลูกค้า และพร้อมจะเกื้อกูลกันเพื่อให้ทั้งเอไอเอสและพันธมิตรทางธุรกิจเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนนอกจากนี้ เยังมุ่งพัฒนาบุคลากรและปรับโครงสร้างภายในให้เหมาะสมเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานให้มีความตื่นตัว เต็มไปด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และยังมีการบริหารผลตอบแทนที่เป็นธรรมมีการพัฒนาและฝึกอบรม เพิ่มความรู้ความเชี่ยวชาญในการให้บริการดิจิทัล เพื่อให้สามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพอยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว และในการสร้างองค์กรอย่างยั่งยืนนี้ เอไอเอสไม่ได้ละเลยการวางแผนบุคลากรเพื่อสืบต่อตำแหน่ง
(Succession plan) เพื่อให้การปรับเปลี่ยนองค์กรในอนาคตเป็นไปอย่างราบรื่น
TRUE
ทรู  ยังคงมุ่งมั่นในการเพิ่มลูกค้าที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เพิ่มมากขึ้นโดยการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมเติมเต็ม ไลฟ์สไตล์ที่มีแนวโน้มการใช้งานรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ อาทิ การอัพโหลดหรือดาวน์โหลดคอนเทนต์ด้วยคุณภาพคมชัดระดับเอชดี การรับชมภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Audio-visual streaming และการใช้งาน Real-time livestreaming อีกทั้งยังมุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างเต็มตัว โดย ทรูออนไลน์ เร่งขยายโครงข่ายไฟเบอร์อย่าง
ต่อเนื่อง และเพิ่มความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้าด้วยการปรับเพิ่มมาตรฐานความเร็วบริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต เริ่มต้นที่ 30 Mbps ถึง 1 Gbps ทั้งนี้ แคมเปญ “TRUE Super Speed FIBER” ซึ่งมอบความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้าผ่านอินเทอร์เน็ตประสิทธิภาพสูง ร่วมกับการผสมผสานสินค้าและบริการอื่นภายใต้กลุ่ม ทรูได้ ซึ่งจะผลักดันให้ฐานลูกค้าและรายได้ของกลุ่มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ทรูออนไลน์ ยังขยายการให้บริการอินเทอร์เน็ตไปสู่ลูกค้าในกลุ่มอพาทเมนท์ ด้วยการเปิดตัวบริการ “True A Plus” ซึ่งให้บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต แบบไฟเบอร์ด้วยความเร็ว 300 Mbps และ 200 Mbps ร่วมกับช่องรายการที่น่าดึงดูดใจของทรูวิชั่นส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ และช่องรายการภาพยนตร์จาก Hollywoodสำหรับลูกค้าธุรกิจ กลุ่มทรูให้บริการโครงข่ายข้อมูลในลักษณะโซลูชั่น ทั้งบริการด้านเสียงและข้อมูลไปด้วยกัน รวมทั้งให้บริการด้านการบริหารโครงข่ายข้อมูลผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วย บริการโครงข่ายข้อมูลดิจิตอล DDN (Digital Data Network) หรือบริการวงจรเช่า (Leased Line) บริการโครงข่ายข้อมูลผ่านเครือข่าย IP ได้แก่ บริการ MPLS (Multiprotocol Label Switching) บริการ Metro Ethernet ซึ่งเป็นบริการโครงข่ายข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยี Fiber-to-the-building และถูกออกแบบมาเฉพาะลูกค้าธุรกิจ รวมทั้งบริการวงจรเช่าผ่านเครือข่าย IP (IP-based leased line) ที่ผสมผสานระหว่างบริการข้อมูลผ่านเครือข่าย IP และบริการวงจรเช่า ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าบริการเครือข่าย IP แบบมาตรฐาน นอกจากนั้น ยังเน้นการให้บริการการบริหารจัดการเครือข่ายข้อมูล (Managed Network Service) ซึ่งเป็นบริการที่ผสมผสานบริการเกี่ยวกับการปฏิบัติการเครือข่าย 3 บริการเข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดการประสิทธิภาพของเครือข่าย การบริหารข้อผิดพลาด และการกำหนดหนดค่าต่าง ๆ ของเครือข่าย ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณูปโภคด้านโครงข่ายของกลุ่มทรูยังสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี IP ที่ทันสมัย
พร้อมสนับสนุนการทำงานบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
บริการทรู อีเธอร์เน็ต ไฟเบอร์” (True Ethernet Fiber) ของกลุ่มทรู เป็นบริการวงจรสื่อสารความเร็วสูง บนโครงข่าย IP ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้หลากหลายประเภท ผ่านโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง
เสถียร และความปลอดภัยของข้อมูลสูง ด้วยความเร็วตั้งแต่ 2 Mbps ถึง 10 Gbps ซึ่งให้บริการด้วยมาตรฐาน ระดับโลกจาก Metro Ethernet Forum (MEF) รายแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ กลุ่มทรู ให้บริการโซลูชั่นวงจรสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านเทคโนโลยี MPLS เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอี โดยเริ่มที่กลุ่มร้านเกมออนไลน์ทั่วประเทศ ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจโครงข่ายข้อมูลธุรกิจ ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าในตลาดใยแก้วนำแสงซึ่งมีคู่แข่งคือ AIS Fibre ก้าวเข้าสู่ตลาด ซึ่งยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก โดยได้วางระบบใยแก้วนำแสง โดยใช้เทคโนโลยี Gigabit-capable
Passive Optical Network (GPON) ซึ่งได้เข้าถึงลูกค้าองค์กรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในอาคารและบนถนนสายสำคัญ ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด และพื้นที่ท่องเที่ยวหลัก ๆ นอกจากนี้ ทรู อินเทอร์เน็ตได้ทำการอัพเกรดอินเทอร์เน็ตแบ็คโบนเป็น 100 กิกะบิตต่อวินาที เป็นรายแรกในเอเชียด้วย Cisco Nexus 7000 มาตรฐานระดับโลกจากซิสโก้ เพื่อเพิ่มศักยภาพเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในอนาคต ให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพและมีความเสถียรมากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากการให้บริการลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่แล้ว กลุ่มทรู ยังมุ่งเน้นในการขยายการให้บริการสู่กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (“SME”) ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจสูง โดยการนำเสนอบริการ “SME Package” ที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจและความต้องการใช้งานของลูกค้าเอสเอ็มอี ซึ่งมอบอินเทอร์เน็ตคุณภาพระดับองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งรวมถึง Fixed IP Address ที่รองรับการใช้งานบนเว็บไซต์และอีเมลล์ บริการ Streaming Server บริการ VDO conference บริการ VOIP และบริการโทรทัศน์วงจรปิด CCTV โดยการนำเสนอบริการที่คุ้มค่าเหล่านี้ สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้
งานอินเทอร์เน็ตของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และได้รับผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาธุรกิจและขยายโครงข่ายไฟเบอร์อย่างต่อเนื่องของทรูออนไลน์ ส่งผลให้บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตของกลุ่มเติบโตเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในปี 2559 ทรูออนไลน์มีจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์รายใหม่สุธิจำนวน 380,523 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ฐานผู้ใช้บริการบรอดแบนด์เติบโตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2.8 ล้านราย โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการต่อเดือน 629 บาท ในปี 2559 สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทางทรูออนไลน์เร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนจาก ADSL แบบเดิมให้กลายเป็นไฟเบอร์ออฟติค เพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นๆอย่าง 3BB,AIS FIbre,TOT,CAT เป็นต้น
การสนับสนุนกลยุทธ์และทิศทางใหม่ ๆ ของบริษัทฯ
พร้อมทั้งส่งเสริมให้พนักงานทุกคนพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ ทางทรูได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งใหม่ ตั้งอยู่ ณ อาคารทรูทาวน์เวอร์ 2 ถนนพัฒนาการ
ออกแบบตกแต่งเอื้ออำนวยให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ พร้อมทั้งติดตั้งระบบที่ทันสมัยสำหรับแสดงข้อมูลข่าวสารต่างๆของบริษัทและการลงทะเบียนเข้ารับการอบรม อีกทั้งยังติดตั้งอุปกรณ์ simulator เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานได้มีทักษะอย่างเพียงพอในการทำงานในขณะเดียวกัน ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาก็เป็นเพื่อนร่วมธุรกิจกับทุกหน่วยงาน โดยการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ใน
การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนาที่เหมาะสมกับแผนธุรกิจของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนในเรื่องที่จำเป็นทุกประการ ปัจจุบันศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาของTrue ได้จัดทำระบบการเรียนทางไกลผ่านระบบ VDO Conference ไปยังพนักงานในต่างจังหวัดระบบการเรียนด้วยตนเอง ด้วย E-Learning และระบบหนังสืออิเล็คโทรนิคซึ่งมีชื่อว่า True-iBook เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มช่องทางการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรที่จัดฝึกอบรมภายในบริษัทฯ มีประมาณ 327 หลักสูตรต่อปี โดยในปี 2559 มีจำนวนคน-วันอบรมรวม 37,027 Training Mandays ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 73.2 ล้านบาท โดยจัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมด้านความรู้ความสามารถหลักให้แก่พนักงานทุกระดับ เช่น วัฒนธรรมองค์กร4Cs การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล การวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นผู้มีประสิทธิผลสูง เป็นต้นในปี 2559 บริษัทฯ มุ่งเน้นเรื่อง Customer Centric Organization & High Productivity และการพัฒนาผู้นำทุกระดับ ตามโครงการ Leader Developing Leader Cascade Program และหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการบริหารต่าง ๆ เช่น ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การเจรจาต่อรองการบริหารโครงการ การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเงิน การบริหารงานขายและงานบริการ (Operation Management) เป็นต้น
หลักสูตรฝึกอบรมด้านความรู้ความสามารถตามธุรกิจหลัก การพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น 4G Technology, FTTx, Digital TV, Broadband Network, NGN Network & Application หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานสำหรับช่างเทคนิคและวิศวกร อีกทั้งได้มีการนำระบบ Teletech ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่างการอบรมโดยวิทยากรประกอบกับใช้สื่อ E-Learning เข้ามาพัฒนาหัวหน้างาน พร้อมทั้งหลักสูตรพัฒนาทักษะด้านการขายและการให้บริการลูกค้าสำหรับพนักงานขาย เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าและทีมงานช่างเทคนิคต่าง ๆ เช่น True Product & Services ทักษะ
การให้บริการอย่างมืออาชีพ บุคลิกภาพในงานบริการ การนำเสนอเชิงธุรกิจ สุนทรียสนทนา และหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งที่เป็นระบบให้บริการลูกค้าและระบบสนับสนุนทั้งหลายในบริษัท รวมทั้งระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น และหลักสูตร Code of Conduct ประมวลคุณธรรม และข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน เพื่อให้องค์กรเกิดการกกำกับดูแลกิจการที่ดี และต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยลงทะเบียนเข้ารับการอบรมและทดสอบ
ความรู้ ด้วย E-Learning เป็นต้น
นอกจากนี้True ได้ให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชนในการจัดการเรียนการสอนด้าน ICT และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและโทอาทิหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม องค์กร ( Enterprise Architec ture) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการค้าปลีก ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC), หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริการลูกค้า (Customer Management)ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตรวมทั้งการฝึกงานแก่นักศึกษาทุกปีซึ่งเป็น Corporate Social Responsibility และ Social Enterprise

 เปรียบเทียบ 4.5G สองค่ายยักษ์ TrueMove H และ AIS ต่างกันอย่างไร

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ กลับมาพบกับทีมงาน TechmoBlog กับข่าวสารในวงการไอทีที่น่าสนใจกันอีกครั้งนะครับ หลายคนที่ติดตามข่าวสารในวงการโทรคมนาคมของไทยจะเห็นได้ว่าหลังจากที่จบการประมูลคลื่นความถี่ของยักษ์ใหญ่วงการสื่อสารผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือก็ต่างออกมาพัฒนาเทคโนดลยีการรับส่งข้อมูลกันเพื่อให้เกิดประโยชนืสูงสุดกับคลื่นความถี่ที่ตัวเองประมูลได้มา  ปัจจุบันน่าจะพอพูดได้ว่าในเรื่องของความเร็วอินเตอร์เน็ทบนมือถือนั้นเรามาสู่สู่ยุค 4G กันแล้ว ซึ่งล่าสุดเทคโนโลยีการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนในประเทศไทยก็ได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น และกำลังเข้าสู่ยุค 4.5G ที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดที่ 1 Gbps โดยเครือข่ายผู้ให้บริการในบ้านเราที่เปิดให้ใช้งานเทคโนโลยี 4.5G นี้แล้วก็มี 2 ค่ายใหญ่ด้วยกัน คือ TrueMove H และ AIS ดังนั้น วันนี้ทีมงาน TechmoBlog จึงได้ทำการเปรียบเทียบเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังระบบ 4.5G ของทั้งสองเครือข่าย พร้อมทั้งความครอบคลุม มาให้ทุกท่านได้รับชมกัน จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมไปพร้อมกันได้เลยครับ
 4.5G คืออะไร?
        ในปัจจุบันนี้ผู้ใช้ในประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคของ 4G ที่สมาร์ทโฟนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา และมีความเร็วในการดาวน์โหลดที่สูงสุดถึง 100 Mbps แต่ยุคสมัยกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยการเข้าสู่ยุคของระบบ 4.5G ที่เพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลได้สูงสุดถึง 1 Gbps ซึ่งการมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเช่นนี้จะส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนการใช้งานบางอย่างของผู้ใช้ไปโดยสิ้นเชิง เช่น การสตรีมมิ่งวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 4K UHD, การโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากัน (Video Call), การประชุมผ่านทางโทรศัพท์ หรือการรับชม Virtual Reality ได้ในทุกๆ ที่ ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก
        เทคโนโลยี 4.5G นี้เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค 5G ที่ความเร็วของการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะพุ่งสูงขึ้นไปถึงระดับ 10 Gbps ในภาพรวม 4.5G จะเป็นการทำงานบนพื้นฐานของเทคโนโลยี 3G หรือ 4G เดิมแต่จะเพิ่มเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีการรับ-ส่งข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน หรือรับชม Content ต่างๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
 โดยในขณะนี้เครือข่ายที่เปิดให้บริการ 4.5G มีอยู่สองเจ้าในไทย คือ TrueMove H และ AIS  โดยแต่ละค่ายนั้นก็มีความแตกต่างทั้งในด้านของจำนวนคลื่นที่ถือสัมปทานอยู่ รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการรวมคลื่น (CA) เหลือการเพิ่มความกว้างของช่องทางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของผู้ให้บริการแต่ละเจ้า 
 เปรียบเทียบเทคโนโลยี 4.5G จาก TrueMove H และ AIS
จุดเด่นเบื้องต้นของเทคโนโลยี 4.5G จากทั้งทั้ง True และ AIS มีรายละเอียดดังนี้
เทคโนโลยี 4.5G ของ TrueMove H
เทคโนโลยี 4T4R (4 Transmit 4 Receiver)
 - เทคโนโลยีนี้เป็นการ รับ-ส่ง ข้อมูลแบบ 4 ช่องทาง (จากเดิม 2 ช่องทาง) ในเวลาเดียวกันของสถานีฐาน รับ-ส่ง ข้อมูล ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการ รับ-ส่ง ข้อมูล ทั้งดาวน์โหลด และอัปโหลดได้เร็วกว่า 4G เดิมถึง 3 เท่า
เทคโนโลยี Download MIMO 4x4
 - เเทคโนโลยีการ รับ-ส่ง ข้อมูล ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับส่งสัญญานโดยการเพิ่มเสารับและส่งสัญญานเพื่อชดเชยคลื่นที่เกิดการสูญเสียระหว่างทางซึ่งจะทำให้สามารถส่งสัญญานได้มากและดีขึ้น
เทคโนโลยี CA (Carrier Aggregation)
 - เทคโนโลยีการรวมคลื่นความถี่ทำให้เครื่องรับจับสัญญาณได้หลายคลื่นทำให้มีแบนด์วิธมากขึ้นและ รับ-ส่ง ได้ดีขึ้น
เทคโนโลยี Inter Site Carrier Aggregation
 - เทคโนโลยีนี้เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจาก CA โดยจะเป็นการรวมคลื่นความถี่จากสถานีฐานที่ต่างกัน เพื่อให้การใช้ครอบคลุมในทุกพื้นที่
เทคโนโลยี 4.5G ของ AIS
เทคโนโลยี Download Modulation 256QAM/Upload Download 64QAM
 - เทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล ที่พัฒนามาจาก 64 QAM ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการดาวน์โหลดมากขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับ 4G ปกติ
เทคโนโลยี Download MIMO 4x4
 - เทคโนโลยีการ รับ-ส่ง ข้อมูล ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับส่งสัญญานโดยการเพิ่มเสารับและส่งสัญญานเพื่อชดเชยคลื่นที่เกิดการสูญเสียระหว่างทางซึ่งจะทำให้สามารถส่งสัญญานได้มากและดีขึ้น
เทคโนโลยี CA (Carrier Aggregation)
 - เทคโนโลยีการรวมคลื่นความถี่ทำให้เครื่องรับจับสัญญาณได้หลายคลื่นทำให้มีแบนด์วิธมากขึ้นและ รับ-ส่ง ได้ดีขึ้น

เทคโนโลยี LTE-U/LAA (LTE-Unlicensed/License Assisted Access)
 - เทคโนโลยีนี้เป็นการรวมคลื่นความถี่ปัจจุบัน (ที่ได้รับอนุญาต) เข้ากับคลื่นความถี่สาธารณะ ทำให้ รับ-ส่ง ข้อมูลเร็วกว่าเครือข่าย 4G ถึง 2 เท่า
จากรายละเอียดของการใช้งานเทคโนโลยีข้างต้นจะเห็นได้ว่าทั้งสองค่ายใช้งานเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึกในด้านการให้บริการ และเทคโนโลยีทั้งหมดนั้น สามารถสรุปผลออกมาได้ตามตารางดังนี้
 

*หมายเหตุ - ข้อมูลพื้นที่การให้บริการในประเทศไทย เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ TrueMove H และ AIS ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการ 4G/3G เท่านั้น
เราจะมาลองมาวิเคราะห์แยกออกเป็น 2 ส่วน โดยดูในเรื่องของประสิทธิภาพในการให้บริการ และ ความครอบคลุมของพื้นที่ในการให้บริการของทั้ง 2 เจ้ากันว่าจะแตกต่างกันอย่างไร
ประสิทธิภาพในการให้บริการ  
ถ้าดูจากตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยีจะเห็นว่าทั้ง 2 ค่ายมีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกันแต่ TrueMove H จะมีจำนวนคลื่นความถี่ที่มากกว่า AIS ซึ่และมีจำนวน Bandwidth ที่เยอะกว่าในส่วนของเทคโนโลยีการรวมคลื่นสัญญาณ (Carrier Aggregation) ของ TrueMove H สามารถรวมได้ถึง 3 คลื่นความถี่ 3CA ขณะที่ AIS มีเพียง 2 คลื่นความถี่ 2CA เท่านั้น ดังนั้นถ้ามองในส่วนของเทคโนโลยีพื้นฐานอาจจะยังไม่แตกต่างกันมากแต่ถ้ามองถึงจำนวนคลื่นถือว่า Truemove-H ยังได้เปรียบในส่วนนี้
ความครอบคลุมในการให้บริการ 
 


(ภาพแผนที่แสดงพื้นที่การให้บริการ 4G ของ TrueMove H - สีแดง และ AIS - สีเขียวเข้ม)
ทั้ง 2 ค่ายแสดงข้อมุลพื้นที่ให้บริการ 4G/3G ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งถ้ามองจากแผนภาพจำนวนพื้นที่การให้บริการ 3G และ 4G จะเห็นได้ว่า 3G นั้น มึความครอบคลุมใกล้เคียงกัน แต่สำหรับพื้นที่ให้บริการ 4G ในส่วนของภาคอีสาน Truemove-H  จะมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ในส่วน 4.5G นั้นส่วนใหญ่ก็จะพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี 4 G คงต้องดูว่าในอนาคตทั้ง 2 ค่ายจะสามารถอัพเกรดเทคโนโลยีเดิมของตนได้เร็วแค่ไหน AIS เคยให้ข่าวตอนเปิดตัว 4.5G ว่าในช่วงแรกจะเน้นในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลก่อนในช่วงแรกและจะขยายไปยังหัวเมืองใหญ่ๆต่อไป ซึ่งจะเห็นว่าสัญญาน 4G (สีเขียวอ่อน) ของ AIS ก็จะค่อนข้างหนาแน่นในกรุงเทพและปริมณฑล ในส่วนของ TrueMove H นั้นตั้งเป้าว่าจะให้บริการให้มีความครอบคลุมมากที่สุดและสามารถใช้งานได้จริงทุกอำเภอซึ่งถ้าดูจากพื้นที่การให้บริการ 4G แล้วก็ถือว่า TrueMove-H ค่อนข้างทำได้ดีกว่าในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของเสาสัญญานให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ  
        ปัจจัยสำคัญอีกอย่างนึงที่เราต้องพิจารณาเพิ่มเติมนั่นก็คืออุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน 4.5G เพราะในขณะนี้อุปกรณ์ที่รองรับยังมีค่อนข้างน้อย
 สมาร์ทโฟนรุ่นที่ใช้ 4.5G ได้จริงก็จะเป็นรุ่นเรือธงของแต่ละแบรนด์ที่ส่วนใหญ่เปิดตัวในปีนี้เท่านั้น ดังนั้น ผู้ใช้ที่สนใจอาจจะต้องรออีกสักระยะเพื่อให้บรรดาผู้ผลิตสมาร์ทโฟนพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาให้รองรับการใช้งาน 4.5G ก่อนด้วยครับ แต่อย่างไรก็ดีการพัฒนาระบบ 4.5 G ถึงแม้ว่าเครื่องของเรายังไม่รองรับในตอนนี้แต่การมี 4.5 G ก็จะช่วยให้ใช้ Internet บนมือถือของเครื่องเราได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอยู่ดี 
 บทสรุปเทคโนโลยี 4.5 G และการพัฒนาของผู้ให้บริการ
จะเห็นได้ว่าในส่วนของเทคโนโลยี 4 G หรือ 4.5 G นั้นนอกจากจะต้องคำนึงถึงความรอบคลุมของพิ้นที่ในการให้บริการแล้ว เทคโนโลยีที่ใช้ก้มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพการใช้งานสำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ นั้นการได้เห็นเครือข่ายผู้ให้บริการพัฒนาโครงข่ายสัญญาณเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะในอนาคตอันใกล้นี้รับรองว่าสมาร์ทโฟนเล็กๆ เพียงหนึ่งเครื่อง จะสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน  อย่างไรก็ดีเนื่องจากเทคโนโลยี 4.5G จำเป็นต้องใช้กับสมาร์ทโฟนที่รองรับการทำงานกับ LTE-A เท่านั้นซึ่งปัจจุบันยังจำกัดอยู่กับมือถือเรือธงรุ่นใหม่เช่น iPhone 7 Samsung Galaxy S7 edge หรือ Huawai P9 ทำให้อาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะเพื่อที่จะทดสอบจากการใช้งานจริง  แต่ถ้าดูจากข้อมูลเบื้องต้นทาง Truemove-H ก็ดูจะค่อนข้างมีความพร้อมในการให้บริการโดยช่วงนี้ก็มีการโปรโมตว่าสามารถใช้งานได้จริงทุกอำเภอ ซึ่งถือว่าเป็นการส่งสัญญานเอาจริงไปถึงผู้ให้บริการที่เหลือเพราะเมื่อมีคนเริ่มพัฒนาอย่างจริงจังแล้วเชื่อว่าผู้ให้บริการรายอื่นก็คงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากขึ้นด้วยเช่นกัน  เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราน่าจะเข้าสู่ยุค 4.5 หรือ 5G อย่างเต็มรูปแบบและเมื่อถึงวันนั้นเชื่อว่าคงจะได้เห็นบริการใหม่ๆที่มีประโยชน์ออกมาอย่างแน่นอน  
 ที่มา :
1.      http://www.ais.co.th
4.      http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447396573
5.      https://www.brandbuffet.in.th/2016/12/price-war-in-broadband-internet-industry/
6.      https://droidsans.com/compare-unlimited-mobile-internet/
7.      https://www.macthai.com/2017/04/19/internet-thailand-2017-trueonline-3bb-tot-ais-fibre/

9.      http://techmoblog.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น