ความหมายเทคโนโลยีโมบายอินเทอร์เน็ต

Mobile Internet
"Internet" หรืออินเทอร์เน็ตในภาษาไทยคือการเชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโน็ตบุ๊คเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ผู้ใช้สามารถท่องเว็บไซต์, ดูคลิปบน Youtube, เล่น Facebook, Chat ผ่านโปรแกรมสนทนาได้อย่างสะดวก ซึ่งสำหรับอุปกรณ์คอมนั้นต้องใช้สาย LAN (Local Area Network) หรือไม่ก็ผ่านเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) โดยภายในอุปกรณ์คอมนั้นต้องมีอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณเช่น LAN Card, Wireless Card มาทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้กับอุปกรณ์คอม

เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นที่นิยม จึงมีผู้ริเริ่มพัฒนามือถือที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในตัว ซึ่งคำว่า "Mobile Internet" ก็เลยหมายถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่นั่นเอง

ในมือถือที่เล่นอินเทอร์เน็ตได้ยุคแรกๆ นั้นใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "WAP" (Wireless Application Protocal) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้เสมือนกับเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน  เพียงแต่หน้าตาอาจจะไม่สวยงามเหมือนกับเปิดอินเทอร์เน็ตบนเครื่องคอมพิวเตอร์

ในสมัยที่ WAP ยังเป็นที่นิยมนั้น มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ ถูกกำหนดขึ้น มามากมายไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service อย่าสับสนกับคำว่า GPS นะครับไม่เหมือนกัน),  EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ทั้งหมดที่เอ่ยถึงนั้นยังอยู่ในยุคก่อนจะมี 3G ทั้งสิ้น และในปัจจุบันก็ยังเปิดให้บริการอยู่บนอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานซิมการ์ดเช่น ฟีเจอร์โฟน, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต (ที่มีซิมการ์ด) โดยจะคิดค่าบริการตามเงื่อนไขที่ทางผู้ให้บริการเครือข่ายได้กำหนดไว้
Wi-Fi 
เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีอีกอันหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นและนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ก็คือ "Wi-Fi" (Wireless-Fidelity) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คล้ายกับ EDGE/GPRS เพียงแต่ว่าจะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า และรูปแบบการใช้งานนั้นก็คล้ายกับการเชื่อมต่อ Wireless LAN ของอุปกรณ์คอมหรือโน๊ตบุ๊คนั่นเอง

เทคโนโลยี Wi-Fi ก็มีการพัฒนามาตรฐานของตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน โดยเราจะสังเกตได้จากตัวเลขบอกมาตรฐานของ Wi-Fi เช่น IEEE 802.11b, 802.11a, 802.11g, 802.11e, 802.11i, 802.11n ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งาน Wi-Fi ด้วยความเร็วที่มากขึ้น, ไกลขึ้น, สัญญาณ Wi-Fi สม่ำเสมอมากขึ้น, ความปลอดภัยข้อมูลเยอะขึ้นนั่นเอง

การสังเกตว่าอุปกรณ์มือถือ-อุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณรองรับ Wi-Fi หรือไม่ สามารถดูได้จากข้อใดข้อหนึ่งด้านล่าง
§  ข้อมูลสเปคเครื่อง จะระบุไว้ว่ารองรับ Wi-Fi
§  มีเมนู Wi-Fi อยู่ภายในอุปกรณ์มือถือ/แท็บเล็ต
§  มีสัญลักษณ์/ ไอคอน Wi-Fi กำกับอยู่
§  สอบถามผู้ผลิต-ผู้ขาย
***อุปกรณ์บางชิ้น (น้อยมากๆ) อาจจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้รับ-ส่งสัญญาณ Wi-Fi เนื่องจากไม่มีตัวรับ-ส่งสัญญาณ Wi-Fi ภายในตัว
การเปิดใช้งาน Wi-Fi บนอุปกรณ์มือถือ/แท็บเล็ตนั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะมีวิธีการเปิดใช้งานแตกต่างกัน เช่น แตะไอคอน Wi-Fi เพื่อเปิดใช้ หรือไปที่ Menu การเชื่อมต่อเพื่อเปิดใช้งาน Wi-Fi เป็นต้น
การใช้งาน Wi-Fi นั้นเริ่มแรกนิยมใช้ภายในบ้าน, ออฟฟิต หรือร้านอาหาร, ร้านกาแฟ ซึ่งเมื่อเปิดใช้งาน Wi-Fi บนอุปกรณ์มือถือได้แล้ว ระบบจะทำการค้นหา "สัญญาณ Wi-Fi" ที่เดินทางมาถึงอุปกรณ์เครื่องนั้น และให้ผู้ใช้เป็นคนเลือกว่าจะใช้งานเครือข่าย Wi-Fi อันไหน ซึ่งอาจจะมีรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งาน (หรืออาจจะไม่มี ขึ้นอยู่กับเครือข่าย Wi-Fi นั้นตั้งค่าไว้อย่างไร)
เมื่อเข้าใช้งาน Wi-Fi ได้ ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกับอุปกรณ์คอมฯ และสามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นบางอย่างที่ต้องใช้บริการอินเทอร์เน็ตถึงจะใช้งานได้ เช่น Facebook, Twitter, Whatsapp, LINE MSN, Google+, เบราว์เซอร์

ในขณะที่เทคโนโลยี Wi-Fi พัฒนาขึ้น ก็มีการนำ Wi-Fi ไปใช้ตามจุดต่างๆ นอกเหนือจากภายในบ้าน เช่น ในห้างสรรพสินค้า, ในสถานที่จัดงานขนดใหญ่ หรือแม้กระทั่งในชุมชน หรือในเมืองใหญ่ที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก ก็มีการตั้งตัวกระจายสัญญาณ Wi-Fi ไว้ในหลายๆ จุด ในกรุงเทพก็มี Bangkok Wi-Fi, หรือในใจกลางเมืองก็มีบริการ Free Wi-Fi โดยทางผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละเจ้านิยมทำโปรโมชั่น Free Wi-Fi เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้งานเครือข่ายของตน

3G
เมื่อมี Wi-Fi แล้วจะมี 3G ไปทำไม ? ก็เพราะว่า Wi-Fi นั้นเป็นการเชื่อมต่อในระยะไม่ไกลนัก เมื่อเราต้องเดินทางในระยะไกลเป็นกิโลเมตร สัญญาณ Wi-Fi จะส่งไปไม่ถึง และถ้าจะให้สัญญาณ Wi-Fi ครอบคลุมทุกจุด ต้องตั้งเสาสัญญาณ Wi-Fi อีกเยอะมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นเทคโนโลยี 3G จึงได้เข้ามาแทนที่ โดย 3G จะมีรัศมีในการส่งสัญญาณเป็นระยะทางในหลักกิโลเมตร โดยมีความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณน้อยกว่า Wi-Fi แต่ก็มากกว่า EDGE/GPRS

การสังเกตว่าอุปกรณ์มือถือ/แท็บเล็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่รองรับ 3G หรือไม่ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้
§  รองรับการใช้งานซิมการ์ด
§  มีช่อง/ถาดใส่ซิมในตัว
§  รองรับการใช้งานข้อมูลเครือข่าย (package data)
*** บางรุ่นอาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ใช้งานซิมการ์ดได้ (ไม่มีช่องใส่ซิมการ์ดในตัว)
การเปิดใช้งาน 3G (package data) นั้นมีค่าใช้จ่าย โดยผู้ให้บริการจะเรียกเก็บโดยอ้างอิงจากหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้บนซิมการ์ด มีค่าบริการและแพคเกจราคาที่แตกต่างกัน (โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง) โดยผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละเจ้าในประเทศไทยนั้นใช้คลื่นความถี่ 3G ที่แตกต่างกัน จึงต้องดูรายละเอียดสเปคเครื่องให้แน่ชัดว่ารองรับ 3G ที่ึความถี่ใดบ้าง (850, 900, 1800, 1900, 2100MHz) 
การใช้งาน 3G บนมือถือ-แท็บเล็ตผ่านซิมการ์ดนั้นใช้ซิมแบบธรรมดาทั่วไป แต่จะมีซิมการ์ดบางอันเป็นแบบ Net SIM (Internet SIM) ซึ่งอาจจะมีหมายเลขโทรศัพท์หรือไม่มีก็ได้ โดย Net SIM ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรือผ่าน AirCardโดยเฉพาะ และ Net SIM บางอันก็ใช้โทรศัพท์ได้ บางอันก็ใช้เล่นอินเทอร์เน็ตได้อย่างเดียวเท่านั้น
วิธีเปิดใช้งาน 3G บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต นั้นคล้ายกับการเปิดใช้งาน Wi-Fi แต่ต่างกันที่ไม่ต้องใส่รหัสผ่าน โดยผู้ใช้ต้องเข้าไปที่เมนูการจัดการเครือข่ายและการเชื่อมต่อ และทำการเปิดใช้งานเครือข่ายมือถือ 3G (Package data)

เมื่อเข้าใช้งาน 3G ได้ ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi แต่ต่างกันตรงที่ 3G มีการคิดค่าบริการและมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมากกว่านั่นเองครับ และถ้าตั้งค่าเครือข่ายอัตโนมัติไว้บนมือถือ-แท็บเล็ต เมื่อเล่นอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ที่มีสัญญาณ 3G อ่อนมากๆ ระบบค้นหาสัญญาณในโทรศัพท์มือถือ-แท็บเล็ตก็จะนำเทคโนโลยี EDGE/GPRS มาใช้เล่นอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ
สรุปสั้นๆ คือ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตส่วนใหญ่มักจะถูกติดตั้งตัวรับสัญญาณ Wi-Fi มาให้ในตัว เพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายอย่างสะดวก แต่การเลือกใช้เครือข่าย Wi-Fi (ที่บ้าน, ที่ทำงาน, ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ) นั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใช้ที่ต้องเข้าไปตั้งค่าและใส่รหัสผ่าน
ส่วนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทีั่รองรับสัญญาณ 3G ได้นั้นจะต้องสามารถใส่ซิมการ์ดเพื่อเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการเครือข่าย และเรียกใช้งานบริการข้อมูล 3G (package data) ซึ่งโดยทั่วไปมือถือ-แท็บเล็ตที่รองรับ 3G จะมีราคาตัวเครื่องสูงกว่าแบบรองรับ Wi-Fi เพียงอย่างเดียว เนื่องจากรุ่น 3G จะมีทั้งตัวรับสัญญาณ 3G และตัวรับสัญญาณ Wi-Fi ติดตั้งอยู่ในเครื่อง
การเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G มีค่าใช้จ่าย (ขึ้นอยู่กับแพคเกจที่ผู้ใช้เลือกจากผู้ให้บริการเครือข่าย) มือถือ-แท็บเล็ตบางเครื่องก็รองรับ 3G ทุกเครือข่าย บางเครื่องก็รองรับเฉพาะบางเครือข่าย ผู้ใช้ควรศึกษาสเปคของเครื่องและสอบถามผู้ขายอีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่ใจ
ที่มา : news.siamphone.com/news-08768.html
งาน CES 2016 (Consumer Electronics Show) มหกรรมงานแสดงเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภคระดับโลก บ๊อชได้สาธิตเทคโนโลยีและบริการต่าง ๆ ที่รองรับโมบายอินเทอร์เน็ต (Mobile Internet) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับ บ้านอัจฉริยะ อีกทั้งยังเชื่อมภายในเมืองอัจฉริยะ รองรับยุคอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อแสดงศักยภาพในการรองรับการเป็นบ้านอัจฉริยะ และเมืองอัจฉริยะ
โมบายอินเทอร์เน็ต (Mobile Internet) นั้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันภายในบ้านอัจฉริยะ ผ่านแพลตฟอร์มเดียว ให้เป็นระบบสมาร์ทโฮม ที่ควบคุม กลอนประตูไฟฟ้า (Digital Door Lock) และหน้าต่าง ออกแบบให้เชื่อมต่อกับแอพฯ บน สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เป็นศูนย์กลางควบคุมสมาร์ทโฮมทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น แสงสว่าง การทำความร้อน สัญญาณการตรวจจับควัน ระบบกลอนประตูไฟฟ้า (Digital Door Lock) และหน้าต่าง แค่เราปิดกลอนประตูไฟฟ้า (Digital Door Lock) ก้าวเท้าออกไป บ้านอัจฉริยะผ่านโมบายอินเทอร์เน็ต (Mobile Internet)จะปิดไฟ ปรับลดอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ ตู้เย็นที่ติดตั้งกล้อง(IP Camera) ภายใน ช่วยให้เจ้าของบ้านอัจฉริยะหรือสมาร์ทโฮมใช้สมาร์ทโฟนเช็กตู้เย็นตอนเดินซื้อของในซูเปอร์มาร์เกตได้อย่างสะดวกว่า ยังมีมะเขือเทศหรือไข่เหลือพอสำหรับอาหารเช้าหรือไม่ 
สมาร์ทซิตี้ ซอฟต์แวร์และโซลูชั่นเพื่อการจอดรถ สำหรับเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตโซลูชั่นชุด IoT(IoTSuite) ของบ๊อชเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์รองรับการเชื่อมต่อของแอพพลิเคชั่น บริการ หน่วยงานท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันในเมืองอัจฉริยะ ๆ หนึ่ง ผ่านโมบายอินเทอร์เน็ต (Mobile Internet) สามารถเชื่อมต่อกับระบบจ่ายไฟ ระบบแสงสว่าง โครงสร้างพื้นฐานด้านจราจร และตัวอาคารต่าง ๆ ระบบจอดรถอัตโนมัติ เมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ นอกจากจะช่วยขจัดปัญหาที่จอดรถ ยังทำให้จอดได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ผู้ขับจอดรถไว้บริเวณทางเข้าที่จอด  เพียงแค่ผู้ขับจอดรถไว้บริเวณทางเข้าที่จอด แล้วใช้แอพฯ สมาร์ทโฟนสั่งผ่านโมบายอินเทอร์เน็ต (Mobile Internet)สั่งการให้รถหาพื้นที่ีจอด และ ควบคุมให้รถย้อนกลับมายังจุดที่จอดตอนแรกได้ด้วยวิธีการเดียวกัน ทั้งนี้ ระบบจอดรถอัตโนมัตินี้ต้องมีอุปกรณ์รองรับด้วย อาทิ โครงสร้างขั้นพื้นฐานของโรงจอดรถที่ทันสมัย
เซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหว(
Sensor)ในรถยนต์ และการเชื่อมต่อระหว่างตัวเซ็นเซอร์(Sensor)และที่จอดรถ เพื่อให้รถสื่อสารกับที่จอดรถได้ โดยตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว(Sensor)จะตรวจจับว่ามีพื้นที่ว่างและชี้ตำแหน่งจอดรถเพื่อให้รถไปจอดจุดนั้นได้  ระบบนำทางผ่านจีพีเอส (GPS) บนทางหลวง จะเป็นตัวควบคุมการขับบนทางด่วน อุปกรณ์เซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหว(Sensor)จะคอยตรวจสอบสภาวะแวดล้อมของยานยนต์ 
จากนั้นนำข้อมูลดังกล่าวไปผนวกกับข้อมูลแผนที่ล่าสุด ทำให้ผู้ขับ ขับขี่ได้อย่างสบายใจบนทางหลวง ด้วยรถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระ บ๊อชได้ทดสอบเทคโนโลยีนี้ผ่านโมบายอินเทอร์เน็ตกับสภาพถนนจริงในสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่นแล้ว นวัตกรรมโมบายอินเทอร์เน็ต (Mobile Internet) นี้น่าจะออกสู่ตลาดภายในปี 2563 บ้านอัจฉริยะ และ เมืองอัจฉริยะ กำลังจะเป็นจริง ด้วยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเมืองอัจฉริยะและต่อเชื่อมกันภายในบ้านอัจฉริยะผ่านแพลตฟอร์มเดียว 
ที่มา : synes.co.th/blog/Mobile-Internet
โมบายเทคโนโลยี (Mobile Technology)
เทคโนโลยีการเคลื่อนที่ (Mobile Technology) มีความหมายครอบคลุมถึงเทคโนโลยีอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์สื่อสารที่สามารถนำติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ได้อย่างสะดวก
1. Notebook / Netbook เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก สามารถพกพา เคลื่อนย้ายได้ มีน้ำหนักเบาประมาณ 1.5 - 3 กิโลกรัม
2. PDA (Personal Digital Assistant) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก , เก็บข้อมูล , เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้เหมาะสมกับความต้องการ
3.Tablet
แท็บเล็ต เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค พกพาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ปรับหมุนจอได้โดยอัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android - google เป็นผู้ผลิตและเปิดแบบ Open Source
4.Cellphone
โทรศัพท์แบบ Cellular phones หรือเรียกสั้นๆ ว่า Cellphone เป็นอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานขั้นพื้นฐาน
5. Smartphone
สมาร์ทโฟนคือโทรศัพท์มือถือที่นอกเหนือจากใช้โทรออก-รับสาย แล้วยังมีแอพพลิเคชั่นให้ใช้งานมากมาย สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G, Wi-Fi และสามารถใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คและแอพพลิเคชั่นต่างๆได้
6.Mobile Internet Device
เป็นอุปกรณ์พกพาแบบต่างๆ ที่มีพื้นฐานการใช้งานแตกต่างกัน แต่มีลักษณะที่คล้ายกันก็คือ สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้โดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Fi หรือเครือข่ายอื่น

ที่มา : https://prezi.com/gnfqo3xwk85-/8-mobile-technology/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น