การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Digital เข้ามาช่วยในการจัดทำกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Digital เข้ามาช่วยในการจัดทำกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไร
เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการเร็วทำให้การลงทุนในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ องค์กร มีมากขึ้นดังนั้นในการจัดทำกลยุทธ์ทางด้านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาตามไปด้วยเพื่อให้ทันกับสารสนเทศในยุคดิจิตอลตามไปด้วย
ประเด็นสำคัญที่ต้องมีการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร
·       เรื่องเกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนงานสำหรับการจัดการสารสนเทศสำหรับองค์กร โดยเน้นการทำงานภายใน และการทำงานร่วมกันระหว่างกัน
·       ยุทธศาสตร์การวางแผนจากการที่อุปกรณ์ ICT ถูกลง และอินเทอร์เน็ตก้าวหน้า
·       การวางแผนสร้างอำนาจการแข่งขันด้วย e-Model
·       เรื่องเกี่ยวกับ  e-model ที่มีความสัมพันธ์กับ information technology
·       การวางแผนทำงานร่วมกัน Collaboration Business
·       IT solution ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Value Chain Model
·       มองแนวโน้มของ New economy
·       โลกใหม่ของการดำเนินการใน e-Business
·       แรงกดดันที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในองค์กร
·       การวางแผนโดยใช้ IT/IS SCM CRM และ e-Business
·       ความสำคัญของธุรกิจในยุค e-Age
ประเด็นเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรทั้งสิ้น

ยุทธศาสตร์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญขององค์กร
o   การเข้าใจสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
o   การทำงานร่วมกัน และ ยุทธศาสตร์การใช้สารสนเทศในการรวมกันเพื่อการแข่งขัน
o   Business Value Chain Model
o   E-Business ขององค์กรบน พื้นฐาน C-Business
o   New IT solution และ กลยุทธ์การใช้ไอซีทีภายใต้ข้อจำกัดขององค์กร
เทคโนโลยีที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ องค์กรได้แก่
v เทคโนโลยีการประมวลผล
v  เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล
v  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
v  เทคโนโลยีการแสดงผลและการพิมพ์
พัฒนาการของไอที และ อินเทอร์เน็ตและแนวโน้มในยุค Digital ได้แก่
v พัฒนาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์(ไมโครโปรเซสเซอร์)
v  ฮาร์ดแวร์พัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เร็วขึ้น
v  แนวโน้มประสิทธิภาพสูงขึ้น
v  ราคาลดลง ผลิตมากขึ้น
v ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง
v การพัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงอุปกรณ์และระบบต่างๆเข้าด้วยกัน Internet of Thing (IoT)


แนวโน้มเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจใหม่ Digital Economy (New Economy)
                        ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาข้อมูลข่าวสาร เอกสารและ สิ่ง พิมพ์ แบบดิจิตอล(electronics document) ทุกอณูของสิ่งที่เป็นข่าวสารกำลังแปรเปลี่ยนเป็นดิจิตอล เศรษฐกิจดิจิตอลจึงเกี่ยวโยงกับ ยุคของ e
e-Business -  การทำธุรกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  (EDI)
e-Commerce -  การค้าขายผ่านเครือข่าย(virture  shopping)
e-Thailand   -  e-Wisdom  e-Planing  e-Meeting  etc.
e-Cash  -  การใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ e-Money,e-Banking, e-Book, e-Library, e-Classroom,
e-Learning, e-Magazine, e-Journal, etc.
แรงกดดันที่ทำให้ต้องจำเป็นต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
แรงกดดันทางเทคโนโลยี
                   นวัตกรรมทางเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงทางด้านไอทีด้วยทำให้เทคโนโลยีปัจจุบันเกิดความล้าหลัง เพื่อให้แข่งขันกับคู่ต่อสู้ได้ องค์กรจึงอาจจำเป็นต้องรับเอานวัตกรรมทางเทคโนโลยีหนึ่งมาใช้งานเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับผู้อื่น
                   ปริมาณข้อมูลอันมากมายมหาศาล ต้องมี Information Management ที่ดี
แรงกดดันทางการตลาด
                   เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นเรื่องระดับโลก  (Globalization)
                 อินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ชเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่ทำให้การแข่งขันเข้มข้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น
                 ลูกค้าที่ชาญฉลาด รู้จักเลือกหาสินค้าที่เหมาะสม

แรงกดดันทางสังคม
                   ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสังคม อาทิ การเพิ่มหรือตัดงบประมาณของรัฐบาลจะมีผลต่อองค์กรในภาครัฐ จริยธรรมทางสังคม
ไอทีสนับสนุนงานที่สำคัญ
เนื่องจากแรงกดดัน จึงต้องมีแรงต้าน IT ช่วยสร้างฐานการต่อต้านการกดดันได้ดี เพิ่มขีดความสามารถในเรื่องการแข่งขัน โดยการเทคโนโลยรสารสนเทศมาใช้สนับสนุนทุกส่วนงานขององค์กรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กรทั้งหมดนั่นเอง

นอกจากนี้การพัฒนาของเทคโนโลยีสาระสนเทศในยุคดิจิตอลยังทำให้เกิดผลที่ตามมาคือ
·       ลดคนกลาง หรือตัวกลาง ลดขั้นตอนลง ลดระยะเวลา
·       การดำเนินการตรง และการดำเนินการแบบร่วมมือกัน  แลกเปลี่ยนข่าวสารโดยตรง
·       ระบบ online เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
·       Integration System การรวมระบบการทำงานบางส่วนเข้าด้วยกัน
·       งานส่วนใหญ่ใช้พื้นฐานทางด้านไอที ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ และใช้งานได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
วางแผนยุทธศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่
·       มีความต้องการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสร้างกลยุทธ์สารสนเทศแนวใหม่
·       ให้ความสำคัญในเรื่อง web-based IT เพื่อรองรับงานทางด้านสารสนเทศ
·       มีการแข่งขันในระดับ Global competition บนพื้นฐานการให้บริการ
·       มีการพัฒนาทางด้านสารสนเทศ ต้องมีขึ้นตลอดเวลา
o   ต้องให้ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต สำหรับการประยุกต์ระบบโลกาภิวัตน์
o   Web-based applications สำหรับการให้บริการลูกค้า Ubiquatous  เพื่อเชื่อมโยงได้ทุกที่
o   ต้องการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Digital
·       การเจริญเติบโตของเทคโนโลยี ICTที่มีความก้าวหน้ารวดเร็วมาก
·       แรงขับดันจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ www
·       สังคมดิจิตอล และ digital  divide ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องความแตกต่าง
ทางด้านการใช้ข่าวสาร ความสามารถของการแข่งขันต่างกันมาก สำหรับผู้มีเทคโนโลยีในมือ
·       การทำงานร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน (รูปแบบการทำงานในทุกองค์กร              c-Business (Collaboration Business Model, Value Chain Model) เกิดสภาพการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยใช้ไอซีที่เป็นเครื่องมือหลัก ในการดำเนินการ
·       การเติบโตของ Web Technology, EDI และการใช้ประโยชน์จาก Web Service ให้การทำงานแบบ Virtual มีโมเดลใหม่ของกระบวนการทางธุรกิจ
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ และ c-Commerce ดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยร่วมกับการวางแผนทางด้านกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ




รูปแสดงการจัดการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับองค์กร

รูปแสดงการวางแผนเชื่อมโยงระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์กรยุคใหม่


รูปแสดงการใช้งานบนเครือข่ายระบบสารสนเทศที่เพิ่มมากขึ้น

รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและลูกค้าบนเครือข่าย



การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรโดยการใช้งานผ่านระบบสารสนเทศ
ในปัจจุบันการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรมีการเชื่อมโยงโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรดังนี้

รูปแสดงการทำงานร่วมกันแบบหนึ่งไปหนึ่ง (one to one) โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

รูปแสดงการทำงานร่วมกันแบบหนึ่งไปหลาย (one to many) โดยผ่านระบบโครงข่ายสารสนเทศ

รูปแสดงการทำงานร่วมกันแบบหลายไปหนึ่ง (many to one) โดยผ่านระบบโครงข่ายสารสนเทศ

รูปแสดงการทำงานร่วมกันแบบหลายไปหลาย (many to many) โดยผ่านระบบโครงข่ายสารสนเทศโดยอาศัยการสร้างระบบเว็บเซอร์วิส 


ส่วนการทำงานร่วมกันแบบสหกิจ จะเป็นการใช้งานร่วมกันโดยแบ่งกันใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน
ยุทธศาสตร์นำเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิตอลไปใช้ใน องค์กร
·       IT สร้างการประยุกต์งานด้านต่างๆที่สร้างความได้เปรียบการแข่งขัน
·       IT เป็นอาวุธที่สำคัญ
·       IT สนับสนุนการสร้างกลยุทธ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง , e.g,  re-engineering
·       IT สร้างเครือข่ายการดำเนินการระหว่างกัน
·       IT ทำให้ต้นทุนโดยรวมลดลง
·       IT สร้างปัญญาให้กับองค์กร



        แรงขับดันเพื่อการแข่งขันของ องค์กรทำให้ต้องมีปรับตัวทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่
*    ภัยคุกคามจาก new competitors
*    พลังอำนาจการต่อรองของ suppliers
*    พลังอำนาจการต่อรองของ customers (buyers)
*    ภัยคุกคามจาก substitute products or services
*    การแข่งขันจาก  existing firms in the industry
กลยุทธ์การตอบสนองทางด้านสารสนเทศเพื่อการแข่งขัน

ระบบการประยุกต์สารสนเทศยุคดิจิตอลเพื่อการวางกลยุทธ์ระบบสารสนเทศในองค์กร
*    การสร้างกิจกรรมในองค์กรเพื่อเพิ่มคุณค่าเรียกว่า “Value System”
§  ทำให้เกิดการทำงานร่วมกับ suppliers ที่จะเป็น inputs และเพิ่มคุณค่าด้วย value chains
§  ประยุกต์ไอทีเพื่อใช้เพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการทั้งในส่วนภายในและภายนอก
§  จัดเป็นพื้นฐานของการทำ Supply Chain Management
*    มีขบวนการหลายอย่างที่อยู่ในองค์กรที่ทำได้
*    กรรมวิธีการทำงานด้วย transaction และใช้ eDocument
*    สร้างคุณค่าเพิ่ม เช่น ใช้เครือข่ายเพื่อการสื่อสาร email, eSchedule
*    ขบวนการรื้อปรับระบบโดยใช้ไอทีนำ (BPR)
*    การสร้างความสัมพันธ์ลูกค้า
*    สร้างความสัมพันธ์ซัพพลายเออร์


ทำไมต้องทำ BPR (รื้อปรับระบบ)และการวางกลยุทธ์ในระบบสารสนเทศขององค์กร
*    เสริมความต้องการลูกค้า
*    สร้างอำนาจการแข่งขัน
*    เปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ
*    ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์
*    การร่วมกันทำงานในองค์กรและประสานการทำงาน
นวัตกรรมใหม่โดยใช้ระบบสารสนเทศขององค์กร
*    สร้างรูปแบบการบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้ไอที
*    เพิ่มขีดความสามารถและขยายการบริการที่ดี
*    สร้างสิ่งบริการที่แตกต่างจากผู้อื่น
*    สร้างการบริการแบบ super system
*    ให้บริการลูกค้าแบบ customer terminal
*    สามารถส่งแบบ electronic ได้
*    ใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการขาย
*    ใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บกับงานขาย
การสร้างความรอบรู้เพื่อการแข่งขันของ องค์กร
*    ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นถนนข้อมูลข่าวสาร เชื่อมทุกหนแห่ง
*    สร้างความรู้ความสามารถในการดำเนินการโดยใช้ไอที
*    แหล่งข่าวสารมีอยู่ทั่วไปที่ต้องรับรู้เร็ว รับรู้ได้มาก และทันกับสถานการณ์
*    ทำให้ต้นทุนโดยรวมถูกลง
*    สร้างความแปลกแตกต่าง
*    พุ่งเป้าสู่จุดมุ่งหมายที่สำคัญ
*    วางกลยุทธ์โดยใช้ไอทีในการดำเนินการ
*    ให้บริการลูกค้าที่ดี
*    สร้างสายใย Supply Chain
*    สร้างสายใยเรื่อง CRM ความสัมพันธ์กับลูกค้า
*    สนับสนุนการดำเนินการและกิจกรรม ภายในองค์กร
*    ขยายความร่วมพันธมิตร

การวางแผนกลยุทธ์ไอทีกับแรงกดดันทางธุรกิจ


การวางแผนกลยุทธ์ไอทีกับแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร
                   ทิศทางของ (กลยุทธ์) ไอทีจะต้องสนับสนุนและสอดคล้องกับทิศทางของ (กลยุทธ์) ธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขทางธุรกิจมาจำกัดขอบเขต
                   แรงกดดันเป็นตัวกำหนดสิ่งที่จะต้องทำ (ทิศทางของธุรกิจ)
                   เงื่อนไขเป็นตัวจำกัดสิ่งที่สามารถทำได้จริง
                   แผนกลยุทธ์ไอทีเป็นตัวอธิบายว่าจะทำได้อย่างไร ภายใต้เงื่อนไขที่มีอยู่นั้น
การกำหนดวิสัยทัศน์ไอที
                   วิสัยทัศน์ คือภาพของอนาคตที่ต้องการ
                   องค์กรต้องกำหนดวิสัยทัศน์ด้านไอทีของตนให้ชัดเจน
                   วิสัยทัศน์ไอทีต้องสอดคล้องและสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กร
การกำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย(การประยุกต์ไอทีในองค์กร)
                   เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และทำให้การทำงานมีผลิตภาพสูงขึ้น
                   เพื่อทำการวิเคราะห์สถานการณ์ในอดีต และทำการวางแผนปรับเปลี่ยนองค์กร
                   เพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน และลดขนาดขององค์กรลง (Downsizing)
CIO มีบทบาทหน้าที่อย่างไร
                   เพื่อกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ไอทีขององค์กร
                   เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทไอที
                   เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
                   เพื่อส่งเสริมการมีและการใช้ไอที และระบบสารสนเทศในองค์กรอย่างแพร่หลาย และต่อเนื่อง

การอนุมัติและจัดสรรงบประมาณ
                   CIO กำกับให้หน่วยงานมีแผนแม่บทด้านไอที
                   CIO สนับสนุนและผลักดันให้จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ให้เป็นไปตามแผนแม่บทไอที
                   CIO จัดทำงบประมาณและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร
กำกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ
                   สนับสนุนการทำงานตามแผนปฏิบัติการและ สนับสนุนให้มีการปรับปรุงแผนทุกปี
                   ติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร
                   ศึกษาสาเหตุของปัญหาการพัฒนาระบบและหาแนวทางแก้ไข
1.  ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์  (Strategic Information System – SIS) คือ
                 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) คือ ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับใดก็ตามขององค์การซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ การดำเนินงาน ผลผลิต การบริการหรือความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์การ (Laudon & Laudon, 1995)
                 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนหรือสร้างตัวแปรและกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขัน SIS อาจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบใดก็ได้ TPS, MRS, DSS, ฯลฯ ที่ช่วยทำให้ความได้เปรียบในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ลดความเสียเปรียบในการแข่งขัน หรือช่วยในการบรรลุผลด้านกลยุทธ์อื่น ๆ  (Normann, 1994)
ระบบสารสนเทศทุกชนิดเช่น EIS, OIS, TPS, KMS—เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย กระบวนการ ผลผลิต หรือสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร ที่ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันหรือข้อเสียในการแข่งขัน
                   ข้อดีในการแข่งขัน
                 ข้อดีเหนือคู่แข่งขันอื่นๆ บางครั้งเราได้เช่น ต้นทุน คุณภาพ ความเร็ว
                 ความแตกต่างข้อมูลของห่วงโซ่คุณค่า
                 ผลผลิตของพนักงาน
                 การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
Information Technology – Supports Strategic Management
¡ Innovative applications: ประยุกต์การใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์โดยตรง เพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบขององค์กร.
¡ Competitive weapons: ระบบสารสนเทศจะช่วยให้เป็นอาวุธของการแข่งขันขององค์กร
¡ Changes in processes: ไอทีสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่แปลกลยุทธ์ให้เป็นข้อได้เปรียบ
¡ Links with business partners: ไอทีเป็นตัวเชื่อมให้พนธมิตรทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล.
¡ Cost reductions: ไอทีสามารถทำให้บริษัทลดต้นทุน.
¡ Relationships with suppliers and customers: ไอทีสามารถใช้สร้างความสัมพันธ์ของผู้ค้าส่งและลูกค้าเพื่อสร้างราคาที่เปลี่ยนแปลง.
¡ New products: องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนด้านไอทีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นความต้องการของตลาด.
¡ Competitive intelligence:  ไอทีสามารถสร้างความฉลาดทางธุรกิจโดยการรวบรวม วิเคราะห์สารสนเทศที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตลาด คู่แข่งขัน และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง.

กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจว่า IT ไม่ใช่แค่เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ข้อมูล หรือ สารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์, ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, และเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยต้องพิจารณาประกอบกับสิ่งแวดล้อม, ความสามารถ, กระบวนการในการทำงาน, และระดับของการใช้กลยุทธ์ในองค์กรด้วย
ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ด้านต่างๆ

กลยุทธ์ของธุรกิจ
เป็นกรอบสำหรับกลยุทธ์ขององค์กรและกลยุทธ์สารสนเทศ, เป็นตัวกำหนดทิศทางของธุรกิจ, เป็นตัวกำหนดแผนเพื่อตอบสนองต่อพลังของตลาด ความต้องการของลูกค้าและความสามารถของ
องค์กร
กลยุทธ์ขององค์กร
เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบองค์กร ควบคุมการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกลยุทธ์ของธุรกิจได้
กลยุทธ์ด้านสารสนเทศ
ใช้ในการสนับสนุนกลยุทธ์ของธุรกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
Competitive Intelligence
ความสำคัญอีกประการหนึ่งของการพัฒนาข้อได้เปรียบในการแข่งขันคือความต้องการสารสนเทศที่ดีและกิจกรรมของคู่แข่งขัน.
                   สารสนเทศจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพทางธุรกิจ   
                 โดยการเพิ่มความรู้ด้านการตลาด  
                 บริหารจัดการความรู้  
                 เพิ่มคุณภาพของการวางแผนกลยุทธ์
ผลกระทบของสารสนเทศต่อการแข่งขันในยุคดิจิตอล
การแข่งขันจากคู่แข่ง
          การแข่งขันจากคู่แข่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้บริษัทต้องแสวงหาความได้เปรียบในการแข่งขัน  ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ดูได้จากต้นทุนคงที่ที่เข้าไปหรือออกไปจากอุตสาหกรรม ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์มีน้อย การแข่งขันจำนวนมาก ความสามารถในการเข้าถึงช่องทางกระจายสินค้า นโยบายของรัฐบาล ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวบริษัทต้องมุ่งปกป้องส่วนแบ่งการตลาดของตน ในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่
แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บริษัทยิ่งต้องสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน   แรงกดดันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อการเข้าและออกจากอุตสาหกรรมมีต้นทุนต่ำและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเริ่มต้นและดำเนินการทางธุรกิจมีอยู่ทั่วไป ดังองค์ต้องสร้างสิ่งกีดขวางในการเข้ามาสู่ตลาดของคู่แข่งรายใหม่ เช่น การควบคุมการเข้าถึงช่องทางทางการจำหน่ายด้วย
แรงกดดันจากสินค้าและบริการทดแทน
                    เมื่อมีสินค้าหรือบริการอื่นที่คล้ายกัน ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเกิดขึ้นมากเท่าไร  บริษัทต้องยิ่งสร้างความได้เปรียบให้ได้มากขึ้นเท่านั้น
อำนาจการต่อรองจากลูกค้าขององค์กร
ลูกค้าจะมีอำนาจการต่อรองในการซื้อสินค้ามากขึ้น เนื่องจาก ปริมาณสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดมีมาก คุณภาพเท่า ๆ กัน และสามารถหาซื้อได้ทั่วไป
อำนาจการต่อรองจากซัพพลายเออร์
อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ ขึ้นอยู่กับหลายประการ เช่น จำนวนซัพพลายเออร์ ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์  ความสัมพันธ์ของผู้ซื้อที่มีต่อซัพพลายเออร์
โครงสร้างพื้นฐานและสถาปัตยกรรมของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ บริการและการจัดการที่รองรับทรัพยากรในองค์กร องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
                   Computer Hardware
                   General-purpose Software
                   Networks and Communication Facilities
                   Database
                   Information Management Personal
IT Planning
การวางแผน IT มีความสำคัญต่อผู้ใช้ด้วยเหตุผลดังนี้
            1. ผู้ใช้จะต้องกำหนดการวางแผนในหน่วยงานตนเอง
            2. ผู้ใช้จะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผน IT  ฉะนั้นผู้ใช้จะต้องเข้าใจกระบวนการวางแผน
            3. การวางแผนร่วมกันท่านจะต้องศึกษา IT Infrastructure และมองอนาคตของแต่ละหน่วยในองค์กร
การวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนระยะยาว มีรูปแบบดังนี้
                    พิจารณาจากการประยุกต์ใช้งาน
                    การปฏิบัติงานในด้านเพิ่มผลการผลิต
                    การวางแผนด้านบริการ
                    การจัดการด้านปัญหา
                    การจัดการเปลี่ยนแปลง
                    การวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพ
                   การวางแผนเครือข่าย
                   การวางแผนทรัพยากร
                    การวางแผนอุปกรณ์
                    การวางแผนพื้นที่
                    การวางแผนบุคลากร
                    การวางแผนงบประมาณ
                    กิจกรรมผู้บริหาร
                    การวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ
                    การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
                    การพัฒนาระบบสื่อสาร
                   การวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ
 ได้กำหนดแนวคิดไว้ว่า การวางแผนเทคโนโบยีสารสนเทศนั้น ผู้วางแผนจะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ ภารกิจ กลยุทธ์ นโยบาย และวิสัยทัศน์ สภาพแวดล้อมขององค์กรทั้งทางด้านกฏหมายและเศรษฐกิจ งบประมาณ เพื่อศึกษาว่าองค์กรเราอยู่ในระดับใด เป้าหมายเป็นอย่างไร  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสารสนเทศในองค์กร เพื่อให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลและสารสนเทศอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
องค์ประกอบของแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ
                    แผนพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
                    แผนพัฒนาระบบสารสนเทศ
                    แผนการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์
                    แผนการติดตั้งเครือข่ายการสื่อสารและซอฟต์แวร์
                    แผนพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างของหน่วยงาน
                    แผนการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้านสารสนเทศ
                    แผนการศึกษาอบรมบุคลากรในหน่วยงาน
                   แผนการดำเนินงานด้านพัฒนาบุคลากรด้านไอที
                    แผนงบประมาณประกอบด้วย
                    งบประมาณด้านพัฒนาระบบสารสนเทศ
                    งบประมาณด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์
                    งบประมาณด้านเครือข่ายการสื่อสารและซอฟต์แวร์

รูปแสดงแผนเทคโนโลยีสารสนเทศแผนกลยุทธ์และส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์กร
องค์กรสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ทำให่ลักษณะโครงสร้างและการดำเนินงานที่แตกต่างกับองค์กรแบบเดิม อย่างชัดเจนเช่น
                    การติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนของข้อมูลผ่านเครือข่าย สร้างความสะดวกและรวดเร็ว ถูกต้อง ไม่ซับซ้อน ทำให้ลดจำนวนงานลง จะเป็นโครงสร้างแบบแนวราบ ( Flat Structure)
                    ระบบสารสนเทศมีประสิทธิภาพช่วยลดลำดับชั้นในการจัดการ และทำให้การควบคุมกว้างขึ้น
                   ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้บุคลากรทำงานคนละที่ ซึ่งจะลดการติดต่อสื่อสารแบบเผชิญหน้าโดยตรง จึงต้องอาศัยความเชื่อถือระหว่างองค์กรและบุคลากร ตลอดจนใช้อำนาจในการตัดสินใจ
                    การประยุกต์ใช้ไอทีในองค์กร ส่งผลให้บุคลากรมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
                    การประยุกต์ใช้ไอทีในองค์กร ส่งผลให้มีการปรับองค์กรในการใช้อุปกรณ์สำนักงานและการสูญเสียทรัพยากรน้อยลงเช่นสำนักงานไร้กระดาษ
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์
Scott Morton ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร 5 ประการดังนี้
1.       เทคโนโลยี (Technology)
2.       บทบาทของคุณ ( Individuals and Roles )
3.       โครงสร้าง ( Structure )
4.       กระบวนการจัดการ ( Management Process)
5.       กลยุทธ์ ( Strategy)
ระดับของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
จำแนกออกเป็น 3 ระดับ
1.       อิสระต่อกัน ( Independent)
2.       ร่วมกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)
3.       การกำหนดนโยบายร่วมกัน (Policy Execution)
ระบบสารสนเทศกับการธำรงรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจในการแข่งขันมี 4 วิธีดังนี้
1.       ดำเนินการก่อน (First Mover)
2.       เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ( Technological Leadership)
3.       เสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous Innovation )
4.       สร้างต้นทุนที่สูงในการเปลี่ยนแปลง ( Create High Switching Cost)
บทบาทของผู้บริหารที่มีต่อกลยุทธ์ด้านสารสนเทศขององค์กรในยุคดิจิตอลดังต่อไปนี้
1.       การผลิตและการดำเนินงาน ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการประยุกต์ใช้ไอที ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรืองานบริการที่มีคุณภาพ ตลอดจนสนับสนุนโครงสร้างองค์กร ให้ทำงานร่วมกันในการใช้ทรัพยากร
2.      การติดต่อสื่อสาร การสื่อสารในปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจ ผู้บริหารต้องสนับสนุนการนำไอทีมาใช้ในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3.        กระบวนการ  การนำไอที่มาประยุกต์ใช้ในองค์กรทำให้ต้องมีการปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้ลดขั้นตอนการทำงานที่ล้าสมัย และเพื่อให้องค์กรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน
4.       การวางแผน ความสำเร็จของการใช้ไอทีเกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์กร ในส่วนนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องสร้างความกลมเกลียวระหว่างไอที องค์กร และกลยุทธ์
สรุป
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information System : SIS) ในยุคดิจิตอล คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ กรอบแนวคิดเรื่อง SIS  มี 2 โมเดล  คือ โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model) และโมเดลของโซ่ของคุณค่า (Value Chain Model) โมเดลของพลังการแข่งขันประกอบด้วยพลัง 5 ปัจจัย คือ การแข่งขันของผู้แข่งขันแรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่ แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน อำนาจต่อรองของลูกค้า อำนาจพลังต่อรองของซัพพลายเออร์ การสร้างความได้เปรียบทางการข่างขันอาจใช้ กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง  กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย ในการจัดการกับพลังทั้งห้านั่นเอง
เทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Digital กับการวางแผนกลยุทธ์ในระบบสารสนเทศของไทย

สำหรับประเทศไทย กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดทำแผนพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการผลักดันให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไก สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางความคิดใน ทุกภาคส่วน การปฏิรูปกระบวนการทางธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการ การปรับปรุง ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน และการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อันจะนำไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทยตาม นโยบายของรัฐบาลใน วิสัยทัศน์ ดิจิทัลไทยแลนด์(Digital Thailand) หมายถึง ประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และ ทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน โดยแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะมีเป้าหมายในภาพรวม 4 ประการดังต่อไปนี้
 • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิต การบริการ
สร้างโอกาสทาง สังคมอย่างเท่าเทียม ด้วยข้อมูลข่าวสารและบริการต่างๆ ผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
เตรียมความพร้อมให้บุคลากรทุกกลุ่ม มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล
ปฏิรูปกระบวนทัศน์การทำงานและการ ให้บริการของภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความ โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศไทย มุ่งเน้นการพัฒนาระยะยาวอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ดังนั้น แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับนี้ จึงกำหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล เพื่อกำหนด ทิศทางการพัฒนาและเป้าหมายใน 4 ระยะ ดังนี้ ๑ ปี ๖ เดือน ๑๐ ปี ๕ ปี ๑๐ - ๒๐ ปี

ภูมิทัศน์ดิจิทัลของไทยในระยะเวลา 20 ปี
ระยะที่ 1 Digital Foundation ประเทศไทยลงทุน และสร้าง ฐานรากในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัล
ระยะที่ 2 Digital Thailand I: Inclusion ทุกภาคส่วนของประเทศไทย มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและสังคม ดิจิทัลตามแนวทางประชารัฐ
ระยะที่ 3 Digital Thailand II: Full Transformation ประเทศไทยก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ที่ขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ
ระยะที่ 4 Global Digital Leadership ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ พัฒนาแล้ว สามารถใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางสังคมอย่างยั่งยืน

เพื่อให้วิสัยทัศน์และเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบรรลุผล
แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้านคือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จะมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูง ที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้แบบทุกที่ ทุกเวลา โดยกำหนดให้ เทคโนโลยีที่ใช้มีความเร็วพอเพียงกับความต้องการ และให้มีราคาค่าบริการที่ไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึง บริการของประชาชนอีกต่อไป นอกจากนี้ ในระยะยาว โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จะ กลายเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับ ถนนไฟฟ้า น้ำประปา ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อของ ทุกคน และทุกสรรพสิ่ง โดยยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย แผนงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ
 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีความทันสมัย มีเสถียรภาพ ตอบสนองความต้องการใช้งานของทุกภาคส่วน ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
 2. ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง การเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลของอาเซียน โดยเป็น เส้นทางผ่านการจราจรของข้อมูลในภูมิภาค และเป็น ที่ตั้งของผู้ประกอบการเนื้อหารายใหญ่ของโลก
 3. จัดให้มีนโยบายและแผนบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานคลื่นความถี่ และการหลอมรวมของ เทคโนโลยีในอนาคตเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรของ ประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. ปรับรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมให้เหมาะสมกับ สถานการณ์และความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยผลักดันให้ ภาคธุรกิจไทยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการลดต้นทุน การผลิตสินค้าและบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการ ดำเนินธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาไปสู่การแข่งขันเชิงธุรกิจ รูปแบบใหม่ในระยะยาว นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ยัง มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล เพื่อ เสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย ที่จะส่งผลต่อการขยายฐานเศรษฐกิจและอัตราการ จ้างงานของไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยยุทธศาสตร์นี้ ประกอบด้วยแผนงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ
 1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ภาคธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยผลักดันธุรกิจให้ เข้าสู่ระบบการค้าดิจิทัลสู่สากล และให้เกิดการใช้ เทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อปฏิรูปการผลิตสินค้าและ บริการ
2. เร่งสร้างธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology startup) ให้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
 3. พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล ของไทยให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขัน เชิงนวัตกรรมได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและเป็นอุตสาหกรรม แห่งอนาคต
4. เพิ่มโอกาสทางอาชีพเกษตรและการค้าขายสินค้าของชุมชนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยดำเนินการ ร่วมกันระหว่างหน่วยงานจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะมุ่งสร้างประเทศไทยที่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในชุมชน ห่างไกล ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ สามารถ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของรัฐผ่าน เทคโนโลยีดิจิทัล มีข้อมูลองค์ความรู้ ทั้งระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ในรูปแบบดิจิทัลที่ประชาชนสามารถ เข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยง่ายและสะดวก และ มีประชาชนที่รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร และมีทักษะในการ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีความ รับผิดชอบต่อสังคม โดยยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย แผนงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ
1. สร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล
 2. พัฒนาศักยภาพของประชาชนในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแยกแยะ ข้อมูลข่าวสารในสังคมดิจิทัลที่เปิดกว้างและเสรี
 3. สร้างสื่อคลังสื่อและแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่าง สะดวก ผ่านทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบแพร่ภาพ กระจายเสียง และสื่อหลอมรวม
4. เพิ่มโอกาสการได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐาน ของนักเรียนและประชาชน แบบทุกวัย ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
5. เพิ่มโอกาสการได้รับบริการทางการแพทย์ และสุขภาพที่ทันสมัยทั่วถึง และเท่าเทียม สู่สังคม สูงวัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็น รัฐบาลดิจิทัล จะมุ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับปรุง ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยงานรัฐ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้เกิดบริการภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ โดยไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ พื้นที่ และภาษานำไปสู่การหลอมรวมการทำงานของภาครัฐเสมือน เป็นองค์กรเดียว นอกจากนี้ รัฐบาลดิจิทัลในอนาคตจะ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด แนวทางการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การบริหาร บ้านเมือง และเสนอความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ของภาครัฐ โดยยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วยแผนงาน เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1. จัดให้มีบริการอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดยความ ต้องการของประชาชนหรือผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบริการที่อำนวยความสะดวกต่อประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว
 2. ปรับเปลี่ยนการทำงานของภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลโดยเน้นบูรณาการการลงทุนในทรัพยากรการเชื่อมโยงข้อมูลและการทำงานของหน่วยงานรัฐ เข้าด้วยกัน
3. สนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ตามมาตรฐาน open data และส่งเสริมให้ เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคธุรกิจใน กระบวนการทำงานของรัฐ
4. พัฒนาแพลตฟอร์มบริการพื้นฐานภาครัฐ (government service platform) เพื่อรองรับการพัฒนาต่อยอดแอปพลิเคชั่นหรือบริการรูปแบบใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล จะให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนวัยทำงานทุกสาขาอาชีพ ทั้งบุคลากรภาครัฐ และ ภาคเอกชน ให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์และ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการประกอบ อาชีพ และการพัฒนาบุคลากรในสาขาเทคโนโลยี ดิจิทัลโดยตรง ให้มีความรู้ความสามารถและความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในระดับมาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่การสร้างและจ้างงานที่มีคุณค่าสูงในยุค เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัย หลักในการขับเคลื่อน โดยยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย แผนงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3 ด้าน คือ
 1. พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในตลาดแรงงานที่รวมถึงบุคลากรภาครัฐภาคเอกชน บุคลากรทุกสาขาอาชีพ และบุคลากร ทุกช่วงวัย
2. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีเฉพาะด้าน ให้กับบุคลากรในสายวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและ เอกชน เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต
3. พัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศให้ สามารถวางแผนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปพัฒนา ภารกิจ ตลอดจนสามารถสร้างคุณค่าจากข้อมูลของ องค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล จะมุ่งเน้นการมีกฎหมาย กฎระเบียบ กติกาและ มาตรฐานที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์สากล เพื่ออำนวยความสะดวก ลดอุปสรรค เพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบกิจกรรมและ ทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ รวมถึงสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และความเชื่อมั่น ตลอดจนคุ้มครองสิทธิ์ ให้แก่ผู้ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกภาคส่วน เพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคตโดยยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย แผนงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3 ด้าน คือ
1. กำหนดมาตรฐานกฎระเบียบและกติกาด้านดิจิทัลให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า และการใช้ประโยชน์ในภาคเศรษฐกิจและสังคม
2. ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้มีความทันสมัย สอดคล้องต่อพลวัต ของเทคโนโลยีดิจิทัลและบริบทของสังคม
3. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการทำธุรกรรมออนไลน์ ด้วยการสร้างความมั่นคง ปลอดภัยของระบบสารสนเทศและการสื่อสาร การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การคุ้มครองผู้บริโภค
กลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในครั้งนี้ จะต้องดำเนินการผ่านกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ อย่างครบวงจรและเต็มรูปแบบเพื่อวางรากฐาน เศรษฐกิจและสังคมไทยให้พร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยมีประเด็น ใน 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
1. การขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมในระยะเร่งด่วน โดยจัดให้มีกิจกรรมและโครงการระยะเร่งด่วนที่สุด (1 ปี 6 เดือน) ที่มุ่งเน้นการลงทุนด้านโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัลและสร้างรากฐานการพัฒนาดิจิทัล ใน 6 ด้านตามยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลฯ ตั้งแต่ การพัฒนาความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเร่ง พัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาเข้าสู่สังคม ดิจิทัล การปฏิรูปการด าเนินการภาครัฐ การพัฒนาทุน มนุษย์ ไปจนถึงการวางรากฐานด้านกฎ กติกา มาตรฐานด้านดิจิทัล
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงสถาบัน โดยจะต้องมีการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงานของ ภาครัฐ บูรณาการการทำงานในลักษณะข้ามกระทรวง เพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการ ลดบทบาทภาครัฐ กระจายและมอบอำนาจการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ กลไกข้อนี้จะรวมถึงการจัดให้มีหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ประสาน และขับเคลื่อนให้การ พัฒนาดิจิทัลของประเทศ เป็นไปอย่างมีเอกภาพ และ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด
3. การบูรณาการงานงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงานโดยจะต้องบูรณาการ การทำงานร่วมกันหรือเชื่อมโยงงานและข้อมูลในลักษณะที่เป็นองค์รวมกำหนดเจ้าภาพรับผิดชอบแต่ละภารกิจ ปรับปรุงกฎระเบียบและระบบงบประมาณให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานร่วมกันของส่วนราชการมีระบบประสานงานระหว่างส่วนราชการในการให้บริการประชาชนนอกจากนี้กลไกข้อนี้จะรวมถึงการจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ให้เป็นกลไกทางเลือกในการสนับสนุนทางการเงินกับโครงการด้าน การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นอกเหนือจากการสนับสนุน ด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีของภาครัฐ
4. กลไกติดตามความก้าวหน้าของนโยบายแผนงานโดยจะต้องมีการติดตามตรวจสอบและ ประเมินผลความเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเมื่อพบปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายสู่การ ปฏิบัติ ต้องจัดให้มีกลไกช่วยเหลือแก้ปัญหาหรือ จัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างเพียงพอและทันท่วงที และนำผลที่ได้ จากการติดตามมาทบทวนเพื่อปรับปรุงให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมนอกจากนี้จะต้องเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการปรึกษาหารือ การเปิดรับฟังความเห็นของประชาชน ไปจนถึงการตรวจสอบ ติดตามความคืบหน้าการ ดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งเน้นความโปร่งใสและผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน เป็นหลัก

กิจกรรม/โครงการในระยะเร่งด่วน
 เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสามารถบรรลุผลอย่างเป็น รูปธรรมได้อย่างชัดเจนจึงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนซึ่งในช่วง 1 ปี 6 เดือนแรกของแผนฯ จะเป็นการเตรียมความพร้อมพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับประเทศโดยมีตัวอย่างโครงการเด่น ได้แก่

โครงสร้างพื้นฐาน
โครงการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมหมู่บ้านทั่วประเทศ
 • โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของ ประเทศไทยให้เชื่อมต่อโดยตรงกับศูนย์กลางการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตของโลก
เศรษฐกิจ
 • โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ ฐานราก เพื่อเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และขยายตลาดชุมชนสู่ตลาดเมือง
โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับภาคธุรกิจไทย เพื่อเข้าสู่ระบบการค้าดิจิทัลและเชื่อมโยงไปสู่ระบบการค้าสากล
โครงการผลักดันการพัฒนาคลัสเตอร์ดิจิทัล ตามนโยบายส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษและ super cluster
โครงการพัฒนากำลังคนในธุรกิจเทคโนโลยี ดิจิทัล (digital technology startup) เพื่อให้เกิด บุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญใช้นวัตกรรม เพื่อสร้างสินค้าและบริการรูปแบบใหม่
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและ สื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างอนาคตให้ธุรกิจไทยในเวทีโลก
ด้านสังคม
 • โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นจุดบริการ ภาครัฐสู่ชุมชนผ่านระบบดิจิทัล และเป็นศูนย์กลางการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน บริการ e-learning และบริการการเรียนรู้ระบบเปิด สำหรับมหาชน (MOOC)
 • โครงการส่งเสริมการใช้ดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ และสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัล ให้แก่ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป
ด้านบริการภาครัฐ
โครงการยกระดับคุณภาพงานบริการภาครัฐ เพื่อปรับกระบวนการดำเนินงานภาครัฐ บูรณาการ ข้อมูลและระบบงาน และอำนวยความสะดวกแก่ ประชาชน
การผลักดันชุดกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
            ซึ่งที่กล่าวมาเป็นการวางแผนกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยในปัจจุบัน
ที่มา :
1.      www.lib.ru.ac.th
2.      http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
3.      https://itgthailand.wordpress.com/tag/เศรษฐกิจดิจิตอล/
4.      https://www.23perspective.com/news-update-detail/4_เมกะเทรนด์ไอทีโลก_ดันธุรกิจปรับกลยุทธ์_ก้าวสู่ยุค_“นวัตกรรมดิจิตอล”_ปี_2559
5.      http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639646

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น