ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่าง เปรียบเทียบการให้บริการ Cloud Computing Windows Azure, Amazon EC2

ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวอย่างของ ผลิตภัณฑ์/สินค้า/บริการสำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทเดียวกันจาก 2 ผู้ขาย/บริษัท เช่น Data Center Solution ของ IBM กับ Hitachi เป็นต้น โดยในที่นี้จะ เปรียบเทียบการให้บริการ Cloud Computing  Windows Azure, Amazon EC2
ความหมายของ Cloud Computing
ปัจจุบันเป็นยุคของสังคมออนไลน์ และสังคม ดิจิตอล ผู้คนจำนวนมากเข้ามาใช้บริการเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เราจะพบว่ามีการใช้งาน อินเทอร์เน็ตไม่เพียงแค่การ Chat หรือเชค email เท่านั้น ปัจจุบันประชากรบนโลกไซเบอร์หันมาใช้ บริการเพื่อเข้าสังคมผ่านระบบ Social network มาก ขึ้น มีการแชร์ไฟล์ อัพโหลดไฟล์ และแชร์วีดีโอต่างๆ รวมถึงการใช้งานผ่าน Application ต่างๆ บนบริการที่ มีอยู่มากมายตั้งแต่ Search engine, gmail, picas, google, video, youtube, maps, blogger เป็นต้น ซึ่งแอพพลิเคชันเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการติดต่อ สื่อสารและการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการศึกษาหรือ การทำงานในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนา เทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) โครงข่ายทางการ สื่อสาร (Communication Networks) และแอพพลิ เคชั่น (Application) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของมนุษย์ที่หลากหลายและแตกต่างกัน

ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing
การให้บริการผ่านระบบโครงข่ายได้เข้ามามีบทบาท สำคัญต่อองค์กร หน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษา ซึ่ง อาจใช้บริการภายในองค์กร (Internal) หรือเชื่อมโยง กับองค์กรภายนอก (External) ซึ่งผู้ให้บริการระบบ โครงข่ายต้องมีการพัฒนาการบริการ(Service) และ แอพพลิเคชั่น (Application) ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานให้มากที่สุด ในการพัฒนาระบบบริการและแอพพลิเคชั่น อาจมีต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Network) และคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดการ และดูแลรักษาค่อน ข้างสูง Cloud Computing จึงเป็นอีก เทคโนโลยีหนึ่งที่เหมาะสมต่อการนำมาจัดการปัญหา ดังกล่าว โดยหลักการของ Cloud Computing คือ ย้ายระบบประมวลผลเดิมที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์มาเป็น การประมวลผลผ่านการทำงานของเครื่องเซิฟเวอร์ จำนวนมากที่เชื่อมโยงกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยกลุ่มเครื่องเซิฟเวอร์เหล่านั้นจะได้รับการควบคุม และจัดการอย่างมีรูปแบบ ซึ่งผู้ให้บริการสามารถ กำหนดประสิทธิภาพให้กับลูกค้าที่จะใช้บริการตาม เงื่อนไขที่ได้ตกลงระหว่างกัน องค์กรทางธุรกิจหลายแห่งต่างให้ความสำคัญ กับการนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้เพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความ แตกต่างขององค์กรในอีกทางหนึ่ง ดังนั้นธุรกิจที่ สามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ ธุรกิจของตนได้ ก็ย่อมจะสร้างความได้เปรียบและ โอกาสในการต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจของตนได้ ในอนาคต Cloud Computing จะเข้ามามี บทบาทสำคัญต่ออสถาบันการศึกษามากขึ้น เพราะ Cloud Computing เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลมี ขนาดความจุมหาศาล และบริการข้อมูลนานาชนิด บน โลกออนไลน์แบบไร้ขีดจำกัด ทำให้สามารถเข้าถึง ข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถเปรียบ Cloud Computing เป็นเหมือนสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่ผู้ บริโภคไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างเครื่องมือในการผลิต แต่มีหน่วยงานกลางเป็นผู้ดูและจัดการให้ โดยผู้บริโภค ทำหน้าที่เพียงชำระค่าบริการเท่านั้น
ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ, 2553 กล่าวไว้ว่า ปัจจุบันมีปริมาณการใช้งานคอมพิวเตอร์มากขึ้น ส่ง ผลให้มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในการให้บริการ ต่างๆ มากขึ้น ทำให้เกิดภาระในการจัดการเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ จนไม่สามารถตอบสนองความต้องการผู้ ใช้ได้ โดยเฉพาะการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ใน หน่วยงาน หรือผู้ให้บริการรับวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ปัญหาดังกล่าวแก้ไขได้โดยให้บริการโครงสร้างพื้น ฐานแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) โดยผู้ให้ บริการจะสร้างเครื่องเสมือน เพื่อให้บริการผู้ใช้แทน การให้บริการด้วยเครื่องจริง ดังนั้นผู้ใช้จะได้ใช้เครื่อง เสมือนส่วนตัว ซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์และกำหนดค่าได้ อย่างอิสระ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อื่นในระบบ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2553 กล่าว่า Cloud Computing เป็นการประมวลผลที่อิงกับความ ต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการ ไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จาก นั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากร และ บริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ โดยระบบสามารถ เพิ่มและลดจำนวนทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้ พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบการทำงานเบื้องหลัง ถือได้ว่า Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่ ตอบโจทย์ขององค์กร ทั้งในเรื่องของการลงทุนในด้าน เทคโนโลยี เรื่องประสิทธิภาพการใช้งานระบบ รวมถึง รูปแบบการทำงานในโลกสมัยใหม่ ที่สามารถทำงาน ได้ทุกที่ทุกเวลา ประกอบกับความรู้ความเข้าใจและ ความไว้วางใจของผู้ใช้ที่มีต่อ Cloud Computing แนวโน้มที่ส่งผลให้มีการใช้ Cloud Computing 1.แนวโน้มของเว็บ ที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติด ต่อสื่อสารของคนทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเครือข่ายทาง สังคม Social Network มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน โดยมีผู้ใช้หลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น Facebook หรือ Twitter ที่ได้รับความนิยมในการ ใช้งานอย่างแพร่หลาย ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำเว็บ แอพพลิเคชั่นรูปแบบ Cloud Computing ดังกล่าว มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน ระหว่างบุคลากรโดยใช้ Social Network ผ่าน Cloud Computing เพื่อระดมความคิดของพนักงานในองค์กร ผ่านระบบออนไลน์ในแบบ Realtime โดยข้อมูลดัง กล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไป ใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อไป 2. แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน ด้วยปัญหา โลกร้อน และค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ องค์กรหลายแห่งต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลด การใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ใน ระบบไอที ทั้งนี้เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย และ ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่ บรรยากาศ จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่าเครื่องแม่ข่าย หรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลานั้น มี การใช้ทรัพยากรในระบบเพียงแค่ 10-20% เท่านั้น ด้วย แนวคิดของ Cloud Computing นี้จะช่วยรวมทรัพยากร ในระบบให้ทำงานและเกิดความคุ้มค่าสูงสุดจากการใช้ ทรัพยากรในระบบ 3.ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร ด้วยการแข่งขันกันทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรหลาย แห่งต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สูง ที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันและสร้างความแตกต่างขององค์กรในอีกทาง หนึ่ง แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและ สร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้ ถือเป็นการกระตุ้น การนำ Cloud Computing ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง สร้างสรรค์ 4. ความต้องการใช้งานที่ง่ายและไม่ซับซ้อน เป็นความ ต้องการพื้นฐานเพราะผู้ใช้งานทั่วไปต้องการการใช้งาน ที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ให้บริการทาง ด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อนำเสนอบริการทางด้าน ซอฟต์แวร์แบบจ่ายเท่าที่ใช้ (Software as a Service) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลาง หรือขนาดย่อม ที่มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอทีทำงานอยู่ อย่างจำกัด การใช้งานในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว จะได้ รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ อีกด้วย 5. การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ เป็นการ ช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น ถึงแม้เราจะมี Search engine ที่ช่วยเราหาข้อมูล แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวัน ทั้งข้อมูล และไฟล์ต่างๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนส่งขึ้น ไปในเว็บ หากไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบ การพัฒนาให้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบ ก็อาจ ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร Cloud Computing ก็คือความสามารถใน การจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้นโดย เฉพาะการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมาย หลากหลายประเภทให้เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหา และเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่น ยมากกว่าเดิม ด้วยความสามารถและประโยชน์อัน มากมายดังที่กล่าวมานี้ถือได้ว่า Cloud Computing กำลังจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ แห่งอนาคต และจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการนำไป ประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน บริษัทวิจัยไอดีซี (International Data Corporation) ได้คาดว่า Cloud Computing ใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความ สนใจอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของ การนำเสนอบริการที่สอดคล้องกับการให้บริการใน ปัจจุบันและบริการใหม่ๆ ทำให้ธุรกิจการให้ บริการ Cloud ในส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทาง ด้านไอทีมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 และ จะมีการเสนอบริการ Cloud Computing ใหม่ๆ เข้าสู่ ตลาด โดยผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกล สำหรับการ ให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วย ทำให้องค์กรเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตนเองได้ อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว จาก รายงานล่าสุดของไอดีซีเรื่อง “Asia/Pacifc (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud” ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลักๆ ที่คาดว่าจะส่งผล ต่อ Cloud Computing กับระบบไอทีในองค์กรต่างๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554 ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมี ความแตกต่างกันในหลายๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภา คอื่นๆ ทั่วโลก และแผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้ งาน Cloud Computing ในอนาคตจะแตกต่างกันไป ตามลักษณะที่กำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ แต่แนวโน้มที่สำคัญ ประการหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้น ตัวขอเศรษฐกิจ และอีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของ การให้บริการ Cloud Computing ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมา สนใจลงทุนเทคโนโลยีนี้อีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบ ไอทีในองค์กรต่างๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ กับองค์กรได้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มี ลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบ ของ Cloud ก็จะ เปิดให้บริการตามลำดับต่างๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการ Cloud Computing เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซีมองต่อ ไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการ Cloud ว่าจะมี ความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่องขั้นตอนการ ดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบและการ บริหารจัดการเข้ามาด้วยนิยามที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ของคำว่า Cloud Computing ที่น่าจะทำให้เข้าใจได้เร็ว ที่สุดคือ เป็นการเอาระบบสารสนเทศขององค์กรไปติด ตั้งบนอินเทอร์เน็ตโดยมีองค์กรภายนอก (Third Party)เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์ และดูแล ระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำมาติดตั้งความ หมายเพียงแค่นี้ เราอาจสงสัยว่า Cloud Computing จะจัดการระบบสารสนเทศให้ง่ายขึ้นได้อย่างไร ซึ่ง สามารถอธิบายได้ดังนี้
1. ประหยัดการลงทุนเรื่องทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะใช้การเช่าระบบแทน ทำให้บริษัท องค์กร หรือ หน่วยงานการศึกษาที่มีเงินลงทุนจำกัด สามารถมี ระบบสารสนเทศที่ดีใช้ได้เท่าเทียมกับองค์กรอื่นๆ
2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาใช้ได้ในเวลาอัน รวดเร็ว เพราะว่าผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากร ขนาดใหญ่ไว้รองรับผู้ใช้บริการอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ ต้องเสียเวลาในการออกแบบระบบ ช่วยให้ประหยัด เวลาอย่างมาก
3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ใน กรณีที่ระบบของผู้ใช้บริการมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ต้อง ขยายทรัพยากรให้เพิ่มขึ้นตามการใช้งาน ซึ่งหาก เป็นระบบของบริษัทเองคงต้องทำการออกแบบและ ติดตั้งหลายขั้นตอนทำให้เสียเวลามาก หากใช้ Cloud Computing ก็จะทำให้การเพิ่มขนาดทรัพยากรนั้น ง่ายและรวดเร็วภายในข้ามคืนเท่านั้น
 4. ขจัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบทรัพยากร สารสนเทศ โดยให้ผู้ให้บริการ Cloud computing ดูแลแทน จึงทำให้ลดทั้งความยุ่งยากของการดูแล และลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาดูแลระบบ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้แนวโน้มการลงทุนใน ธุรกิจ หรือองค์กรเปลี่ยนมาเป็นการเช่าใช้ระบบ เพราะทำให้การบริหารจัดการลดน้อยลง
แต่ก็ยังมีข้อ จำกัดบางประการที่ผู้ใช้บริการจะต้องคำนึงเช่น
1. หน่วยงาน หรือองค์กร ผู้ใช้บริการต้องสามารถ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
 2. แอพพลิเคชั่น หรือ ซอฟต์แวร์ที่จะนำมาติดตั้งอยู่ บนระบบของผู้ให้บริการ Cloud Computing ต้องไม่มี ข้อจำกัดในการใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันนั้น สามารถ รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ ครอบคลุมพื้นที่หลักอย่างกรุงเทพ และปริมณฑล รวม ถึงจังหวัดหลักๆ ทั่วประเทศในราคาที่ไม่แพง จึงทำให้ แนวโน้มการใช้บริการลักษณะนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้างศักยภาพให้กับองค์กรทุกขนาดให้สามารถ แข่งขันกันอย่างทัดเทียมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ cloud computing
1. มีความคล่องตัว ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลจาก Server ได้ตามต้องการ มีความยืดหยุ่น สามารถขยายหรือลด โครงสร้างพื้นฐานได้สะดวกและง่ายต่อการพัฒนาและ เปลี่ยนแปลง
2. ลดต้นทุนลงลง เนื่องจากผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Server ขนาดใหญ่ด้วยตนเอง ลดภาระต้นทุนเกี่ยวกับ การติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ ซอฟท์แวร์ประมวลผลขนาดใหญ่
3. มีอิสระจากอุปกรณ์ และสถานที่ เพราะผู้ใช้สามารถ เรียกดูข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลก ที่สามารถเข้าถึง อินเทอร์เน็ตได้
4.การขยายตัวสูง สามารถเข้าถึงแพลทฟอร์มที่หลาก หลาย และทำงานร่วมกับแพลทฟอร์มที่ยึดหยุ่นและมี ศักยภาพด้วยโครงสร้างที่หลากหลาย
5. มีความไว้วางใจ (Reliability) สูงขึ้น
 6. มีความปลอดภัย (Security) เพราะโปรแกรมและ ไฟล์ทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ใน Supercomputer ส่วน กลางที่มีขนาดใหญ่ หรือจัดเก็บอยู่ใน Network ความเร็วสูง
7. มีความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งได้จากการ ใช้ทรัพยากรที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
 8. เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของโปรแกรม ประยุกต์ทำให้โปรแกรมที่มีการคำนวณและประมวลผล ที่ยุ่งยากและซับซ้อนสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น
 9. ได้รับบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เสมอ
 10. ใช้งานง่ายเป็นเหมือนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

ที่มา: http://www.mohamedfawzy.com/?p=31
โครงสร้าง Cloud Computing

1. Saas คือ Cloud Application Layer เป็นส่วน นำข้อมูลในระบบมาทำการประมวลผลตามคำร้องขอ ผ่านโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนของการ ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Cloud Computing การทำงาน จะเป็นลักษณะของ Web Application จึงไม่ต้องติด ตั้งโปรแกรม เช่น Hotmail Gmail Google doc Twitter เป็นต้น
 2. Pass คือ ส่วนของ Cloud software environment layer ทำหน้าที่ในการให้บริการเครื่องมือพัฒนา โปรแกรมประยุกต์บน Cloud Computing เช่น Google App Engine
 3. Iaas คือ Cloud Software Infrastructure layer สำหรับการสร้างระบบ Virtual Machines เช่น Amazon Elastic Cloud (EC2), SunGrid , Gogrid เป็นต้น
4. Daas คือระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Data Storage ที่มีขนาดใหญ่ รองรับการสืบค้นและการ จัดการข้อมูลระดับสูงเช่น Amazon’s S3 เป็นต้น
5. Caas คือ ส่วนของ Composite Service ทำหน้าที่ รวบรวมโปรแกรมประยุกต์ จัดลำดับการเชื่อม โยงแบบ Workfow ข้าม Network และจัดการ เรื่องการรักษาความปลอดภัย เช่น Microsoft connected service framework
ประเภทของ Cloud Computing แบ่งได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. Public Clouds
2. Private Clouds
3. Community Clouds
 4. Hybrid Clouds

1.      Public Clouds : เป็นระบบบริการทั่วไป บริการ ลูกค้าจำนวนมาก ราคาไม่แพง ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้า ถึงได้

2. Private Clouds : เป็นระบบที่มีความเฉพาะ เพื่อ ทำงานให้ลูกค้าโดยเชื่อมต่อการทำงานโดยตรงผ่าน Cloud Provider มีระบบการจัดการฐานข้อมูล และมีความปลอดภัยที่ดี
3. Community Clouds : โครงสร้างพื้นฐานของ Cloud ที่ใช้จากหลายๆ หน่วยงาน หลายองค์กร เพื่อการสร้าง Cloud แต่ใช้วิธีแบ่งปันและบริหาร ร่วมกัน
4.Hybrid Clouds : เป็นระบบเชื่อมระหว่างสองระบบ คือ Public Clouds และ Private Clouds สามารถส่ง ข้อมูลและคำสั่งข้าม Application ของทั้งสองระบบ

 ลักษณะของ Cloud Computing
1. On-demand self-service เรียกดูข้อมูล หรือใช้ เมื่อไหร่ก็ได้
2. Network Access เรียกใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตได้จาก ทุกที่ทุกเวลาไม่จำกัด
 3. Resource Pooling ผู้ใช้หลายๆ คนใช้งาน ทรัพยากรร่วมกันได้
4. Rapid Elasticity เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว แบ่งปัน ทรัพยากรให้ผู้อื่นใช้ร่วมกันได้
5. Measured Service วัดปริมาณการใช้งานได้ จะรู้ ว่าใครใช้มากน้อยเท่าไหร่ เหมือนกับน้ำประปาหรือ ไฟฟ้า ส่วนเมื่อวัดได้แล้วจะไปเก็บค่าบริการ หรือให้ บริการฟรี เช่น ใครใช้น้อย ฟรี ใครใช้มากคิดเงินบาง ส่วน ฯลฯ ก็แล้วแต่ business model ว่าใครจะหาเงิน แบบไหน

 ที่มา http://newssorch.com/cloud-computing-andchrome-os/

จากภาพประกอบ อาจจะพอเห็นภาพคร่าวๆ แล้วว่าบริษัทใดบ้างที่เปิดให้ใช้บริการแบบ Cloud Computing ซึ่งก็มีทั้ง Search Engine และสารพัด Application ที่ให้บริการฟรีอย่างของ Google, Yahoo, Microsoft ไปจนถึงบริการ แอพพลิเคชั่นเฉพาะด้านอย่าง Salesforce.com ซอฟต์แวร์บริหารการขายที่ดังไปทั่วโลก ซึ่งต้อง สมัครสมาชิกจึงจะใช้ได้ และอาจมีการเก็บเงินสำหรับบริการบางลักษณะหรือ Amazon ซึ่งใช้ระบบ Cloud Computing ในการให้บริการตั้งแต่การซื้อขาย หนังสือและสินค้าอื่นๆ สารพัดอย่างไปจนถึงการเปิด ร้านค้าร่วม ไม่นับองค์กรอีกมากมายที่อาจนำ Cloud Computing มาใช้ในเครือข่ายเฉพาะของตนเอง หรือ ให้บริการเฉพาะกลุ่มลูกค้าของตน ซึ่งก็จะ สามารถรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้อย่างสบาย จะเพิ่ม หรือขยายแบบค่อยเป็นค่อยไปตามปริมาณการใช้ งานที่เพิ่มขึ้นก็ได้
ที่มา http://newssorch.com/cloud-computing-andchrome
คุณลักษณะของ Cloud Computing
·       ไม่มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น
·       จ่ายตามการใช้งานจริง
·       ระบบสามารถขยายขีดความสามารถและยืดหยุ่น
·       ระบบมีความน่าเชื่อถือ
·       ไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และสถานที
Source : Architecting for the cloud : Amazon Web Services
คุณลักษณะของ Cloud Computing
On-demand self-service
Broad network access
Resource pooling
Rapid elasticity
Measured Service
ประเภทของการบริการ Cloud Computing


Source : http://acloudyplace.com/
ประเภทของการติดตั้ง


Personal Cloud Storage


การให้บริการ Cloud ต้องการ Infrastructure ขนาดใหญ่

Cloud Provider ไม่ใช่แค่ Web Hosting ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างด้านสถาปัตยกรรมและรูปแบบธุรกิจ

Top Public Cloud IaaS Provider 2016
Amazon
Verizon/Terremark
 IBM
Salesforce.com
CSC
Rackspace
 Google
 BlueLock
Microsoft
Joyent
Cloud PaaS

แนวโน้มของ Cloud Computing
·       แผนกไอทีจะเปลี่ยนแปลงไป
·       ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของ Cloud Computing จะลด น้อยลง
·       จะเกิดบริการต่างๆสำหรับ Cloud Computing มากขึ้น
·       การพัฒนาซอฟต์แวร์จะมุ่งขึ้นสู่ Cloud Computing จะมีนวัตกรรมใหม่ๆมากขึ้น
Source : http://www.rickscloud.com/
Stakeholder ในระบบ Cloud


ผลกระทบของ SaaS
·       ซอฟต์แวร์ไม่มีพรมแดน
·       ธุรกิจซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนจากlicensing model เป็น subscription (pay as you go)
·       โอกาสของ SME : ราคาซอฟต์แวร์จะถูกลง
·       ซอฟต์แวร์ทำงาน anywhere, anytime, any device
·       ผู้ใช้ซอฟต์แวร์จะซื้อหรือใช้ซอฟต์แวร์จากที่ไหนก็ได้โดยไม่ได้สนใจแหล่ง ที่มาตราบใดที่เราสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ความยึดมั่นของลูกค้าน้อยลง

Source : PwC Global 100 Software Leaders May 2013
ผลกระทบของ IaaS
·       data centers ในประเทศ จะให้บริการ cloud โดยจะต้องเปลี่ยน สถาปัตยกรรมและรูปแบบธุรกิจ
·       จะเหลือ cloud data center ในอาเซียนไม่กี่ราย
·       ผู้ให้บริการต้องแข่งกับรายใหญ่ๆอย่าง; Amazon, Google, IBM, etc.

Source : Forrester Research:2012

แสดงสภาวะตลาดของ IaaS

ผลกระทบของ PaaS
·       การพัฒนาซอฟต์แวร์จะปรับขึ้นสู่ cloud.
·       บริษัทซอฟต์แวร์จะพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้ public IaaS/Paas; Microsoft Azure, Google App Engines, Heroku, Amzaon S3
·       ต้องการทักษะใหม่
·       มีโอกาสที่จะไปขายในต่างประเทศ

ทักษะที่จะเปลี่ยนไป

ตัวอย่างของตำแหน่งงานทางด้าน Cloud

Source : Martin Yates: Chairman Cloud Computing 80 Singapore Computer Society
Cloud computing นั้นจะเกี่ยวข้องกับ cloud services ยกตัวอย่างเช่น servers, storage, database, software, analytics และอื่น ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต
สิ่งที่น่าสนใจคือมีการใช้คำว่า cloud เข้ามาประกอบกับคำว่า computing ซึ่ง cloud เป็นการสื่อถึงการใช้งานผ่าน internet นั่นเอง
บริษัทที่ให้บริการ computing services ผ่านระบบ cloud นั้นเราจะเรียกกันว่า cloud provider ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งให้ใช้งานฟรีซึ่งเอาไว้ให้ผู้ใช้งานรายใหม่ทดลองบริการต่าง ๆ และแบบเสียค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่แล้วจะคิดเงินตามการใช้งานของผู้ใช้
จริง ๆ แล้ว cloud computing ถูกใช้งานมานานแล้ว เพียงแต่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยด้วยคำนี้สักเท่าไหร่ แต่ cloud computing ทำงานอยู่เบื้องต้นบริการต่าง ๆ ที่เราใช้บนอินเตอร์เน็ตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอีเมล ฟังเพลงออนไลน์ หรือบริการฝากรูป เป็นต้น แน่นอนว่าเราสามารถใช้ cloud computing กับการทำงานได้อย่างหลากหลายมาก เบื้องต้นก็อย่างเช่น ใช้ทำ hosting สำหรับเว็บไซต์, ใช้เก็บข้อมูล, ใช้เป็น back-end ให้กับ mobile application เป็นต้น
จุดเด่นของการใช้งาน Cloud Computing
ราคาเริ่มต้นที่ถูกมาก เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ให้บริการจะคิดค่าบริการโดยอิงตามการใช้งาน (usage) หากมีการใช้งานมากขึ้นก็คิดราคาเพิ่ม อย่างในกรณีที่เราจะใช้ทำเป็น server ก็ประหยัดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่า infrastructure การวาง server ค่าไฟฟ้า ค่า hardware ค่าดูแลลรักษาต่าง ๆ เราไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เพราะ cloud provider ได้จัดการให้เราหมดแล้ว
ในแง่ของความเร็วนั้นการใช้งาน cloud service นั้นได้เปรียบมาก ในกรณีที่เราต้องการขยายการใช้งาน service ให้เพียงพอต่อการใช้งาน เราสามารถทำได้ค่อนข้างจะทันท่วงที เพราะสามารถควบคุมได้ผ่านเว็บไซต์ของ cloud providers
ในเรื่องของ reliability หรือความน่าเชื่อถือนั้นค่อนข้างมั่นใจได้ เพราะสามารถทำการ backup ข้อมูลต่าง ๆ ของเราไว้ได้อย่างมีระบบ และทำการ recovery ในในกรณีที่เกิดปัญหารุนแรง
Cloud services แบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ 
1.      IaaS (Infrastructure-as-a-service)
2.      PaaS (Platform-as-a-service)
3.      SaaS (Software-as-a-service)
ซึ่งเราจะมองทั้ง 3 รูปแบบนี้เป็น cloud computing ซ้อนกันเป็น stack ขึ้นไปดังรูปด้านล่างนี้ครับ

Infrastructure-as-a-service (IaaS) นั้นอยู่ล่างสุดของ cloud computing stack ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ IT infrastructure ไม่ว่าจะเป็น servers, virtual machines (VMs) storage, networks, operating systems นั้นล้วนถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ IaaS
Platform-as-a-service (PaaS) จะอยู่บน IaaS อีกทีนึง โดยเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ การทดสอบระบบ รวมไปถึงการจัดการ software application ดังนั้น developers ทั้งหลายหากต้องการที่จะสร้าง application ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น web หรือ mobile apps ก็สามารถมามองที่ PaaS ได้เลย เนื่องจาก infrastructure จะถูกจัดการให้หมดโดย cloud providers อยู่แล้ว (เพราะ PaaS ซ้อนอยู่บน IaaS ตามรูป stack)
Software-as-a-service (SaaS) เป็นส่วนของการ delivering software application ผ่านอินเตอร์เน็ตตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น การ maintenance apps ของเรา หรือการทำ software upgrades หรือการทำ patching ต่าง ๆ สามารถใช้งาน SaaS ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึง stack ชั้นล่าง เพราะ PaaS และ IaaS นั้น cloud services จะจัดการให้ทั้งหมด ซึ่งสะดวกมาก ๆ

ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นบน Cloud Computing Google Apps คือตัวอย่าง Cloud Computing ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดจนหลายๆ คนอาจ จะไม่รู้หรือมองข้าม ซึ่ง Google ให้บริการฟรี ถ้าเรา เคยใช้ Google Apps ในการจัดการเอกสารต่างๆ เช่น Google Docs แล้วแสดงว่าเราก็เคยใช้ Cloud Computing มาแล้ว
การเปรียบเทียบการให้บริการ Cloud Computing
Microsoft  Windows Azure
Microsoft Azure ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับ cloud computing (การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ) โดยมีบริษัท Microsoft เป็น cloud provider
คำว่า Azure นั้น อ่านออกเสียงว่า /AZH-uhr/ หรือก็คือ /อะ-ชัว/ (หากใครนึกไม่ออก ให้เข้าไปฟัง pronunciation)
Azure นั้นเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 (หรือ 7 ปีที่แล้ว) โดยเริ่มแรกใช้ชื่อ Windows Azure และเปลี่ยนมาเป็น Microsoft Azure ในปีค.ศ. 2014
ซึ่ง Azure นั้นถือว่าเป็น cloud deployments แบบ public หรือเรียกสั้น ๆ ว่า public cloud โดย Azure นั้นจะมีการจัดการ infrastructures ทุกอย่างตั้งแต่ hardware ไปจนถึง software โดย cloud service provider ทั้งหมด ในที่นี้ก็คือ Microsoft นั่นเอง โดยการใช้บริการก็จะเป็นการเข้าถึงผ่าน web browser และเข้าไปใช้งานหรือตั้งค่า services ต่าง ๆ โดยใช้ account ที่สมัครไว้
Microsoft Azure เปิดให้ใช้งาน products ที่เกี่ยวข้องกับ cloud services มากมายอาทิเช่น Azure Active Directory, Azure Backup และ Azure Content Delivery Network เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีบริการที่หลากหลายมากมาย ทำให้ในปัจจุบันสามารถนำ cloud services มาปรับใช้กับการทำงานได้อย่างสะดวก
ยกตัวอย่างบริษัทที่มีการใช้งาน Azure ในการให้บริการลูกค้าด้วยระบบ cloud เช่น Rolls-Royce, NBC Universal (ใช้ส่ง notification ไปยัง mobile apps) เป็นต้น
Microsoft ได้เปิดตัว Windows Azure วินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่ที่รันบนอินเทอร์เน็ตที่ถูกหมาย มั่นปั้นมือให้เป็น Cloud OS โดย Windows Azure สนับสนุนเทคโนโลยีหลักของไมโครซอฟท์เช่น .NET Framework และ Visual Studio 2008 ไมโครซอฟท์ ตั้งใจให้ Windows Azure เป็นแพลตฟอร์มหรือรูป แบบมาตรฐานของเทคโนโลยี Cloud Computing เหมือนกับที่วินโดวส์โมบายล์ (Windows Mobile) เป็นแพลตฟอร์มของโปรแกรมบนโทรศัพท์ไมโคร ซอฟท์ ได้แก่ ชุดซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ทั้ง Microsoft Word และ Excel รวมถึง Exchange และ Share Point ในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้ใช้สามารถใช้ งานผ่านเว็บเบราเซอร์โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมบน เครื่องพีซี ซึ่งไมโครซอฟท์คาดหวังที่จะให้บริการ โปรแกรมออฟฟิศออนไลน์ชนิดเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ โปรแกรมที่ทันสมัยมากที่สุด จนถึงเวอร์ชั่นธรรมดา ที่มา Microsoft ไมโครซอฟเผยข้อมูลการสำรวจการใช้บริการ Cloud Computing ในแถวประเทศเอเชียได้แก่ ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, เกาหลี, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศไทยออกมาให้ได้ทราบกันว่า ในแถวประเทศเอเชียนี้บริษัทต่างๆ หันมาใช้บริการ Cloud Computing / Services แทนการลงทุนด้าน Software และ Hardware เองมากน้อยขนาดไหน ซึ่ง บริการ Cloud Computing นั่นถือว่าเป็น บริการที่จะช่วยให้บริษัทไอทีหรือฝ่ายไอทีในแต่ละ บริษัทลดต้นทุนลงพร้อมลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการจ้าง พนักงานมาดูแลระบบ รวมไปถึงการดูแลปัญหา ที่จะต้องมีคนมาคอยดูแลด้วยโดยยอดการใช้งาน Microsoft Offce Web Apps นั้นมีการใช้งานถึง 56% ส่วนคู่แข่งรายอื่นอย่างอยู่ที่ 44% ซึ่งถือว่า Microsoft ประสบความสำเร็จในตลาดเอเชียเลย ทีเดียว Microsoft เผยว่า 3 เหตุผลหลักในการ พิจารณาใช้ Cloud Computing นั้นมีดังนี้ เพื่อลดการจ้างพนักงานดูแลระบบ ลดค่าใช้จ่ายในวางโครงสร้าง ของระบบ และรองรับกรณีเกิดเหตุการ Workloads เมื่อถึงเรื่องความสำคัญของการลด พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว (Green Impact) 63% ตอบว่าจะต้องให้ความสำคัญด้วยในการใช้ระบบ Cloud Computing ประเภทของการใช้ Cloud Computing ในเอเชียแบ่งออกเป็น 11% เป็นประเภท ให้บริการทั่วไป (Public) 44% เป็นประเภทเจาะจง กลุ่มผู้ใช้ (Private) 29% เป็นในลักษณะ Hybrid หรือ เรียกว่าลูกผสม การนำเอา Cloud Computing เข้าไป ใช้ในองค์กรประเภทต่างๆดังนี้ 23% ใช้ในส่วนงานราชการ 26% ใช้ในเรื่องการศึกษา 21% ใช้ในเรื่องสุขภาพ 26% ใช้ในด้านการเงิน 20% ใช้ในอุตสาหกรรม 30% ใช้ในร้านค้าต่างๆ ที่มา Microsoft ตัวอย่าง Cloud Storage เชิงพาณิชย์ Amazon S3 Apple’s Mobile me Symantec’s SwapDrive MOSSO – The Hosting Cloud Box.net Nirvanix SDN BingoDisk จาก Joyent Microsoft’s SkyDrive XDrive Humyo ADrive นอกจากนี้ยังมีการนำระบบปฏิบัติการ Cloud Computing ไปประยุกต์ใช้ในด้านบริการโฆษณา ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจัดการทรัพยากรมนุษย์ และระบบชำระเงินออนไลน์ต่างๆ และนำไปใช้กับ เทคโนโลยี GIS (Geographic Information System) ในการเก็บข้อมูลด้านแผนที่หรือข้อมูลในลักษณะที่ เป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพดาวเทียม (Satellite images) ภาพถ่ายทางอากาศ (Arial photographs) หรือการนำ ไปใช้เพื่อรองรับกับเทคโนโลยี 3G ในอนาคต สู่โลกของ การประมวลผลยุคใหม
คุณสมบัติและฟังก์ชั่นของ Microsoft Azure

Digital marketing

 สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันและมีความต้องการที่แตกต่างกันตาม แพลตฟอร์มดิจิทัลโดยสามารถทำให้ลูกค้าสามารถเปิดตัวและอัปเดตเว็บไซต์เพื่อรองรับการทำตลาดได้อย่างรวดเร็วโดยยึดตามพฤติกรรมของผู้ใช้และความคิดเห็นของลูกค้าหรือการติดตามคู่แข่ง และแคมเปญการตลาดดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและจะต้องเชื่อมต่อกับลูกค้าของคุณในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมได้ตลอดเวลา โดยสามารถสร้างแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ร่วมเพื่อแชร์เนื้อหาตามบริบทและข้อเสนอพิเศษกับลูกค้าของขณะที่ลูกค้ากำลังเดินทางได้

Mobile

 สามารถทำโมบายคอนเน็คหรือติดต่อกับลูกค้าได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามที่มีแบ็กเอนด์สำหรับมือถือเป็นบริการ (MBaaS) โดยการสร้างประสบการณ์ที่เหมาะสมตามความสนใจและพฤติกรรมของลูกค้าและ ลดเวลาในการทำตลาดด้วยบริการเครื่องมือและ DevOps ที่ออกแบบมาเพื่อนำเสนอโซลูชันบนมือถือ

E-commerce

อีคอมเมิร์ซไม่ว่าจะขายอะไรต้องมีโซลูชันอีคอมเมิร์ซที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและธุรกิจสามารถ ดึงดูดลูกค้าผ่านทางผลิตภัณฑ์และข้อเสนอที่กำหนดเองและนอกจากนี้สามารถประมวลผลธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยและมุ่งเน้นไปที่การเติมเต็มและการบริการลูกค้า

Internet of Things

สามารถเชื่อมต่อสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันโดยการเชื่อมต่ออุปกรณ์สินทรัพย์และเซนเซอร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อควบคุม รวบรวมข้อมูล ปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนด้วยการตรวจสอบจากระยะไกล และสามารถคาดการณ์ความล้มเหลวของอุปกรณ์ก่อนที่จะเกิดขึ้นโดยการใช้การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ตรวจสอบล่วงหน้า

Microservice applications

แอ็พพลิเคชัน Microservice สามารถทำให้แอพพลิเคชันปรับขยายได้และเชื่อถือได้เร็วขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของลูกค้าเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น บริการ Born-in-the-Cloud ที่สร้างขึ้นจากแพลตฟอร์ม Microservices ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระสามารถพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและช่วยให้นักพัฒนาใช้งานและใช้ศักยภาพเต็มรูปแบบของ ระบบ Cloud ได้

Business intelligence

สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของ บริษัท เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่มีข้อมูล รับข้อมูลเชิงลึกลึกลงไปในข้อมูลเพื่อรับทราบแนวโน้มของจุดสังเกตและแนวโน้มที่เกิดขึ้น ด้วยโซลูชันและเครื่องมือทางธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) ที่ทันสมัยองค์กรสามารถเข้าใจและดำเนินการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

Big data and analytics

ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำให้วิเคราะห์และตัดสินใจได้ดีขึ้นโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลในแบบเรียลไทม์ รับข้อมูลเชิงลึกที่ต้องการเพื่อให้การดำเนินการที่ชาญฉลาดซึ่งจะช่วยเพิ่มความผูกพันกับลูกค้าเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย

Cloud migration

การโยกย้ายระบบคลาวด์โดยโยกย้ายไปยังระบบคลาวด์อื่นๆไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยุ่งยากหรือชักช้า โดยสามารถแปลงข้อมูลดิจิทัล ได้เร็วขึ้นด้วยกระบวนการโยกย้ายระบบคลาวด์ที่ครอบคลุมของ Azure ซึ่งจะไปสู่การประเมินผลที่สามารถกำหนดได้เองเพื่อเพิ่มปริมาณงานที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Backup and archive

 การสำรองข้อมูลและเก็บถาวรปกป้องข้อมูลและแอพพลิเคชันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักทางธุรกิจหรือเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด ของการขยายฐานข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลในสถานที่อย่างปลอดภัยเพื่อลดต้นทุนและความซับซ้อนในสถานประกอบการในขณะที่ประสิทธิภาพและความสามารถในการปรับขยายได้อย่างปลอดภัย

Development and test

 การพัฒนาและทดสอบและนำเสนอคุณลักษณะเพิ่มเติมได้เร็วขึ้นนอกจากนี้ยังสามารถติดตามชุดเครื่องมือและเครื่องมือทดสอบและพัฒนาต่างๆเพื่อให้องค์กรหรือทีมสามารถทำงานร่วมกันและส่งมอบงานได้อย่างรวดเร็ว  สร้างสภาพแวดล้อมการพัฒนาและทดสอบได้อย่างรวดเร็วบนข้อกำหนดผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการ

Business SaaS apps

 สำหรับธุรกิจการให้บริการและและเพิ่มจำนวนลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจจาก Azure เพื่อสร้างแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ (SaaS) ที่ให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานความปลอดภัยของข้อมูลและความยืดหยุ่นในการสร้างรายได้เมื่อเทียบกับการสร้างแอพพลิเคชันแบบดั้งเดิมตามรูปแบบ AMI-Partners Global Model

Data warehouse

คลังข้อมูลที่ใช้ข้อมูลในปัจจุบันต้องการโซลูชันคลังข้อมูลแบบใหม่ ที่สามารถปรับขนาดตามคำขอได้อย่างแท้จริงและสามารถหยุดชั่วคราวเมื่อไม่ใช้งานจัดการข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกประเภทข้อมูลนอกจากนี้ยังสามารถปกป้องการเข้าถึงข้อมูลและนำเสนอการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สำหรับการแปลงธุรกิจได้

Disaster recovery

 การหยุดชะงักของระบบแม้จะเพียงเล็กน้อยจะทำให้คุณเสียเปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังนั้นAzure จะมาพร้อมกับแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจซึ่งรวมถึงการกู้คืนความเสียหายสำหรับระบบไอทีรายใหญ่ทั้งหมดโดยไม่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานสำรองใดๆ

Hybrid integration

 การผสมผสานโดยวิธีการแบบคราวไฮบริดนำเสนอวิธีที่ดีที่สุดในระบบคลาวด์และวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพที่มีอยู่โดยการใช้โซลูชันการผสานรวมแบบผสมช่วยให้สามารถผสานรวมแอพพลิเคชันข้อมูลและกระบวนการต่างๆได้อย่างลงตัวโดยการสร้างองค์กรที่ใช้งาน API และเชื่อมต่อกันทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวยิ่งขึ้น

SAP on Azure

 สามารถ ปรับใช้โซลูชันของ SAP ได้อย่างรวดเร็วทั้งสถานการณ์การทดสอบและการผลิต dev บนแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ที่ครอบคลุมมากที่สุดโดยมีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมสำหรับปริมาณงาน SAP และ SAP HANA ที่ใหญ่ที่สุดได้ด้วย

SharePoint on Azure

 โฮสต์ฟาร์ม SharePoint ใน Azure สามารถปรับขนาดได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการและประหยัดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสำหรับการพัฒนาการทดสอบการจัดเวทีการผลิตหรือการกู้คืนระบบ Azure สมบูรณ์แบบสำหรับปริมาณงาน SharePoint

Dynamics on Azure

 Azure สามารถตัดสินใจอย่างชาญฉลาดโดยมีการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจให้เร็วขึ้นและการเติบโตของธุรกิจโดยใช้โซลูชัน ERP (Enterprise Resource Planning) ของระบบคลาวด์ที่สร้างขึ้นสำหรับ Azure ซึ่งรวมเอา ERP, Business Intelligence, Infrastructure, Compute และ Database ไว้ด้วย

High performance computing

 ปลดปล่อยจากค่าใช้จ่ายและข้อ จำกัด ของโครงสร้างพื้นฐานในสถานที่ที่ เข้าถึงแหล่งข้อมูลแบบไม่จำกัดจำนวนเพื่อคำนวณงานคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (HPC) – วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การจำลองแบบจำลองทางการเงินและการทดลองและลดเวลาในการทำตลาด

Digital media

 จากการเผยแพร่เนื้อหาวิดีโอระดับพรีเมี่ยมทั่วโลกเพื่อดึงดูดและให้ความรู้แก่พนักงานในองค์กรโดยการเชื่อมต่อและโต้ตอบกับลูกค้า สามารถใช้พลังของสื่อในการแปลงธุรกิจ สร้างและใช้งานโซลูชันวิดีโอได้อย่างรวดเร็วตามขนาดต้องการและนำเสนอวิดีโอได้ทุกที่ทุกเวลาบนอุปกรณ์ใดๆก็ได้

Gaming

รองรับการสร้างแพลตฟอร์มเกมส์ต่างๆและสามารถสร้างเกมส์เปิดตัวเกมได้อย่างรวดเร็ว

Blockchain

เป็นบริการการพัฒนาทดสอบและปรับใช้ แอพพลิเคชั่น บล็อกเชน ได้
Amazon EC2 (Amazon Elastic Compute Cloud)
EC2 มีตัวเลือกของเซิร์ฟเวอร์อยู่ เราเรียกคำว่า ชนิดของเซิร์ฟเวอร์เสมือนของบริการ EC2 ว่า instance type โดยแต่ละ instance type เหมาะสำหรับงานหรือแอพพลิเคชันที่แตกต่างกันไป เช่น High-CPU Medium Instance เหมาะสำหรับการประมวลผลหนักๆ, High-Memory Extra Large เหมาะกับแอพพลิเคชันที่ต้องการแรมเยอะๆ, Micro Instance เหมาะกับงานที่มีโหลดไม่มาก, และ Cluster GPU Quadruple Extra Large เหมาะกับงานที่ต้องประมวลผลบนหน่วยประมวลผลกราฟิก เป็นต้น อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้อาจจะเป็นจุดด้อยของ EC2 ก็ได้ เพราะ instance type ทั้ง 11 ชนิดก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม ถ้าจะให้ดี EC2 น่าจะยอมให้ลูกค้าออกแบบเซิร์ฟเวอร์เสมือนตามต้องการได้เองด้วย แต่ Amazon ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายในการจัดสรรทรัพยากรคอมพิวเตอร์หากลูกค้าออกแบบเซิร์ฟเวอร์ได้ตามใจค่าเช่าเซิร์ฟเวอร์ของ EC2 คิดตามการใช้งานจริง (หรือ pay-per-use) และไม่ต้องติดสัญญาผูกมัดกับการใช้บริการ ใช้เท่าไหร่ก็จ่ายตามจริง และอยากเลิกใช้บริการเมื่อไหร่ก็ได้ ทาง Amazon เรียกการคิดราคาดังกล่าวว่า On-Demand Instances ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารันเซิร์ฟเวอร์บน EC2 แบบ Small Instance จำนวนหนึ่งเครื่องเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นเราก็เลิกใช้บริการ EC2 ทาง Amazon เขาจะคิดค่าเช่าเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น หากคิดแค่ค่าเช่าซีพียูอย่างเดียว Small Instance มีราคาเริ่มต้นที่ 0.085 เหรียญต่อชั่วโมง ดังนั้น ถ้ารัน 2 ชั่วโมง ก็จ่ายเพียง 0.085 x 2 = 0.17 เหรียญ
ราคาค่าเช่าเซิร์ฟเวอร์ที่สมเหตุสมผล จุดนี้ราคาการเช่าใช้งานถูกหรือแพงนั้นขึ้นกับลักษณะของระบบและต้องอาศัยการวิเคราะห์ เช่น cost-benefit analysis รวมถึงศาสตร์อื่นๆอย่าง risk analysis ร่วมด้วย เป็นต้น ราคาค่าเช่าการประมวลผลของ EC2 เริ่มต้นที่ 0.02 เหรียญต่อชั่วโมง (ประมาณ 60 สตางค์ต่อชั่วโมง หรือ 430 บาทต่อเดือน) อย่างไรก็ดี การคำนวณค่าใช้จ่ายจริงของ EC2 ต้องคิดค่าเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ปริมาณการใช้เครือข่าย และบริการเสริมอื่นๆด้วย
ผู้ใช้สามารถเพิ่มขนาดฮาร์ดดิสก์และจำนวนฮาร์ดดิสก์ให้กับเซิร์ฟเวอร์เสมือนได้ โดยฮาร์ดดิสก์ดังกล่าวเป็นฮาร์ดดิสก์เสมือนที่เรียกว่า Elastic Block Storage (EBS) ลูกค้าสามารถเลือกฮาร์ดดิสก์ EBS ขนาด 1 GB ถึง 1 TB ต่อก้อนได้ และมีราคาอยู่ที่ 0.10 เหรียญต่อ 1 GB ต่อเดือน นอกจากนี้ มีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงฮาร์ดดิสก์ด้วย อยู่ที่ 0.10 เหรียญต่อคำสั่ง I/O หนึ่งล้านคำสั่ง นั่นหมายความว่า ถ้าเราใช้ฮาร์ดดิสก์บ่อยมาก เราก็ต้องจ่ายมากไปด้วย
ผู้ใช้สามารถสร้างกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์เสมือน (หรือคลัสเตอร์) เพื่อใช้ในการประมวลผลแอพพลิเคชันชนิดเดียวกันเพื่อรองรับโหลดงานที่มีจำนวนมากได้ อีกทั้ง EC2 จัดเตรียม load balancer ชื่อ Elastic Load Balancing สำหรับแบ่งเบาภาระระหว่างเซิร์ฟเวอร์ (แต่ไม่ฟรี) ผู้ใช้สามารถเลือก load balancer เจ้าอื่นๆมาใช้ก็ได้
Auto scaling เป็นบริการฟรีใน EC2 เป็นบริการเติมเต็มคุณสมบัติ elasticity และ on-demand ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของ cloud computing โดย auto scaling ทำให้ลูกค้าสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองต่อปริมาณโหลดของเซิร์ฟเวอร์ที่แกว่งขึ้นๆลงๆได้
Amazon มี data center อยู่หลายแห่ง และ Amazon แบ่งเขต data center ออกเป็นโซนๆ (หรือ Availability Zone) ทำให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ไว้ที่โซนไหน และยังสามารถโฮสต์เซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องสำหรับงานเดียวกันไว้ในหลายๆโซนได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการเพิ่ม availability ของระบบ (อันเป็นตัวรับประกันความอยู่รอดของระบบ) และยังทำให้เซิร์ฟเวอร์อยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมายของเซิร์ฟเวอร์มากยิ่งขึ้นด้วย อันทำให้การเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์รวดเร็วขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ Amazon ยังแบ่งโซนต่างๆออกเป็นภูมิภาคหรือที่เรียกว่า region แต่ละ region ครอบคลุมหลายโซน ตอนนี้รวมแล้วมีทั้งหมด 4 region คือ US – N. Virginia (อเมริกาฝั่งตะวันออก), US – N. California (อเมริกาฝั่งตะวันตก), EU – Ireland (ฝั่งยุโรปที่ไอร์แลนด์), APAC – Singapore (ฝั่งเอเชียแปซิฟิกที่สิงคโปร์)
สามารถเช่าเซิร์ฟเวอร์บน EC2 แบบติดสัญญาได้ เรียกว่า Reserved Instances ซึ่งเราจะได้ราคารายชั่วโมงที่ถูกกว่า On-Demand Instances หากแต่เราต้องทำสัญญาเช่าเป็นรายปีหรือรายสามปี และต้องจ่ายค่าเช่า (หรือค่าจอง) เป็นเงินก้อนโตก้อนหนึ่งตอนทำสัญญา เช่น Small Instance ที่ US – N. Virginia มีราคาเช่าที่ 227.50 เหรียญสำหรับสัญญาหนึ่งปี และในหนึ่งปี ลูกค้าจะได้ส่วนลดค่ารันเซิร์ฟเวอร์ในราคาเพียง 0.03 เหรียญต่อชั่วโมง (เทียบกับราคาของ On-demand Instances อยู่ที่ 0.085 เหรียญ)
นอกจาก On-demand Instances กับ Reserved Instances ทาง EC2 ยังมี Spot Instances ซึ่งเป็นการเช่าเซิร์ฟเวอร์ในราคาที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ราคานี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกๆ 30 นาที โดยปกติราคาของเซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้จะถูกกว่า On-demand และ Reserved ทั้งนี้ ลูกค้าที่อยากเช่าเซิร์ฟเวอร์แบบ Spot Instances จะต้องแข่งขันเสนอราคากับลูกค้าท่านอื่นๆ และ Amazon จะพิจารณาราคาที่ลูกค้าทั้งหลายเสนอก็ต่อเมื่อ Amazon มีทรัพยากรเหลือพอที่จะให้เช่าในราคาที่ถูก จากนั้น Amazon จะเลือกราคาที่เหมาะสมที่สุด เช่น เป็นราคาที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการและเป็นราคาที่ Amazon พึงพอใจ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Small Instances ที่ US – N. Virginia มีราคาประมาณ 0.30 เหรียญต่อชั่วโมง (อาจแกว่งขึ้นลงจากนี้ได้) ซึ่งสังเกตได้ว่าราคาไม่ต่างจาก Reserved Instances หากแต่ว่าลูกค้าไม่ต้องจ่ายสัญญาเช่าผูกมัดอย่างที่ต้องทำกับ Reserved Instances อย่างไรก็ดี Spot Instances ก็มีข้อจำกัด (อาจเป็นจุดด้อย) ตรงที่ว่า เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้สามารถถูก shut down โดย Amazon เมื่อไหร่ก็ได้ เพราะอย่าลืมว่า ราคาของ Spot Instances เปลี่ยนแปลงถี่มาก ถ้าหากลูกค้าเสนอราคาที่ต่ำกว่าราคาล่าสุด จะทำให้ Spot Instances หยุดตัวเองกระทันหัน ดังนั้น เพื่อรับประกัน availability ของระบบ ลูกค้าจำเป็นต้องเสนอราคาสูงเท่าที่จะจ่ายได้อย่างสม่ำเสมอ และควรมีระบบ backup ที่มีประสิทธิภาพในกรณีที่ราคาเสนอนั้นต่ำไป แนะนำว่าไม่ควรรันระบบที่สำคัญกับ Spot Instances และควรอ่านคำแนะนำการใช้ Spot Instances ที่ Amazon ให้เข้าใจก่อนตัดสินซื้อ
Amazon มีบริการ Amazon Virtual Private Cloud (VPC) สำหรับเชื่อมบริการ EC2 และบริการอื่นๆของ Amazon เข้ากับ private cloud ขององค์กร (เช่น data center หรือ local network ขององค์กร) โดยเป็นการต่อเชื่อมผ่านทางเครือข่าย VPN (คิดค่าบริการ)
EC2 มีบริการเสริมอื่นๆมากมาย (ส่วนใหญ่ไม่ฟรี) โดยลูกค้าสามารถเลือกฟีเจอร์ที่ต้องการเสริมให้กับเซิร์ฟเวอร์ตามแต่ต้องการได้ อาทิเช่น Amazon S3 สำหรับจัดเก็บข้อมูลออนไลน์, Amazon CloudFront สำหรับ CDN, Amazon SimpleDB และ RDS สำหรับฐานข้อมูล เป็นต้น
สามารถเอา image ของเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่สร้างโดย VMware ไปโฮสต์บน EC2 ได้โดยวิธีที่เรียกว่า VM ImportAmazon EC2 รับโฮสต์ คอมพิวเตอร์เสมือน (virtual Machine) ของผู้ใช้และเก็บเงินโดยคิดตามการใช้งาน CPU และ ปริมาณการรับส่งข้อมูล สำหรับข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บบน Amazon S3 (Amazon Simple Storage Services) ซึ่งเป็นบริการเก็บข้อมูลซึ่งใช้หลักการของ cloud computing เช่นกัน สำหรับการใช้งาน ผู้ใช้ต้องสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนเรียกว่า AMI (Amazon Machine Language) ขึ้นบนระบบ S3 ซึ่งเป็นส่วนเก็บข้อมูล ท้ายที่สุดเมื่อผู้ใช้สั่งให้ AMI ทำงาน ทาง amazon ก็จะเริ่มเก็บเงินตามอัตราที่กำหนดไว้ การติดต่อกับคอมพิวเตอร์เสมือนที่ทำงานจะทำผ่าน เว็บเซอร์วิส โดยใช้ Java เป็นหลัก
บริการเว็บโฮสติ้งจาก  Amazon Web Services นำเสนอโซลูชันการให้บริการพื้นที่เว็บโฮสติ้งที่ให้ธุรกิจองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรและองค์กรภาครัฐด้วยวิธีที่ยืดหยุ่นสามารถปรับขนาดได้และต้นทุนต่ำเพื่อให้บริการเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนเว็บของตนได้
มีการสำรองข้อมูลและการกู้คืนโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลของ Amazon Web Services (AWS) ได้รับการออกแบบมาเพื่อมอบพื้นที่เก็บข้อมูลที่มีการรักษาความปลอดภัยขยายขีดความสามารถและทนทานสำหรับธุรกิจที่ต้องการบรรลุประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นภายในสภาพแวดล้อมการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลโดยไม่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานในสถานที่นั้นๆ
คลังข้อมูล Amazon Web Services มีบริการเก็บข้อมูลระบบคลาวด์ครบชุดสำหรับเก็บข้อมูล สามารถเลือก Amazon Glacier เพื่อเก็บข้อมูลระบบคลาวด์ที่มีความละเอียดอ่อนและไม่มีเวลาหรือ Amazon Simple Storage Service (S3) เพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นอยู่กับความต้องการ ด้วย AWS Storage Gateway และระบบของผู้ให้บริการโซลูชั่นสามารถสร้างโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจร
AWS cloud ช่วยให้สามารถกู้คืนระบบไอทีที่สำคัญได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานสำรองของไซต์ คราวน์  AWS รองรับสถาปัตยกรรมการกู้คืนระบบ (recovery disaster) ที่เหมาะสำหรับความต้องการของศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กช่วยสามารถฟื้นฟูระบบการทำงาน ได้อย่างรวดเร็วในระดับต่างๆ ด้วยศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก AWS มีชุดบริการกู้คืนระบบแบบคลาวด์ซึ่งจะช่วยให้สามารถกู้คืนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
AWS จัดเตรียมชุดบริการที่ยืดหยุ่นซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้ บริษัท ต่างๆสามารถสร้างและส่งมอบผลิตภัณฑ์โดยใช้ AWS และ DevOps ได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้มากขึ้น บริการเหล่านี้ช่วยให้การจัดเตรียมและจัดการโครงสร้างพื้นฐานทำได้ง่ายขึ้นการปรับใช้รหัสแอ็พพลิเคชันการทำให้กระบวนการปล่อยซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างอัตโนมัติและการตรวจสอบประสิทธิภาพแอพพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐาน DevOps คือเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการนำเสนอแอพพลิเคชันและบริการด้วยความเร็วสูงทำให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ก้าวเร็วกว่าองค์กรที่ใช้กระบวนการจัดการซอฟต์แวร์และกระบวนการจัดการโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม ความเร็วนี้ช่วยให้องค์กรสามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในตลาด
Amazon Web Services มีบริการหลากหลายเพื่อช่วยในการสร้างและใช้แอพพลิเคชันวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย AWS ช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรไอทีที่มีความยืดหยุ่นและต้นทุนต่ำได้อย่างรวดเร็วดังนั้นสามารถปรับใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วรวมถึงคลังข้อมูล การวิเคราะห์การคลิก การตรวจสอบการทุจริต กิจกรรมการประมวลผลแบบไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์และอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆ การประมวลผล ด้วย AWS ไม่จำเป็นต้องลงทุนล่วงหน้าทั้งเงินและเวลาเพื่อสร้างและบำรุงรักษาระบบโครงสร้างพื้นฐาน แต่สามารถจัดเตรียมประเภทและขนาดที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชันวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้มากเท่าที่ต้องการเกือบจะในทันทีและจ่ายเฉพาะสิ่งที่ต้องการใช้งานเท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนทั่วโลกหรือการเริ่มต้น Fintech ที่เกิดขึ้นใหม่ AWS สามารถช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ สัมพันธ์กับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการได้โดยอัตโนมัติและเพิ่มความปลอดภัยเพิ่มมูลค่าของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและลดค่าใช้จ่าย ลูกค้าด้านบริการทางการเงินอย่าง Capital One, FINRA, Nasdaq และ Pacific Life กำลังเคลื่อนย้ายระบบปริมาณงานที่สำคัญไปยัง AWS และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านต่างๆเช่นการประมวลผลประสิทธิภาพสูงการวิเคราะห์ข้อมูลการแปลงระบบดิจิทัลการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดและการกู้คืนระบบ แทนที่จะถูกจำกัด ด้วยเทคโนโลยีลูกค้า AWS พยายามทำให้เกิดนวัตกรรมและเปิดโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ
คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing - HPC) ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนซับซ้อนและใช้ข้อมูลจำนวนมากได้ การใช้งาน HPC มักต้องการประสิทธิภาพของเครือข่ายที่สูงการจัดเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็วหน่วยความจำจำนวนมากความสามารถในการคำนวณที่สูงมากหรือทั้งหมดนี้ AWS ช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความเร็วในการวิจัยและลดเวลาในการได้ผลการประมวลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในระบบคลาวด์และปรับขนาดให้เป็นจำนวนมากของงาน HPC แบบคู่ขนานมากกว่าที่จะเป็นจริง HPC ที่ติดตั้ง ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยการให้บริการเซิร์ฟเวอร์ CPU, GPU และ FPGA ตามความต้องการเหมาะสำหรับแอพพลิเคชั่นเฉพาะและไม่จำเป็นต้องลงทุนขนาดใหญ่ สามารถเข้าถึงเครือข่ายแบนด์วิธแบบเต็มรูปแบบสำหรับงานที่ต้องใช้ปริมาณมากและใช้งานร่วมกันได้อย่างเพียงพอซึ่งช่วยให้คุณสามารถปรับขนาดได้หลายพันคอร์(การประมวลผลของคอมพิวเตอร์)เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วขึ้น

การตลาดดิจิทัล Amazon Web Services นำเสนอโซลูชันการประมวลผลแบบคลาวด์ที่ช่วยให้ธุรกิจการตลาดออนไลน์และดิจิทัลมีความยืดหยุ่นยืดหยุ่นและมีต้นทุนต่ำเพื่อให้บริการเนื้อหาของตน
แอพพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ Amazon Web Services นำเสนอโซลูชั่นอีคอมเมิร์ซ cloud computing แก่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่ต้องการโซลูชั่นที่มีความยืดหยุ่นปลอดภัยสามารถปรับขนาดได้และต้นทุนต่ำสำหรับการขายและค้าปลีกออนไลน์
บริษัท ด้านสื่อและความบันเทิงใช้ประโยชน์จากความต้องการโดยการจ่ายเงินตามผลประโยชน์ของ AWS ในการสร้างภาพยนตร์วิดีโอสตรีมรายการออกอากาศและเผยแพร่เนื้อหาทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ระบบ AWS Cloud และระบบไอทีของคู่ค้ามีโซลูชันที่สามารถปรับขนาดได้ยืดหยุ่นและปลอดภัยสำหรับการส่งผ่านข้อมูลเก็บรักษาประมวลผลการกระจายและวิเคราะห์เนื้อหาวิดีโอเสียงและสื่อดิจิทัลต่างๆ
WS ให้บริการหลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยในการพัฒนาแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งสามารถขยายไปถึงผู้ใช้หลายร้อยล้านคนและเข้าถึงผู้ชมทั่วโลก ด้วย AWS สามารถเริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็วตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีคุณภาพสูงโดยการทดสอบอุปกรณ์จริงในระบบคลาวด์และวัดและปรับปรุงการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ทุกสิ่งที่ต้องการเพื่อสร้างแอพพลิเคชันบนมือถือชุดบริการระบบคลาวด์ที่หลากหลาย AWS เสนอชุดบริการที่มีการจัดการอย่างเต็มที่และปรับขนาดได้อย่างกว้างขวางเพื่อให้สามารถรวมตรรกะจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลการติดตามสตรีมมิ่งการจัดส่งเนื้อหาคลังข้อมูลและการเรียนรู้ด้วยเครื่อง ในแอปโดยไม่ต้องจัดการโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ เครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถเพิ่มบริการคลาวด์ลงในแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ง่าย การสร้างแบ็กเอนด์สำหรับมือถือไร้สาย จัดการข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้และการลงชื่อเข้าใช้ ส่งการแจ้งเตือนแบบพุทการติดตามรูปแบบการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพแอปด้วยการวิเคราะห์ในแอป ทดสอบกับอุปกรณ์จริงจำนวนมาก

Internet of Things (IoT) เป็นคำที่เควินแอชตัน (Kevin Ashton) ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีของอังกฤษทำงานเกี่ยวกับบัตรประจำตัวคลื่นวิทยุ (RFID) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นระบบเซ็นเซอร์ที่แพร่หลายเชื่อมต่อโลกทางกายภาพเข้ากับอินเทอร์เน็ต แม้ว่าสิ่งต่างๆทางอินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อจะเป็นส่วนประกอบหลักสามส่วนของ IoT ช่วยในการปิดช่องว่างระหว่างโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลในระบบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อของ AWS ได้สร้างบริการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ IoT เช่น AWS Greengrass และ AWS IoT ช่วยให้รวบรวมและส่งข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ช่วยให้สามารถโหลดและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวได้ง่ายและสามารถจัดการอุปกรณ์ได้ดังนั้นจึงสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาแอพพลิเคชันที่เหมาะสมกับความต้องการของได้
Enterprise Cloud Computing กับ AWS ช่วยให้องค์กรต่างๆสามารถนำระบบคลาวด์มาใช้งานได้อย่างประสบความสำเร็จ Amazon Web Services จะให้บริการที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะสำหรับความต้องการด้านความปลอดภัยการปฏิบัติตามข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวและการกำกับดูแลที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรขนาดใหญ่ ด้วยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทั้งแบบกว้างและแบบลึกบริการและบริการสนับสนุนระดับมืออาชีพของลูกค้าโปรแกรมการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและระบบ AWS ที่แข็งแรงนับหมื่นของระบบนิเวศ AWS จะช่วยให้ก้าวไปได้อย่างรวดเร็วและทำได้มากขึ้น
แอ็พพลิเคชั่นธุรกิจ ทำให้แอพพลิเคชันทางธุรกิจที่สำคัญเช่น Microsoft, SAP และ Oracle ใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามธุรกิจในปัจจุบันยังมีการสร้างแอพพลิเคชันทางธุรกิจในระบบคลาวด์เพื่อเพิ่มรายได้ สิ่งที่ต้องการคือความต้องการ: ความพร้อมใช้งานความคล่องตัวและความยืดหยุ่นเป็นกุญแจสำคัญ บริษัท ทุกขนาดกำลังเรียกใช้แอปพลิเคชั่นเว็บธุรกิจของตนในระบบคลาวด์เพื่อลดความซับซ้อนในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานปรับใช้อย่างรวดเร็วลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ ดำเนินธุรกิจที่มีอยู่ใน AWS พร้อมกับสร้างอนาคตของธุรกิจบน AWS ด้วย
Amazon CloudFront - เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) Amazon CloudFront เป็นบริการเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหาทั่วโลก (CDN) ที่ช่วยเร่งการจัดส่งเว็บไซต์ API เนื้อหาวิดีโอหรือเนื้อหาบนเว็บอื่น ๆ ผ่านการแคช CDN โดยจะมีการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ Amazon Web Services อื่น ๆ เพื่อช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์และธุรกิจสามารถเพิ่มเนื้อหาให้กับผู้ใช้ปลายทางโดยไม่ต้องมีภาระผูกพันในการใช้งานขั้นต่ำ
โรงพยาบาลชุมชนหรือ บริษัท ด้านเภสัชกรรมทั่วโลก AWS ช่วยเพิ่มความคล่องตัวปรับปรุงการทำงานร่วมกันและทำให้สามารถทดลองและใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น องค์กรทั่วๆไปอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ใช้ AWS สำหรับทุกอย่างตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงระบบสารสนเทศทางคลินิก โรงพยาบาลต่างๆ
AWS สำหรับนักพัฒนาเกม Amazon Web Services นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์วิดีโอทุกแพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ มือถือคอนโซลพีซีและออนไลน์ จากคอนโซล AAA และเกมพีซีไปจนถึงเกมด้านการศึกษาและเกมที่มีเนื้อหารุนแรง  AWS จะจัดหาเซิร์ฟเวอร์ส่วนหลังและให้บริการโฮสติ้งสำหรับสตูดิโอเกมของคุณ สร้างและกระจายใช้งานรวมถึงการแจกจ่าย วิเคราะห์และสร้างรายได้ด้วย AWS สามารถช่วยในการเริ่มต้นโดยการให้คำปรึกษาจากด้านการขายสามารถช่วยให้เริ่มต้นการพัฒนาเกมส์ได้ทันที
AWS ให้บริการฐานข้อมูลที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับความต้องการ  บริการฐานข้อมูลเหล่านี้มีการจัดการอย่างเต็มที่และสามารถเปิดตัวได้ในไม่กี่นาทีด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง บริการฐานข้อมูล AWS ประกอบด้วยบริการ Amazon Relational Database Service (Amazon RDS) โดยมีการสนับสนุนหกฐานข้อมูลที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ Amazon Aurora ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่ใช้งานได้กับ MySQL ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงถึง 5 เท่า Amazon DynamoDB บริการฐานข้อมูล NoSQL ที่รวดเร็วและยืดหยุ่น Amazon Redshift , บริการคลังข้อมูลขนาด petabyte และ Amazon Elasticache บริการแคชในหน่วยความจำโดยสนับสนุน Memcached และ Redis นอกจากนี้ AWS ยังให้บริการ AWS Database Migration Service ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้การย้ายฐานข้อมูลไปใช้ AWS cloud เป็นเรื่องง่ายและราคาไม่แพง
การวิจัยและการคำนวณด้านเทคนิคเกี่ยวกับ AWS AWS ช่วยให้นักวิจัยสามารถประมวลผลปริมาณงานที่ซับซ้อนได้โดยการจัดหาความสามารถในการคำนวณการจัดเก็บและฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสามารถปรับขนาดและรักษาความปลอดภัยที่จำเป็นในการเร่งเวลาให้กับวิทยาศาสตร์ ด้วย AWS นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์ท่อข้อมูลขนาดใหญ่เก็บข้อมูล petabytes และแชร์ผลกับผู้ทำงานร่วมกันทั่วโลกโดยมุ่งเน้นที่วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เซิร์ฟเวอร์
ในระบบคลาวด์ (AWS) ของรัฐบาล AWS นำเสนอเสนอโซลูชันที่ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับรัฐบาลโดยการบริการระบบคลาวด์สามารถทำงานได้เพื่อตอบสนองความต้องการลดค่าใช้จ่ายเพิ่มประสิทธิภาพของไดรฟ์และเพิ่มนวัตกรรมในหน่วยงานพลเรือนและกระทรวงต่างๆ เป็นรูปแบบการจ่ายเงินตามที่ต้องการโดยการเข้าถึงทรัพยากรเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งได้รับการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ เข้าถึงบริการ AWS ผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (ไม่มีการลงทุน) และจ่ายเฉพาะการใช้งานทรัพยากรที่ใช้สำหรับเข้าระบบเท่านั้น
เป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดการริเริ่มข้อมูลด้านความทันสมัยด้านความปลอดภัยสาธารณะ การปฏิรูปการศึกษา การปรับปรุงบริการประชาชนหรือโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ โดยที่รัฐบาลหรือองค์กรท้องถิ่นมากขึ้นก็หันมาใช้ Amazon Web Services เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่าประหยัดและมีความยืดหยุ่นที่จำเป็นเพื่อสร้างความแตกต่าง
AWS ในด้านการศึกษาไม่ว่าคุณจะกำลังเริ่มต้นการเดินทางในระบบคลาวด์หรือใช้กลยุทธ์ระบบคลาวด์เป็นครั้งแรก AWS มีทางออกที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนเปิดตัวโครงการริเริ่มด้านการศึกษาของนักศึกษาและจัดการการดำเนินงานด้านไอที AWS นำเสนอชุดการคำนวณการจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลการวิเคราะห์แอพพลิเคชันและการปรับใช้บริการที่ลดค่าใช้จ่ายการประยุกต์ใช้งานขนาดใหญ่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วในภาวะฉุกเฉินและตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเรียนสมัยใหม่
Nonprofits & NGOs นับหมื่นขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไรและองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วโลกใช้ AWS เพื่อสร้างเว็บไซต์ที่พร้อมใช้งานและสามารถปรับขนาดได้อย่างมาก ธุรกิจหลักของโฮสต์และระบบที่มุ่งเน้นการทำงานของพนักงานและจัดการความพยายามของผู้บริจาคและการระดมทุนเพื่อให้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเปิดโอกาสให้กับนวัตกรรมและในท้ายที่สุดทำให้โลกเป็นสถานที่ที่ดีขึ้นผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆได้
No.
Solution
MS Azure
Amazon EC2 
1
Digital marketing
2
Mobile
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
ตารางเปรียบเทียบการให้บริการ Cloud Computing  Windows Azure, Amazon EC2
การเปรียบเทียบการวัดประสิทธิภาพ

ภาพจาก www.eci.com
ปัจจุบันเทคโนโลยี Cloud เข้ามามีบทบาทกับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่จะรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจะต้องควักเงินก้อนใหญ่เพื่อลงทุนซื้อ Hardware ใหม่ ทำให้ทุกวันนี้มีผู้บริการมากมายกว่า 20 เจ้า  ด้วยเหตุนี้จึงมีบริการของ Cloud Spector ที่เข้ามาตรวจสอบดูผู้ให้บริการ Cloud เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ทำธุรกิจทั้งหลายได้รู้ว่าตัวไหนมีประสิทธิภาพดีที่สุดด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด
รายงานจากทาง Cloud Spectator นี้จะนำผู้ให้บริการ 5 รายใหญ่ในปัจจุบัน มาทำการวัดประสิทธิภาพ ได้แก่ Amazon EC2, Rackspace OpenStack Cloud, HP Cloud, SoftLayer CloudLayer Compute และ Windows Azure. โดยใช้เวลา 5 วันในการดูประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งสิ่งที่พบก็ค่อนข้างน่าสนใจและผิดกับที่หลาย ๆ คนคิดกัน
ก่อนอื่น ย้อนกลับไปเมื่อปี 2011 เราได้เห็นการแข่งขันเรื่องราคากันอย่างหนัก โดยในช่วงปีนั้นมีผู้ให้บริการที่แข่งกัน 3 รายใหญ่ ได้แก่ Amazon EC2, HP Cloud และ Windows Azure และทั้งหมดเคลมตัวเองกับลูกค้าและผู้ที่สนใจว่ามีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่สิ่งที่จะพูดถึงในบทความนี้จะบอกถึงว่าการที่มีราคาที่ถูกที่สุดนั้นจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่จะคิดควรเป็นการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพเพื่อนำไปพิจารณาควบคู่กับคุณสมบัติอื่นๆ ที่ผู้ให้บริการมีให้ด้วย เพราะการพิจารณาแค่ด้านใดด้านเดียวในเรื่องของการลงทุนในเรื่องไอทีนั้นคงไม่เหมาะสมนัก

มาดูกันว่า Cloud Spectator มีวิธีการทดสอบและผลการทดสอบประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ Cloud ทั้ง 5 เจ้าเป็นอย่างไรบ้างครับ

วิธีการทดสอบ

การทดสอบนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 – 29 พฤษภาคม 2556 โดยทำการทดสอบ 3 ครั้งต่อวัน และจะบันทึกค่าสูงสุดและต่ำสุดที่เกิดขึ้นแต่ละวันไว้เพื่อพล็อตกราฟ สำหรับสเปคที่ใช้ทดสอบนั้น พบว่าขนาดของ RAM ที่ใช้โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ 4GB หากผู้ให้บริการเจ้าใดที่ไม่สามารถตั้งได้ถึง 4GB ก็จะใช้จำนวนที่ใกล้เคียงที่สุดในการทดสอบแทน โดยสเปคทั้ง 5 ผู้ให้บริการที่ทดสอบมีตามภาพด้านล่าง


ส่วนโปรแกรมในการทดสอบ ทาง Cloud Spector ใช้ Unixbench เวอร์ชันล่าสุดที่สามารถจัดการระบบที่มีหลาย CPU ได้ โดยวัตถุประสงค์ของการทดสอบก็คือการวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบ Unix โดยการใช้คะแนนที่เกิดขึ้นตอนท้ายของการทดสอบเป็นตัววัด ด้วยเหตุนี้จึงใช้มันในการวัดประสิทธิภาพการทำงานบนระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งทำงานอยู่บนชั้นบนสุดของโครงสร้างพื้นฐานในระบบ infrastructure เสมือนนี้ โดย Unixbench จะคำนวณคะแนนที่เกิดขึ้นโดยใช้ชุดของการทดสอบที่จะดูว่าเซิร์ฟเวอร์สามารถรอบรับการ Load ของระบบได้มากเท่าไหร่และมีประสิทธิภาพที่รับมือได้อย่างไร ซึ่งจะมีคะแนนเป็นการให้ดาว เต็ม 10
(Unixbench เพิ่มเติมสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://code.google.com/p/byte-unixbench/)
สองสิ่งที่เราเก็บได้จากการทดสอบซึ่งเป็นข้อมูลที่ทางผู้ให้บริการไม่ได้ให้ไว้ มีดังนี้
  • Performance – การวัดประสิทธิภาพจะใช้ UnixBench ในการทดสอบ โดยจะทดสอบซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ตลอด 5 วัน ซึ่งจะสามารถเก็บข้อมูลบนค่าความแปรปรวนของประสิทธิภาพการทำงาน, สภาพแวดล้อมของ cloud ที่พบโดยทั่วไป ซึ่งปกติจะเป็นที่ที่ถูกแชร์กันใช้งานและไม่สามารถรับประกันประสิทธิภาพการใช้งานว่าจะดีเสมอไป
  • Price-Performance – หลังจากที่ได้คะแนนของการวัดประสิทธิภาพแล้ว ก็ต้องมาดูว่าประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายไปอะไรคุ้มค่ากว่ากัน ซึ่งจะใช้ระบบที่เรียกว่า CloudSpecs Score โดยมีคะแนนเต็มที่ 100 คะแนน ซึ่งจะเห็นว่าค่าของแต่ละผู้ให้บริการ Cloud ว่ามีใครที่ให้มูลค่ากลับคืนผู้ใช้งานมากที่สุด

ผลการทดสอบในแง่ประสิทธิภาพ

จากผลการทดสอบทั้ง 5 วันบนผู้ให้บริการ Cloud ทั้ง 5 บริษัท เมื่อดูคะแนนจาก Unixbench กันแล้วก็จะเห็นการแยกกลุ่มคะแนนออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่อยู่ต่ำกว่า 1000 และกลุ่มที่สูงกว่า 1000 คะแนน ผู้ให้บริการที่ทำคะแนนสูงที่สุดตลอด 5 วันคือ Windows Azure ส่วนต่ำที่สุดนั้นกลายเป็นของ Amazon EC2 ไปเสียได้ และหากดูคะแนนเทียบกันแล้วจะพบว่าคะแนนที่ Windows Azure ได้สูงกว่า Amazon EC2 กว่า 3 เท่า
ส่วนค่าที่นำมาคิดเพิ่มเติมด้วยก็คือค่า coefficient of variation (CV) ซึ่งเป็นค่าความแปรปรวนที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยระหว่างการทดสอบ ซึ่งก็พบว่า Amazon EC2 มีค่า CV 4%; Rackspace มีค่า CV 6%; HP Cloud มีค่า CV 1% ส่วน SoftLayer และ Windows Azure มีค่า CV 0% หรือค่าจากการทดสอบคือค่านั้นเลยโดยตรง ไม่มีความแปรปรวน

เทียบผลในแง่ค่าใช้จ่าย

เพื่อให้เทียบกันให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราเลยมาดูด้านราคาของแต่ละเจ้า คิดเป็นรายชั่วโมง (Pay-Per-Hour) มาคิดรวมกันกับคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้านบน โดยเราจะคิดเฉพาะราคาการให้บริการล้วนๆ ในปัจจุบัน ไม่เอาปัจจัยอื่นๆ อย่างค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมาคิดในส่วนนี้


เมื่อเอาราคาคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งที่แล้วมาหารด้วยราคาต่อชั่วโมงก็จะได้กราฟนี้ขึ้นมา ซึ่งจะเห็นความต่างจากกราฟแรก เพราะค่าใช้จ่ายของผู้ให้บริการนั้นมีความต่างกัน และเมื่อเทียบแล้วจะเห็นว่า Windows Azure ก็ยังอยู่อันดับแรก ส่วนที่ขึ้นมาคือ Amazon EC2 เพราะราคาถูกเท่ากับ Windows Azure แต่ที่ตกลงไปอย่างมากคือ SoftLayer ก็เพราะราคาต่อชั่วโมงแพงที่สุดในกลุ่มนั่นเอง

คะแนนจาก CloudSpecs Score

CloudSpecs Score ถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานของค่าราคาประสิทธิภาพที่บอกไปก่อนหน้า และตลอด 5 วันในช่วงการทดสอบ Windows Azure ได้คะแนนสูงสุดทั้งในแง่ประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับราคา โดยในส่วนของ ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับราคานั้น มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 12,023, HP cloud 9,559 ,SoftLayer 4378, Amazon EC2 3182 และ Rackspace 2313 โดยเมื่อทำการหาค่าบรรทัดฐานโดยใช้ Windows Azure เป็นตัวยืนที่ 100 คะแนนก็จะได้คะแนนตามในตารางนี้

และเมื่อเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนแล้ว ก็จะได้ตามตารางนี้ 

บทสรุป

การพิจารณาเลือก Cloud นั้นคงไม่สามารถที่จะเลือกที่ราคาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงหลายๆ อย่าง ทั้งในแง่การใช้งาน, ลักษณะการใช้, บริการที่มีให้ของผู้ให้บริการ รวมทั้งทรัพยากรที่คิดว่าจะใช้ เพราะนั่นจะมีผลต่อการเลือกใช้งานจริงๆ ของผู้ที่ต้องการ ผลการทดสอบนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นในการพิจารณา สิ่งที่ผู้ที่จะใช้บริการ Cloud ก็คือศึกษาคุณสมบัติของแต่ละที่ว่าเป็นอย่างไร ตรงกับความต้องการหรือเปล่า, อ่าน feedback จากกลุ่มผู้ใช้งานทั่วโลกว่าเป็นไปในทิศทางไหน และทดลองใช้งานตามที่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เปิดให้ทดลองใช้ฟรีช่วงแรก ก่อนลงทุนกับมันอย่างเต็มตัว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น