การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในระดับมหภาคหลักนิยมทั่วไป
คือใช้หลักที่เรียกกันว่า “PEST Analysis” หรือ “STEP Analysis”แบ่งเป็น 4 ด้านดังนี้
1. Political and Legal – การเมืองและกฏหมาย
:เนื่องจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เป็นมหาวิทยาลัยแบบเปิดถึงแม้ว่าจะมีรายได้จากการลงทะเบียนของนักศึกษา
แต่กระนั้นทางมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจำนวนมากเช่นค่าจ้างหรือเงินเดือนอาจารย์
เจ้าหน้าที่ และบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่นค่าผลิตสื่อการสอน
ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านงบประมาณเพิ่มเติมจากทางรัฐบาล
ตามนโยบายการส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
รวมถึงสถานะของตัวมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับใด
ซึ่งส่งผลโดยตรงกับทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยนั้นเอง
การวิเคราะห์นโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐ
ที่น่าจะมีผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์การอาทิทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลุ่มคนในระดับท้องถิ่น
ชาติและนานาชาติที่อาจมีอิทธิผลต่อการกา หนดนโยบายของรัฐบาล สงคราม
ความขัดแย้งหรือการก่อการร้ายการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐบาลนโยบายการเมืองภายในประเทศความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศฯลฯ
- นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และกฎระเบียบต่างๆว่ามีผล
หรือส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างไรบ้าง
- ความมั่นคงของรัฐบาลรวมถึงเสถียรภาพของการเมืองการปกครองเพราะย่อมส่งผลโดยตรงกับนโยบายทางด้านการศึกษา
-
บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มพลังทางการเมืองว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง
-
ความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองมีผลกระทบต่อนโยบาลรัฐบาลและทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
-
พฤติกรรมทางการเมืองกลุ่มผู้มีอิทธิพล / เครือข่ายต่างๆจะมีผลกระทบต่อ
รัฐบาล เศรษฐกิจ และสังคมในวงกว้างเช่นเดียวกัน
2. Economic – เศรษฐกิจ : เศษฐกิจของประเทศ หรือ ของโลก
ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัย เช่น หากช่วงไหนเศษฐกิจไม่ดี นักศึกษาที่กำลังตัดสินใจเข้าศึกษากับทางมหาวิทยาลัยอาจจำเป็นต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากอาจจะประสบปัญหาค่าใช้จ่ายในการเรียน
ทั้งค่าลงทะเบียน ค่าสื่อการเรียน
และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นทำให้จำเป็นต้องเลื่อนการศึกษาออกไปก่อน
ระบบเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรหรือมหาวิทยาลัย
อาทิ
-
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหากมีการขยายตัวแสดงว่าเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอย
หากนักศึกษาหรือผู้ปกครอง มีภาวะเศรษฐกิจที่ดี
ทำให้มีศักยภาพในการเรียนหรือศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้อย่างแน่นอน
- ผลผลิตมวลรวมในประเทศหรือ
GDP เป็นปัจจัยบ่งชี้สภาวะเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งซึ่งแสดงแนวโน้มของการผลิตในภาคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจว่าดีหรือไม่ดีและส่งผลต่อการศึกษาเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ
- การค้าระหว่างประเทศและดุลการชำระเงิน
-
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- อัตราการว่างงาน
-
ภาวะการจ้างงานและค่าแรง
- การลงทุนภาคเอกชน
-
อัตราเพิ่มของระดับราคาและดัชนีราคา
- ราคาน้ำมันดิบ
- ภาษีอากรและการใช้จ่ายของรัฐบาล
- หนี้สาธารณะ
เงินคงคลัง
- การเงินการธนาคาร
-
สภาพปัญหาของสาขาการพัฒนา / บริการ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์การอาทิภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันภายในประเทศที่ตั้งขององค์การแนวโน้ม
เศรษฐกิจภายในและต่างประเทศ ประเด็นทั่ว ๆ ไป
เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอัตราดอกเบี้ยอัตราแลกเปลี่ยน และ
ภาวะเงินเฟ้อเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือมหาวิทยาลัย
3. Social and Culture – สังคมและวัฒนธรรม : เรื่องราวต่างๆ
ในสังคมที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป เช่น เป็นการวิเคราะห์สภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งหมายถึงโครงสร้างทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร อาทิ
-
ระดับการศึกษาและอัตราการรู้หนังสือของประชากร
- จำนวนประชากร
โครงสร้างของประชากร
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ความเชื่อ ค่านิยมและวัฒนธรรม
-
แบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรม การประกอบอาชีพ
- คุณภาพชีวิต
- ลักษณะของชุมชน
และการตั้งถิ่นฐาน
-
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
การกระจายรายได้และความเป็นธรรมในสังคม
- สภาพของบ้านเมืองและลักษณะทางภูมิศาสตร์
- โครงสร้างพื้นฐาน
ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
-
การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร
-
ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม
แน่นอนว่า
โครงสร้างทางสังคมเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน
4. Technology – เทคโนโลยี
: เทคโนโลยีนั้นเปรียบเสมือนดาบ 2 คม มีทั้งด้านดีและด้านร้าย
หรือในปัจจุบันนั้นผู้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ซึ่งก็อาจจะเป็นช่องทางการศึกษาที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย
(E-Learning) หรือแม้แต่การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัยและนักศึกษาแทนรูปแบบเดิมเช่นจดหมายเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนี้จะมีผลต่อการดำเนินงาน
เช่น การผลิตคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ความรู้และวิทยาการแขนงต่าง ๆ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กร ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัย
และนักศึกษารวมถึงความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนาในสาขาที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการให้บริการโดยใช้อุปกรณ์อัตโนมัติต่าง
ๆ การเรียนการสอนผ่านระบบการศึกษาทางไกล แบบ(E-Learning)
การถ่ายทอดสื่อการเรียนการสอนหรือมีเดียอื่น
ๆผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะได้อย่างรวดเร็ว สะดวก
และทั่วถึงอีกด้วย
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยีที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์การอาทิเทคโนโลยีที่องค์การใช้ในการผลิตและบริการจาก
เป็นต้องพัฒนาปรับปรุงหรือไม่และผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อกระบวนการผลิต
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสัญญาอนุญาตสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา
นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการประดิษฐ์และการค้นพบใหม่ๆ
แหล่งพลังงานและเชื้อเพลิงใหม่ที่สามารถใช้ในการผลิตและบริการ
ความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายการสื่อสารฯลฯ
อีก 2 ข้อที่มีความเกี่ยวข้องกันกับทางองค์กรได้แก่
5. Demography – ประชากรศาสตร์ : ประชากรศาสตร์นั้นคือเรื่องราวต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับประชากร เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนโครงสร้างครอบครัว
การย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัย
เพราะประชากรผู้เรียน หรือนักศึกษา จะได้รับผลจากปัจจัยต่างๆขั้นต้น
เช่นหากมีการย้ายถิ่นฐาน การเปลี่ยนโครงสร้างครอบครัว อาจจะทำให้ต้องรับผิดชอบในชีวิตส่วนตัวมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยได้นั่นเอง
6. Nature – ธรรมชาติ :
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราไม่อาจจะคาดเดาได้ และส่งผลกระทบต่อองค์กรได้เช่นกัน
ซึ่งบางส่วนอาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ฝนตก
น้ำท่วม รถติด หรือบางส่วนอาจส่งผลกระทบได้ในระยะยาว เช่น น้ำเสียที่สะสมเป็นระยะเวลานาน
ๆ หรือการที่ทางมหาวิทยาลัยมีพื้นที่ที่จำกัด
การอยู่ในพื้นที่ที่ราบลุ่มมีระดับพื้นต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบ
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือมหาวิทยาลัยได้ในระยะยาวได้เช่นกัน
ที่มา:1.มณีรัตน์
สุวรรณวารี https://www.gotoknow.org/posts/460465
2.สุนีย์ วรรธนโกมล,ธานินทร์ ศิลป์จาร http://www.bus.rmutt.ac.th/journal/pdf/vol5-no1-05.pdf
3. http://elearning.bu.ac.th/mua/course/mk212/ch2.htm
5.อาจารย์ ดร.
กุลชลี จงเจริญhttp://edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/23723_6.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น