หลักการและประโยชน์ของการประมวลผลแบบกระจาย

หลักการและประโยชน์ของการประมวลผลแบบกระจาย 
ความ​หมาย​ของ​การ​ประมวล​ผล​แบบ​กระจาย
            การประมวลผลแบบกระจายคือการประมวลผลผ่านเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์
หลายเครื่องโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดสรรและแจกจ่ายทรัพยากรการประมวลผลเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการประมวลผลได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอุปกรณ์การประมวลผลในระบบงานแบบกระจายจะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายคือไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์(client/server)หรือแม่ข่าย/ลูกข่ายเครื่องลูกข่ายสามารถประมวลผลและ         จัดเก็บข้อมูลได้บางส่วน   ส่วนเครื่องแม่ข่ายอาจทำหน้าที่เช่นจัดการกับข้อมูล(databaseserver)จัดการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  (web    server) และประมวลผลโปรแกรม(applicationserver)เครื่องแม่ข่ายจะทำหน้าที่  แจกจ่ายข้อมูลหรือบริการประมวลผลให้เครื่องลูกข่ายที่ร้องขอใช้บริการ          นอกจากนี้เครื่องแม่ข่ายสามารถแจกจ่ายหน้าที่การประมวลผลให้เครื่องลูกข่ายหรือเครื่องแม่ข่ายเครื่องอื่นๆในเครือข่ายโดยพิจารณาจากความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงานลักษณะการทำงานดังกล่าวทำให้การประมวลผลคอมพิวเตอร์มีความ           รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)
จากข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ภายในองค์กรได้อย่างทั่วถึงและข้อจำกัดของการประมวลผลแบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า ดังนั้นจึงต้องมีการจัดสรรทรัพยากร เพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลและทรัพยากรต่าง ๆ ให้สามารถใช้ร่วมกันได้ให้ทั่วทั้งองค์กรและระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย เช่น ฐานข้อมูล ข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร และเครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ การกระจายข้อมูลและทรัพยากรต่าง ๆ ทำให้การประมวลผลมีความรวดเร็วมากขึ้น การที่ทุกส่วนขององค์กรและระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรจะสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นร่วมกันได้นั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Computer) ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่พบโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแบบ Client / Server โดยที่เครื่องแม่ข่าย (Server) จะทำการแจกจ่ายหน้าที่การทำงาน การประมวลผล และข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายด้วยกันเอง หรือคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย สำหรับเครื่องลูกข่ายเครื่องอื่น ๆ ก็จะมีหน่วยประมวลผลกลางเป็นของตัวเอง มีความสามารถในการจัดเก็บและทำหน้าที่บางส่วนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องแม่ข่าย (Server) จึงทำให้การประมวลผลมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ปัจจุบัน นอกจากการกระจายการประมวลผล และฐานข้อมูลแล้ว ด้วยกระแสการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นทุกวัน การประมวลผลแบบกระจาย จึงได้มีการจัดสรรหน้าที่การทำงานต่าง ๆ ที่จะต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์Web Server การใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับประเภทและรูปแบบของการประมวลผล จะทำให้สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากใช้งานตรงกับความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์พัฒนาก้าวหน้าขึ้น จึงมีการประยุกต์ใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เข้าช่วยเพื่อประสิทธิภาพในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ด้วยการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ระบบการประมวลผลแบบกระจาย เป็นการประมวลผลที่ได้รับการพัฒนาในขั้นต่อมา โดยมีการกระจายภาระการประมวลผลไปยังเครื่องต่าง ๆ ที่เชื่อมกันอยู่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนำผลลัพธ์ที่ได้มารวมกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของระบบโดยรวม รวมทั้งยังสามารถลดจำนวนข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายได้ด้วยนอกจากนี้ยังเป็นระบบที่กิจกรรมการประมวลผล สารสนเทศขององค์กร ตลอดจนทรัพยากรคอมพิวเตอร์กระจายอยู่มากกว่าหนึ่งที่ และมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกัน งานต่าง ๆ จะถูกประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 2-3 ตัว
ประเภทของสื่อกลางแยกได้ 2 ประเภท คือ (1) แบบใช้สาย (2) แบบไร้สาย การประมวลผลในลักษณะการกระจายมีหลายชนิด และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังเช่น
1. ระบบการซื้อขายผ่านไปรษณีย์ (A mail-order catalog system) เป็นระบบที่ให้บริการโดยลูกค้าจะเชื่อมโยงผ่านระบบโทรคมนาคมไปยังคลังสินค้า ซึ่งอาจตั้งอยู่ห่างจากศูนย์บริการหลายร้อยกิโลเมตร เมื่อศูนย์บริการได้รับการติดต่อจากลูกค้าทางโทรศัพท์ โทรสาร หรือจดหมาย ศูนย์บริการก็จะทำการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และข้อมูลสั่งซื้อจะถูกส่งผ่านไปยังคลังสินค้า เพื่อส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าต่อไป ระบบนี้จะช่วยให้องค์การบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และการมีคลังสินค้ากระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ ก็จะช่วยให้สามารถบริการแก่ลูกค้าได้ในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย
2. ระบบธนาคารแบบกระจาย (Distributed banking) เป็นระบบของธนาคารซึ่งมีการให้บริการแก่ลูกค้าผ่านเครื่องฝาก/ถอนเงินอัตโนมัติ [Automatic Teller Machines (ATM)] ATM ได้มีเครือข่ายทั่วประเทศและทั่วโลก ตัวอย่างจากระบบดังกล่าว เช่น การโอนเงินผ่านทางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ [Electronic Funds Transfer (EFT)]
3. การบริการขนส่งข้ามคืน (Overnight delivery service) เป็นการใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ และไมโครคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านดาวเทียม และเครื่องเทอร์มินอลที่ไม่มีหน่วยประมวลผล (Dumb terminal) เพื่อรับข้อมูลข่าวสารในขณะที่พนักงานไม่อยู่ เส้นทางการขนส่งของบริษัทจะถูกคำนวณโดยทางคณิตศาสตร์ และหลายบริษัทได้จัดตั้งพนักงานส่งพัสดุประจำสำนักงานหรือตามท่าอากาศยาน เพื่อประสานงานกับฝ่ายรถขนส่ง
ข้อดีและข้อเสียของการประมวลผลแบบกระจาย
ข้อดี ของการประมวลผลแบบกระจาย (Advantages of distributed processing) ก็คือการใช้เวลาตอบสนองได้เร็วขึ้น (Quicker response time) เป็นระบบที่สามารถตอบสนองตามคำสั่งของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่การให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าเดิม ระบบแบบรวมศูนย์ (Centralized systems) เป็นระบบที่มีความล่าช้า เมื่อมีการใช้งานหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน จะต้องใช้เวลาในการตอบสนองมากขึ้น ส่งผลให้การบริการลูกค้าล่าช้า ฉะนั้นระบบแบบกระจาย (Distributed systems) จึงเกิดขึ้นเพื่อมาแก้ปัญหาระบบรวมศูนย์
โดยสรุปแล้วมีข้อดีดังนี้
1.ใช้เวลาตอบสนองได้เร็วขึ้น (Quicker response time) เป็นระบบที่สามารถตอบสนองตามคำสั่งของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่การให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าเดิม ระบบแบบรวมศูนย์ (Centralized systems) เป็นระบบที่มีความล่าช้า เมื่อมีการใช้งานหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน จะต้องใช้เวลาในการตอบสนองมากขึ้น ส่งผลให้การบริการลูกค้าล่าช้า ฉะนั้นระบบแบบกระจาย (Distributed systems) จึงเกิดขึ้นเพื่อมาแก้ปัญหาระบบรวมศูนย์
2.ใช้ต้นทุนน้อยกว่า (Lower costs) การใช้ระบบแบบกระจายสามารถลดปัญหาด้านปริมาณของข้อมูลที่จะส่งไปในระยะทางไกล ๆ ได้ ซึ่งถือว่าเป็นการลดต้นทุนในการสื่อสารทางไกล เพราะข้อมูลบางส่วนสามารถประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั่นเอง
3.ปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูล (Improved data integrity) ผู้ใช้เครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) มักจะรู้จักข้อมูลในพื้นที่ของตนดี และสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้รวดเร็ว ชื่อสกุลที่สะกดแบบผิด ๆ ปริมาณการสั่งซื้อไม่ถูกต้อง สามารถตรวจพบได้โดยพนักงานที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าของตนเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อฐานข้อมูลมีการกระจายก็จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบประมวลผลแบบกระจาย ซึ่งจะส่งผลไปสู่ความถูกต้องของข้อมูลด้วย
4.ลดต้นทุนตัวประมวลผลหลัก (Reduced host processor costs) จะสามารถเพิ่มอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) เนื่องจากไม่มีภาวะเกินกำลังในเรื่องการปะมวลผลของส่วนกลาง
5.การเพิ่มความน่าเชื่อถือ (Increased reliability) หากคอมพิวเตอร์หลักในระบบการประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized processing systems) ล้มเหลวจะเกิดการขัดข้องทั่วทั้งระบบ แต่ในระบบการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed processing systems) บางส่วนของระบบสามารถทำหน้าที่เป็นตัวเสริมหรือสนับสนุนในกรณีที่ตัวประมวลผลใดประสบปัญหาหรือล้มเหลวในการทำงานได้
6.การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ประโยชน์หลักของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในระบบแบบกระจาย คือ ประโยชน์จากการแบ่งสรรทรัพยากรที่มีราคาแพง อุปกรณ์ในการประมวลผลที่มีความเร็วสูง เครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสี จากสถานีงานอื่น ๆ
ข้อเสีย ของการประมวลผลแบบกระจาย (Disadvantages of distributed processing) แม้ว่าระบบการประมวลผลแบบการกระจายจะมีประโยชน์หลายประการดังกล่าวมาแล้ว แต่มีข้อเสียที่ผู้บริหารควรคำนึงถึง โดยสรุปได้ดังนี้
1.การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน MIS (Shortage of MIS professionals) ปัจจุบันความต้องการระบบในลักษณะการกระจายการประมวลผลเพิ่มมากขึ้น และผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ
2.มาตรฐานของระบบ (Standardization) มาตรฐานของระบบเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่นำมาต่อเชื่อมเป็นระบบในเครือข่ายเดียวกันจะทำงานร่วมกันได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐาน (Standardization) เดียวกัน ซึ่งหากขาดมาตรฐานของระบบแล้วย่อมยากต่อการพัฒนาในองค์กรที่มีการประมวลผลแบบกระจาย
3.ความถูกต้องของข้อมูล (Data integrity) ในระบบที่ฐานข้อมูลกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ต้องการทำการแก้ไขข้อมูล หรือการเพิ่มข้อมูล หรือการลบข้อมูล ผู้ใช้จะต้องกระทำอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มิฉะนั้นอาจจะเกิดความผิดพลาดได้โดยง่าย
4.ความปลอดภัยของระบบ (Security) ในระบบที่ทำการประมวลผลข้อมูลแบบกระจายจากส่วนกลางนั้น ผู้ใช้ระบบร่วมกันได้หลาย ๆ คน ดังนั้นอาจเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีหวังดีทำการบุกรุกระบบ เพื่อกระทำในทางที่ไม่ดีได้ เช่น นำไวรัสเข้าไปในระบบ ขโมยข้อมูล หรือแก้ไขข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

รูปแสดง Grid computing
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจาย
ประโยชน์ของการประมวลผลแบบกระจาย  มีดังต่อไปนี้
1.      ลดปริมาณเงินทุนด้านเทคโนโลยี สารสนเทศผู้ใช้สามารถร่วมใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์   ที่มีอยู่แล้วในเครือข่ายเพื่อผลิตบริการและการประมวลผลสารสนเทศตามความต้องการนอกจากนี้อายุการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นตัวประมวลผลหลักจะยาวนานขึ้นด้วยสามารถจัดสรรงานไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆภายในเครือข่าย
2.      ลดระยะเวลาในการประมวลผลการแจกจ่ายงานอย่างเหมาะสมให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายช่วยแก้ปัญหาความล่าช้าของการประมวลผลแบบ      รวมศูนย์(centralized     computing)ซึ่งจะมีความล่าช้าเมื่อต้องประมวลผลงานหลายๆอย่างใน ช่วงเวลาเดียวกัน
3.      เพิ่มความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยีระบบแบบกระจายสนับสนุนการแบ่งปันใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีที่มีราคาแพงและช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.      เพิ่มความน่าเชื่อถือในประมวลผลแบบกระจายเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเครือข่ายสามารถทำหน้าที่ในการประมวลผลดังนั้นการใช้การประมวลผลแบบกระจายจึงช่วยลดความเสี่ยงของความล้มเหลวในการประมวลผลที่เกิดจากการขัดข้องของเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในการประมวลผลแบบ รวมศูนย์
5.      เพิ่มความถูกต้องของข้อมูลการกระจายการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลโดยตรงจะช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขข้อมูลง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
            ปัจจุบันนี้หลายองค์กรต่างให้ความสำคัญกับการประมวลผลแบบกระจายทั้ง ในด้านการสื่อสารโทรคมนาคม หรือในด้านที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายข้อมูลเพื่อให้ได้เปรียบในเชิงการแข่งขันและเพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์การอยู่รอดต่อไปได้ของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ดังเช่น
การสื่อสารโทรคมนาคม : การพิจารณาด้านกลยุทธ์ การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunications) หมายถึง ระบบใด ๆ ก็ตามที่ข้อมูลหรือข่าวสารสามารถถูกส่งผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์ หรือสายเคเบิล หรือผ่านทางอากาศ (สัญญาณคลื่นไมโครเวฟ) ปัจจุบันโทรคมนาคมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีการสื่อสารด้านโทรคมนาคมสามารถเชื่อมโยงลูกค้าและผู้ผลิตสินค้าทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เพื่อให้ได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วนต้นทุนที่ต่ำกว่า ราคาสินค้าที่ต่ำกว่า สามารถใช้เวลาที่น้อยกว่าในการบรรลุผลสำเร็จในการทำงาน และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อปัญหาและโอกาสได้อย่างรวดเร็ว ดังเช่น เครือข่ายการสื่อสารแบบกระจาย (Distributed communication networks) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหลาย ๆ เครื่องในลักษณะของเครือข่าย เช่น เครือข่ายแบบท้องถิ่นหรือเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) รวมถึงระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail systems) ลักษณะของเครือข่ายการสื่อสารแบบกระจายนี้ได้ช่วยให้องค์กร ได้รับการหมุนเวียนของข่าวสารและการติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และยังเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารและการกระจายข่าวสารระหว่างผู้จัดการด้วยกันเองที่อยู่ต่างสถานที่กัน ซึ่งใช้เป็นกลยุทธ์ในการตัดสินใจ ดังแสดงตัวอย่างเครือข่ายการสื่อสารแบบกระจาย
อุตสาหกรรมการขนส่งและลอจิสติกส์ : การแก้ปัญหาการตัดสินใจ ในปัจจุบันนี้ยังมีปัญหาจำนวนมากที่ไม่สามารถหาคำตอบได้โดยการใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเพราะว่าใช้เวลาในการหาคำตอบนานเกินไป อาจต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปี กว่าปัญหานั้นจะเสร็จสิ้นจึงไม่คุ้มค่าที่หากนำมาคำนวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเลือกเส้นทางของบุรุษไปรษณีย์ (Travelingsale man problem) ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนยากต่อการหาคำตอบ ลองคิดดูว่าหากใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวมาแก้ปัญหานี้ คงต้องใช้เวลาในการคำนวณเป็นพันๆปีหรืออาจจะนานเป็นปีแสงเลยก็เป็นได้ จะเห็นว่า เทคโนโลยี Distributed Computing เป็นเทคโนโลยีที่นำเอาคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ หลายๆตัวมาเชื่อมต่อกันแบบขนาน เพื่อร่วมกันทำการประมวลผล ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่อง Super Computer เครื่องหนึ่งเลยทีเดียว และยังให้ระบบคลัสเตอร์ติดต่อกันด้วยภาษาJava RMI ซึ่งเป็นภาษาที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ได้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเยี่ยมยอดยิ่งขึ้น
ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม : แก้ปัญหาการใช้งานคอมพิวเตอร์ในสำนักงานอย่างไม่คุ้มค่า ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัญหาการใช้งานคอมพิวเตอร์ในสำนักงานอย่างไม่คุ้มค่า ไม่เต็มประสิทธิภาพ บางเครื่องถูกเปิดทิ้งไว้โดยไม่มีการใช้งาน หรือใช้งานง่ายๆ ไม่หนักมากนัก เช่น ฟังเพลงพิมพ์งาน ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร และพลังงานเป็นอันมาก คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นช่องทางในการแก้ปัญหานี้โดยใช้วิธีการแชร์คอมพิวเตอร์ในบริษัทเข้าด้วยกันด้วยการใช้เทคโนโลยี Distributed Computed ติดต่อกันด้วยภาษา Java RMI และระบบจะมีการจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ my SQL หากคอมพิวเตอร์ในสำนักงานเครื่องใดไม่มีการใช้งาน หรือใช้งาน CPU ไม่เต็มประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการนี้จะส่งผลให้องค์กรภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถประหยัดงบประมาณ และลดค่าใช้จ่ายลงไปได้มากมาย สามารถนำเม็ดเงินเหลือไปพัฒนาในส่วนอื่นๆให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพยิ่งขึ้น



รูปแสดงA typical distributed processing scenario
ธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต : การให้บริการเครื่องมือค้นหา รูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย แบบ Grid Computing ที่นำเอากำลังการประมวลผลเหลือใช้จากพีซีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กำลังได้รับความสนใจจากกลุ่มนักเทคโนโลยีหัวใสที่ต้องการผันพลังงานดังกล่าวมาสร้างมูลค่าให้กับงานวิจัย หรือนวัตกรรมของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่นบริษัท ลุ๊คสมาร์ท (LookSmart) ผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตเป็นรายล่าสุดที่เปิดตัว "กรับ" (http://www.grub.org) โครงการประมวลผลแบบพีซีกริด ด้วยการดึงเอากำลังการประมวลผล และช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้ใช้งานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มาสร้างดัชนีหน้าเวบสำหรับเป็นฐานข้อมูลให้กับเครื่องมือค้นหาที่คาดว่าจะมีความละเอียดสูง และทันสมัยที่สุด การกระจายการประมวลผลในลักษณะนี้ จะทำให้บริการของตนมีโอกาสเอาชนะกูเกิลได้ จะเห็นได้ว่าการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถที่จะส่ง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ และนี่ก็คือระบบเครือข่าย ซึ่งถ้าเราลองนึกดูว่าเมื่อก่อนเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง การทำงานต่าง ๆ อยู่บนเครื่องเดียว แต่ในองค์กรที่มีการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองขึ้นมา ความต้องการในการที่จะต้องมีการนำข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นที่ต้องใช้ Diskette แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง แต่ถ้าเป็นระบบเครือข่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย ดังนั้นแล้วระบบเครือข่ายที่กระจายหน้าที่กระจายการเป็นศูนย์บริการ และเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กัน ในมาตรฐาน TCP/IP ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้ง Windows, Linux, Unix และ Mac ทำให้ทั้งหมดสามารถสื่อสารกันรู้เรื่องเข้าใจ และก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานในหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย มีผลให้การทำงานในองค์กร หรือหน่วยงาน สามารถทำงานได้เป็นระบบ และพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงาน ก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้หนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การแชร์ทรัพยากร การเพิ่มความเร็วในการคำนวณ ความน่าเชื่อถือของระบบ หรือแม้กระทั่งเรื่องการติดต่อสื่อสาร และในปัจจุบัน ที่มีปัญหาจำนวนมากที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ด้วยคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวนี้ การนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจาย Distributed Computing มาใช้ในองค์กรภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ที่จะมาช่วยสร้างระบบการตัดสินใจ สำหรับปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ยากยิ่งต่อการหาคำตอบ คงจะมีความสำคัญและจำเป็นไม่มากก็น้อย
2.สถาปัตยกรรมเชิงบริการหรือเอสโอเอ (Service-Oriented Architecture – SOA)
          สถาปัตยกรรมเชิงบริการหรือ   เอสโอเอ(Service-OrientedArchitecture:SOA)เกี่ยวข้องกับรูปแบบการประมวลผลที่เกิดจากการประกอบกันของฟังก์ชันงานหรือเซอร์วิซหลายชิ้น(services)โดยเซอร์วิซเหล่านี้มีอยู่แล้วในเครือข่ายและจะมีการเชื่อมต่อกันระหว่างเซอร์วิซเพื่อทำงานร่วมกันสถาปัตยกรรมเชิงบริการจึงช่วยลดต้นทุนในการพัฒนาระบบไอทีโดยต้นทุนในการพัฒนาระบบงานใหม่จะลดลงจากค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์และผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบงานเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียกใช้เซอร์วิซหรือฟังก์ชันหรือโมดูล(module)ของผู้ให้บริการโดยเซอร์วิซ สามารถรับอินพุตเข้ามาเพื่อ ประมวลผลและส่งผลลัพธ์กลับออกไปทั้งนี้บางเซอร์วิซอาจใช้บริการฟรีได้ ไม่คิดค่าใช้จ่ายเอส         โอเอเป็น สถาปัตยกรรมที่สนับสนุนความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องโดยเอสโอเอช่วยให้องค์กรต่างๆสามารถพัฒนากระบวนการทางธุรกิจขึ้นมาใหม่หรือปรับกระบวนการทางธุรกิจเดิมโดยใช้เซอร์วิซที่มีอยู่แล้วในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์การสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วเอสโอเอสนับสนุนการค้นพบเรียกใช้และเชื่อมต่อฟังก์ชันการทำงานแต่ละส่วนซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้วอาจ อธิบายได้ว่าเอสโอเอพัฒนามาจากระบบการประมวลผลแบบกระจาย(Distributedcomputing)โดยเอสโอเอเกี่ยวข้องกับรูปแบบการประมวลผลที่เกิดจากการประกอบกันของ    เซอร์วิซ        หรือฟังก์ชันงานหลายชิ้น  เซ อร์วิซเหล่านี้ถูกจัดวางในเครือข่ายโดยมีหน้าที่ให้บริการบางอย่างอาจมีการติดต่อกันระหว่างเซอร์วิซเพื่อ ส่งผ่านข้อมูลหรือทำงานร่วมกัน
1.​​แนวคิด​ของ​สถาปัตยกรรม​เชิง​บริการ
ระบบสถาปัตยกรรมเชิงบริการหรือเอสโอเอเป็นแนวคิดการออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรที่อิงกับเซอร์วิซโดยให้องค์การต่างๆสามารถใช้งานเซอร์วิซร่วมกัน         หรือนำเซอร์วิซกลับมาใช้ใหม่
ได้ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ ต่างๆมักจะมีการพัฒนาระบบไอที แต่ละระบบที่เป็นอิสระต่อกัน
(Silo-oriented   architecture)และอาจมีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันทำให้การพัฒนาระบบใหม่ๆเป็น ไปด้วยความล่าช้ามีค่าใช้จ่ายสูงปรับเปลี่ยนระบบได้ยากและยากต่อการเชื่อมต่อ
ภาพที่1 เป็นตัวอย่างของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่การ    พัฒนาระบบไอทีด้านการ บริหารลูกค้า       สัมพันธ์ (CRM)ระบบบิล            (Billing)ระบบคลังสินค้า  (Inventory)และระบบจัดซื้อจัดจ้าง(Provisioning)ดำเนินงานโดยเป็นอิสระต่อกัน

ภาพ​ที่1 Silo-oriented​architectureที่มา:https://www.slideshare.net/imcinstitute/introduction-to-soa-15847025
เอสโอเอ เปลี่ยนสถาปัตยกรรมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นอิสระต่อกัน     (Silo-orientedarchitecture)ให้เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบริการ    (service-oriented)โดยการจัดระบบไอทีเป็นชั้นๆ4ชั้น(layer)ได้แก่ชั้นของทรัพยากรการประมวลผลหรือข้อมูล(resourcelayer)          ชั้นของเซอร์วิซ(servicelayer)       ชั้นของกระบวนการทางธุรกิจ(processlayer)         และชั้นของการเรียกใช้กระบวนการ ทางธุรกิจ(accesslayer)    การจัดระบบไอทีเป็นชั้นๆช่วย ให้สามารถพัฒนาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมระบบ     งานใหม่      ได้ง่ายและสะดวกขึ้นเนื่องจากแยกการออกแบบขั้นตอนการดำเนินงานด้านธุรกิจ(businesslogic)         ออกจากการออกแบบและพัฒนาทางเทคโนโลยี            (technology-levelapplication    logic)   ดังแสดงใน        ภาพที่ 2

ภาพ​ที่​​SOA​layers
ที่มา:​https://www.slideshare.net/imcinstitute/introduction-to-soa-15847025
1)ชั้นของทรัพยากรการประมวลผลหรือข้อมูล(resource      layer)เป็นชั้นของระบบไอทีต่างๆ   เช่นระบบฐานข้อมูลหรือโปรแกรมประมวลผลต่างๆ
2)ชั้นของเซอร์วิซ (servicelayer)   เป็นชั้นของส่วนประกอบเซอร์วิซต่างๆที่สามารถใช้ร่วมกันหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยเซอร์วิซเหล่านี้ประกอบด้วยส่วนของโปรแกรมหรือโมดูล(module)จากresourcelayer
3)ชั้นของกระบวนการทางธุรกิจ(processlayer)เป็นชั้นของ  กระบวนการทาง ธุรกิจ(businessprocess)ที่ถูกพัฒนามาจากการประกอบส่วนประกอบเซอร์วิซ        ต่างๆใน ชั้นของเซอร์วิซ
4)ชั้นของการเรียกใช้กระบวนการทางธุรกิจ(accesslayer)    เป็นชั้นของการเรียกใช้กระบวนการทางธุรกิจที่ ถูกพัฒนาขึ้นผ่านทางโปรแกรมเว็บ(web           application)โดยอาจเรียกใช้โปรแกรมผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ            โทรศัพท์เคลื่อนที่
ผู้ใช้ สามารถเรียก ใช้ระบบงานทางธุรกิจผ่านทางชั้นของการเรียกใช้กระบวนการทางธุรกิจ(accesslayer)โดยในชั้น         ของกระบวนการ       ทางธุรกิจ(processlayer)จะมีการระบุขั้นตอนการเรียกใช้เซอร์วิซต่างๆที่เกี่ยวข้องในชั้นของเซอร์            วิซ(servicelayer)ซึ่งเซอร์วิซแต่ละเซอร์วิซประกอบด้วยส่วนของโปรแกรมหรือโมดูลจากชั้นของทรัพยากรการประมวลผลหรือข้อมูล            (resourcelayer)
​​โครงสร้าง​ของ​สถาปัตยกรรม​เชิง​บริการ
สถาปัตยกรรมเชิงบริการประกอบ   ด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 6อย่าง   ดังต่อไป            นี้
ส่วนประกอบ พื้น ฐาน
เซอร์วิซหรือบริการ       เอสโอเอ เป็นรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วยเซอร์วิซ(service)    ซึ่งก็คือซอฟต์แวร์คอมโพเนนต์            (softwarecomponent)  ที่เป็นฟังก์ชันหรือโมดูลซึ่งมีกระบวนการทำงานโดยสามารถ  รับอินพุตเข้ามาประมวลผลและส่งผลลัพธ์     ออกไปเซอร์วิซหลายเซอร์วิซที่มีตำแหน่งที่อยู่บนเครือข่าย(network-addressable       softwarecomponent)โดยที่เซอร์ วิซจะถูกกำหนดขอบเขตงานอย่างชัดเจนในรูปของอินเทอร์เฟซ(interface)เซอร์วิซแต่ละตัวจะทำงานได้ด้วยตัวเองตามขอบเขตงานที่กำหนดไว้โดยไม่ขึ้นกับสถานะของเซอร์วิซอื่นๆ
การเชื่อมต่อระหว่างเซอร์วิซ การเชื่อมต่อระหว่างเซอร์วิซเพื่อทำงาน           ร่วมกันจำเป็นต้องอาศัย   การติดต่อสื่อสารระหว่าง เซอร์วิซ  ซึ่งสามารถทำได้โดยอาศัยเอกสารที่เป็นเอกซ์เอ็มเอล(XML)   ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาเซอร์วิซทำให้ไม่จำเป็น
ต้องทราบรายละเอียดภาษาโปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือแพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนาเซอร์    วิซ
อินเทอร์เฟซหรือตัวเชื่อมต่อที่ใช้อธิบายเซอร์วิซ           อินเทอร์เฟซ(interface)หรือตัวเชื่อมต่อที่ใช้อธิบายเซอร์วิซเป็นไฟล์XMLที่ระบุเกี่ยวกับรายละเอียดการให้บริการของเซอร์วิซนั้นๆเช่นชื่อของเซอร์วิซ(servicename)        ประเภท ของข้อมูลนำเข้า            (input   parameter)ประเภทข้อมูลส่งออก(outputparameter)เป็นต้น
ตัวควบคุมคุณภาพของเซอร์วิซ ตัวควบคุมคุณภาพของเซอร์วิซ(QualityofService:QoS)      ใช้ควบคุมคุณภาพของเซอร์วิซเช่นนโยบายและกลไกการรักษาความปลอดภัยในการเรียกใช้บริการอาทิการยืนยันตัวตน(authentication)ของผู้เรียกใช้บริการและความถูกต้องของข้อมูล(dataintegrity)ที่เข้ามาสู่หรือส่งออกจากเซอร์วิซ
ไดเรกทอรีของเซอร์วิซ  ใช้ในการเก็บรวบรวมราย  ละเอียด การให้บริการและที่อยู่ของเซอร์วิซต่างๆโดยโปรแกรมประยุกต์หรือกระบวนการทางธุรกิจต่างๆจะค้นหาและเรียกใช้เซอร์วิซจากไดเรกทอรี ของเซอร์วิซ(registry)นี้
กระบวนการทางธุรกิจ  คือกระบวนการทางธุรกิจ  ต่างๆที่พัฒนาขึ้นมาจากการใช้เซอร์วิซเดิม  ที่มีอยู่ในเครือข่าย
โครงสร้างการทำงาน    
โครงสร้างการทำงานตามสถาปัตยกรรมเอสโอเอประกอบด้วยส่วนต่างๆดังภาพที่3.6คือเซอร์วิซหรือบริการ(services)ผู้ใช้บริการ(serviceconsumers)และไดเรกทอรีเซอร์วิซ(servicedirectory)เซอร์วิซต่างๆถูกพัฒนาโดยผู้ให้บริการ(serviceproviders)ซึ่งประกาศอินเทอร์เฟซหรือวิธีการเรียกใช้บริการและตำแหน่งที่อยู่ไว้กับไดเรกทอรีเซอร์วิซเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสอบถาม ข้อมูลเซอร์วิซได้เมื่อต้องการใช้บริการโดยเมื่อพบเซอร์วิซที่ต้องการแล้วผู้ใช้บริการ       สามารถ เรียกใช้บริการจากตัวเซอร์วิซได้โดยตรงโครงสร้างการทำงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหลักการของเอสโอเอคือการออกแบบโปรแกรมที่เน้นการ       กำหนดคอมโพเนนต์หรือโมดูลของซอฟต์แวร์ให้สามารถผูกกันได้อย่างหลวมๆตัวอย่างมาตรฐานทางเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาโปรแกรมตามหลักการของเอสโอเอได้แก่เว็บ         เซอร์วิซ

ภาพ​ที่​3 สถาปัตยกรรมระบบ SOA ขนาดใหญ่​
ที่มา : https://www.slideshare.net/imcinstitute/introduction-to-soa-15847025

ภาพ​ที่​ ระบบ SOA ขององค์กรทั่วไป
ที่มา : https://www.slideshare.net/imcinstitute/introduction-to-soa-15847025
โครงสร้างการทำงาน   
โครงสร้างการทำงานตามสถาปัตยกรรมเอสโอเอ      ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังภาพที่   5คือเซอร์วิซหรือบริการ(services)ผู้ใช้บริการ(service     consumers)และไดเรกทอรีเซอร์วิซ(servicedirectory)เซอร์วิซต่างๆถูกพัฒนาโดยผู้ให้บริการ(serviceproviders)ซึ่งประกาศอินเทอร์เฟซหรือวิธีการเรียกใช้บริการและ ตำแหน่งที่อยู่ไว้กับไดเรกทอรีเซอร์วิซ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามข้อมูลเซอร์วิซได้เมื่อต้องการใช้ บริการโดยเมื่อพบเซอร์วิซที่ต้องการแล้วผู้ใช้บริการ        สามารถ เรียกใช้บริการจากตัวเซอร์วิซได้โดยตรง           โครงสร้างการทำงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหลักการของเอสโอเอคือการออกแบบโปรแกรมที่เน้น การกำหนดคอมโพเนนต์หรือโมดูลของซอฟต์แวร์ ให้สามารถผูกกันได้อย่างหลวมๆตัวอย่างมาตรฐานทางเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาโปรแกรมตามหลักการของเอสโอเอได้แก่เว็บ       เซอร์วิซนั่นเอง

รูป 5 แสดงโมเดลการทำงานของเว็บเซอร์วิส
ที่มา : https://www.slideshare.net/imcinstitute/introduction-to-soa-15847025
3.คลาวด์คอมพิวติง 
แนวคิดของคลาวด์คอมพิวติง
ความ​หมาย​ของ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติง
คลาวด์คอมพิวติงเป็นแนวทางการประมวลผลที่ทรัพยากรด้านไอทีถูกนำเสนอในรูปแบบของบริการผ่านอินเทอร์เน็ตนักวิจัยได้ให้ความหมายของคลาวด์            คอมพิวติงว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการประมวลผลที่          ผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตทรัพยากรสารสนเทศในที่นี้      รวมถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์(hardware)ที่ทำหน้าที่ประมวลผล  และจัดเก็บข้อมูลซอฟต์แวร์ระบบ(systemsoftware)     และส่วนของโปรแกรมประยุกต์(application)ที่ระบุ ลำดับของคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลผู้ใช้สามารถเลือกใช้เฉพาะบริการที่ต้องการเพื่อสร้างบริการหรือผลลัพธ์โดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบการบริหารจัดการหรือบำรุงรักษาแต่ผู้ใช้           ต้องชำระค่าบริการตามบริการที่เรียกใช้จริงคล้ายกับการชำระค่าสาธารณูปโภคอื่นเช่น  ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ(Buyyaetal.       2009:   560;Stanoevska-SlabevaandWozniak2010:48)            การลดค่าใช้จ่าย ในการลงทุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้องค์การเลือกใช้คลาวด์คอมพิวติงกลุ่มเมฆ”       หรือคลาวด์เป็นคำที่ใช้สื่อความหมายสำหรับกลุ่มทรัพยากร      เสมือนด้านไอทีที่เกิดจาก การใช้เทคโนโลยี เสมือน(virtualization)เชื่อมโยงภายใน เครือข่ายการทำให้การเพิ่มหรือลดขนาดเครือข่ายของทรัพยากรการประมวลผลทำได้ง่าย(scalability)     ผู้ขอใช้บริการไม่จำเป็นต้องทราบรายละเอียดการดำเนินงานหรือสถานที่ติดตั้งทรัพยากรเพียงแค่เรียกใช้บริการทรัพยากรการประมวลผลตามรูปแบบ   อินเทอร์เฟซที่กำหนดไว้(definedabstractinginterface)ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็สามารถได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการผู้ ใช้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายอย่างในการติดต่อขอรับบริการจากกลุ่มเมฆ           ตัวอย่าง เช่นเครื่องพีซีที่ไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงเครื่องที่ เคลื่อนย้ายได้(mobiledevices)เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือพีดีเอเป็นต้น

ภาพ​ที่​ 3.1คุณลักษณะ​ของ​ระบบ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติง​
ที่มา : https://www.it24hrs.com/2015/cloud-computing-and-cloud-definition/
โครงสร้างของคลาวด์คอมพิวติง
ประเภท​บริการ​ของ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติง
Stanoevska-SlabevaและWozniak(Stanoevska-SlabevaandWozniak2010:        51)ได้ศึกษา
องค์ประกอบของคลาวด์คอมพิวติงและได้เสนอว่าองค์ประกอบพื้นฐานของคลาวด์คอมพิวติงสามารถแบ่ง ได้เป็น3ลำดับชั้น(three-layeredconcept)ตามประเภทของทรัพยากรคือชั้นของอุปกรณ์การประมวลผล และเครือข่าย(infrastructure)ชั้นของซอฟต์แวร์ระบบ(platform)และชั้นของโปรแกรมประยุกต์    (software)และเนื่องจากการบริการเป็นคุณลักษณะที่          สำคัญของคลาวด์คอมพิวติงอาจอธิบายได้ว่าประเภทของบริการของคลาวด์คอมพิวติงสามารถแบ่งได้3ประเภท


ภาพ​ที่​3.2 ประเภท​บริการ​ของ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติง
ที่มา : https://www.it24hrs.com/2015/cloud-computing-and-cloud-definition/
อินฟราสตรักเจอร์แอสอะเซอร์วิซ  (Infrastructure-as-a-Service:  IaaS)เป็นการบริการทรัพยากรประมวลผลหรือจัดเก็บข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีเสมือน(virtualization)ซึ่งช่วยให้ผู้ขอใช้         บริการซึ่งอยู่ในชั้น ของซอฟต์แวร์ระบบ(platform)และโปรแกรมประยุกต์(software)สามารถเข้าถึงบริการได้ผ่านทางอินเทอร์เฟซที่ได้กำหนดไว้ผู้ขอใช้บริการอาจเป็นผู้ใช้บริการทั่วไป(endusers)หรือผู้ให้บริการประมวลผลกลุ่มเมฆรายอื่น(PaaSandSaaSproviders)ตัวอย่างผู้ให้ บริการแบบIaaSเช่นAmazonEC2ซึ่งให้บริการประมวลผลและ จัดเก็บข้อมูลสำหรับซอฟต์แวร์ต่างๆและJoyentซึ่งให้บริการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลสำหรับซอฟต์แวร์ประเภทเว็บ       แอปพลิเคชันโดยเฉพาะเป็นต้น
แพลตฟอร์มแอสอะเซอร์วิซ (Platform-as-a-Service: PaaS)แพลตฟอร์มเป็นชั้นของทรัพยากรการประมวล ผลที่อยู่ระหว่างชั้นของหน่วยประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล(infrastructure)กับชั้นของโปรแกรมประยุกต์(software)ลักษณะสำคัญของบริการPaaSคือผู้ให้บริการนำเสนอแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้พัฒนาชุดคำสั่งสามารถ       ใช้ประโยชน์แบบ ออนไลน์ได้ผู้พัฒนาชุดคำสั่งจะนำผลงานของตนไปไว้ที่แพลตฟอร์มที่สามารถดำเนินงานชุดคำ            สั่งเพื่อให้ประสานการทำงานกับชั้นของอินฟราสตรัคเจอร์ต่อไปโดยผู้พัฒนาชุดคำสั่งหรือ ผู้ ใช้บริการPaaSไม่ต้องกังวลถึงความสามารถของหน่วยประมวลผลหรือขนาดของหน่วยจัด     เก็บข้อมูลการจัดขนาดทรัพยากรและหน่วยความจำที่ต้องใช้ในการประมวลผลจะเป็น ไปอย่างอัตโนมัติและแปรตามความต้องการอง    ชุดคำสั่งงานตัวอย่างผู้ให้บริการ          PaaS    ได้แก่Force.comของ      Salesforceซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการชุดคำสั่งบนอินฟราสตรักเจอร์ของSalesforceและ         Google AppsEngineซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการชุดคำสั่งบนอินฟราสตรักเจอร์ของGoogle
ซอฟต์แวร์แอสอะเซอร์วิซ (Software-as-a-Service: SaaS)      เป็นบริการชุดคำสั่งประมวลผลบนอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใช้บริการไม่ต้องติดตั้งชุดคำสั่งงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ            แพลตฟอร์มที่ดำเนินการชุดคำสั่งหรือหน่วยประมวลผลหรือเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายของผู้          ใช้บริการขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานชุดคำ สั่ง(pay-per-use)บริการรูปแบบ          นี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ พัฒนาและบำรุงรักษาชุดคำ         สั่งงานชุดคำสั่งงานที่เสนอให้บริการมีทั้งชุดคำสั่งที่          ใช้ในการทำงาน  โดยทั่วไปและชุดคำสั่งงานประยุกต์ตัวอย่างบริการSaaSที่บริการชุดคำสั่งงานทั่วไปได้แก่            Google mailและGoogleDocsandSpreadsheetsซึ่งเป็นโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรมประมวลผลคำ(wordprocessor)และโปรแกรมสเปรดชีตของGoogleตัวอย่างชุดคำสั่งงานประยุกต์เช่นระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์(CustomerRelationshipManagement:   CRM)ของบริษัทSalesforce.comเป็นต้น
รูปแบบการให้บริการของคลาวด์คอมพิวติง
ประเภท​ของ​กลุ่ม​เมฆ
คลาวด์คอมพิวติงเป็นการบริการทรัพยากรไอทีจากผู้ให้บริการ(externalprovider)ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยคิดค่าใช้บริการตามปริมาณการใช้งาน(pay-per-usemanner)นอกจากนี้ลักษณะเด่น2ประการ    ของคลาวด์คอมพิวติงคือการใช้เทคโนโลยีทรัพยากรเสมือน(virtualization)    และความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดปริมาณทรัพยากร          ในกลุ่มเมฆ(scalability)สามารถแบ่งประเภทของกลุ่มเมฆหรือคลาวด์ตามผู้ดูแลและจัดสรรทรัพยากรในกลุ่มเมฆ(data      centre  ownership)และลักษณะการผนวกรวมระหว่างกลุ่มเมฆได้4ประเภทคือพับบลิกคลาวด์ไพรเวตคลาวด์ไฮบริดคลาวด์และเฟดเดอเรชันออฟคลาวด์


ภาพ​ที่​3.3​ประเภท​ของ​กลุ่ม​เมฆ
ที่มา:     http://www.ourkloud.com.au/cloud/public/
พับบลิกคลาวด์ (public cloud)หรือเอกซ์เทอร์นอลคลาวด์(external cloud)เป็นการบริการคลาวด์คอมพิวติงโดยผู้ให้บริการภายนอก(thirdparties)ตามแนวคิดของคลาวด์คอมพิวติงที่สนับสนุนการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรสารสนเทศจากผู้ให้บริการไปสู่ผู้ใช้            บริการที่ ร้องของบริการด้วยตนเองและเสียค่าใช้จ่ายค่าบริการตามปริมาณการร้องขอตามจริงตัวอย่างผู้ให้บริการพับบลิกคลาวด์  ได้แก่GoogleและAmazon
ไพรเวต คลาวด์(private cloud)หรืออินเทอร์นอลคลาวด์(internalcloud)เป็นลักษณะการประมวลผลของคลาวด์คอมพิวติงที่เน้นความมั่นคงใน            การใช้บริการการประมวลผลแบบ  ไพรเวตคลาวด์จะเกิดขึ้น  บนเครือข่ายส่วนบุคคล(privatenetwork)ของผู้ใช้บริการหรือของผู้ให้บริการที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการเฉพาะรายเดียวเท่านั้นผู้ใช้บริการหรือผู้ให้บริการ     สามารถ จะกำกับดูแลการประมวลผลได้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง เช่นประเภทของโปรแกรมที่สามารถประมวลผลในกลุ่มเมฆ    สถานที่ตั้งของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่  ใช้ในการประมวลผลและผู้มีสิทธิ์ใช้บริการคลาวด์คอมพิวติง ทั้งนี้ข้อดีของไพรเวตคลาวด์คือผู้ใช้บริการสามารถได้ รับประโยชน์จาก            เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงในขณะเดียวกันก็ยังสามารถควบคุมการประมวลในกลุ่ม   เมฆได้อย่างเต็มที่องค์การที่เน้นความมั่นคงใน            การใช้บริการอาจนำแนวคิดของคลาวด์คอมพิวติงแบบไพรเวตคลาวด์มาใช้ในการบริหารจัดการ ทรัพยากรไอที ของตนเอง   โดยการ ปรับสภาพแวดล้อมการประมวลผลให้เป็นแบบระบบเสมือนด้วยบริการที่สร้างขึ้นเองหรือ          ซื้อจากผู้ให้บริการ
ไฮบริดคลาวด์ (hybrid cloud)เป็นกลุ่มเมฆที่เกิดจากการผนวกรวมระหว่างพับบลิกคลาวด์และไพรเวตคลาวด์องค์การที่เลือกใช้โครงสร้างการประมวลผลแบบไฮบริดคลาวด์สามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ประมวลผลโปรแกรมประยุกต์ใดในพับบลิกคลาวด์    หรือไพรเวตคลาวด์ไฮบริดคลาวด์ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถ        ได้รับประโยชน์จากคุณลักษณะของพับบลิกคลาวด์ที่มีความยืดหยุ่นสามารถเพิ่มหรือ ลดขนาด ของทรัพยากรกลุ่มเมฆหรือไพรเวตคลาวด์ที่สนับสนุนด้านความมั่นคงการบริการการประมวลผลการควบคุมการประมวลผลในไฮบริดคลาวด์จะมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นจากการประมวลผลของคลาวด์คอมพิว
ติงแบบไพรเวตคลาวด์หรือพับบลิกคลาวด์เพียงกลุ่มเดียวเนื่องจากต้องมีการ   ควบคุมการทำงานของทั้งไพรเวตคลา        วด์ และพับบลิกคลาวด์(Monitoring)นอกจากนี้ไฮบริดคลาวด์อาจไม่เหมาะกับระบบการประมวลผลที่มีการประสานการทำงานระหว่างโปรแกรม(synchronization)เนื่องจากไฮบริดคลาวด์สนับสนุนการกระจายการประมวลผลของโปรแกรมประยุกต์(distributionsofapplications)ในกลุ่มเมฆเฟดเดอเรชันออฟคลาวด์ (federation of clouds)เป็นกลุ่มเมฆที่  เกิดจาก พับบลิก            คลาวด์ตั้งแต่2กลุ่มขึ้นไป(ทั้งนี้อาจมี          ไพรเวตคลาวด์ผนวกรวมด้วย)ทั้งนี้พับบลิกคลาวด์แต่ละกลุ่มยังคงเป็นอิสระต่อกันแต่สามารถ        แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทรัพยากรการประมวลผลระหว่างกันผ่านทางมาตรฐานอินเทอร์เฟซที่ได้   ระบุไว้เฟดเดอเรชันออฟคลาวด์ช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากข้อจำกัดของปริมาณบริการประมวลผลของผู้ให้บริการเฉพาะรายโดยผู้ให้บริการพับบลิกคลาวด์  สามารถ ร่วมกับผู้ให้บริการพับบลิกคลาวด์  รายอื่นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการประมวลผลได้ตามปริมาณการร้องขออย่างไม่มี       ขีดจำกัด(Infinite
Computeutility)อาจกล่าวได้ว่าความสามารถประมวลผลระหว่างกลุ่มเมฆ(Interoperability     ofclouds)เป็นปัจจัยสำคัญ          ของความสำเร็จของคลาวด์คอมพิวติงเนื่องจากปัจจัยดังกล่าวช่วยให้คลาวด์        คอมพิวติงสำหรับผู้ใช้บริการมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเนื่องจากผู้ใช้บริการสามารถเลือกที่            จะเอาต์ซอร์ซบริการด้านข้อมูลหรือกระบวนการประมวลผลให้ไปประมวลผลในกลุ่มเมฆที่มีนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ ตรงตามความต้องการของตนนอกจากนี้ยังสามารถเลือกผู้ให้บริการ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติง
ประโยชน์​ของ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติง
คลาวด์คอมพิวติงมีประโยชน์หลายประการยกตัวอย่างเช่น
ลดต้นทุนในการจัดหาและบำรุงรักษาทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศคลาวด์คอมพิวติงซึ่งเป็นการทำงานด้วยเครื่องเสมือนช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้อง         ลงทุนเป็นจำนวนมากโดยที่ค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการจะแปรตามปริมาณการใช้ทรัพยากรตามจริงนอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนทาง     อ้อมเช่นค่าไฟฟ้าค่าสถานที่องค์การที่มีคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถระดับสูงหรือมีศูนย์ข้อมูลที่ใช้จัดเก็บมูลจำนวนมาก      นอกจากจะต้องใช้พื้นที่มากแล้วยังต้องมีระบบจัดการความเย็นที่ดีเพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากการทำงานของ  เครื่องคอมพิวเตอร์
สามารถใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่าเทคโนโลยี เสมือนที่นำมาใช้ในการจัดสรรทรัพยากรของคลาวด์คอมพิวติงช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถแบ่งปันทรัพยากรเช่นเครื่องแม่ข่าย      และหน่วยความจำให้กับผู้ใช้บริการที่ร้องขอบริการ
ช่วยสนับสนุนให้องค์กรมีความคล่องตัว  ในการตอบสนองความต้องการทางด้านธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา(agility)ทั้งนี้เนื่องจากการใช้บริการ         จากคลาวด์คอมพิวติงช่วยให้ องค์กรสามารถปรับหรือสร้างกระบวนการดำเนินงานด้านไอทีที่ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่าง
สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
เป็นการช่วยสภาพคล่องด้านการเงินขององค์การเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการใช้บริการจากเทคโนโลยี-สารสนเทศกระจายไปตามช่วงเวลาที่มีการใช้งานทรัพยากร   จริง
ช่วยลดการใช้พลังงานและมลพิษเนื่องจากสามารถเลือกติดตั้งเครื่องแม่ข่ายประมวลผล(physicalmachines)ในสถานที่ที่สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม

​​ข้อ​ควร​ระวัง​ของ​บริการ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติง
แม้ว่าคลาวด์คอมพิวติงจะมีประโยชน์หลายประการก็ยังมีข้อควรระวังในการใช้ต่อไปนี้
ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (privacy and security)เนื่องจากคลาวด์คอมพิวติงเป็นรูปแบบการประมวลผลที่ผู้ใช้บริการมองไม่เห็นรายละเอียดการดำเนินงานภายในกลุ่มเมฆประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึง      สำหรับผู้ให้บริการคือการ  สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้  ใช้บริการผู้ให้บริการต้องกำหนดนโยบายความ มั่นคงของระบบตัวอย่างเช่นการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสื่อสารระหว่างผู้ร้องขอและผู้ให้บริการสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการและข้อมูลและข้อบังคับในการใช้บริการ
ความเชื่อถือได้ (reliability)ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือความน่าเชื่อถือของคลาวด์ คอมพิวติงผู้ให้บริการต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการว่าสามารถให้บริการได้ตามที่ร้องขอและมี     มาตรการรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาด  คิดเช่นเครือข่ายล่มส่วนผู้           ใช้บริการต้องศึกษานโยบายการแก้ปัญหาของผู้ให้บริการเมื่อระบบงานหรือระบบเครือข่ายมีปัญหาอาทิเช่นระยะเวลาการแก้ไขหรือความน่าจะเป็นในการเกิดปัญหาเป็นต้นโดยปกติแล้วนโยบายดังกล่าวจะนำเสนอในส่วนของคุณภาพของการบริการ(QualityofService:QOS)ซึ่งอยู่       ในข้อตกลงการใช้บริการ  (ServiceLevel   Agreement:SLA)
ผู้ใช้บริการควรต้องให้ทำความเข้าใจกับข้อความที่ปรากฏในข้อตกลงการใช้บริการ
มาตรฐานของแพลตฟอร์มสำหรับในกรณีของPaaSแพลตฟอร์มที่ผู้ให้บริการรายต่างๆนำเสนออาจใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้พัฒนาชุดคำสั่งงานที่จะไปดำเนินงานบนกลุ่มเมฆต้องคำนึงถึง       เทคโนโลยีของแพลตฟอร์มเหล่านี้เนื่องจากชุดคำสั่งงานอาจไม่สามารถปรับให้ทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์ม
บทสรุป  คุณลักษณะที่สำคัญของคลาวด์คอมพิวติงที่สำคัญ            ต่อองค์กรมี2ประเด็นหลักคือ
1)เป็นโครงสร้างการประมวลผลที่สนับสนุนให้องค์การสามารถสร้าง  หรือปรับกระบวนการด้านไอทีเพื่อตอบสนองความต้องการด้านธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา(businessprocessagility)
2)เป็นโครงสร้างการประมวลผลที่สนับสนุนให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า(ITresourcesutilization)อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานและ            รักษาสิ่ง            แวดล้อมอย่างไรก็ตามผู้ใช้ บริการคลาวด์คอมพิวติงควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงปัจจัยด้านความปลอดภัยความน่าเชื่อ        ถือและความสามารถใน   การทำงานร่วมกันได้ระหว่างกลุ่มเมฆ
ที่มา :
1.       http://www.vcharkarn.com/varticle/32730
2.       http://www.maxi-pedia.com/Grid+computing+distributed+computing

3.       https://www.slideshare.net/imcinstitute/introduction-to-soa-15847025

1 ความคิดเห็น:

  1. Do you understand there is a 12 word sentence you can tell your partner... that will trigger deep emotions of love and impulsive attractiveness for you buried inside his chest?

    That's because hidden in these 12 words is a "secret signal" that fuels a man's instinct to love, worship and protect you with all his heart...

    =====> 12 Words Will Fuel A Man's Desire Impulse

    This instinct is so hardwired into a man's mind that it will make him work harder than ever before to to be the best lover he can be.

    Matter-of-fact, triggering this dominant instinct is absolutely mandatory to achieving the best possible relationship with your man that as soon as you send your man one of the "Secret Signals"...

    ...You'll instantly find him open his mind and heart for you in such a way he's never experienced before and he'll perceive you as the one and only woman in the universe who has ever truly attracted him.

    ตอบลบ