ยกตัวอย่างองค์กรในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างกลยุทธ์

ตัวอย่างองค์กรในประเทศไทย ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขันเพื่อความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ )


ตารางตัวอย่างขององค์การที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขันเพื่อความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ )
1.ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า :ทรู
แพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์
กลุ่มทรูมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าด้วยการนำเสนอแพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์ที่โดดเด่นและน่าดึงดูดใจโดยเป็นการผสมผสานผลิตภัณฑ์ต่างๆภายในกลุ่มทรูเข้าไว้ด้วยกันเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดด้วยราคาที่คุ้มค่าทั้งนี้แพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์ที่ครบครันและหลากหลายของกลุ่มทั้งแคมเปญทรูสมาร์ทช้อยส์และทรูซูเปอร์สปีดไฟเบอร์มอบความคุ้มค่าด้วยการผนวกบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์จากทรูออนไลน์ช่องรายการคุณภาพจากทรูวิชั่นส์บริการเสียงและดาต้าจากทรูมูฟเอชและบริการโทรศัพท์บ้านพื้นฐานได้อย่างลงตัวโดยผู้บริโภคสามารถเลือกสมัครใช้บริการแต่ละสินค้าของกลุ่มหรือซื้อแพ็กเกจเพิ่มเติมได้ตามความต้องการทั้งนี้แคมเปญคอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรูได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มฐานลูกค้าและความผูกพันของลูกค้าต่อสินค้าและบริการภายใต้กลุ่มทรูโดยกลุ่มทรูเชื่อมั่นว่าคอนเวอร์เจนซ์คือยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่ม
การตลาด
กลุ่มทรูมุ่งมั่นให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมประสิทธิภาพสูงโดยมุ่งเน้นการให้บริการด้วยเครือข่ายคุณภาพสูงสุดและครอบคลุมทั่วประเทศผ่านเทคโนโลยีทันสมัยนอกจากนี้ยังมอบความคุ้มค่า

ให้แก่ผู้บริโภคด้วยการเชื่อมโยงทุกบริการภายในกลุ่มทรูทั้งบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบมีสายและไร้สายบริการด้านเสียงและคอนเทนต์คุณภาพทั้งต่างประเทศและในประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์พร้อมพัฒนาโซลูชั่นหลากหลายโดยเฉพาะดิจิตอลโซลูชั่นเพื่อตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ตรงใจลูกค้าได้อย่างแท้จริงสิ่งเหล่านี้ทำให้กลุ่มทรูแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นและมีส่วนสำคัญในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดรักษาฐานลูกค้าและเพิ่มความผูกพันของลูกค้าต่อสินค้าและบริการภายใต้กลุ่มทรูได้เป็นอย่างนอกจากนี้การมุ่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่องและการทำการตลาดเฉพาะในแต่ละพื้นที่และกลุ่มลูกค้าช่วยให้กลุ่มทรูเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กลุ่มทรูเติบโตแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องการจำหน่ายเเละช่องทางการจำหน่ายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าบุคคลกลุ่มทรูได้เปิดศูนย์บริการทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมทั้งต่างจังหวัดโดยในแต่ละศูนย์บริการจะมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำแบบ One-stop shopping ในแห่งเดียวเกี่ยวกับบริการสื่อสารทั้งแบบมีสายและไร้สายเพย์ทีวีเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์เสริมและอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆรวมทั้งโมเด็มซึ่งในศูนย์บริการใหญ่จะเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยนอกจากนี้กลุ่มทรูยังได้จำหน่ายสินค้าและบริการผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศทั้งที่เป็นร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและตัวแทนจำหน่ายอิสระซึ่งรับค่าตอบแทนจากค่าคอมมิชชั่น

2.สร้างความแตกต่าง :เทสโก้โลตัส

สมัครคลับการ์ดง่าย ๆ วันนี้เพื่อรับคูปองเงินสด ส่วนสดสุดพิเศษ และลุ้นรับรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย
ซึ่งสิ่งที่ทำให้เทสโก้แตกต่างจ่กค้าปลีกอื่นๆคือเทสโก้โลตัสได้มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าโดยผ่านการใช้งานบัตรสมาชิกคลับการ์ด จากนั้นเทสโก้โลตัสจะทำการแจกคูปองส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไปที่มีประเภทของสินค้าใกล้เคียงกับสินค้าที่ลูกค้าเคยซื้อ เพื่อเป็นการทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง

3.นวัตกรรม :ธปท.
1. บริการพร้อมเพย์ดีอย่างไรบังคับให้ทุกคนต้องลงทะเบียนหรือไม่?
บริการพร้อมเพย์ (PromptPay) หรือเดิมใช้ชื่อว่า เอนี่ ไอดี (Any ID) เป็นทางเลือกในการให้บริการรับ โอนเงินระหว่างกันแบบใหม่ โดยไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ใช้เพียงแค่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือ เลขประจำตัวประชาชนทำให้การโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์มีความสะดวกและปลอดภัยโดยจะให้บริการผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคาร คือ Mobile Banking, Internet, Banking และ ตู้ ATM ทั้งนี้ การให้บริการพร้อมเพย์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศไทยพร้อมเพย์เป็นบริการทางเลือกให้ประชาชนโดยทุกคนไม่จำเป็นต้องมาลงทะเบียน แต่ผู้ที่มีการโอนเงินรับเงินบ่อย ๆ ควรมาลงทะเบียนใช้พร้อมเพย์ เพราะจะได้รับ ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมที่ถูกลงมากในระยะแรกจะเป็นการลงทะเบียนเพื่อให้บริการรับ โอนเงินระหว่างบุคคลก่อน โดยมีค่าธรรมเนียมดังนี้

2. บริการพร้อมเพย์ปลอดภัย หรือไม่
บริการพร้อมเพย์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่างๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบันระบบพร้อมเพย์มีการดูแลความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการลงทะเบียนที่รัดกุม การพัฒนาระบบกลางที่มั่นคง ปลอดภัย และการใช้งานของประชาชนผู้โอนเงินอย่างถูกต้องลงทะเบียนรัดกุม ธนาคารจะมีการตรวจสอบตัวตนของลูกค้าและความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถืออย่างรัดกุม นอกจากนี้ ธปท. ได้กำชับให้ธนาคารปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดในการรับลงทะเบียนพร้อมเพย์ ซึ่งได้ออกไปเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 59 เพื่อให้การลงทะเบียนมีความปลอดภัยเป็นมาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน รวมทั้ง ธปท. มีการตรวจสอบ ขั้นตอนและการควบคุมดูแล ระบบการลงทะเบียนพร้อมเพย์เป็นการเฉพาะเพื่อให้มั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยและความพร้อมใช้งานระบบกลางมั่นคงปลอดภัย พร้อมเพย์เป็นระบบที่พัฒนาเพิ่มจากระบบโอนเงินที่ใช้อยู่ปัจจุบัน จึงมีความปลอดภัยไม่ด้อยกว่าบริการโอนเงินในปัจจุบันเป็นระบบที่เชื่อมระหว่างธนาคารและผู้ให้บริการระบบกลางพร้อมเพย์ของประเทศไทยคือ บริษัท NITMX จึงเป็นระบบปิดที่มีการดูแลรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลคนภายนอกไม่สามารถต่อเข้ากับระบบนี้ผ่านช่องทาง Internet ทั่วไปได้ และ ธปท. ได้ติดตามดูแลการพัฒนาระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วย
นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมการรองรับในด้านความปลอดภัย รวมถึงการดูแลระบบสารสนเทศ (IT) ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานความถูกต้องความพร้อมใช้ของระบบ การดูแลการเข้าถึงข้อมูล การสำรองข้อมูล การมีแผนรองรับกรณีฉุกเฉินด้วยระบบกลางของพร้อมเพย์ได้ถูกออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการชำระเงิน และเป็นผู้พัฒนาระบบการชำระเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ อาทิ ระบบที่มีลักษณะเดียวกันกับพร้อมเพย์ที่ประเทศอังกฤษ (ใช้มาเป็นเวลา 8 ปี) และสิงคโปร์ (2 ปี) โดยมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงระดับสากล และยังมีระบบติดตามและป้องกันการทุจริตเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบกลาง ได้ให้บริการโดยระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO 27001 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระบบสากลและมีการตรวจสอบประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภายนอกที่ได้รับการรับรองอีกชั้นหนึ่ง
ประชาชนโอนเงินอย่างถูกต้อง นอกเหนือจากความปลอดภัยของระบบกลางแล้ว ได้มีการออกแบบความปลอดภัยในส่วนของกระบวนการเข้าใช้งาน กล่าวคือ ผู้ใช้บริการทุกธนาคาร จะต้องมีการใส่เลขรหัส หรือ Password และมีการยืนยัน รายการก่อนทำการโอนทุกครั้ง

3. ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ต้องลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์หรือไม่
  • ผู้โอนเงิน ถึงแม้ว่าไม่ได้ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ ก็สามารถโอนเงินด้วยพร้อมเพย์ได้แต่ผู้รับโอนต้องลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์แล้ว ผู้โอนเงินจึงสามารถโอนผ่านพร้อมเพย์ด้วยค่าธรรมเนียมใหม่ได้
  • ผู้รับโอนเงิน จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีธนาคารของตนเองกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชนก่อนและแจ้งหมายเลขดังกล่าวให้ผู้โอนทราบ เพื่อ
    รับเงินเข้าบัญชีที่ได้ผูกไว้
4. ผู้ที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหลายบัญชีจำเป็นต้องมาลงทะเบียนพร้อมเพย์ทุกบัญชีหรือไม่
  • สำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหลายบัญชีไม่จำเป็นต้องมาลงทะเบียนพร้อมเพย์ทุกบัญชี แต่อาจเลือกบัญชีใดบัญชีหนึ่งไว้สำหรับรับเงินด้วยพร้อมเพย์ก็ได้ หรือในกรณีที่อยากใช้พร้อมเพย์กับหลายบัญชีก็สามารถเลือกผูกเลขประจำตัว ประชาชนกับบัญชีที่ 1 และผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีที่ 2 ก็ได้ แต่ต้องระวังว่าหมายเลขเดียวกันผูกซ้ำเกินกว่า 1 บัญชีไม่ได้
5. การที่ผู้อื่นรู้เลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเราจะเอาไปโอนเงินออกจากบัญชีเราได้หรือไม่
  • กรณีนี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือนั้น ทำเพื่อการรับเงินได้สะดวก การโอนเงินออกจากบัญชีไม่มีอะไรเปลี่ยนจากเดิม หากโอนโดยใช้ Mobile Banking หรือ Internet Banking ก็ต้องมี Username / Password หรือหากโอนที่ ATM ก็ต้องมีบัตร ATM และรหัสผ่านจึงจะโอนเงินออกไปได้ หรือการถอนเงินที่สาขาก็ต้องมีลายเซ็นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด
  • การนำหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้อื่นไปแอบอ้างลงทะเบียนผูกบัญชีของตนเองเพื่อขโมยเงินมา ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากธนาคารจะมีระบบรักษาความปลอดภัยหลายชั้น เช่น การตรวจสอบลูกค้า (Know Your Customer : KYC) ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดและการตรวจสอบคามเป็นเจ้าของ ของหายเลขโทรศัพท์มือถือและตัวเครื่องในขั้นตอนการลงทะเบียน นอกจากนี้ข้อมูลของผู้ลงทะเบียนดังกล่าว ต้องมีความถูกต้องตรงกันกับข้อมูลในบัญชีเงินฝากธนาคารด้วย
6. การใช้บริการพร้อมเพย์มีข้อควรปฏิบัติ / ควรระวังอย่างไรบ้าง
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้รับโอนเงิน
  • ในการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ ผู้รับโอนเงินต้องลงทะเบียนให้สำเร็จ ก่อนแจ้งเลขประจำตัวประชาชน หรือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ให้ผู้โอนเงิน
  • 1 หมายเลข ผูกได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น อย่าใช้หมายเลขเดียวกันลงทะเบียนซ้ำกับหลายธนาคารจะทำให้การลงทะเบียนไม่สำเร็จ
  • หากต้องการเปลี่ยนบัญชีเงินฝากธนาคารที่ได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไว้กับทั้งเลขประจำตัวประชาชน และ/หรือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ต้องไปยกเลิกการลงทะเบียนกับธนาคารที่เคยผูกบัญชีไว้ก่อน
    แล้วจึงไปลงทะเบียนผูกบัญชีกับธนาคารใหม่
  • กรณีเปลี่ยน / ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไว้แล้ว ต้องไปยกเลิกการลงทะเบียนกับธนาคารที่เคยผูกบัญชีไว้โดยเร็วและหากลูกค้ายังต้องการใช้บริการพร้อมเพย์ ต้องนำหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ไปลงทะเบียนใหม่กับ ธนาคารที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้โอนเงิน
  • ก่อนโอนเงินขอให้ ตรวจสอบชื่อนามสกุล ผู้รับโอนเงินให้ถูกต้องก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง
ข้อควรระวังโดยทั่วไปของการใช้บริการพร้อมเพย์
  • ควรระมัดระวังรักษาอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile Device ที่ใช้เชื่อมต่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับระบบพร้อมเพย์เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาไปใช้งาน เช่นเดียวกับการดูแลบัตรเครดิตหรือบัตร ATM ที่ผ่านมา
  • ผู้โอนเงินควรเรียนรู้ ศึกษา วิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย เช่น การตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนการยืนยันการโอนเงิน
  • ควรมีความระมัดระวังในการตั้งรหัส Username / Password ให้คาดเดาได้ยากและไม่บอกรหัส Username / Password กับผู้อื่น หรือเขียนเอาไว้ในที่เปิดเผย ที่ผ่านมาปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มักมีสาเหตุจากการหลอกลวงโดยคน ไม่ใช่เรื่องของ ระบบงานจึงต้องระมัดระวังกลโกงต่าง ๆ ให้โอนเงินไปให้ หรือหลอกขอข้อมูลรหัส Username / Password
7. หมายเลขโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน (Prepaid) สามารถใช้ในการลงทะเบียนได้หรือไม่ และจะตรวจสอบความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้อย่างไร
  • หมายเลขโทรศัพท์มือถือแบบ Prepaid ที่ลงทะเบียนด้วยชื่อของท่าน สามารถนำมาลงทะเบียนได้โดยดำเนินการตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
  • ประชาชนสามารถตรวจเช็คว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือของตนได้ลงทะเบียนกับค่ายโทรศัพท์มือถือไว้ด้วยเลขประจำตัวประชาชนของตนเองหรือไม่ (ทั้ง Prepaid และPostpaid) ก่อนการลงทะเบียนผูกบัญชีพร้อมเพย์ ซึ่งสามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง โดยการ กด *179*เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก # และโทรออกโดย ใช้ได้กับทุกค่ายมือถือตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 59 เป็นต้นไป

8. หากการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์มีคามผิดพลาด เช่น ตัดเงินต้นทางแต่ไม่เข้าปลายทาง หรือโอนเงินผิด จะทำอย่างไร
  • ผู้ใช้บริการควรเก็บรายละเอียดหรือหลักฐานการโอนเงินต่าง ๆ และแจ้งกับธนาคารต้นทางเพื่อทำการตรวจสอบธนาคารมีกระบวนการรองรับปัญหานี้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกันที่ใช้แก้ปัญหาการโอนเงินในปัจจุบัน
9. (1) หากมีการรับสวัสดิการ เช่น เบี้ยคนพิการ ถ้าไม่ได้มาลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์เพื่อผูกเลขประจำตัวประชาชน จะถูกตัดสิทธิ์การรับสวัสดิการหรือไม่
  • พร้อมเพย์เป็นทางเลือกใหม่เพิ่มเติมจากบริการโอนเงินในปัจจุบันถ้าไม่ได้ผูกบัญชี ก็ยังคงได้รับเงินสวัสดิการ / เงินช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐตามปกติผ่านช่องทางปัจจุบัน
(2) ถ้ามีบัญชีที่พร้อมรับเงินสวัสดิการจากรัฐอยู่ในระบบของกรมบัญชีกลางแล้ว ยังจำเป็นต้องลงทะเบียนหรือไม่
  • อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่มีสิทธิรับเงินสวัสดิการ / เงินช่วยเหลือต่าง ๆ จากภาครัฐควรลงทะเบียนระบบพร้อมเพย์โดยผูกเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งจะช่วยให้การรับเงินสวัสดิการ / เงินช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐในอนาคตมีความสะดวกมากขึ้น ภาครัฐจะส่งเงินสวัสดิการ / เงินช่วยเหลือต่าง ๆ มาให้ได้ตรงตัวผ่านเลขประจำตัวประชนชน ครบถ้วนทุกประเภทสวัสดิการที่เรามีสิทธิได้รับด้วยความรวดเร็ว
10. ข้อมูลส่วนตัวจะปลอดภัยหรือไม่
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการมีความปลอดภัยสูงธนาคารหรือ NITMX ไม่สามารถนำข้อมูลลูกค้ามาเปิดเผยหรือขายต่อได้ โดยมีกฎหมาย พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน และ พ.ร.ฎ. ควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมอยู่ ซึ่งธนาคารและ NITMX ได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด และ ธปท. มีการตรวจสอบกำกับดูแลสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ข้อมูลการชำระเงินที่เก็บอยู่ในระบบกลาง มีระบบการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลโดยจะถูกเข้ารหัสความปลอดภัยทั้งหมด
ข้อมูล จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.การเติบโต :CP ALL
ระบบสารสนเทศนำมาประยุกต์ใช้สำหรับ 7-11
ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้ชื่อว่าเป็นร้านค้าปลีกประเภทคอนวีเนียนสโตร์ มีสาขามากมายอยู่แทบทุกหัวมุมของถนน ในแต่ละปีเซเว่นอีเลฟเว่นจะเปิดสาขาไม่ต่ำกว่า 200 สาขา ถึงกับมีการจดสถิติไว้ว่ามีสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นเปิดใหม่ทุกๆ 40 ชั่วโมง   การบริหารสินค้าการจัดส่งสินค้าที่จะต้องถึงมือร้านค้าทั่วประเทศให้เร็วที่สุด ระบบบริหารคลังสินค้าไม่ให้มีสต็อกมากเกินไป และแผนตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากที่สุด คือโจทย์ที่เซเว่นอีเลฟเว่นต้องหาคำตอบให้ได้ "ข้อมูลการขาย" ที่สามารถเรียกใช้งานได้ทันที จึงเปรียบเสมือนเป็น "หัวใจ" ของการทำธุรกิจร้านค้าแบบคอนวีเนียนสโตร์ และการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ก็จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) มาช่วยบันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูลให้ทันท่วงที ถึงกับมีการเปรียบเทียบอย่างไม่เป็นทางการว่า ธุรกิจที่ใช้ไอทีเป็นอันดับสองรองจากบรรดาธนาคาร ก็คือ ธุรกิจค้าปลีกนี่เอง ทางเซเว่นอีเลฟเว่นจึงคิดว่าจะทำอย่างไรกับข้อมูลการขายทุกรายการที่มาจากลูกค้าทั้ง 9,542 แห่งทั่วประเทศที่ต้องเอามาประมวลผลดังนั้นโยบายด้านไอทีให้กับธุรกิจค้าปลีกจึงจำเป็นมาช่วยในการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท     
        ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวใจ" ของการบริหารร้านเซเว่นอีเลฟ เว่น ทางร้านเซเว่นอีเลฟเว่นต้องเรียนรู้เรื่องราวธุรกิจค้าปลีก ที่ไม่ใช่เพียงแค่การอาศัยความรู้วิศวกรรมติดตั้งเครือข่ายให้เสร็จ แต่เขาต้องเรียนรู้ถึงการบริหารการขายทำอย่างไรจึงจะบริหารข้อมูลขายอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารระบบจัดส่งสินค้าให้เหมาะสมที่สุดโมเดลของการบริหารไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่นในไทยได้ถูกจัดวางไปตามกิจกรรมหลักในการทำธุรกิจในแต่ละวันซึ่งจะเกี่ยวพันกับหน่วยงาน 4 ส่วนหลัก คือ ร้านค้า สำนักงานใหญ่ ศูนย์จัดส่งสินค้า และผู้ผลิตสินค้า (Suppliers)
แต่ความซับซ้อนของความต้อง การใช้ไอทีไม่ได้มีมากไปกว่า การมีเพียอุปกรณ์ 2 ชิ้น คือ เครื่องบันทึกเงินสด และพีซีอย่างละเครื่องเท่านั้น
ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกแห่งจะมี

1.เครื่องบันทึกเงินสด ( Electronic Cash Register หรือ ECR)หน้าที่ของมันคือ นอกจากคำนวณเงินที่ขายสินค้าได้ เครื่องนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพราะทันทีที่สินค้าถูกขายออกไป ข้อมูล ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้น ประเภท ยี่ห้อ ราคา จำนวน ข้อมูล เหล่านี้จะถูกส่งไปยังเครื่องพีซี ที่ตั้งอยู่ หลังร้าน

เครื่องพีซี จะทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในร้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเงิน บริหารสินค้า ในทุกๆ เย็น ข้อมูลเหล่านี้จะส่งผ่าน (On-line) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่ ในแต่ละวันข้อมูลนับล้านๆคำสั่ง เหล่านี้จะถูกส่งผ่านจากเครื่องพีซีจาก ร้านของเซเว่นอีเลฟเว่นทั้ง9,542 สาขา วิ่งผ่านระบบเน็ตเวอร์ค มายังสำนักงานใหญ่เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเหล่านี้             

บาร์โค้ด-Barcode หรือรหัสแท่ง ลักษณะเป็นแท่งขนานดำ-ขาว หมายถึง  ระบบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายประจำตัวสินค้าซึ่งเป็นเลขรหัสเป็นภาษาสากลที่ใช้เพื่อสื่อหรือบ่งบอกถึงประเทศผู้ผลิต บริษัทที่ผลิต ชนิดของสินค้า ราคาสินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการตรวจสอบสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การเก็บ การจัดจำหน่าย กำหนดนโยบายการตลาด ประโยชน์ของบาร์โค้ด ด้านผู้ผลิตได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด ด้านผู้ค้าส่ง กระตุ้นทั้งระบบให้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า การรับ-ส่งสินค้า ควบคุมสินค้าคงคลัง ด้านผู้ค้าปลีก ป้องกันการติดราคาผิด เก็บเงินได้เร็วขึ้น ประหยัดแรงงานพนักงาน บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ด้านผู้บริโภค ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน ได้รับบริการเร็วขึ้น มีรายละเอียดของสินค้าที่ซื้อ

เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader)ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย จึงเกิดแนวคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นแบบแท่งรหัสสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ซึ่งนำไปใช้พิมพ์ในรหัสสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องอ่านรหัสเราเรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด มีหลายรูป เช่น แบบมีด้ามจับคล้ายปืน  หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป

ตู้ATM   "เอทีเอ็ม-ATM" ย่อมาจาก Automatic Teller Machine คือระบบถอนเงินหรือฝากเงินธนาคารโดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร ระบบเอทีเอ็มคือระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมืองทั่วประเทศ และทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ในเกือบทุกหนแห่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ

เคาน์เตอร์เซอร์วิส    เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการชำระค่าสาธารณูปโภคทุกประเภทได้แก่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และบริการจากการผ่อนสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะทำให้ลูกค้านั้นประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งยังชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง

บานประตูเลื่อนอัตโนมัติ เป็นประตูที่ใช้ระบบเซ็นเซอร์ฝังไว้ภายในและภายนอกหน้าทางเข้าและออกของ   ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น เมื่อมีผู้มาใช้บริการเดินเข้า-ออก ระบบเซ็นเซอร์ก็จะทำงานโดยสั่งให้ประตูบานเลื่อนเปิดออกและเมื่อผู้ใช้บริการเดินพ้นจากหน้าประตูก็จะปิดทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์หน้าร้านให้ทันสมัยสวยงามเพิ่มความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการ

กล้องวงจรปิด   ระบบกล้องวงจรปิด คือ CCTV ( Closed Circuit Television System ) ก็คือระบบของ กล้องที่มีไว้บันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่นำไปติดไว้ตามที่ต่างๆ มายังส่วนที่เรียกว่าเครื่องบันทึกภาพและเสียงที่เรียกว่าเครื่อง DVR ( Digital Video Recorder ) ซึ่งตัว DVR ก็จะสามารถต่อกับตัว Monitor ได้เพื่อที่เอาไว้สอดส่องอยู่ตลอดเวลาส่วนมากระบบ กล้องวงจรปิด CCTV มักจะนำไปใช้ในระบบ เพื่อการรักษาความปลอดภัยของสำนักงานและห้างร้านต่างๆ รวมไปถึงที่อยู่อาศัยต่าง ๆนอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของพนักงาน และตรวจสอบพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ
เปรียบเทียบไอทีกับธุรกิจ
มีการเปรียบเทียบความต้องการใช้ไอทีกับธุรกิจอื่นๆ ไว้ว่า ธุรกิจค้าปลีกไม่ต้องการความหลากหลายแต่จะต้องเป็นระบบใหญ่เพราะหัวใจของธุรกิจนี้คือการที่ต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ความต้องการใช้ไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่น จะถูกแบ่งออก 3 ลำดับ
1. เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Appication Software)ที่ใช้งานอยู่ในธุรกิจทั่วไปเช่นซอฟต์แวร์ระบบบัญชี ระบบบริหารคลังสินค้า ระบบสต็อก ซึ่งจะรองรับในการบริหารสำนักงานทั่วไป
2. เป็นการนำเอาระบบ Supply chain managementหรือการบริหารกระบวนการของสินค้า ตั้ง แต่การผลิตการจัดส่งไปจนถึงมือลูกค้า ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งของให้ได้ตามเวลาที่ต้องการ และส่งได้รวดเร็วแม่นยำไม่มีสินค้าเหลือในสต็อกมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น  การนำอีดีไอมาใช้แทนใบสั่งของกับผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ๆ ทำให้กระบวนการของการสั่งซื้อ สินค้าเร็วขึ้นเพราะไม่ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำ ซ้อน ทำให้การจัดส่งสินค้าเร็วขึ้น และประหยัดต้นทุนในเรื่องกระดาษ เพราะ ไม่ต้องทำใบสั่งซื้อ และอุปกรณ์ สแกนบาร์โค้ด ซึ่งเป็นส่วนที่จะทำให้ข้อมูลถูกต้อง และละเอียดมากขึ้น
3. เป็นการนำเอาระบบCustomer Relationship Managementซึ่งเป็นกระบวนในการสร้างและ รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว โดยจะอาศัยการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเป็นสำคัญ
กระบวนนี้จะประกอบไปด้วย ระบบเก็บข้อมูลสินค้า (Datamart) ระบบข้อมูลคลังสินค้า (Dataware house) ซึ่งจะกว้างกว่าระบบแรกและระบบช่วยในสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support)
อีกส่วนหนึ่งจะเป็นระบบปรับ ปรุงประสิทธิภาพภายใน (Workflow Automation) โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์เมล ของโลตัสโน้ต มาใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในสำนักงานใหญ่ ที่อยู่บริเวณสีลม แต่แยกกันอยู่คนละตึก มาทดแทนการใช้กระดาษ
ข้อมูลการขายที่ประมวลแล้ว ส่วนหนึ่งจะเข้าสู่อินทราเน็ต เพื่อเป็นข้อมูลภายในเพื่อใช้วางแผนธุรกิจ เช่น รายงานข่าว ค่าใช้จ่าย รายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่บริษัทวางไว้ แต่การส่งข้อมูลระหว่างสาขา 9,542 แห่งไปยังสำนัก งานใหญ่ สิ่งสำคัญของการ ลงทุนไอทีคือ ต้องให้สัมพันธ์กับเงินลงทุน Cost Effective มากที่สุด

ในส่วนของพนักงาน
ใบลาป่วย พักร้อน ลากิจ การเบิกจ่ายเงิน จัดซื้ออุปกรณ์ภายในจะผ่านระบบเวิร์คโฟล์ แบบฟอร์มต่างๆ จะ เป็นอิเล็กทรอนิกส์ฟอร์ม ส่งตามสายงานไปที่รับผิดชอบเพื่ออนุมัติ จะทำให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้น
การใช้ระบบ 7-Card (เซเว่นการ์ด) เพื่อใช้แทนเงินสดบัตรและบัตรสมาชิก

7-Card (เซเว่นการ์ด) คือ บัตรสมาชิกเงินสดอัจฉริยะที่ได้แต้มจากการซื้อของในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการชำระสินค้าและบริการพร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ามากมายที่ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นโดยสามารถเติมเงินได้ที่ร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ

ขั้นตอนการใช้บัตร
1.       แจ้งชำระเงินด้วยบัตรสมาชิก 7-Cardกับพนักงาน
2.       แตะบัตรที่เครื่องอ่านบัตรระบบจะทำการตัดเงินและแจกแต้มสะสมให้โดยอัตโนมัติ
3.       ใบเสร็จจะแสดงยอดซื้อสินค้าและแต้มสะสมที่ได้รับทุกครั้ง
การสะสมแต้ม
ใช้กระบวนการรับแต้มสะสมทุกการใช้จ่ายที่ร้าน 7-Eleven และร้านค้าที่ร่วมรายการ
วิธีการตรวจสอบแต้มคงเหลือ 4 ช่องทาง ดังนี้
1.       ใบเสร็จรับเงิน
2.       แตะบัตรที่เครื่องรับบัตร(EDC) ระบบจะแสดงยอดเงินและแต้มคงเหลือ
3.       แจ้งพนักงานร้าน 7-Eleven เพื่อปริ้นท์ข้อมูลในบัตร
4.       ติดต่อสอบถามได้ที่ Call Center 7-card โทร. 02-711-7777
สิทธิประโยชน์ตลอดอายุสมาชิก 3 ปี
1.รับแต้มสะสมทุกการใช้จ่ายผ่านบัตร 7-Card(ยกเว้นสินค้าที่ไม่ร่วมรายการ)*
2.แต้มสะสมใช้แทนเงินสด หรือแลกของพรีเมี่ยม
3.รายการส่งเสริมการขายเฉพาะสมาชิกทุกเดือน
2.การเปิดให้ Download 7-Eleven TH  แอพพลิเคชั่น

ซึ่งใช้สำหรับการติดตามข้อมูลข่าวสาร โปรโมชั่น การร่วมสนุกกับ 7-Eleven  นอกจากนี้ยังมีการใช้งาน App ในลักษณะของ Wallet แทนเงินสดอีกด้วย โดยมีการทำงานร่วมกับ Truemoney


การดำเนินการเข้าสู่การค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerceโดยการสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซด์ https://www.24catalog.com แล้วสามารถรับสินค้าที่สั่งซื้อได้ที่สาขาร้าน 7-Eleven ที่ระบุได้

รูปแสดงเว็บไซด์ https://www.24catalog.com
ระบบการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและบุคคลทั่วๆไป
Website https://www.7eleven.co.th

รูปแสดงเว็บไซด์ https://www.7eleven.co.th
จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า โปรโมชั่นต่างๆ รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกอีกด้วย
เครือข่ายสังคมออนไลน์หรือโซเชียลต่างๆได้แก่ Facebook,Twitter,google+ ซึ่งจะสามารถโต้ตอบ แจ้งข่าวสาร และตอบคำถามแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วเป็นการปรับตัวตามความก้าวหน้าและความนิยมนั่นเอง

รูปแสดงเครือข่ายสังคมออนไลน์ของ 7-Eleven
ระบบการเสนอสินค้าจำหน่ายใน 7-ELEVENและระบบเสนอพื้นที่เปิดร้าน 7-ELEVEN
สำหรับผู้ประกอบการรายใดสนใจส่งสินค้าเข้ามาจำหน่าย บริษัทได้มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา หากสินค้าตรงกับหลักเกณฑ์ที่กำหนด หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้ามากรอกรายละเอียด โดยการกด Login เพื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกรุณาสมัครสมาชิกโดยการ กด Register จากนั้นจึงเข้าสู่ระบบ

รูปแสดงการเสนอสินค้าจำหน่ายใน 7-ELEVEN

รูปแสดงระบบเสนอพื้นที่เปิดร้าน 7-ELEVEN
สำหรับผู้ที่ที่มีพื้นที อาคารหรือทำเ ที่น่าสนใจเพื่อเปิดเป็นร้าน 7 ร่วมเสนอพื้นที่ได้โดยผ่านระบบ
สามารถเข้ามากรอกรายละเอียด โดยการกด Login เพื่อเข้าสู่ระบบสำหรับท่านใดที่ไม่ได้เป็น
สมาชิกต้องสมัครสมาชิกโดยการกด Register จากนั้นจึงเข้าสู่ระบบ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจทำให้ CP-ALL สามารถขยายสาขา 7-Eleven ได้อย่างก้าวกระโดดและยังคงมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
5.พันธมิตรทางธุรกิจ :AIS&HBO

Aisได้เปิดให้บริการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกโดยให้บริการที่เรียกว่า Ais Play ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า AisPlayboxโดยการรับชมผ่านโครงข่าย AisFibreเป็นหลักโดยการจัดแพคเก็จเริ่มต้น 2 แบบคือ Gold Full HD 299 บาท/เดือน หรือ Platinum Full HD 599 บาท/เดือน โดยลูกค้าแพคเกจนี้จะสามารถรับชมคอนเท้นต์อย่าง HBO ที่ไม่มีการต่อสัญญากับทาง Truevisionsมาออกอากาศที่ AisPlayboxโดยผ่านโครงข่าย  AisFibreแทน นั่นเอง สำหรับการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ลูกค้าสามารถชมคอนเทนต์วิดีโอทั้งรายการโทรทัศน์ภาพยนตร์กีฬาและคาราโอเกะเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการรับชมความบันเทิงหลากหลายรูปแบบนอกจาก AIS PLAYBOX ที่เป็นอุปกรณ์ Set top box สำหรับลูกค้าเอไอเอสไฟเบอร์แล้วในปี 2559 เอไอเอสยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการรับชมคอนเทนต์ผ่านมือถือชื่อว่า AIS PLAY ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนมือถือที่เพิ่มความสะดวกสบายทำให้ลูกค้าสามารถรับชมรายการต่างๆได้ทุกที่ทุกเวลา

ซึ่งความร่วมมือระหว่าง AIS&HBO สามารถทำให้การผนวกรวมดิจิตอลคอนเท้นต์เข้ามาเป็นส่วนเสริมของการให้บริการโครงข่ายทำให้พันธมิตรทางธุรกิจได้รับประโยชน์ทั้งคู่นั่นเอง

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีขององค์การ
        ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราสามารถจำแนกผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานขององค์การออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eletronics mail) เข้ามาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสารและสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (ofice automation) ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ
2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน ในอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างสารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ
3. เครื่องมือในการทำงาน
เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เช่น การออกเอกสารต่าง ๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และการควบคุมการผลิต เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงานและวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆลง แต่ยังคงรักษาหรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินงานขององค์การมากขึ้นในอนาคต

4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (application software) อีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของงานได้อย่างมาก และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและผู้บริหารขององค์การ
5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร
ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยสามารถที่จะต่อเป็นระบบเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องมือที่เก็บและประมวลผลข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป
        แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคต ผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตน มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอย่างสูง ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
1. คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
4. การจดจำเสียง (voice recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchange) หรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
7. อินเทอร์เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network :LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด

15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
        ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน และกำลังทำการศึกษาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้งานในอนาคต โครงการพัฒนาความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลไม่เพียงต้องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมส่วนรวมอีกด้วย เราจะเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
        ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ เช่น เปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันองค์การในประเทศไทยได้มีการตื่นตัวที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เราติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีได้ทัน และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารเป็นสำคัญ โดยที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับองค์การดังต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันขององค์การ เช่น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในระบบคลังสินค้าของบริษัท การใช้ความก้าวหน้าด้านการสื่อสารมาช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลของแผนกต่าง ๆ หรือการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้า เป็นต้น
2. ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่องค์การต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะทำการรวบรวมและจัดระเบียบเก็บไว้ในระบบสารสนเทศ และเมื่อมีความต้องการข้อมูล ก็สามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที โดยการพัฒนาระบบต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมและความสอดคล้องในการใช้งานสารสนเทศขององค์การเป็นสำคัญ
3. วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ เพื่อให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้ การวางแผนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยระบบย่อยอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กันและใช้เวลาในการพัฒนาให้สมบูรณ์
        โดยที่การเตรียมงานเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การประสบความสำเร็จ สมควรประกอบด้วยการเตรียมการในด้านต่อไปนี้
1. บุคลากร การเตรียมบุคลากรให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสร้างและพัฒนา ตลอดจนการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อจัดสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว บุคลากรที่ต้องจัดเตรียมควรเป็นทั้งระดับผู้บริหาร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานปฏิบัติการ เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ รวมทั้งการสรรหาบุคลากรทางสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตของหน่วยงาน
2. งบประมาณ เตรียมกำหนดจำนวนเงินและวางแนวทางในการจัดหาเงินที่จะมาพัฒนาระบบสารสนเทศให้เพียงพอกับแผนที่วางไว้ ตลอดจนจัดทำงบประมาณสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีขององค์การอาจจะล้าสมัยและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะเวลาสั้น
3. การวางแผน ผู้บริหารต้องจัดทำแผนการจัดสร้างหรือพัฒนาระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ใช้ นักออกแบบระบบและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาปฏิบัติงานร่วมกัน
        องค์การที่เจริญเติบโตในอนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้างการบริหารงานและการติดต่อสื่อสาร โดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทของธุรกิจ แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและบุคลากร มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพหรือการลดขั้นตอนในการทำงาน การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์การและเขตแดนของประเทศ การติดตามผลและตรวจสอบการทำงานกับความเป็นส่วนตัวของพนักงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อการร้ายหรือการโจรกรรม ซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจในศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อองค์การและสังคม เพื่อให้เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคมแวดล้อม
เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Ability) ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony) ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง
กลยุทธ์ธุรกิจ
"กลยุทธ์ ยุทธวิธี หรือยุทธศาสตร์" แปลมาจากภาษาอังกฤษ "Strategy" ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า "Strategia" หมายถึง "Generalship" หรือศาสตร์และศิลป์ในการ บังคับบัญชากองทัพ ปกติกลยุทธ์เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางทหารในเรื่อง เกี่ยวกับการ สงคราม และแนวทางในการเอาชนะศัตรู ซึ่งได้รับความสนใจจากนักการทหารในทุกประเทศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่อง จากในอดีตการปกครองและ การทหาร จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยผู้ปกครองมักจะเป็นผู้นำทางการทหาร หรือผู้นำทางการ ทหารมักจะเข้ามา มีบทบาทและ อำนาจ ทางการเมือง กลยุทธ์จึงได้ รับความสนใจจากนักการเมืองและนักปกครองที่พยายาม ศึกษา และนำหลักการมาประยุกต์ในการสร้าง ฐานอำนาจ การขึ้นสู่อำนาจ การรักษาอำนาจ และการปกครองคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่าง สงบสุข
                เนื่องจาก "กลยุทธ์" ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในหลายแนวทาง เช่น กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์ในการสงคราม กลยุทธ์ การ ครอง เรือน กลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ และ กลยุทธ์การเกษตรเป็นต้น ดังนั้นเราจะกล่าวถึง "กลยุทธ์ธุรกิจ" ตามความหมายของผู้เชี่ยวชาญ ในสาขา นี้เป็นสำคัญโดยเราจะศึกษาจากความหมายของ ohmaeวิศวกรนิวเคลียร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งทำงานให้กับบริษัท ที่ปรึกษาทาง ธุรกิจ McKinsey โดยที่ Ohmae ได้รับการยอมรับว่าเป็นปรมาจารย์ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Guru
) คนเดียวของ เอเซีย นอกจากนี้เขายังได้รับการกล่าวถึงจาก บุคคลทั่วไปว่าเป็น "นายกลยุทธ์ (Mr. Strategy)" จากงานเขียนชื่อ "The Mind of the Strategist (1982)" กล่าวว่า "กลยุทธ์ คือ การหาแนวทางให้องค์การสามารถ เอาชนะคู่แข่งขัน อย่างมี ประสิทธิภาพ ภาย ใต้เงื่อนไข ของ ทรัพยากรที่มีอยู่" เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน การจำแนก กลยุทธ์ตาม ระดับและขอบเขต การดำเนิน งานขององค์การออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy) จะถูกกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ปกติกลยุทธ์ในระดับ องค์การ จะมีขอบเขตครอบคลุมระยะเวลายาวและทั่วทั้งองค์การ โดยที่กลยุทธ์ระดับองค์การจะเป็นเครื่องกำหนดว่า องค์การสมควรจะ ดำเนิน ธุรกิจ อะไร และ จัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินงานและการดำรงอยู่ในอนาคต
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) จะมีขอบเขตที่จำกัดว่ากลยุทธ์ระดับองค์การ โดยกลยุทธ์ระดับธุรกิจจะให้ความ สำคัญ กับการ แข่งขันของธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมกลยุทธ์ระดับนี้มัก ถูกกำหนด โดย "ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ (Business Unit Head , BU Head)" เพื่อให้หน่วยธุรกิจ (Business Unit , BU) ของตนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทาง เดียวกับ ภารกิจ (Mission) และวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์การ
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) จะถูกกำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การ ดำเนิน การ และทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า โดยที่กลยุทธ์ระดับนี้จะมีลักษณะที่เฉพาะ เจาะจง ตาม หน้า ที่ ทาง ธุรกิจ โดยรวบรวมข้อมูลจากภายในหน่วยงานและจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานเฉพาะ หน้าที่ประสบ ความสำเร็จภายใต้ ช่วงระยะ เวลาที่แน่นอน

การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่รุนแรงของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจสมัยใหม่มีการดำเนินการทางกลยุทธ์ ตลอดช่วง ชีวิตขององค์การ กลยุทธ์สำคัญที่ ธุรกิจนิยมนำมาประยุกต์ในปัจจุบัน ได้แก่
รูประดับของกลยุทธ์
1. แรงหลักดันจากลูกค้า (Customer Driven) การเปิดเสรีทางการค้าในอุตสาหกรรมและบริการหลายประเทศ ทำให้คู่แข่ง สามารถเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมากและลูกค้ามีทางเลือกในการตัดสินใจ เลือกซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า ธุรกิจต้อง พยายามหาความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยอาศัยการศึกษาและการวิจัยตลาด เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ สอดคล้องความ ต้องการของลูกค้า
2. การแข่งขันระดับโลก (Global Competition) การเติบโตที่รวดเร็วและพัฒนาการที่ต่อเนื่องของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ส่ง ผลให้หลายธุรกิจขยายตัวจนมีขอบเขตข้ามพรมแดนของรัฐ หรือ ที่เรียกว่า "บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation , MNC)" ทำให้ธุรกิจที่อยู่รอดในอนาคตจะต้องพัฒนาความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวให้รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อที่จะ แข่งขันบนเวทีโลกได้ อย่างสมบูรณ์ 
3. การกำหนดขนาดที่เหมาะสม (Rightsizing) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้บริหาร องค์การ ต้องทำการปรับรูปแบบโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม โดยการใช้ ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) เพื่อลด ความฟุ่มเฟือย ในการ ใช้ทรัพยากรทางธุรกิจและสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
4. คุณภาพ (Quality) ในปัจจุบันทั้งธุรกิจและผู้บริโภคต่างตื่นตัวต่อแนวความคิดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เนื่องจากลูกค้า ไม่เพียงแต่ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น แต่เขา ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับเงิน ที่เสียไป หลายองค์การ ได้ พยายามพัฒนาคุณภาพและบริการของตน โดยนำหลักการจัดการด้านการดำเนินงานสมัยใหม่ (Modern Operations Management) มาประยุกต์ให้ในการสร้างคุณภาพของงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management , TQM) การผลิตแบบไม่มี ข้อผิดพลาด (Zero Defect) หรือคุณภาพจากแหล่งกำเนิด (Quality at Source) เป็นต้น
5. เทคโนโลยี (Technology) ธุรกิจนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ไม่เพียงเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพรวมขององค์การ เช่น การลดค่าใช้จ่ายและ ระยะเวลาในการดำเนินงานให้สั้นลงเท่านั้น แต่เทคโนโลยี ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่ธุรกิจ นอกจากนี้การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ของธุรกิจยังช่วย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์จะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1
. การกำหนดเป้าหมาย (Goal Formulation) นักกลยุทธ์ต้องกำหนดเป้าหมายขององค์การออกมกาเป็นรูปธรรม ซึ่งมักจะ อยู่ในรูปของ "ภารกิจ (Mission)" หรือ "วัตถุประสงค์ (Objictive)" เป้าหมายเป็นเครื่องสะท้อน ความต้องการในอนาคต ของ องค์การ โดยนักกลยุทธ์ต้องพิจารณาว่าเขาต้องการให้องค์การเป็นเช่นไรในอนาคต 
2
. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis) นอกจากการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการแล้ว นักกลยุทธ์จะ ต้อง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยพิจารณาทั้งในด้านดีและ ด้านไม่ดี เพื่อทำการเปรียบเทียบ ศักยภาพและความ พร้อมของ องค์การ ปกตินักกลยุทธ์จะแยกการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
2
.1 ปัจจัยภายในองค์การ ( Internal Factors) หมายถึง ส่วนประกอบขององค์การที่มีผลต่อศักยภาพในการบรรลุ เป้า หมาย ของธุรกิจ ซึ่งนักกลยุทธ์จะต้องพิจารณาทั้งจุดแข็ง (Strength) และ จุดอ่อน (Weakness) ขององค์การ เพื่อตรวจสอบความ พร้อม ของ องค์การในการดำเนินงานด้านกลยุทธ์
2
.2 ปัจจัยภายนอกขององค์การ (External Environment) หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ขององค์การ ซึ่งเราจะต้องพิจารณาถึงโอกาส (Opportunity) และข้อ จำกัด (Threat) ในการดำเนินงานขององค์การ

รูปการวิเคราะห์ SWOT
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมช่วยให้นักกลยุทธ์รับทราบภาพลักษณ์ขององค์การทั้งในด้านความสามารถและเปรียบเทียบ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตจีนที่ว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะ ทั้งร้อยครั้ง" โดยที่นักธุรกิจนิยมเรียกวิธีการ วิเคราะห์ สภาพแวดล้อมว่า "การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)"
3. การกำหนดและการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Formulation and Planning) เราสามารถกล่าวได้ว่า ปัจจัยสำคัญ ในการ กำหนดกลยุทธ์มีอยู่ 3 ประการ คือ สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อม ภายใน และเป้าหมายขององค์การ เนื่องจาก เป้าหมายจะให้ภาพที่ชัดเจนถึงความต้องการ ในขณะที่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะทำให้ทราบถึงศักยภาพขององค์การ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
นักกลยุทธ์นำข้อมูลที่ได้จากการกำหนดเป้าหมายและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมากำหนดกลยุทธ โดยกำหนดประเด็น สำคัญเชิงกลยุทธ์ (Strategic Issue) แผนการ วิธีปฏิบัติและประเมินรายละเอียด ของแผนการณ์ เพื่อให้องค์การ สามารถนำ กลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) เป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเชิงกลยุทธ์ ถึงแม้กลยุทธ์จะถูกกำหนดขึ้นอย่างดี แต่ถ้าไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ก็ไม่ต่าง อะไรจากความฝัน นอกจากนี้ถ้านำแผนกลยุทธ์ไป ปฏิบัติแล้วล้มเหลวอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อองค์การทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบถึงการจัดสรรทรัพยากร ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในคุ้มค่าเงินลงทุน ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกลยุทธ์ทั้งโดย ทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะต้องมั่นใจ ว่าผู้นำ กลยุทธ์ไปปฏิบัติมีความเข้าใจในเป้าหมายขององค์การและเป้าหมายของกลยุทธ์เป็นอย่างดี
5. การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) การควบคุมเป็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินว่าการดำเนินงาน เป็นไปตาม แนวทางที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงจรย้อนกลับ (Feedback Loop) ที่นำข้อมูลจากการดำเนินงานขององค์การ มา พิจาราณาว่าเป็นไปตามความต้องการหรือไม่ เพื่อจะได้กาแนวทางในการปรับปรุงให้เหมาะสม โดยความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นอาจ เป็นผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น แผนกลยุทธ์อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรืออาจเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรงของปัจจัย ที่มีผล ต่อการดำเนินธุรกิจขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน เป็นต้น

รูปกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์การ
ปัจจุบันเราเริ่มรับรู้และเคยชินกับองค์การสมัยใหม่ (Modern Organization) ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ ทำให้มีโครงสร้างและลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างจาก องค์การแบบเดิม (Traditional Organization) อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
- การติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนของข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย (Networking System) สร้างความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และไม่ซับซ้อนในการทำงาน ทำให้องค์การสามารถลดจำนวนงานบางอย่าง ลง และจัดรูปแบบการ ดำเนินงาน ให้มี โครงสร้างที่แบบราบ (Flat Structure)
- ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยลดลำดับขั้นในการจัดการ (Management Hierarchy) และทำให้การควบคุม กว้างขึ้น (Wider Span of Control) ซึ่งส่งเสริมการติดต่อสื่อสารภานในองค์การและการ ใช้ทรัพยากรบุคคล ให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด
- ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้บุคคลสามารถทำงานอยู่คนละที่ (Remotely Connection) ซึ่งจะลด การติดต่อ สื่อสารแบบเผชิญหน้าโดยตรง จึงต้องอาศัยความเชื่อถือ (Trust) ระหว่าองค์การ กับบุคลากร ตลอดจนต้องให้อำนาจในการ ตัดสินใจ (Empowerment) แก่บุคลากรเพิ่มมากขึ้น
- การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ ส่งผลให้บุคลากรมีคุณภาพเพิ่มขึ้นทั้งด้าน ศักยภาพส่วนตัวและ จากสารสนเทศ ที่เขาได้รับ ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศทีส่งผลต่อการปรับองค์การให้มีการใช้อุปกรณ์สำนักงานและการสูญเสียทรัพยากรน้อยลง เช่น สำนักงานไม่ใช้กระดาษ (Paperless Office) เป็นต้น
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์การดังต่อไปนี้
1
. ประโยชน์โดยตรง ปกติองค์การเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 
เนื่องจากประโยชน์โดยตรงที่ได้รับจากระบบสารสนเทศนั้น เช่น ชุดคำสั่งด้านการบัญชีและการเงิน ชุดสำหรับการ ประมวลผลคำ (Word processing) หรือฐานข้อมูล (Database) เป็นต้น โดยการลงทุนในระบบ สารสนเทศ จะเป็น ไปตามราคาของอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง และค่าจ้างบุคลากรเฉพาะด้าน การนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ ใช้ในลักษณะนี้จะทำให้ องค์การเกิดการเรียนรู้และเข้าใจถึงประโยชน์ต่อเนื่องที่ได้จากเทคโนโลยี
2. ความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานให้แก่องค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถ พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์นอกจากนี้เทคโนโลยี สารสนเทศยังช่วยเสริมความยืดหยุ่น ในการตัดสินใจแก่ผู้บริหารให้สามารถตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับลักษณะปัญหา เนื่องจากระบบสารสนเทศ สามารถประมวลผลและจัดเรียงข้อมูลในหลาย รูปแบบภายในระยะเวลาสั้น จึงให้ผู้บริหาร มีความเข้าใจและสามารถ วิเคราะห์ปัญหาอย่างชัดเจน
3. ความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการใช้งานตามประโยชน์โดยตรงแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ เพื่อให้องค์การสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอก องค์การได้เร็ว กว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. รายได้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มรายได้แก่องค์การทั้งโดยตรงและทางอ้อม เช่น การรวบรวมและให้บริการและ ให้บริการด้านสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์การอื่น การสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความสะดวก รวดเร็ว ตรงความต้องการของลูกค้า หรือการลดระยะเวลาในการดำเนินงาน เป็นต้น
5. ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ประการสำคัญของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานปัจจุบันคือ การลดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์การเช่น การประเมิน ผลข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุม ค่าแรงงาน เป็นต้น โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยส่งเสริมการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้ ทรัพยากร ซ้ำซ้อน ซึ่งช่วยให้เกิดการประหยัดขึ้น แก่องค์การ
6. คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ระบบผลิต หรือการให้บริการสามารถดำเนินงานไปตามต้องการ ตลอดจนผลิตภัณฑ์และบริการ มีมาตรฐานตามที่กำหนด เช่น ระบบ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภายในโรงงานระบบควบคุมอุณหภูมิห้อง และระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตร เป็นต้น
7. โอกาส ปัจจุบันความได้เปรียบด้านสารสนเทศได้สร้างความแตกต่างระหว่าง องค์การองค์การ ที่มีศักยภาพด้าน สารสนเทศ สูงย่อมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการสร้างโอกาสในการดำเนินงานทั้งทาง ตรง เช่น การนำสารสนเทศมา ประยุกต์เชิงกลยุทธ์ และทางอ้อม เช่นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ 
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานของธุรกิจมีความซับซ้อนขึ้น องค์การ ต้องจัดวางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งทำให้การจัดการเชิงกลยุทธ์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ดังที่ King (1978) กล่าวว่า "ระบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบการ จัดการที่การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ถูกกระทำอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยสารสนเทศภายในขอบเขตขององค์การและจากสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการ" ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สารสนเทศได้กลายเป็นทรัพยากรที่ สำคัญในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญต่อภาคธุรกิจมากกว่าเก็บรวบรวมการประมวลผลข้อมูล และการจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร ซึ่งเป็นความท้าทายต่อความสามารถ ของผู้บริหารที่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับการทำงานของธุรกิจ เพราะการลงทุนด้านสารสนเทศที่สูง มิได้หมายความว่าองค์การจะสามารถสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขัน เสมอไปแต่การลงทุนด้านสารสนเทศก็มิใช่จะประสบความราบรื่นเสมอไป การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์อาจสร้างผลกระทบต่อบุคลากรและการดำเนินงานองค์การ เช่น งานบางอย่างล้าสมัย ทำให้บุคลากรบางส่วนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน หรือความไม่สมดุลย์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง เป็นต้น นอกจากนี้มีหลายกรณีที่การนำสารสนเทศมา ใช้งานในองค์การประสบความล้มเหลว เพราะบางองค์การมีข้อมูลมากแต่มีสารสนเทศน้อย (Data rich but information poor
.) ซึ่ง Scott Morton (1992) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มี ต่อองค์การ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1
. เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วซึ่งส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบการทำงานขององค์การ เช่น ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ลดขั้นตอนในการทำงาน กำหนดโครงสร้างและกฏเกณฑ์ใหม่ ร่นเวลาและระยะทางในการติดต่อลง เป็นต้น
2
. บทบาทของบุคคล (Individuals and Roles) พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ ทำให้บุคคลมีเครื่องมือและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ ซึ่งส่งผลให้บุคคลต้องผ่านการฝึกอบรมและศึกษา ใหม่ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การยังมีผลต่อความใกล้ชิดระหว่างบุคคล ตลอดจนการรับรู้ การเรียนรู้ และความรู้สึกของบุคคล
3
. โครงสร้าง (Structure) หลายองค์การต้องการปรับโครงสร้างใหม่ให้สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การจัดองค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) การลดขนาดองค์การ (Downsizing) หรือการจัดขนาดให้เหมาะสม (Rightsizing) เป็นต้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อโอกาสและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขององค์การ
4
. กระบวนการจัดการ (Management Process) สังคมปัจจุบันในช่วงของการเคลื่อนย้ายอำนาจ (Power Shift) จากการดำเนินงานที่อาศัยความได้เปรียบด้านแรงงาน (Labor Intensive) หรือปัจจัยพื้นฐาน ทางธุรกิจมาเป็นการดำเนินงานที่อาศัยความได้เปรียบเชิงความรู้ (Knowledge Intensive) ซึ่งต้องอาศัย "บุคลากรที่มีความรู้ (Knowledge Worker)" โดยบุคลากรกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากแรงงานทั่วไป เช่น การศึกษาสูง รสนิยม ค่านิยมและทัศนคติสมัยใหม่ เป็นต้น ดั้งนั้นผู้บริหารต้องปรับรูปแบบการจัดการ เพื่อให้เหมาะสมและจูงใจบุคคลเหล่านี้ให้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ
5
. กลยุทธ์ (Strategy) ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ในหลายองค์การ เนื่องจากศักยภาพและความคล่องตัวในการใช้งานจึงถูกนำมาประยุกต์ เพื่อสร้างและธำรง รักษาความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่องค์การ
ปัจจุบันระบบสารสนเทศเล่นบทบาทสำคัญต่อการดำรงอยู่ขององค์การ หลายครั้งชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ของธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการน ำเทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ในการดำเนินงาน เพื่อให้ธุรกิจมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ระบบสารสนเทศทำให้การจัดการเชิงกลยุทธ์มีประสิทธิภาพ และในทางกลับกัน องค์การต้องมีกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เข้มแข็ง โดยที่การนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์เชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดัน 2 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การผลักของเทคโนโลยี (Technology Push) เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์ด้านสารสนเทศมีความสามารถสูงขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำลงนอกจากนี้ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเข้าเป็นเครือข่าย ทำให้การใช้ทรัพยากรร่วมกัน บริหารความเหมาะสม ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการทำงานที่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้องค์การสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การดึงของการตลาด (Marketing Pull) เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในองค์การทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง ส่งผลให้องค์การต้องหาเครื่องมือที่ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือพยายามสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน โดยการพัฒนานวตกรรม (Innovation) ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ

รูปที่ 10.4 เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ขององค์การ
ปัจจุบันการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์มิได้เกี่ยวข้องกับการ จัดการเชิงกลุยุทธ์ภายในแต่ละองค์การเท่านั้น แต่ได้ ขยาย ขอบเขตการดำเนินงาน ของระบบให้ครอบคลุมการใช้งานของลูกค้า (Customer) ผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) และพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliances) ซึ่งทำให้เกิดการใช้สารสนเทศ ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Information Interdependence) เช่น การสำรองที่นั่งของสายการบิน การซื้อ-ขายหลักทรัพย์ การสั่งซื้อสินค้า และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange .EDI) เป็นต้น เราเรียกระบบในลักษณะนี้ว่า "ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational Information System)" ระบบ สารสนเทศระหว่างองค์การสามารถประยุกต์ให้เป็นประโยชน์และ ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย ทั้งในด้านความ สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ตลอดจนถึง การนำสารสนเทศไปประยุกต์เชิงกล
ระดับของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ปัจจุบันระบบสารสนเทศทางธุรกิจได้รับความสนใจนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ในหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งครอบ คลุม กิจกรรม ของธุรกิจมากกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล และการควบคุมการปฏิบัติงานเท่านั้น หลาย องค์การ ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงสุด เพื่อรักษา โอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งหวัง ให้ธุรกิจสามารถธำรงอยู่และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลาง กระแสการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ปกติองค์การจะยังไม่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในเชิงกลยุทธ์ในขั้นตอนเริ่มต้นของการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน แต่จะมีกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ใน การ เรียนรู้ถึงศักยภาพของ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมักจะแปรผันตามความสามารถ ด้านสารสนเทศ ขององค์การ (Organizational Information Capability) ซึ่งจะมีความ แตก ต่างกันตามพัฒนาการของแต่ละองค์การโดยเราสามารถ จำแนกการนำเทคโนโลยีสารสเนทศมาประยุกต์กับกลยุทธ์องค์การออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้
1
. อิสระต่อกัน (Independent) จะเป็นระดับเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ โดยระบบสารสนเทศจะไม่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการ กำหนดกลยุทธ์ขององค์การเทคโนโลยีสารสนเทศ ถูกนำมาใช้สนองวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แต่ละด้านขององค์การ เช่น หน่วยปฏิบัติงาน การเงิน การตลาด และทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นระบบส่วนใหญ่จะประมวลงาน ประจำวัน เช่น รายงานลูกค้า รายงานประจำวัน เป็นต้น
2
. ร่วมกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) ระบบสารสนเทศถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยการนำข้อมูลที่ ผ่านกระบวนการ ประมวลผลมาใช้ประกอบ การกำหนดและวางนโยบายขององค์
3
. การกำหนดนโยบายร่วมกัน (Policy Exccution) การประยุกต์เทคโนดลยีสารสนเทศในระดับนี้จะเป็นขั้นสูงสุด ของความสัมพันธ์ ระหว่างเทคโนดลยีสารสนเทศกับองค์การ โดยเทคโนโลยี สารสนเทศจะเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดกลยุทธ์ องค์การและการนำนโยบาย ไปปฏิบัติ เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีความสัมพันธ์ในเชิงบูรณาการกับกลยุทธ์ขององค์การ 

รูปที่ 10.5 ระดับของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ขององค์การ
หัวใจสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานคือ การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้แก่องค์การ แต่งาน สารสนเทศ ส่วน ใหญ่ยังอยู่ในระดับปฏิบัติการ ซึ่งต้อง อาศัย ระยะเวลาและความ เข้าใจจากผู้บริหารในการพัฒนา ระบบสารสนเทศ ให้มีความกลมกลืน กับองค์ การ การพัฒนาระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ไม่สามารถดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยขาด ความรู้และความ เข้าใจที่แท้จริง เพราะ ว่า ต้อง ใช้เงิน ลงทุนสูงและอาจมีปัญหาที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น โดยวิธีการที่เหมาะสมในการ สร้างระบบ สารสนเทศ เชิงกลยุทธ์คือ การตรวจสอบ ระบบ ที่ใช้ งาน ในปัจจุบันว่ามีขีดความสามารถเพียงใดและสามารถ พัฒนาให้สอดคล้อง กับการดำเนินงานในระดับสูงได้อย่างไร โดยไม่ลืมพิจารณา ความสามารถ และศักยภาพในการพัฒนา ด้านสารสนเทศ ของบุคคล เป็นสำคัญ
ระบบสารสนเทศกับการธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ
Alvin Toffler (1990) กล่าวในหนังสือ "อำนาจใหม่ (Power Shift)" โดยสรุปว่า โลกกำลังเคลื่อนเข้าสังคม อนาคต ที่มีความ แตกต่าง จากอดีตอย่างชัดเจน โดย องค์ ประ กอบ ของอำนาจกำลังย้ายมุม จากพลังอำนาจของเงินตรา และความรุนแรง ไม่สู่พลังอำนาจของความรู้ ซึ่ง ประกอบด้วยการได้มาของข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ และความสามารถ ในการประยุกต์ ข้อมูลข่าวสาร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบุคคล ที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการทำงานอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตนเองและระบบที่เขาเป็นสมาชิกปัจจุบันเมื่อ องค์การ สามารถ พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของลูกค้าไม่นานนักคู่แข่งขันก็จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใกล้เคียงกัน หรือที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์ เลียนแบบ (Copycats)" ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การซื้อเทคโนโลยี วิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Enginerring) หรือการจารกรรม ทางความคิด เป็นต้น นอกจากนี้ผลิต ภัณฑ์ที่ออกใหม่ของคู่แข่งอาจมีเทคโนโลยีและคุณสมบัติที่ดีกว่าของต้นแบบ เนื่องจากคู่แข่งสามารถเรียนรู้จาก เทคโนโลยีและ ข้อมูลที่ได้รับจากธุรกิจของเรา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสำคัญของธุรกิจ ปัจจุบันคือ "องค์การจะจะรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร"  โดยเฉพาะสำหรับผู้นำในตลาดที่ต้องการ รักษา ความเป็น ที่หนึ่งอย่างต่อเนื่อง Clemson และ Weber (1991) แนะนำแนวทางในการธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน 4 วิธี ดังต่อไปนี้
1
. ดำเนินการก่อน (First Mover) ธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการผลิตสินค้า หรือให้บริการใหม่ แก่ลูกค้าก่อนคู่แข่ง ตามแนวคิดที่ว่า "การเป็นหนึ่งในตลาดย่อมดีกว่าเป็นที่สอง ที่ดีกว่า" ถึงธุรกิจคู่แข่งจะ สามารถเข้ามา ในตลาดหรือ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คล้ายคลึงกับเราได้ แต่ธุรกิจสามารถ สร้างอิทธิพลในการกำหนดโครงสร้างของตลาดและการแข่งขัน สามารถทำกำไรที่สูง และถ้าธุรกิจสามารถสร้าง ความซื่อสัตย์และบริการขององค์การ ขึ้นในกลุ่ม ลูกค้าก็จะทำให้การ ดำเนินงานของ ธุรกิจมีความมั่นคง
2
. ผู้นำด้านเทคโนโลยี (Technological Leadership) ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัย ใหม่โดยเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เราจะพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาท ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญฯเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ถ้าธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการ นำเทคโนโลยีที่ทัน สมัยมา ประยุกต์ในการทำงานแล้ว นอกจากการพัฒนาผลิตภาพแล้วธุรกิจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ที่พยายามเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีมาใช้บริการลูกค้า เป็นต้น 
3
. เสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous Innovation) การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจมี นวตกรรมของ ผลิตภัณฑ์และ บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ นอกจากนี้พัฒนาการที่ต่อเนื่องยังทำให้คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน แต่การพัฒนาที่รวดเร็วจะมีค่าใช้จ่ายด้านการ วิจัยและพัฒนา (Research and Development) หรือ R&D สูง ซึ่งผู้บริหารต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบ กับผลได้ ผลเสียของการเป็นผู้นำด้านนวตกรรมก่อนตัดสินใจกำหนดตำแหน่งขององค์การ
4
. สร้างต้นทุนที่สูงในการเปลี่ยนแปลง (Create High Switching Cost) บางครั้งธุรกิจอาจพยายามสร้างความ ไม่สะดวก สบายหรือค่าใช้จ่าย ที่สูงแก่ลูกค่า ทั้งโดยทาง ตรงหรือทางอ้อม ถ้าเขา ต้องการจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าต้องคิดอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ของคู่แข่ง
บทบาทของผู้บริหารที่มีต่อกลยุทธ์ด้านสารสนเทศขององค์การ
ขั้นตอนที่ผู้บริหารสมควรปฏิบัติ เพื่อให้องค์การสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขั้นสูง ดังต่อไปนี้
1
. การผลิตและการดำเนินงาน ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
2
. การติดต่อสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร ต้องส่งเสริมการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการนำ เทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงาน เนื่องจากบุคคล มีแนว โน้มที่จะต่อต้านสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ ไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคย
3
. กระบวนการ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานจะส่งผลให้หลายองค์การต้องปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยลด ขั้น ตอนการทำงาน ที่ล้า สมัยและไม่จำเป็น ออกเพื่อให้องค์การ สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถธำรง รักษาความได้เปรียบ ใน การแข่งขันเหนือคู่แข่ง ปัจจุบันการปรับขั้นตอน โครงสร้าง หรือกระบวนการ ทำงาน อาจมีวิธีการที่ แตก ต่างกัน ตัวอย่าง เช่น การพัฒนาการทำ งาน การรื้อปรับระบบ หรือการปรับรูปองค์การ เป็นต้น
4
. การวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งการดำเนินงาน ใน ระดับ นี้ต้องอาศัย การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง โดยผู้บริหารต้อง สนับสนุน ให้องค์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ ประโยชน์ในการ วางแผน โดย เฉพาะ ในระดับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานสอดประสานกันทั้งองค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับนี้ เป็นขั้นตอนที่ สำคัญที่สุดในการสร้างความกลมกลืนระหว่าง เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การ และกลยุทธ์
ปัจจุบันผู้บริหาร ระดับ สูงเริ่มประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงการส่งเสริมและการพัฒนา ศักยภาพด้าน สารสนเทศขององค์การ เพราะการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในที่ ทำงานจะทำให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจใน ความ สามารถของเทคโนโลยี สารสนเทศและ เกิดความสนใจที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ ดำเนินงานของธุรกิจ มากขึ้นกว่าในอดีต แต่ความเป็นจริง 
ในธุรกิจไทยยังไม่เป็นที่พอใจ เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันมีความรู้และประสบการณ์ด้านสารสนเทศที่จำกัด เนื่องจากช่วงเวลา ที่เขา เติบโตและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารเป็นช่วงเวลาของยุคการ แข่งขันที่อาศัยความได้เปรียบจากแรงงาน และประโยชน์จากทรัพยากร ทาง ธุรกิจ อื่น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทุน หรือการสนับสนุนจากภาครัฐบาล เป็นต้น 
สรุป หัวใจสำคัญในการดำรงอยู่ขององค์การธุรกิจคือ ธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถ ดำเนิน การแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเรา สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ ต่อองค์การในหลาย ระดับ ตั้งแต่การ ปฏิบัติงานประจำวัน การจัดทำและนำเสนอสารสนเทศแก่ผู้บริหาร จนกระทั่งถึงการดำเนินงานในระดับกลยุทธ์ของ องค์การ โดยเทคโนโลยี สารสนเทศ สามารถนำมาใช้ในการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจตัวอย่างเช่น
- การกำหนดโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การใหม่
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และพันธมิตรธุรกิจ
- การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการให้บริการ
- การเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันและการเป็นพันธมิตร
- การส่งเสริมศักยภาพในด้านการตัดสินใจและการทำงานกลุ่ม และ
- การสร้างความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้มเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาท สำคัญนอก เหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดย เทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการ กำหนดกลยุทธ์ ขององค์การ ดังนั้นถ้า ผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถ สร้างผลงานให้แก่ตนเอง แล้วยัง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การ
ที่มา :
1.       http://www.truecorp.co.th
2.       http://www.ais.co.th
3.       https://www.tescolotus.com/clubcard
4.       http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson12-1.asp
5.       http://mis2015-by-parichat.blogspot.com/
6.       https://tech.mthai.com/it-news/58786.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น