โครงสร้างขององค์การ
ประเภทของธุรกิจที่ดำเนินการอยู่
ตัวอย่าง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยในการสนับสนุนร้านสะดวกซื้อ
7-Eleven
หากพูดถึงร้านสะดวกซื้อสมัยก่อนเราคงจะนึกถึงร้านขายของทั่วไปที่สมัยนี้เรียกกันว่าร้านโชวสวย
(โชวห่วย) แต่ปัจจุบันได้ถูกลดบทบาทลงไปเป็นอย่างมาก
ด้วยกิจการร้านสะดวกซื้อรูปแบบใหม่ คือ เซเว่น อีเลฟเว่น(7-Eleven)ที่ทุกวันนี้แทบจะเห็นกันทุกหัวมุมซอยใหญ่ๆกันเลยทีเดียวด้วยรูปแบบการให้บริการที่รวดเร็ว
และมีของเครื่องใช้ที่มากกว่าร้านค้าทั่วไป อีกทั้งยังเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง จึงทำให้เซเว่น อีเลฟเว่น
มีการเติบโตไปอย่างมากแต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วเซเว่น อีเลฟเว่น
ถือกำเนิดมาจากไหนเมื่อไหร่ แล้วเข้ามาในบ้านเราได้อย่างไร
กำเนิดเซเว่น อีเลฟเว่น
7-Eleven เซเว่น
อีเลฟเว่น เป็นชื่อกิจการระบบแฟรนไชส์ที่เป็นลิขสิทธิของบริษัทเซาท์แลนด์
คอร์ปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในช่วงนั้นไม่ได้เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เหมือนปัจจุบันแต่เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 07.00 –
23.00 น. โดยกิจการแรกเริ่มให้บริการผลิตและจัดจำหน่ายน้ำแข็ง
ที่เมืองดัลลัส รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา จนมาถึงปีพ.ศ. 2470
ทางบริษัทได้นำสินค้าต่างๆ เริ่มมาจัดวางจำหน่ายเพื่ออำนวยความสะดวกและได้เปลี่ยนชื่อเป็น
Tote’m Store ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น
จนมาถึง พ.ศ. 2489 ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นเซเว่น-อีเลฟเว่น
(7-Eleven) และได้ขยายกิจการขยายกว้างขึ้นและเมื่อปี ค.ศ. 1980
บริษัทประสบปัญหาทางการเงินและมีบริษัทจากญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือคือ
อิโต-โยคะโด
ซึ่งเป็นผู้ซื้อกิจการแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุดเข้ามาคุมบริษัทและได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท
เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์และให้ เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นบริษัทลูกตั้งแต่นั้นมา
ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นต่างประเทศ
เซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทย
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกลุ่มธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกลุ่มธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531
บริษัทเป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านสะดวกซื้อ
7-Eleven โดยได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive
Right) จาก 7-Eleven, Inc. ให้ประกอบธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้า
“7-Eleven” ในประเทศไทย ภายใต้สัญญา Area License
Agreement ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 และได้เปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์
ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย
ณ สิ้นปี 2559 บริษัทมีร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศรวม
9,542 สาขา โดยเป็นร้านในกรุงเทพฯและปริมณฑล 4,245 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 44) เป็นร้านในต่างจังหวัด 5,297 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 56) เมื่อแบ่งตามประเภทของร้านพบว่า
มีร้านสาขาบริษัท 4,205 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 44) ส่วนที่เหลือเป็นร้านแฟรนไชส์ 4,645 สาขา
(คิดเป็นร้อยละ 49) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 692 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 7) ปัจจุบันมีลูกค้าเข้าร้าน 7-Eleven
เฉลี่ยวันละ 11.7 ล้านคน
ทั้งนี้ในปี 2559
บริษัทได้ขยายสาขาร้าน 7-Eleven อย่างต่อเนื่องรวม 710 สาขา ทั้งในรูปแบบของร้านในทำเลปกติและร้านในสถานีบริการน้ำมันของบริษัทปตท.จำกัด
(มหาชน) เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งในกรุงเทพฯ
และต่างจังหวัดโดย ณ สิ้นปี 2559 บริษัทมีร้านในทำเลปกติ 8,210 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 86) และร้านในสถานีบริการน้ำมัน
ปตท. 1,332 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 14)
บริษัทมีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 700 สาขา เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย 10,000 สาขา ภายในปี 2560 และมุ่งเน้นกลยุทธ์การเป็นร้านอิ่มสะดวกของคนไทย
โดยให้ความสำคัญกับอาหารพร้อมทานที่สดสะอาดปลอดภัยและการพัฒนาสินค้าใหม่ร่วมกับคู่ค้าเพื่อนำเสนอสินค้าใหม่ที่หลากหลายมีจำหน่ายเฉพาะที่ร้าน
7-Eleven
นอกจากนั้น
บริษัทได้ขยายการลงทุนไปในธุรกิจที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ดังต่อไปนี้
บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด (CS) ตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ
และเป็นนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
บริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM)
ผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี่
บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด (CPR)
จำหน่ายและซ่อมแซมอุปกรณ์ค้าปลีก
บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (TSC)
บริการจัดหาเครื่องรับบัตร
ให้บริการบันทึกข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรเงินสด
บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (GOSOFT)
บริการด้านระบบสารสนเทศ
บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด (MAM)
บริการด้านกิจกรรมการตลาด การออกแบบโฆษณา
บริษัท ไดนามิค แมนเนจเม้นท์ จำกัด (DM) บริการด้านโลจิสติกส์และซื้อขายสินค้าทั่วไป
บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด (SPW)
บริการด้านการศึกษา อันได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเปิดสอนในระดับอาชีวศึกษา และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี
และระดับปริญญาโท
บริษัท ปัญญธารา จำกัด (PTR)
ฝึกอบรม และการจัดสัมมนาทางวิชาการ
บริษัท ออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด (ATN)
ฝึกอบรมให้กับนิติบุคคลในเครือเดียวกัน
บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด (24shopping)
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคยุคใหม่ด้วยระบบออนไลน์
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (Makro)
ธุรกิจค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง
นอกจากนี้
บริษัทยังมีการขยายช่องทางธุรกิจภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท อาทิ
ธุรกิจ
บุ๊คสไมล์ (Book Smile) ช่องทางในการจำหน่ายหนังสือและวารสาร
ธุรกิจ เอ็กซ์ต้า (eXta)
ร้านสุขภาพและความงาม
ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าประเภทยาและเวชภัณฑ์ สินค้าสุขภาพ และเครื่องสำอาง
ธุรกิจ คัดสรร (Kudsan)
ช่องทางจำหน่ายสินค้าที่คัดสรรพิเศษทั้งกาแฟและเบเกอรี่
ธุรกิจ เบลินี (Bellinee’s)
ร้านเบเกอรี่และกาแฟ ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
รวมทั้งเบเกอรี่อบสดผลิตจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ
และเค้กหลากหลายสไตล์
รายละเอียดของธุรกิจ
7-ELEVEN
ชื่อธุรกิจ
(ไทย) :
|
เซเว่น-อีเลฟเว่น
|
ชื่อธุรกิจ
(อังกฤษ) :
|
7-ELEVEN
|
ประเภทธุรกิจ
:
|
ร้านสะดวกซื้อ
|
รูปแบบธุรกิจ
:
|
แฟรนไชส์
|
ลักษณะสินค้า
/ บริการ :
|
จัดจำหน่าย สินค้าอุปโภคบริโภค และการให้บริการต่างๆ สินค้าที่ทาง
เซเว่น - อีเลฟเว่น นำมาจำหน่ายนั้นก็จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ
จุดเด่นของที่นี่คงจะเป็นในเรื่องของการจัดเรียงสินค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้า หมาย
โดยจะเน้นอาหารและเครื่อง ดื่มเป็นหลัก อีกทั้งเวลาของการเปิดให้บริการที่เปิดตลอด 24 ชม. จึงสนองความต้องการของกลุ่มผู้ บริโภคได้เป็นอย่างดี |
ความเป็นมา
:
|
เซเว่น - อีเลฟเว่น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2470 ณ เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
โดยบริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเดิมมีกิจการผลิตและจัดจำหน่ายน้ำแข็ง
ต่อมาได้ขยายกิจการ ด้วยการนำสินค้าอุปโภค บริโภค
ต่างๆเข้ามาจำหน่ายพร้อมทั้งได้เปลี่ยนชื่อร้านใหม่เป็น TOTE M หลังจากนั้นก็ได้มีการเพิ่มจำนวนของสินค้าขึ้นอีกและในปี 2489 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อร้านใหม่อีกครั้ง เป็น "เซเว่น - อีเลฟเว่น" ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ต้องการเปิดให้บริการลูกค้าทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00
- 23.00 น. ต่อมาในปี 2506 ก็ได้มีนโยบายในการขายแฟรนไชส์โดยเริ่มต้นที่ยุโรป
และใน ที่สุดเซเว่น - อีเลฟเว่น ก็ได้เข้าสู่เอเซีย ในปี 2516 และในปี 2532 เซเว่น -
อีเลฟเว่นก็มาถึงเมืองไทย โดยทำการเปิดสาขาแรกขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2532 ณ ถนนพัฒน์พงษ์
|
นโยบายธุรกิจ
:
|
ขายแฟรนไชส์
นอกจากการขยายสาขาเองแล้วทางบริษัทยังให้สิทธิแฟรนไชส์กับผู้ที่สนใจ
|
ทุนธุรกิจ /
ค่าเช่า :
|
1,500,000 บาท
|
จำนวนสาขา :
|
9,542 สาขา อัพเดท ณ สิ้นปี 2559
|
วิธีการดำเนินการ
:
|
ทั้ง นี้ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)
ทำการขยายกิจการให้กว้างขึ้นโดยใช้ระบบแฟรนไชส์ หรือการให้อนุญาตสิทธิช่วง
ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ สามารถเข้ามาบริหารกิจการ ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน
ภายใต้ระบบอันทันสมัย โดยบริษัทฯ
จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้
ความเข้าใจในการบริหารงาน
หลักการคัดเลือกสินค้า ระบบการเงิน มีแผนส่งเสริมการขายและ แผนการโฆษณาทั่วประเทศอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งจัดส่ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการไปช่วยแนะนำ และแก้ปัญหาต่างๆ จำนวน 9,542 สาขาทั่วประเทศในขณะนี้ เป็นสาขาแฟรนไชส์ 44% ร้านของบริษัท 56%จำนวน สาขาร้านโชห่วยเมืองไทยมีสัดส่วนมากถึง 680,000 ร้านค้า ขณะที่ร้านสะดวกซื้อหรือคอนวีเนี่ยนสโตร์ สัดส่วนยังมีจำนวนอยู่น้อยมาก เฉพาะเซเว่นอีเลฟเว่นมีเพียง 9,542 แห่งเท่านั้น ถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน โดยญี่ปุ่น สัดส่วนของจำนวนประชากรต่อร้านสะดวกซื้อมีประมาณกว่า 2,000 คนต่อ 1 สาขา ไต้หวัน 25,000 คนต่อ 1 สาขา ขณะที่ไทย 70,000 คนต่อ 1 สาขา ถือว่าการขยายสาขาร้านสะดวกซื้อทุกแบรนด์ รวมถึงเซเว่นอีเลฟเว่น ยังมีโอกาสอีกมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร |
ระยะเวลาคืนทุน
:
|
ไม่ระบุ
|
คุณสมบัติผู้ลงทุน
:
|
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมสมัคร
1. เป็นบุคคลที่สามารถจัดตั้งนิติบุคคล
จดทะเบียนในประเทศไทยได้
2. บริหารร้านโดยตนเองพร้อมกับมีบุคลากรที่มีความสามารถ
3. บุคลากรสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
และมาตรฐานของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
4. มีความพร้อมของเงินลงทุน
หลักการคัดเลือกร้านแฟรนไชส์
1. ประวัติความเป็นมาของผู้สมัคร และหุ้นส่วน
2. ความสามารถของบุคลากรที่จะบริหารร้าน
3. ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติในธุรกิจ
ระบบแฟรนไชส์
4. ความมั่นคงทางการเงิน และเป้าหมายการทำธุรกิจ
หลักฐานประกอบการสมัคร
1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัคร
2. สำเนาบัตรประชาชน
3. สำเนาหนังสือกรรมสิทธิครอบครองสถานที่ ประกอบการ (โฉนดที่ดิน, สัญญาขายที่ดิน)
กรณีมีสถานที่ของตนเอง - สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (ถ้ามี) - สำเนาหนังสือรับรองสถานะทางการเงินของธนาคาร - ใบรับรองแพทย์ - แผนที่ตั้งร้าน กรณีต้องการดำเนินการในอาคาร และ/หรือที่ดินของตนเอง การเข้าร่วมลงทุน - ติดต่อขอเข้ารับฟังข้อมูลการเข้าร่วมโครงการตามวันเวลาที่บริษัทฯ กำหนด เพื่อทำความเข้าใจในเบื้องต้น หรือนัดวันเวลา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของบริษัท ฯเข้าพบเพื่อชี้แจงรายละเอียด - ยื่นใบสมัครตามแบบฟอร์ม พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณาตามที่ระบุ |
สิ่งที่ผู้สนใจจะได้รับ
:
|
1. บริษัทฯ
จะลงทุนสินค้ารวมทั้งให้ยืมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่ใช้ประกอบการทำธุรกิจ
ตลอดอายุสัญญาโดยที่ผู้เข้า ร่วมแฟรนไชส์จะต้อง รับผิดชอบค่าบำรุงรักษา
พร้อมทั้งติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ 7-Eleven โดยบริษัทฯ
เป็นผู้ชำระค่าภาษีป้าย
2. บริษัทฯ จะช่วยออกแบบร้านและการจัดวาง Lay
Out สินค้าในร้าน โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายในการ ตกแต่งร้าน
3. บริษัทฯ จะจัดอบรมผู้บริหารร้านให้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างครบถ้วน และจัดอบรมหลักสูตร
แก่พนักงานใหม่ด้วย รวมทั้งยังมีหลักสูตรเสริมตามความเหมาะสมในระหว่างการดำเนินการ
4. บริษัทฯ มีแผนการส่งเสริมการขาย
และแผนการโฆษณาทั่วประเทศอย่างสม่ำเสมอ
5. จัดส่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไปช่วยแนะนำแก้ปัญหา
และพัฒนาร้านค้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดสัญญา เป็นต้น
|
โครงสร้างบริษัท
– สภาพแวดล้อมขององค์การ
ปัจจุบันแม้ว่าการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
แต่7-Eleven มีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจร้าน 7-Eleven ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมากเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพสังคมเมืองที่ขยายตัวมากขึ้น
ขนาดครัวเรือนที่เล็กลง
เป็นผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตและความต้องการของผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญเรื่องความสะดวกสบายความรวดเร็ว
โดยปิยะวัฒน์
ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)ผู้บริหาร เซเว่น
อีเลฟเว่น ที่ชูนโยบายว่าร้านอิ่มสะดวกของคนไทยได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่า
กว่าสองทศวรรษที่บริษัทซีพี
ออลล์ จำกัด(มหาชน)บริหารกิจการเครือข่ายร้านสะดวกซื้อ7-Eleven กว่า 9,542 สาขาเป็นร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทยก็เพราะดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ว่า“เราให้บริการความสะดวกกับทุกชุมชน”นอกจากนี้ยังดำเนินงานอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
ภายใต้ปรัชญาองค์กรที่ว่า“เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้าด้วยทีมงานที่มีความสุข” จึงเป็นผลให้ทาง 7-Eleven สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาจนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคเป็นแบรนด์ชั้นนำร้าน 7-Elevenได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยและส่งผลให้การดำเนินงานเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ต้องทำมากที่สุดคือการปรับปรุงให้ทันการเปลี่ยนแปลงโดยเอาลูกค้าเป็นตัวตั้ง
แต่ต้องรู้จักจังหวะเวลา เปลี่ยนเร็วไปมีต้นทุน เปลี่ยนช้าไปกลายเป็นผู้ตามตลาดเป็นของคนอื่น
จุดสำคัญคือต้องแข่งกับตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและแข่งให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค
- กลยุทธ์ทางธุรกิจทั่วไป
หัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจก็คือการเรียนรู้และรับฟังความต้องการของลูกค้าโดยนำมาประกอบการวางกลยุทธ์อย่างเป็นระบบเพื่อหาโอกาสและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นตลอดเวลาและยังนำหลักพื้นฐานอันได้แก่ SAVEQC มาใช้ในการตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มความพึงพอใจและความภักดีให้มากขึ้นจนกลายเป็นความผูกพัน(Engagement)ในที่สุด
โดยหัวใจสำคัญคือต้องใช้ลูกค้าเป็นตัวตั้งคิดว่าจะตอบสนองความต้องการและสร้างความแตกต่างในสายตาลูกค้ารายร้านและรายสาขาได้อย่างไร
ชนชั้นกลางมีรายได้และกำลังซื้อเพิ่มขึ้นคนเหล่านี้ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นยอมจ่ายเงินเพื่อสุขภาพและความสุขของตนเองมากขึ้นรวมทั้งต้องการความสะดวกรวดเร็วนิยมพึ่งพาร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้านมากกว่าจะออกไปจับจ่ายตามโมเดิร์นเทรดหรือตลาดขนาดใหญ่
ในขณะเดียวกันการที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและมีการสื่อสารกันมากขึ้นก็ส่งผลต่อพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคภายใต้ความใกล้และความสะดวก 7-Eleven ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความแตกต่างเพื่อตอบโจทย์ Modern
Lifestyle ให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีและแปลกใหม่ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
เพื่อที่จะสามารถตอบสนอง Trend ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคบริษัทจึงไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาธุรกิจและบริการรวมไปถึงช่องทางใหม่ๆที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินค้าและบริการของทางบริษัท
นอกจากการลงทุนสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและเพื่อให้ร้าน
7-Eleven เป็น One Stop Service ที่อำนวยความสะดวกให้เหมาะกับ
Lifestyle ที่เปลี่ยนไปของลูกค้า
มาที่เดียวต้องได้รับสินค้าและบริการที่ครอบคลุมช่วยตอบโจทย์แก้ปัญหาให้การดำเนินชีวิตของผู้บริโภคได้ทั่วถึงมากขึ้นทั้งลูกค้าเก่าและสามารถดึงลูกค้าใหม่ลูกค้าของคู่แข่งเข้ามาสู่ร้านมากขึ้นซีพี
ออลล์ ซึ่งเป็นผู้บริหาร 7-Elevenยังมุ่งเน้นกลยุทธ์ Food&Differentiate มากขึ้น โดยเห็นโอกาสจากการที่จำนวนลูกค้าที่เข้าร้านไม่ต่ำกว่าวันละ
8 ล้านคน พฤติกรรมการบริโภค 3-5 มื้อต่อวัน
ที่ผ่านมาจึงมีการเพิ่มสินค้าอาหารพร้อมทานมากขึ้นมีการพัฒนาเพิ่ม Bakery สดใหม่และมุมกาแฟ Kudsan เพื่อให้เกิดความอิ่มสะดวกกับลูกค้าและจะพัฒนาต่อไปสู่ความอิ่มอร่อยเพิ่มมากขึ้น
Differentiate สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ด้วยสินค้าและบริการใหม่ๆ โดยเฉพาะสินค้า Private
Brand หรือ Only@ ที่เกิดจากการพัฒนาและทำงานร่วมกันกับ
Supplier มาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าโดยเน้นคุณภาพแต่ราคาสมเหตุสมผลยิ่งไปกว่านั้นพยายามคัดสินค้าขายดีจาก
Business Unit ในกลุ่มมาจำหน่ายมีทั้งจาก 7-Catalog, Booksmile รวมไปถึงยาและสินค้าเสริมสุขภาพและความาม eXta ซึ่งจะมาช่วยสร้างความแตกต่างหลากหลายและสร้างความสะดวกให้กับผู้บริโภค
ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าปัจจุบันมีความทันสมัยใช้เทคโนโลยีชอบความแปลกใหม่และไม่หยุดนิ่งเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการที่ต้องนำมาใช้ในการออกแบบกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์สร้างประสบการณ์ที่ดีในการมาซื้อสินค้าเพื่อให้เกิดความภักดีและความผูกพันกับร้านซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากตัวสินค้าการบริการPromotionหรือบรรยากาศภายในร้านเป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าปัจจุบันมีความทันสมัยใช้เทคโนโลยีชอบความแปลกใหม่และไม่หยุดนิ่งเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการที่ต้องนำมาใช้ในการออกแบบกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์สร้างประสบการณ์ที่ดีในการมาซื้อสินค้าเพื่อให้เกิดความภักดีและความผูกพันกับร้านซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากตัวสินค้าการบริการPromotionหรือบรรยากาศภายในร้านเป็นต้น
ทั้งนี้บริษัทพยายามที่จะหาช่องทางใหม่ๆ
ให้กับผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้นทุกที่ทุกเวลาผ่านช่องทางและเครื่องมือสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเช่น
อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ มาพัฒนารูปแบบใหม่ๆ เช่นใช้ Online
Marketing,Mobile Marketing,E-Commerce เป็นต้น
การค้นหาความต้องการของลูกค้าสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าสามารถรักษาลูกค้าเดิมไว้และได้มาซึ่งลูกค้าใหม่รวมทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการขยายตัวทางธุรกิจในขณะเดียวกันบริษัทก็มีแนวคิดด้านพัฒนาองค์กรเข้ามาเพื่อพัฒนาคนพัฒนางาน
พัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการภายในของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ โดยดำเนินควบคู่ไปพร้อมๆ
กันกับการรักษาสถานภาพทางธุรกิจให้มั่นคง
อันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท(Stakeholder)ได้อย่างสมดุลมากยิ่งขึ้น
ซีพี ออลล์ ถือว่า"นวัตกรรม" เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาธุรกิจ เพราะนำไปสู่การได้มาซึ่งสินค้าและบริการใหม่ๆ
เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันและเป็นการต่อยอดธุรกิจ
โดยมองลูกค้าเป็นตัวตั้งว่าทำอย่างไรลูกค้าจะได้รับสินค้าและบริการที่ดี ตรงใจ
สะดวก รวดเร็วและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ 7-Eleven จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมาอย่างต่อเนื่องเพราะถือเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง Innovation ใหม่ ๆ
เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ
จึงได้ส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรมีการเรียนรู้ถ่ายทอดแบ่งปันความรู้ประสบการณ์และจุดเรียนรู้ในการทำงานรวมไปถึงวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best
Practice) ระหว่างพนักงานรวมกลุ่มทำงานในลักษณะของ Cross-Functional
Projects ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนการทำงานที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น
รวมไปถึงเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ
เพื่อส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าได้มากขึ้น
Product & Service Innovation เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ
ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาสินค้าร่วมกับ Supplier หรือ
ที่เรียกว่า Team Merchandising เพื่อค้นหาคัดเลือกและพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพแตกต่างจากคู่แข่ง
ซึ่งส่วนหนึ่งต้องเกิดจากการแบ่งปันข้อมูลและการทำงานร่วมกัน
โดยนำความต้องการของลูกค้ามาวิเคราะห์หาโอกาสทางการตลาด
รวมไปถึงวางแผนทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ร่วมกับผู้ผลิตตลอดเวลา
ทั้งนี้เพราะการมีสินค้าและบริการใหม่ๆ
ที่ตรงใจผู้บริโภคเท่ากับเป็นการดึงลูกค้าใหม่ และกระตุ้นให้ลูกค้าเดิมมีการซื้อซ้ำ
การเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อมีการเปิดแข่งขันเสรีด้านการค้าบริการ การลงทุน
และการเคลื่อนย้ายแรงงาน การแข่งขันจากนักลงทุนข้ามชาติที่มีเงินและ know
how จะมีมากขึ้นดังนั้นค้าปลีกในประเทศต้องปรับตัว
ภาครัฐต้องให้การสนับสนุน ไม่เช่นนั้น SMEs อาจจะได้รับผลการทบและบางส่วนอาจจะต้องปิดตัวไป
การเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของ
SMEs ในการรับมือกับ AEC เพราะธุรกิจ
แฟรนไชส์ที่มีระบบและมาตรฐานเข้มแข็งจะสามารถแข่งขันและบุกตลาด AEC ได้ ซึ่งทาง 7-Eleven ก็พร้อมที่จะรองรับกับการขยายตัวในรูปแบบนี้ เหตุผลที่ธุรกิจแฟรนไชส์แพร่หลาย
เพราะเป็นเรื่องของการเรียนลัด มีการจัดระบบการบริหารที่ดี
และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นเส้นทางที่ปลอดภัยกว่าบุกเบิกธุรกิจเอง
ถ้าใช้ความเอาใจใส่แบบมืออาชีพก็จะประสบความสำเร็จได้ง่าย
และสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซีพี ออลล์ จึงต้องการให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกด้านมาพัฒนาโครงการร่วมกัน
เพื่อยกระดับแรงงานไทย ระบบมาตรฐานแฟรนไชส์
และธุรกิจค้าปลีกให้พัฒนาและอยู่รอดในภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นต่อจากนี้
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางสังคม
(Analysis the societal environment)
1.ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (Political-legal variables) ในสภาวะการเมืองที่ไม่ชัดเจน
แม้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการเลือกตั้งที่แน่นอน จะมี รัฐบาลใหม่แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนเท่าใดนัก
ต่างหยุดรอดูสถานการณ์หลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ
เพื่อดูทิศทางที่แน่นอนจึงค่อยตัดสินใจลงทุน อีกทั้งร่างกฎหมายค้าปลีกยังไม่ชัดเจน
จึงทำให้ค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่อาศัยช่องว่างที่กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ขยายสาขาไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่
ก่อนที่จะถูกควบคุมซึ่งเหล่าร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านสะดวกซื้อต่างหวังว่าจะได้ข้อสรุปกฎหมายค้าปลีกให้มีผลบังคับใช้กับร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่
2.ปัจจัยตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจ
(Economic variables) ในสภาวะที่เศรษฐกิจทั่วประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว
การลงทุนด้านต่าง ๆ ต่างเลื่อน การลงทุนออกไปก่อน อีกทั้งต้นทุนปัจจัยทางด้านการผลิตและขนส่งยังส่งกระทบต่อ
ต้นทุนสินค้าจำนวนมาก ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยภาวะสองปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย
มีการคิดถึงเรื่องความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปมากขึ้น และใช้จ่ายเฉพาะ สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
และเน้นการซื้อของทีละมาก ๆ ไม่ออกไปซื้อบ่อย ๆ ซื้อจากร้านที่สามารถ สนองความต้องการได้ครบถ้วน
หรือไปที่เดียวได้ครบทุกอย่างที่ต้องการ
3.ปัจจัยตัวแปรทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural variables) ในสังคมปัจจับันนั้นในการประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตามล้วนต้องมีการกระทำใด ๆ
เพื่อตอบแทนกลับสู่สังคมและชุมชน
เพื่อให้ชุมชนรับรู้ว่าธุรกิจนั้นไม่ได้หวังแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ซึ่งทาง 7-Eleven
เองก็มีโครงการหลาย ๆ โครงการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
เพื่อประโยชน์แก่สังคม เช่น ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์
4. ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (Technological
variables) ปัจจุบนั้นเป็นโลกของข่าวสาร
และเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถหลบเลี่ยงไปได้ขณะเดียวกันเทคโนโลยีนั้นมีคุณอนันต์และโทษมหันต์
ขึ้นอยู่กับการรู้จักนำมาใช้ให้เป็นซึ่ง ในบริษัท ซี.พี. ออลล์ จำกัด(มหาชน) 7-Eleven
นั้นได้นำ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
ไม่ว่าจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อ สังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค
หรือใช้เพื่อตรวจสอบควบคุมคุณภาพของสินค้า ปริมาณสินค้าคงคลัง
คิดค้นและพัฒนาคุณภาพสินค้า ซึ่งบริษัทนั้นมีเป้าหมายในการมุ่งไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีการส่งเสริม
การเรียนรู้ถ่ายทอด แบ่งปันความรู้ประสบการณ์และจุดเรียนรู้ในการทำงาน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
(Industry Environment)
สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมและการแข่งขันโดยใช้ทฤษฎี
Porter’s Five Forces Model ได้ดังต่อไปนี้
1. การคุกคามจากคู่แข่งขันใหม่
(Threat of New Entrants) ปัจจุบันธุรกิจโดยทั่ว ไปของร้านสะดวกซื้อมีการแข่งขันกันสูงมาก
ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกขนาดเดียวกัน เช่น ลอว์สัน108ช็อป โลตัส
เอ็กซ์เพรส มินิบิ๊กซี หรือ Jiffy Shop หรือ
ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Big C, Tesco Lotus ท็อปซุปเปอร์มาเก็ต หรือห้างอื่นๆต่างแข่งขันช่วงชิงลูกค้าด้วยกลวิธีต่าง
ๆ ไม่ว่า จะเป็นการจัดรายการโปรโมชั่นต่าง ๆ เช่น ซื้อ 1 แถม
1 หรือ ซื้อ 2 ชิ้นประหยัดกว่า
หรือจัดรายการลดแลกแจกแถมซึ่งสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้
หากไม่มีกลยุทธ์ในการต่อสู้แย่งชิงลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการจัดรายการหรือสร้างบริการให้ลูกค้าประทับใจหรือขายสินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายแตกต่างจากร้านค้าปลีกทั่วไป
ซึ่งล้วนสามารถจูงใจให้ลูกค้าเลือกใช้ บริการได้
2.ความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (Rivalry Among Existing
Competitors) สำหรับคู่แข่งรายใหม่ของ 7-Eleven ขณะนี้มีเพิ่มจำนวนมาก สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย
ไว้ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็ก เช่น ลอว์สัน108 shop , โลตัส
เอ็กซ์เพรส หรือ Jiffy ฯลฯ และ ยังมีร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่
เช่น Big C , Tesco Lotus ซึ่งแม้ว่าร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่จะเข้ามากระจายเปิดกิจการตามเขตชุมชนใหญ่
ๆ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบไม่ว่าจะเป็นเคาท์เตอร์รับชำระค่าบริการต่าง
ๆ มีโรงภาพยนตร์
คาราโอเกะและมีธนาคารสาขาย่อยซึ่งก็ถือว่าเป็นร้านค้าปลีกที่เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดไปได้มากพอสมควร
ซึ่งทาง 7–Elevenอาจจะได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นในแง่ที่ว่าเปิดบริการ
24 ชั่วโมง และมีสาขาที่เป็นทั้งร้านสาขาบริษัท
ร้านค้าเฟรนไชส์และผู้ประกอบการรับสิทธิช่วงในอาณาเขต ซึ่งเป็นร้า ที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ในชุมชนทั่วประเทศ
3. อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์(Bargaining Power of Suppliers) ในแง่ Supplier นั้นไม่มีผลกระทบต่อ 7–Eleven
เลยเนื่องจากว่า 7-Eleven เป็นบริษัทที่มีสาขาจำนวนมาก
กว่า 9,542 สาขา และมีกระจายอยู่ทั่วประเทศซึ่งทำให้มีอำนาจต่อรองกับ
Supplier สูงมากเพราะย่อมจะมี Supplier จำนวนมากรายที่อยากจะติดต่อขายสินค้าให้กับ
7– Eleven เพราะเมื่อสามารถขายสินค้าให้กับ 7–Eleven ได้ ก็เท่ากับว่าสามารถกระจายสินค้าของตนไปได้ทั่วประเทศง่ายขึ้น
อีกทั้งยังมี Supplier จำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าไปในเสนอขายสินค้าได้ในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่จึงทำให้
7-Eleven มีอำนาจการต่อรองในเรื่องราคาและสามารถกำหนดกติกากับ
Supplier ได้เช่น หากทาง Supplier ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับเพื่อชดเชยความเสียหายของ
7–Eleven ที่ไม่มีสินค้าไว้สำหรับให้บริการกับลูกค้าได้อีกทั้งหากสินค้าที่นำมาขายในร้านสาขาใดไม่มีคุณภาพ
ทาง 7-Eleven ก็จะคัดสินค้าออก ไม่ให้ขายในร้านสาขา
4.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Buyers) ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองกับ 7–Eleven น้อยถึงแม้ว่าจะมีร้านค้าปลีกเกิดขึ้นมากมายและมีการจัดรายการที่น่าสนใจไว้
แต่ 7-Eleven ก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้าเพราะ 7–
Eleven มีสาขากระจายอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่อยู่ใกล้บ้านมากกว่า
ร้านค้าปลีกอื่น ๆ จึงสามารถสนองตอบความต้องการได้ง่าย ประกอบกับในภาวะที่เดินทางสูงขึ้นในปัจจุบันนั้นจึงทำให้ทำให้ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไม่ว่าจะซื้อจากร้านค้าใกล้บ้านใกล้ที่ทำงาน
ซึ่งการกระจายสาขาของ 7-Eleven นี้สามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้
ของลูกค้าได้มาก อีกทั้งการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีพร้อม สะอาด สะดวก
การเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
ล้วนเป็นสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้
5.การคุกคามจากสินค้าที่ทดแทนกันได้(Threat of Substitute Products
or Service)
มีร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั้งที่เป็นร้านค้าปลีกตั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ซึ่งเป็นคู่แข่งทางตรง
ที่สามารถมาทดแทนสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้เหมือน ๆ กัน ซึ่งในปัจจุบัน
พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าได้เปลี่ยนไปตามสภาวะราคาค่าเดินทางที่สูงขึ้น
ซึ่ง ส่งผลให้ผู้บริโภคลดความถี่ในการซื้อลง
และมีการซื้อครั้งเดียวในปริมาณที่มากขึ้น
รวมไปถึงการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกที่ใกล้บ้านหรือใกล้ที่ทำงานมากขึ้นหรือตามร้านค้าปลีกที่สามารถตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการได้ครบถ้วนเพื่อความสะดวกในการจับจ่ายและเป็นการประหยัดเวลาในการจับจ่ายด้วยจึงทำให้ร้านค้าปลีกต่าง
ๆ แข่งขันหาจุดบริการต่าง ๆ เพื่อ ดึงดูดให้ลูกค้าเลือกมาใช้บริการและจับจ่ายที่ร้านของตน
บริษัท ซีพี ออลล์
จำกัด (มหาชน) หรือ 7- Eleven
จุดแข็ง (Strengths)
1.
ภาพลักษณ์ขององค์กรมีความน่าเชื่อถือ
และมีชื่อเสียง
2.
ส่วนแบ่งตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
3.
มีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุนและมีศักยภาพ
ในการขยายสาขา และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เป็นอย่างมาก
จุดอ่อน (Weaknesses)
1.
การขยายสาขาเพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนทำให้กำไร
สุทธิลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการขายและ บริหารเพิ่มขึ้นด้วยเหตุนี้อาจทำการจ่ายค่าปันผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป
อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้นได้
โอกาส (Opportunities)
1.
บริษัท
ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่รู้จักโดยทั่วไป หากมีความจำเป็นในการระดมทุนเพิ่มก็มีความสามารถในการระดมทุนได้ง่าย
2.
การขยายเพิ่มของแฟรนไชส์จะช่วยให้บริษัทไม่ต้องลงทุนในการเพิ่มสาขามากนัก
แต่สามารถมีสาขาเพิ่มขึ้นได้
3.
เทคโนโลยีมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
4.
ตลาดของร้านค้าปลีกมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
5.
กลุ่มคนชนชั้นเกษตรกรก้าวสู่ชนชั้นกลางมีรายได้สูงขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรที่มี
มูลค่าสูงขึ้น
6.
การเติบโตทางเศรษฐกิจเพราะมีการเข้ามาลงทุนสูงทั้งจากฝั่งอเมริกา
ยุโรป รวมถึง รวมถึงประเทศในเอเชียอย่าง จีนและญี่ปุ่นที่มีการลงทุนนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น
อุปสรรค (Threats)
1.
ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลใหอัตตรา
ค่าเช่าร้านสูงขึ้นมากอีกทั้งแหล่งทำเลที่ตั้งร้านตามชุมชนต่าง ๆ
มีราคาแพงซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของร้านโดยรวมสูงขึ้นและจะส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทลดน้อยลง
สรุป
กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับระดับองค์กรพบว่า
นโยบายขยาย สาขาของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ควรเลือก กลยุทธ์การเจริญเติบโต
(Growth strategies) เนื่องจากแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มเติบโตสูง
ประกอบกับบริษัทมีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุน มีศักยภาพในการขยายสาขา
และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เป็นอย่างมากการขยายสาขาของบริษัททำให้ปิดโอกาสของคู่แข่งทำให้บริษัทเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้นจากเดิมเพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ในอนาคต
กลยุทธ์องค์กร (Corporate
Level Strategy) ปัญหาระดับองค์กรที่พบคือบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด
(มหาชน) มีนโยบายขยายสาขา ของร้าน 7- Eleven ให้ครบ 10,000
สาขา ภายในปี 2560 โดยวางแผนลงทุนไว้
และเน้นขยายสาขาใหม่ในชุมชน ที่มีโอกาสการเติบโต มีประชากรอาศัยหนาแน่น
การเปิดขยายสาขาจะเปิดแบบไม่หยุด อย่างไรก็ตาม ปี 2552 ยอดขาย
96,000-97,000 ล้านบาท ปี 2553 คาดว่า
ยอดขายเกิน 100,000 ล้านบาทอยู่แล้ว ถึง ปี 2554 ยอดขายประมาณ 110,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นกลยุทธ์ระดับองค์กรที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา คือกลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth
strategies) เนื่องจากแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกมี แนวโน้มเติบโตสูง ประกอบกับบริษัทมีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุน
มีศักยภาพในการขยายสาขาและเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นเป็นอย่างมาก
การขยายสาขาของบริษัททำให้ปิดโอกาสของคู่แข่ง ทำให้บริษัทเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้นจากเดิม
เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ในอนาคตกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
(Business Level Strategy) ข้อมูลทางธุรกิจที่พบ คือ CP
Retailing and Marketing Co Ltd เป็นบริษัทหนึ่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน
ผลิตภัณฑ์เริ่มต้นคือ กลุ่มอาหารว่างจีนประเภท ติ่มซำ (Dim Sum) แช่เยือกแข็งและแช่เย็น จากนั้น ได้ขยายฐานเข้าสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
(Bakery) เพื่อผลิตขนมอบสดชนิดต่างๆ
และขยายสายผลิตภัณฑ์เข้าสู่อาหารพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็ง
ดังนั้นกลยุทธ์ระดับธุรกิจที่ใช้ใน คือกลยุทธ์เน้นกลุ่มลูกค้า (Focus
Strategy) เนื่องจาก CPRAM มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากกว่าผู้ผลิตรายอื่นเนื่องจากจำหน่ายใน
7- Eleven ซึ่งมีสาขาเป็นจำนวนมากที่สุด จึงเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการความสะดวก
สบาย และรวดเร็วในการรับประทาน กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Function Level
Strategy) สามารถอธิบายได้ ดังนี้
กลยุทธ์ความภักดีในตราสินค้า
(Brand Loyalty) ระดับความภักดีต่อตราสินค้าของลูกค้า
7- Eleven โดยสามารถวัดได้จาก Market Share ของทุกๆ ปี ซึ่ง 7- Eleven เป็นผู้นำตลาดค้าปลีกมาโดยตลอด
ถึงแม้ว่าราคาสินค้าของ 7- Eleven จะมีราคาที่สูงกว่าของคู่แข่งแต่เนื่องจาก
7- Eleven มีจำนวนสาขาที่มากประกอบกับลูกค้ามี Brand
Loyalty สูงจึงทำให้7- Eleven เป็นผู้นำตลาดค้าปลีกจนถึงทุกวันนี้
กลยุทธ์ราคา (Price
Strategy) ด้านราคาสินค้าและบริการของ 7- Eleven ราคามีความเป็นมาตรฐานแต่เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วมีราคาสูงกว่าคู่แข่งเนื่องจาก
7- Eleven ขายความสะดวกสบาย
กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และบริการ
(Product and Service Strategy) สินค้าและบริการของ
7- Eleven มีคุณภาพและสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าเนื่องจากจำนวนสาขาที่มากและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย
(Place Strategy) ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
เน้นความสะดวกสบายและรวดเร็ว ในยุคของการรีบแร่งแบบนี้การวางแผนด้านต่าง ๆ
ต้องกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไปการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการควรเข้าถึงลูกค้าใกล้บ้าน
ใกล้สถานที่ทำงานเพื่อลดขั้นตอนลดเวลาของลูกค้าซึ่ง 7- Eleven มีจำนวนสาขาที่มากเพียงพอกับความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย
ข้อเสนอแนะสำหรับบริษัทซีพีออลล์จำกัด
(มหาชน) เนื่องจาก บริษัท ซีพีออลล์จ ากัด (มหาชน) หรือ 7-
Eleven เป็นบริษัทที่ใหญ่และมีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก
ในการทำโปรโมชั่นต่างๆ ประสบความสำเร็จเพราะเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าเป็นอย่างมากแต่ละแคมเปญที่ออกมามีการตอบรับของลูกค้าเป็นอย่างดีแต่เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มการเติบโตสูง
การทำ Brand Loyalty มี ความสำคัญกับองค์กรมาก
เพราะลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นประกอบกับราคาสินค้าและบริการ ของ 7- Eleven มีราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง มีคำกล่าวว่าการสร้างลูกค้าใหม่ 1 คน จะมีต้นทุนสูงกว่า การรักษาลูกค้าเก่า 1 คน ถึง 5
– 10 เท่า และในปัจจุบันเกิดความหลากหลายในตราสินค้า ประกอบกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่งมากมายเพื่อดึงดูดใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนหรือ
หันไปใช้สินค้าตราใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นกลยุทธ์ที่สำคัญทางการตลาดคือ
การสร้างความภักดี ในตราสินค้า หรือ Brand Loyalty การสร้างความภักดีในตราสินค้าจึงมีความจำเป็นมากและทำให้ลูกค้าเกิดต้นทุนที่จะเปลี่ยนไปใช้สินค้าตราอื่น
ดังนั้น 7- Eleven ควรเน้นเรื่องการทำ Brand Loyalty เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตราสินค้า ความง่ายในการเข้าถึงลูกค้า
และเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าตลอดไป
- กลยุทธ์ทางธุรกิจเมื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศนำมาประยุกต์ใช้สำหรับ
7-11
ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้ชื่อว่าเป็นร้านค้าปลีกประเภทคอนวีเนียนสโตร์
มีสาขามากมายอยู่แทบทุกหัวมุมของถนน ในแต่ละปีเซเว่นอีเลฟเว่นจะเปิดสาขาไม่ต่ำกว่า
200 สาขา ถึงกับมีการจดสถิติไว้ว่ามีสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นเปิดใหม่ทุกๆ 40
ชั่วโมง
การบริหารสินค้าการจัดส่งสินค้าที่จะต้องถึงมือร้านค้าทั่วประเทศให้เร็วที่สุด
ระบบบริหารคลังสินค้าไม่ให้มีสต็อกมากเกินไป
และแผนตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากที่สุด คือโจทย์ที่เซเว่นอีเลฟเว่นต้องหาคำตอบให้ได้
"ข้อมูลการขาย" ที่สามารถเรียกใช้งานได้ทันที จึงเปรียบเสมือนเป็น
"หัวใจ" ของการทำธุรกิจร้านค้าแบบคอนวีเนียนสโตร์
และการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ก็จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)
มาช่วยบันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูลให้ทันท่วงที
ถึงกับมีการเปรียบเทียบอย่างไม่เป็นทางการว่า
ธุรกิจที่ใช้ไอทีเป็นอันดับสองรองจากบรรดาธนาคาร ก็คือ ธุรกิจค้าปลีกนี่เอง
ทางเซเว่นอีเลฟเว่นจึงคิดว่าจะทำอย่างไรกับข้อมูลการขายทุกรายการที่มาจากลูกค้าทั้ง
9,542 แห่งทั่วประเทศที่ต้องเอามาประมวลผลดังนั้นโยบายด้านไอทีให้กับธุรกิจค้าปลีกจึงจำเป็นมาช่วยในการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวใจ"
ของการบริหารร้านเซเว่นอีเลฟ เว่น ทางร้านเซเว่นอีเลฟเว่นต้องเรียนรู้เรื่องราวธุรกิจค้าปลีก
ที่ไม่ใช่เพียงแค่การอาศัยความรู้วิศวกรรมติดตั้งเครือข่ายให้เสร็จ
แต่เขาต้องเรียนรู้ถึงการบริหารการขายทำอย่างไรจึงจะบริหารข้อมูลขายอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารระบบจัดส่งสินค้าให้เหมาะสมที่สุดโมเดลของการบริหารไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่นในไทยได้ถูกจัดวางไปตามกิจกรรมหลักในการทำธุรกิจในแต่ละวันซึ่งจะเกี่ยวพันกับหน่วยงาน
4 ส่วนหลัก คือ ร้านค้า สำนักงานใหญ่ ศูนย์จัดส่งสินค้า และผู้ผลิตสินค้า (Suppliers)
แต่ความซับซ้อนของความต้อง การใช้ไอทีไม่ได้มีมากไปกว่า การมีเพียอุปกรณ์
2 ชิ้น คือ เครื่องบันทึกเงินสด และพีซีอย่างละเครื่องเท่านั้น
ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกแห่งจะมี
1.เครื่องบันทึกเงินสด ( Electronic
Cash Register หรือ ECR) หน้าที่ของมันคือ
นอกจากคำนวณเงินที่ขายสินค้าได้
เครื่องนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง
เพราะทันทีที่สินค้าถูกขายออกไป ข้อมูล
ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้น ประเภท ยี่ห้อ ราคา จำนวน ข้อมูล
เหล่านี้จะถูกส่งไปยังเครื่องพีซี ที่ตั้งอยู่ หลังร้าน
เครื่องพีซี จะทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในร้านทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเงิน บริหารสินค้า ในทุกๆ เย็น
ข้อมูลเหล่านี้จะส่งผ่าน (On-line) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่ ในแต่ละวันข้อมูลนับล้านๆคำสั่ง
เหล่านี้จะถูกส่งผ่านจากเครื่องพีซีจาก ร้านของเซเว่นอีเลฟเว่นทั้ง9,542 สาขา วิ่งผ่านระบบเน็ตเวอร์ค
มายังสำนักงานใหญ่เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเหล่านี้
บาร์โค้ด-Barcode
หรือรหัสแท่ง
ลักษณะเป็นแท่งขนานดำ-ขาว หมายถึง
ระบบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายประจำตัวสินค้าซึ่งเป็นเลขรหัสเป็นภาษาสากลที่ใช้เพื่อสื่อหรือบ่งบอกถึงประเทศผู้ผลิต
บริษัทที่ผลิต ชนิดของสินค้า ราคาสินค้า
เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการตรวจสอบสินค้า
ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การเก็บ การจัดจำหน่าย กำหนดนโยบายการตลาด
ประโยชน์ของบาร์โค้ด ด้านผู้ผลิตได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า
ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด ด้านผู้ค้าส่ง
กระตุ้นทั้งระบบให้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า การรับ-ส่งสินค้า
ควบคุมสินค้าคงคลัง ด้านผู้ค้าปลีก ป้องกันการติดราคาผิด เก็บเงินได้เร็วขึ้น
ประหยัดแรงงานพนักงาน บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ด้านผู้บริโภค
ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน ได้รับบริการเร็วขึ้น มีรายละเอียดของสินค้าที่ซื้อ
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode
reader) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก
เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย
จึงเกิดแนวคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นแบบแท่งรหัสสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า
บาร์โค้ด ซึ่งนำไปใช้พิมพ์ในรหัสสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป
เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง
เครื่องอ่านรหัสเราเรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด มีหลายรูป เช่น
แบบมีด้ามจับคล้ายปืน
หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS
- Point Of Sale) ในร้านอาหาร
ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
ตู้ATM "เอทีเอ็ม-ATM" ย่อมาจาก Automatic
Teller Machine คือระบบถอนเงินหรือฝากเงินธนาคารโดยอัตโนมัติ
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร
ระบบเอทีเอ็มคือระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล
กับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมืองทั่วประเทศ
และทั่วโลกได้
ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ในเกือบทุกหนแห่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ
เคาน์เตอร์เซอร์วิส
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการชำระค่าสาธารณูปโภคทุกประเภทได้แก่
ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และบริการจากการผ่อนสินค้าและบริการต่าง ๆ
ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะทำให้ลูกค้านั้นประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ทั้งยังชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง
บานประตูเลื่อนอัตโนมัติ
เป็นประตูที่ใช้ระบบเซ็นเซอร์ฝังไว้ภายในและภายนอกหน้าทางเข้าและออกของ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น
เมื่อมีผู้มาใช้บริการเดินเข้า-ออก
ระบบเซ็นเซอร์ก็จะทำงานโดยสั่งให้ประตูบานเลื่อนเปิดออกและเมื่อผู้ใช้บริการเดินพ้นจากหน้าประตูก็จะปิดทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์หน้าร้านให้ทันสมัยสวยงามเพิ่มความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการ
กล้องวงจรปิด
ระบบกล้องวงจรปิด คือ CCTV ( Closed Circuit Television
System ) ก็คือระบบของ
กล้องที่มีไว้บันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่นำไปติดไว้ตามที่ต่างๆ
มายังส่วนที่เรียกว่าเครื่องบันทึกภาพและเสียงที่เรียกว่าเครื่อง DVR
( Digital Video Recorder ) ซึ่งตัว DVR ก็จะสามารถต่อกับตัว
Monitor ได้เพื่อที่เอาไว้สอดส่องอยู่ตลอดเวลาส่วนมากระบบ กล้องวงจรปิด CCTV
มักจะนำไปใช้ในระบบ
เพื่อการรักษาความปลอดภัยของสำนักงานและห้างร้านต่างๆ รวมไปถึงที่อยู่อาศัยต่าง
ๆนอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของพนักงาน
และตรวจสอบพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ
เปรียบเทียบไอทีกับธุรกิจ
มีการเปรียบเทียบความต้องการใช้ไอทีกับธุรกิจอื่นๆ
ไว้ว่า
ธุรกิจค้าปลีกไม่ต้องการความหลากหลายแต่จะต้องเป็นระบบใหญ่เพราะหัวใจของธุรกิจนี้คือการที่ต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก
ความต้องการใช้ไอทีของเซเว่นอีเลฟเว่น จะถูกแบ่งออก 3 ลำดับ
1. เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Appication
Software) ที่ใช้งานอยู่ในธุรกิจทั่วไปเช่นซอฟต์แวร์ระบบบัญชี
ระบบบริหารคลังสินค้า ระบบสต็อก ซึ่งจะรองรับในการบริหารสำนักงานทั่วไป
2. เป็นการนำเอาระบบ Supply
chain management หรือการบริหารกระบวนการของสินค้า
ตั้ง แต่การผลิตการจัดส่งไปจนถึงมือลูกค้า ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการส่งของให้ได้ตามเวลาที่ต้องการ
และส่งได้รวดเร็วแม่นยำไม่มีสินค้าเหลือในสต็อกมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น การนำอีดีไอมาใช้แทนใบสั่งของกับผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ๆ
ทำให้กระบวนการของการสั่งซื้อ สินค้าเร็วขึ้นเพราะไม่ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำ ซ้อน
ทำให้การจัดส่งสินค้าเร็วขึ้น และประหยัดต้นทุนในเรื่องกระดาษ เพราะ
ไม่ต้องทำใบสั่งซื้อ และอุปกรณ์ สแกนบาร์โค้ด ซึ่งเป็นส่วนที่จะทำให้ข้อมูลถูกต้อง
และละเอียดมากขึ้น
3. เป็นการนำเอาระบบCustomer
Relationship Management ซึ่งเป็นกระบวนในการสร้างและ
รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว โดยจะอาศัยการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเป็นสำคัญ
กระบวนนี้จะประกอบไปด้วย
ระบบเก็บข้อมูลสินค้า (Datamart) ระบบข้อมูลคลังสินค้า (Dataware house)
ซึ่งจะกว้างกว่าระบบแรกและระบบช่วยในสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision Support)
อีกส่วนหนึ่งจะเป็นระบบปรับ ปรุงประสิทธิภาพภายใน
(Workflow Automation) โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์เมล ของโลตัสโน้ต
มาใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในสำนักงานใหญ่ ที่อยู่บริเวณสีลม แต่แยกกันอยู่คนละตึก
มาทดแทนการใช้กระดาษ
ข้อมูลการขายที่ประมวลแล้ว
ส่วนหนึ่งจะเข้าสู่อินทราเน็ต เพื่อเป็นข้อมูลภายในเพื่อใช้วางแผนธุรกิจ เช่น
รายงานข่าว ค่าใช้จ่าย รายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ
เพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่บริษัทวางไว้ แต่การส่งข้อมูลระหว่างสาขา 9,542 แห่งไปยังสำนัก
งานใหญ่ สิ่งสำคัญของการ ลงทุนไอทีคือ ต้องให้สัมพันธ์กับเงินลงทุน Cost
Effective มากที่สุด
ในส่วนของพนักงาน
ใบลาป่วย พักร้อน ลากิจ การเบิกจ่ายเงิน
จัดซื้ออุปกรณ์ภายในจะผ่านระบบเวิร์คโฟล์ แบบฟอร์มต่างๆ จะ
เป็นอิเล็กทรอนิกส์ฟอร์ม ส่งตามสายงานไปที่รับผิดชอบเพื่ออนุมัติ
จะทำให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้
- การปรับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ในในธุรกิจ
ให้มีความสอดคล้องในการดำเนินงาน
1.การใช้ระบบ 7-Card (เซเว่นการ์ด) เพื่อใช้แทนเงินสดบัตรและบัตรสมาชิก
7-Card (เซเว่นการ์ด)
คือ บัตรสมาชิกเงินสดอัจฉริยะที่ได้แต้มจากการซื้อของในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการชำระสินค้าและบริการพร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ามากมายที่ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นโดยสามารถเติมเงินได้ที่ร้าน
7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ
ขั้นตอนการใช้บัตร
1. แจ้งชำระเงินด้วยบัตรสมาชิก
7-Cardกับพนักงาน
2. แตะบัตรที่เครื่องอ่านบัตรระบบจะทำการตัดเงินและแจกแต้มสะสมให้โดยอัตโนมัติ
3. ใบเสร็จจะแสดงยอดซื้อสินค้าและแต้มสะสมที่ได้รับทุกครั้ง
การสะสมแต้ม
ใช้กระบวนการรับแต้มสะสมทุกการใช้จ่ายที่ร้าน 7-Eleven และร้านค้าที่ร่วมรายการ
วิธีการตรวจสอบแต้มคงเหลือ 4 ช่องทาง
ดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงิน
2. แตะบัตรที่เครื่องรับบัตร(EDC) ระบบจะแสดงยอดเงินและแต้มคงเหลือ
3. แจ้งพนักงานร้าน
7-Eleven เพื่อปริ้นท์ข้อมูลในบัตร
4. ติดต่อสอบถามได้ที่
Call Center 7-card โทร. 02-711-7777
สิทธิประโยชน์ตลอดอายุสมาชิก 3 ปี
1.รับแต้มสะสมทุกการใช้จ่ายผ่านบัตร
7-Card(ยกเว้นสินค้าที่ไม่ร่วมรายการ)*
2.แต้มสะสมใช้แทนเงินสด หรือแลกของพรีเมี่ยม
3.รายการส่งเสริมการขายเฉพาะสมาชิกทุกเดือน
2.การเปิดให้ Download 7-Eleven TH แอพพลิเคชั่น
ซึ่งใช้สำหรับการติดตามข้อมูลข่าวสาร โปรโมชั่น การร่วมสนุกกับ 7-Eleven นอกจากนี้ยังมีการใช้งาน App
ในลักษณะของ Wallet แทนเงินสดอีกด้วย
โดยมีการทำงานร่วมกับ Truemoney
3.การดำเนินการเข้าสู่การค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerce โดยการสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซด์
https://www.24catalog.com แล้วสามารถรับสินค้าที่สั่งซื้อได้ที่สาขาร้าน
7-Eleven ที่ระบุได้
รูปแสดงเว็บไซด์ https://www.24catalog.com
4.ระบบการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและบุคคลทั่วๆไป
4.1
Website https://www.7eleven.co.th
รูปแสดงเว็บไซด์ https://www.7eleven.co.th
จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า โปรโมชั่นต่างๆ
รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกอีกด้วย
4.2 เครือข่ายสังคมออนไลน์หรือโซเชียลต่างๆได้แก่
Facebook,Twitter,google+ ซึ่งจะสามารถโต้ตอบ แจ้งข่าวสาร
และตอบคำถามแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วเป็นการปรับตัวตามความก้าวหน้าและความนิยมนั่นเอง
รูปแสดงเครือข่ายสังคมออนไลน์ของ
7-Eleven
5.ระบบการเสนอสินค้าจำหน่ายใน
7-ELEVEN และระบบเสนอพื้นที่เปิดร้าน 7-ELEVEN
สำหรับผู้ประกอบการรายใดสนใจส่งสินค้าเข้ามาจำหน่าย
บริษัทได้มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา หากสินค้าตรงกับหลักเกณฑ์ที่กำหนด
หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้ามากรอกรายละเอียด โดยการกด Login เพื่อเข้าสู่ระบบ
สำหรับท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกรุณาสมัครสมาชิกโดยการ กด Register จากนั้นจึงเข้าสู่ระบบ
รูปแสดงการเสนอสินค้าจำหน่ายใน 7-ELEVEN
รูปแสดงระบบเสนอพื้นที่เปิดร้าน 7-ELEVEN
สำหรับผู้ที่ที่มีพื้นที
อาคารหรือทำเ ที่น่าสนใจเพื่อเปิดเป็นร้าน 7
ร่วมเสนอพื้นที่ได้โดยผ่านระบบ
สามารถเข้ามากรอกรายละเอียด
โดยการกด Login เพื่อเข้าสู่ระบบสำหรับท่านใดที่ไม่ได้เป็น
สมาชิกต้องสมัครสมาชิกโดยการกด Register จากนั้นจึงเข้าสู่ระบบ
|
|
|
|
อ้างอิงที่มา :
https://www.7eleven.co.th/main.php
http://scoop.mthai.com/scoop/5107.html
http://eprints.utcc.ac.th/1050/18/1050fulltext.pdf
http://www.cpall.co.th
http://k-pom-kpom.blogspot.com/2010/12/blog-post.html
https://www.24catalog.com
คุณต้องการขายไตของคุณหรือไม่? คุณกำลังมองหาโอกาสที่จะขายไตของคุณสำหรับเงินเนื่องจากการสลายตัวทางการเงินและคุณไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วติดต่อเราวันนี้และเราจะให้คุณจำนวนที่ดีสำหรับไตของคุณชื่อของฉันคือ (ดรคอลลินส์) am Phrenologist ในโรงพยาบาลเซนต์แอนดรู โรงพยาบาลของเรามีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดไตและเรายังจัดการเกี่ยวกับการซื้อและการปลูกถ่ายไตด้วยผู้บริจาคที่เกี่ยวข้อง หากคุณมีความสนใจในการขายหรือซื้อไตโปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเราผ่านทางอีเมล์: doctorcollins3@gmail.com หรือ WHATSAPP US VIA +254750078353
ตอบลบ