F-commerce ทำความรู้จัก F-Commerce รูปแบบใหม่ของการซื้อขายบน Facebook

Facebook Commerce หรือ F-Commerce(ร้านค้าบน Facebook)
 Facebook Commerce  หรือ ร้านค้า Facebook  คือ ฟังก์ชันที่จะช่วยให้สามารถนำเสนอข้อมูลสินค้าในรูปแบบร้านค้าออนไลน์บน Facebook Page ได้โดยฟังก์ชัน Facebook Commerce นี้ จะทำให้ Facebook Page เปรียบเสมือนร้านค้าออนไลน์ซึ่งฟังก์ชันนี้จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้สินค้าเป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างง่ายดายผ่านทางช่องทาง Facebookและยังเป็นฟังชั่นที่พัฒนาต่อยอดความสามารถของเพจปกติ โดยเพิ่มในรูปแบบ e-commerce ในระบบตะกร้า ที่เราๆเคยรู้จักกัน แต่ F-commerce จะง่ายและสะดวก กว่านั้นมากโดยที่หน้าตาของระบบสั่งซื้อก็เป็นหน้าตาที่เราคุ้นตากันอยู่แล้ว นั่นคือ มันไม่ได้ต่างจากระบบส่งข้อความทาง Facebook Messenger  แต่ที่สิ่งที่พิเศษเพิ่มเข้ามา คือผู้ซื้อไม่ต้องแจ้งรหัสสินค้า หรือ ส่งภาพสินค้าเพื่อสอบถามให้ยุ่งยาก แค่คลิ๊กส่งข้อความจากสินค้า มันก็จะแนบ link สินค้าตัวนั้นไปด้วยอัตโนมัติ
ที่มา F-Commerce มีการคาดการณ์กันว่าการซื้อขายบนโลกออนไลน์โดยเฉพาะบนโซเชียลหรือที่เรียกกันว่า Social Commerce นั้นจะมีมูลค่าสูงถึง $30 พันล้านเหรียญในปี 2015 นี้ซึ่งจะมาจากการซื้อขายของกันผ่าน Facebook ทั้งในรูปแบบของโปรแกรม Marketplace หรือจะเป็นในรูปแบบของแบรนด์ที่ทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายผ่านแบรนด์เพจต่างๆทั่วโลกนั้นเอง ซึ่งทุกวันนี้เราคงเห็นกันอยู่บ่อยแล้วว่าส่วนใหญ่แบรนด์เพจ (Fan Page) นั้นก็ต่างคิดค้นวิธีหรือทั้งนำเอา Platform ของตัวเองเข้ามาอยู่บน Facebook มากมาย แต่เราก็ลืมคิดไปเลยว่า Facebook เริ่มสนับสนุนสิ่งเหล่านั้นมาโดยตลอด มีข้อมูลเกี่ยวกับ Facebook Commerce หรือเรียกว่า F-Commerce ว่ามีประวัติย้อนกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ จนทำให้ทุกวันนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปขนาดไหนบน Facebook
F-Commercedกับการเข้าสู่อีคอมเมิร์ซ
เฟซบุ๊ค (Facebook) โซเชียลเน็ตเวิร์คยอดนิยมที่มีจำนวนผู้ใช้กว่า 640 ล้านคนทั่วโลก และกว่า 8 ล้านคนในประเทศไทย นับเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนออนไลน์ที่ธุรกิจต่างสนใจ สาเหตุที่ทำให้เฟซบุ๊คสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้มากเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เฟซบุ๊คยอมส่งข้อมูลผู้ใช้งานบางส่วนจากเฟซบุ๊คผ่านไปยังแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งภายนอกแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊คที่เรียกว่า Open Graph ตัวอย่างเช่น การที่ผู้ใช้ยินยอม (Allow) ให้โซเชียลเกมส์ที่ต้องการเล่น สามารถเรียกข้อมูลส่วนตัวจากเฟซบุ๊คได้ ช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้เล่นเกมส์หรือใช้แอพพลิเคชั่นโดยไม่ต้องออกจากเฟซบุ๊ค เพื่อไปเล่นเกมส์หรือใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ต้องการ เกิดเป็นผลดีต่อเฟซบุ๊คจนสร้างความนิยมอย่างท่วมท้นเช่นที่เห็นในปัจจุบัน
ถ้าวิเคราะห์กันดีๆ การเปิดตัวของเฟซบุ๊คให้กับแอพพลิเคชั่นภายนอกเช่นนี้ก็เปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับเฟซบุ๊คเช่นกัน เพราะวันนี้เฟซบุ๊คได้กระโดดเข้าสู่บริการอีคอมเมิร์ซไปแล้วอย่างแยบยล จนเกิดเป็น Buzz ใหม่ที่เรียกว่า “F-Commerce” หรือ “f-store” อันเป็นบริการอีคอมเมิร์ซบนแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊ค ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ค่ายยักษ์ใหญ่ต้องหันมาทดลองเทรนด์ใหม่นี้ 


การร่วมมือกันของ 3 ผู้บุกเบิก F-CommerceP&G - Amazon และ F-Commerce ของ Facebook
หลังจากที่ Procter & Gamble (P&G) ได้ทดลองใช้ช่องทางตลาดออนไลน์กับ Facebook Store โดยจับมือร่วมกับ Facebook และ Amazon.com ผ่าน http://apps.facebook.com/pamperswebstoreในการบุกเบิกดังกล่าวได้รับผลตอบรับดีเกินคาดเนื่องจากสามารถขายผลิตภัณฑ์ใหม่ Pampers Cruisers ในราคา $9.99 จนหมดสต๊อกหรือ 1,000 แพคในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง นับเป็นผลสำเร็จที่ทำให้ P&G ขยายการให้บริการ Facebook Store ต่อยอดไปกับผลิตภัณฑ์อื่นในสังกัด เช่น Max Factor และ Pantene พ่วงไปกับการทำการตลาดที่เรียกว่า “Tryvertising” ที่แจกสินค้าตัวอย่างแก่ลูกค้าที่ Tweet ชื่อสินค้านั้น จนในขณะนี้ได้ขยายบริการไปยังแบรนด์ดังทั้งหมดของ P&G เช่น Olay, Oral B, Head & Shoulders, Old Spices และ Gillette เป็นต้น
จะเห็นว่าการจับมือกันของทั้งสามค่ายยักษ์ใหญ่เป็นการสร้างธุรกิจที่ให้ประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ Amazon เองได้ฉวยโอกาสนี้ประกาศตัวเป็นเจ้าสังเวียนอีคอมเมิร์ซบนเครื่อข่ายโซเชียล หลังจากที่มีข่าวว่าตามไม่ทันกับการปรับตัวในโลกโซเชียลอยู่ระยะหนึ่ง จนถึงกับต้องลงทุนซื้อหุ้นของเว็บไซต์ LivingSocial.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์คู่แข่งของเว็บไซต์ GroupOn.com ถึง 175 ล้านดอลล่าร์เมื่อปลายปีที่แล้ว  ส่วน Facebook ก็ขยายบริการอีคอมเมิร์ซให้กับแฟนๆ โดยไม่ต้องผละออกจาก Facebook ทำให้ยังสามารถใช้ chat, like และ Wall Feeds ได้ตามปรกติ แถมยังสามารถสร้างฐานให้กับ Facebook Credits ซึงเป็นเงินสกุลใหม่จากเฟซบุ๊คได้เป็นอย่างดี และสำหรับ P&G แล้วนับว่ายิงเปิดนัดเดียวได้นกมากกว่าสองตัว เพราะนอกจากจะเกาะกระแสโซเชียลที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นแบรนด์ชั้นนำ ทั้งยังสามารถเอาชนะใจแฟนๆ ในเฟซบุ๊ค แถมยังขยายพื้นที่ขายผลิตภัณฑ์จากเว็บไซต์ Amazon ได้เพิ่มขึ้นอีก เพราะก่อนหน้านี้ผลิตภัณฑ์ของ P&G มีจำหน่ายใน Amazon อยู่แล้วจึงไม่สร้างปัญหาให้กับ P&G เพิ่มขึ้นแต่อย่างไร แถมยังผลักภาระการเก็บเงินและการจัดส่งไปยัง Amazon อีกด้วย
ความเจริญเติบโตของF-Commerce กับแบรนด์ดังอื่นๆ
หลังจากที่ได้จับตามองการขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ค แบรนด์ดังจากยุโรปต่างกระโดดเข้าร่วม F-Commerce เช่นกัน ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ASOS แฟชั่นสโตร์ชั้นนำจากยุโรปก็เปิดตัวในเฟซบุ๊คhttp://apps.facebook.com/asosofficialกล่าวกันว่าเป็น the world’s first fully integrated Facebook Store in Europe
ด้าน French Connection ก็ไม่ยอมน้อยหน้า สร้างความฮือฮาให้กับโซเชียลช้อปปิ้งด้วยการเปิดตัว “YouTique” ผ่าน YouTube  (www.youtube.com/user/frenchconnection) หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็น YouTube bouTique Showcase สำหรับ French Connection ซึ่งใช้วิดีโอทำหน้าที่เสมือน personal shopping advisor แถมมีฟังก์ชั่นที่สะดวกสบายให้แฟนสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce ได้เพียงปลายนิ้วคลิก นับเป็น Social Shopping Experience รูปแบบใหม่ที่เพิ่มสีสันให้กับเหล่านักช้อปออนไลน์
สินค้าจำพวก FMCG อย่างซ้อสมะเขือเทศไฮนส์ (Heinz) ก็เข้าร่วมลงสนามทดสอบการขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊คในกลางเดือนมีนาคมทีผ่านมา บน http://www.facebook.com/HeinzKetchupUKไฮนส์ใช้การประชาสัมพันธ์สินค้าในลักษณะ tryvertisingโดยการปล่อยไฮนส์รสชาตใหม่ Balsamic Vinegar ใน f-store จำนวน 3,000 ขวดแก่แฟนๆ สองสัปดาห์ล่วงหน้าก่อนการขายจริงในท้องตลาด เพื่อให้แฟนพันธุ์แท้ได้บริโภคสินค้าก่อนซื้อได้ตามท้องตลาด ทำให้เกิดการพูดถึงปากต่อปาก (Word of Mouth) จากกลุ่มแฟนในเฟซบุ๊ค กลายเป็นเทรนด์ใหม่ในการประชาสัมพันธ์สินค้า 
ในขณะที่กลุ่ม Unilever ก็ร่วมกระแสกับเค้าด้วยในต้นปีนี้กับการเปิดตัว F-Commerce สำหรับผลิตภัณฑ์ Dove เช่นกัน http://www.facebook.com/dove ถึงขนาดมีการจัดเตรียมการขายสินค้าไว้สำหรับแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยเองก็มีการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นแล้ว ทำให้เห็นถึงความพร้อมในการแข่งขันด้านอีคอมเมิร์ซในบ้านเราซึ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น  
F-Commerce กลุ่มเป้าหมายและการต่อยอดทางธุรกิจ
โซเชียลเน็ตเวิร์คมักถูกมองว่าเป็นสถานที่สำหรับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งจากข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊คในประเทศไทยพบว่าอัตราส่วนเด็กอายุ 13-17 อยู่ที่ 12% อายุตั้งแต่ 18-24 อยู่ที่ 40% คนในวัยทำงานอายุ 25-34 มีถึง 35% ช่วงอายุ 35-44 ปีอยู่ที่ 9% และผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีอยู่ที่ 5% ซีงกลุ่มหลังนี้มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ดังนั้นจากสัดส่วนผู้ใช้งานเฟซบุ๊คจะเห็นว่าอยู่ในวัยทำงานและสามารถจับจ่ายใช้สอยสินค้าได้มากกว่า 48% นี่คือสิ่งที่นักการตลาดไทยทั้งหลายต้องศึกษาและสร้างกลยุทธ์ให้ทันทั้งเชิงรุกและรับให้มากขึ้นกับการแข่งขันที่จะมีตามมาอีกในอนาคต
เมื่อเราเข้าสู่ยุคที่ระบบออนไลน์ช้อปปิ้งมีเครื่องมือหลายลักษณะที่ช่วยในการสั่งซื้อสินค้า การค้นหาและเปรียบเทียบข้อมูล ช่วยให้นักช้อปออนไลน์ สามารถตัดสินใจในการซื้อสินค้าได้ดียิ่งขึ้น ผลลัพธ์ก็คือร้านค้าออนไลน์สามารถสร้างประสบการณ์เกินความคาดหวังแก่นักช้อปและช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์ เมื่อผนวกเข้ากับเทรนด์ใหม่อย่าง โซเชียลช้อปปิ้ง (Social Shopping) ที่เหมือนมีเพื่อนหรือแฟนจากเฟซบุ๊ค มาช่วยแนะนำหรือเดินช้อปปิ้งอยู่ข้างๆ ใน Wall ตรงกับพฤติกรรมของนักช้อปบนโลกโซเชียล
อย่างนี้แล้วแบรนด์ต่างๆ ในไทยคงต้องปรับตัวเพื่อให้เข้าสู่ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเพิ่มกันมากขึ้น เมื่อมีพื้นที่ใหม่มาให้และลองดูว่าจะขยายโอกาสทางการดำเนินการทางด้านการตลาดได้อย่างไร
ที่มา : http://www.veedvil.com/infographics/the-history-of-f-commerce/
http://www.xmthomasidea.com/on-the-move/activity-detail.aspx?nws=70
ตัวอย่างการใช้งาน F-Commerce
ตัวอย่างการแสดงผลหมวดหมู่สินค้าผ่านหน้า Facebook Commerce

ขั้นตอนการใช้งาน "Facebook Commerce (ร้านค้าบน Facebook)" มีดังนี้

การเตรียมข้อมูลก่อนเริ่มใช้งานฟังก์ชัน Facebook Commerce
ก่อนจะเริ่มใช้งานฟังก์ชัน Facebook Commerce เว็บมาสเตอร์จะต้องทำการเตรียมข้อมูลดังขั้นตอนทั้ง 4 ข้อ ต่อไปนี้
1. ผู้ดูแล (Administrator) ของ Facebook Page โดย  สามารถติดตั้ง URL Facebook Page ได้ 1 URL เท่านั้น
2. จัดเตรียมสินค้าและหมวดหมู่สินค้าในระบบร้านค้าออนไลน์ ที่ต้องการนำไปแสดงที่หน้า ร้านค้าบน Facebook โดยเลือกหมวดหมู่สินค้าหลักหรือหมวดหมู่พิเศษมาแสดงผลได้ 1 หมวดหมู่เท่านั้น แต่ไม่จำกัดจำนวนของสินค้าที่จะนำไปแสดงผลบนร้านค้า Facebook จากกลุ่มสินค้า
3. ในกรณีที่ล็อกอินเข้าใช้งานฟังก์ชันร้านค้า Facebook ในส่วนจัดการเว็บไซต์ ผ่าน Web Browser Internet Explorer version 7, 8 หรือ 9 จะต้อง ติดตั้งปลั๊กอินเสริม คือ Google Chrome Frame ก่อน
4. ต้องมีการตั้งค่า Web Browser เช่น Google Chrome, Internet Explorer, Mozilla Firefox เป็นต้น ให้อนุญาตการแสดงผล Pop Up บนหน้าเว็บไซต์ก่อนใช้งานฟังก์ชันร้านค้า Facebook ในส่วนจัดการเว็บไซต์
     ตัวอย่างการตั้งค่า Google Chrome ให้อนุญาตการแสดงผล Pop Up
4.1 คลิกเมนูปรับแต่ง Google Chrome จากนั้น คลิกเมนู การตั้งค่า

4.2. จากนั้น คลิกลิงค์ แสดงการตั้งค่าขั้นสูง


4.3 ที่หัวข้อ ความเป็นส่วนตัวคลิกปุ่ม การตั้งค่าเนื้อหา

4.4. ที่หัวข้อ ป๊อปอัพคลิกตัวเลือก อนุญาตให้ไซต์ทั้งหมดแสดงป๊อปอัปและคลิก ตกลง
 

หากจัดเตรียมข้อมูลทั้ง 4 ข้อข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเริ่มต้นใช้งาน ฟังก์ชัน Facebook Commerce ได้
ขั้นตอนการเปิดใช้งานฟังก์ชัน Facebook (ร้านค้าบน Facebook)
 เข้าไปยัง Facebook Page ของคุณ จากนั้นคลิกแท็บ "About" และให้คัดลอก "Facebook Page ID" เก็บไว้ก่อน



ขั้นตอนการเปิดใช้งานฟังก์ชัน Facebook
1. ที่เมนู ระบบเสริมคลิกเมนู Facebook


2. เข้าสู่หน้าร้านค้า Facebook ในช่อง Fanpage URL/ID ให้กรอก Facebook Page ID ที่คุณคัดลอกมา และคลิกปุ่ม สมัคร


3. ปรากฎ Pop Up ให้คลิกเลือกชื่อ Facebook Page ที่ต้องการเปิดร้านค้า และคลิกปุ่ม Add Page Tab

4.. ระบบจะแสดงผลว่าทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกลิงค์ กลับสู่หน้า Facebook Setting


และหากไปที่ Facebook Page จะมี Tab ของ Facebook App “เข้าสู่ร้านค้าปรากฎขึ้น


เมื่อ Click เข้าไปที่ Tab “เข้าสู่ร้านค้าจะเป็นการเข้าสู่ ร้านค้าบน Facebook Page ซึ่งจะแสดงผลดังภาพ


5. เมื่อย้อนกลับมาที่หน้า ร้านค้า Facebook ในส่วนจัดการเว็บไซต์ จะปรากฎข้อมูล ดังภาพ


โดยแอดมินสามารถแก้ไขและตั้งค่าการแสดงผลของร้านค้า Facebook เพิ่มเติม ได้ที่ส่วนจัดการ ดังนี้
5.1. Fanpage URL/ID : จะแสดง Facebook Page ID ที่ได้ติดตั้งไว้ กับปุ่ม แก้ไข เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูล และ ปุ่ม ยกเลิกการใช้งาน เพื่อปิดการใช้งานฟังก์ชั่นFacebook E-Commerce
5.2. เลือก Category ที่ต้องการแสดงที่หน้า Facebook App : โดยปกติเมื่อเชื่อมต่อกับ Facebook Page เสร็จแล้ว ระบบจะเลือก Category หรือหมวดหมู่สินค้าลำดับแรกสุดจากระบบร้านค้าออนไลน์ ไปแสดงที่หน้านร้านค้าบน Facebook Page ให้อัตโนมัติ ซึ่งท่านสามารถเลือกหมวดสินค้าอื่น ๆ จากหัวข้อนี้ไปแสดงผลได้ตามต้องการ


ในกรณีที่หมวดหมู่สินค้าที่เลือกไปแสดงผลบนร้านค้า Facebook มีหมวดหมู่ย่อยอยู่ภายใต้หมวดหมู่หลัก ดังภาพตัวอย่าง


เมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่ปุ่ม Home จะปรากฎตัวเลือกหมวดหมู่สินค้าย่อยภายใต้หมวดหมู่หลัก ที่หน้าร้านค้าบน Facebook Page ด้วย

 
5.3. รูปภาพส่วนหัว : โดยปกติเมื่อติดตั้ง URL Facebook Page เสร็จ ระบบจะเลือกนำรูปภาพส่วนหัวแบบเดียวกับเว็บไซต์ไปแสดงผลที่หน้าร้านค้า Facebook อัตโนมัติ ดังรูป
ตัวอย่างการแสดงผลภาพส่วนหัวบนหน้าเว็บไซต์

ตัวอย่างการแสดงผลภาพส่วนหัวในร้านค้าบน Facebook Fanpage

นอกจากนี้  เว็บมาสเตอร์สามารถอัพโหลดรูปภาพส่วนหัวที่จะแสดงผลในหน้าร้านค้าบน Facebook Page เป็นภาพอื่นๆ แทนได้  โดยรองรับรูปภาพนามสกุล .jpg, .png, .gif รวมถึงไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบ Flash Animation นามสกุล .swfและขนาดของ File ที่แนะนำคือ 800x200 pixels โดยมีขั้นตอนการอัพโหลดดังนี้
 - เลือก ใช้รูปภาพส่วนหัวใหม่
 - คลิกปุ่ม เลือกไฟล์
 - ปรากฎหน้าต่าง Openเลือกไฟล์รูปภาพส่วนหัวที่ต้องการจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน
 - คลิกปุ่ม Open”
 - คลิกปุ่ม ตกลงเพื่อบันทึก

ตัวอย่างการแสดงผลภาพส่วนหัวแบบอัพโหลดภาพใหม่ในร้านค้าบน Facebook Page

ตัวอย่างการทำงานของระบบร้านค้า Facebook E-Commerce
 - การคลิกปุ่มสั่งซื้อ : เมื่อผู้เข้าชมเข้าสู่ร้านค้าบน Facebook Page จะสามารถคลิกที่รูปสินค้าเพื่อดูรายละเอียดทั้งหมดของสินค้าชิ้นนั้น  และสามารถคลิกปุ่ม สั่งซื้อสินค้า บนหน้าร้านค้า Facebook Page ได้ ดังรูป

ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าชิ้นดังกล่าว จะถูกเพิ่มเข้าสู่ ระบบตะกร้าสินค้า ในร้านค้าออนไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถกลับไปสั่งซื้อสินค้าเพิ่มได้ จากหน้าร้านค้าบน Facebook Fanpage  และดำเนินการตามขั้นตอนการสั่งซื้อ คือ กรอกข้อมูลผู้สั่งซื้อ และเลือกวิธีชำระเงิน ไปจนจบขั้นตอนการสั่งซื้อของระบบตะกร้าสินค้าได้ตามปกติ

หมายเหตุ : สินค้าที่มีการกำหนดราคาพิเศษสำหรับสมาชิกไว้ และถูกเลือกไปแสดงผลบนหน้าร้านค้าบน Facebook Fanpage หากผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์และมีการล็อกอินเข้าสู่ระบบสมาชิก (Member Login) ค้างไว้และคลิกสั่งซื้อสินค้าชิ้นดังกล่าว  ผู้สั่งซื้อจะสามารถซื้อได้ในราคาพิเศษของสมาชิกเหมือนกับการสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บไซต์โดยตรงตามปกติ



- การคลิกปุ่มติดต่อกลับ : เมื่อผู้เข้าชมเข้าสู่ร้านค้าบน Facebook Page จะสามารถคลิกที่รูปสินค้าเพื่อดูรายละเอียดทั้งหมดของสินค้าชิ้นนั้น  และสามารถ คลิกปุ่ม ติดต่อกลับ ที่สินค้าบนหน้าร้านค้า Facebook Page ได้ ดังรูป

จะเข้าสู่หน้ารายละเอียดสินค้าชิ้นนั้น ๆ ที่เว็บไซต์จริง ซึ่งจะมีแบบฟอร์มติดต่อกลับอิสระในหน้ารายละเอียดสินค้าที่เว็บมาสเตอร์ได้เลือกใช้ไว้ เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่สนใจสินค้าสามารถกรอกรายละเอียดได้ ดังรูป


 วิธียกเลิกการเชื่อมต่อเว็บไซต์และร้านค้าบน Facebook
ในกรณีที่ต้องการยกเลิกการเชื่อมต่อฟังก์ชัน Facebook บนเว็บไซต์ระบบ VelaClassicและไม่ต้องการให้แสดงผลแท็บร้านค้าบน Facebook Page นั้น คุณสามารถทำการยกเลิกได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ล็อกอินเข้าสู่ส่วนจัดการเว็บไซต์ เข้ามาที่เมนู "ระบบเสริม" และคลิกเมนู "Facebook" จากนั้นคลิกปุ่ม "ยกเลิกการใช้งาน" ที่หัวข้อ Fanpage URL/ID

2. จากนั้น คุณต้องปิดการแสดงผลแอพ "เข้าสู่ร้านค้า" บน Facebook Page ของคุณ โดยล็อกอินเข้าจัดการ Page แล้วไปที่เมนู "More" และคลิก "Manage Tabs"

3. จะปรากฎหน้าต่าง Manage Tabs ให้คลิกที่ลิงค์ "Add or Remove Tabs"

4. และคลิกสัญลักษณ์กากบาท ที่ด้านขวาของ Apps ร้านค้า และกด "Yes" เพื่อยืนยันการลบในหน้าต่าง Remove App ได้เลยค่ะ

เพียงเท่านี้ การยกเลิกการเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์และร้านค้า Facebook ก็จะเสร็จสมบูรณ์

ที่มา : http://manual-velaclassic-th.readyplanet.com/Facebook-E-Commerce

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น