โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้วิธีการoutsource


โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้วิธีการoutsourceนั้น บ่อยครั้งที่หลายโครงการมักจะประสบกับปัญหาต่าง ๆ เช่น
ระบบที่ได้มานั้นไม่สอดคล้องหรือสามารถตอบสนองกับความต้องการได้ตามที่กำหนด
งบประมาณเกินวงเงินที่กำหนดไว้ แต่งานก็ยังไม่เสร็จ
การพัฒนาระบบมีความล่าช้าไปจากแผนงาน
บริษัทผู้รับจ้างไม่มีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบเฉพาะตามที่ต้องการ
การบริหารการจัดซื้อจัดจ้างจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร

การ Outsourcingมีได้หลายความหมาย การว่าจ้างให้คนภายนอกพัฒนาระบบงานให้ก็เป็นการ Outsource  แต่ในปัจจุบัน นิยมหมายถึง การให้บริษัทมารับเหมางานด้านไอซีทีไปหมด ตั้งแต่การพัฒนาระบบ การจัดหาอุปกรณ์มาใช้ รวมไปถึงการปฏิบัติการระบบให้ด้วยคนของบริษัทเอง
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการใช้วิธีการoutsource ได้แก่
1.      ความจำเป็นของระบบต่อการดำเนินงานขององค์กร
·       ระบบที่มีความต้องการรีบด่วน
·       ระบบที่ไม่เกี่ยวกับระบบอื่นในองค์กร
·       ระบบที่มีมาตรฐานสูง
·       ระบบที่จะพัฒนานั้นไม่ใช่เพื่อการทำงานหลักที่สำคัญที่สุดขององค์กร
2.      ผลกระทบของการใช้งานระบบต่อการแข่งขันขององค์กร
·       เมื่อต้องการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ธุรกิจไม่มีความสามารถด้านนี้
3.      ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรด้าน IT ขององค์กร

ข้อดีและข้อเสียของ Outsourcing
                   ข้อดี
                 ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศลดลง
                 ได้รับคุณภาพของบริการตามที่ต้องการ
                 มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ใช้
                 ทำให้สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายได้
                 ลดเวลาของคนในองค์กรที่จะต้องไปทำงานด้านระบบสารสนเทศ
                 ได้ความรู้ความชำนาญจากภายนอก
                 ทำให้ผู้บริหารสามารถมุ่งความสนใจไปในเรื่องที่เน้นกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น
                 ประหยัดงบประมาณ และกำลังคน
                 ได้บริการที่มีคุณภาพ
                 กำหนดและพยากรณ์งานที่ต้องการได้ง่าย
                 ทำให้ต้นทุนคงที่ กลายเป็น ต้นทุนแปรผัน
                   ข้อเสีย
                 สูญเสียการควบคุม เพราะการควบคุมการทำงานของระบบสารสนเทศอยู่ที่บริษัทภายนอก
                 ทำให้ต้องพึ่งพาบริษัทภายนอกในการจัดการระบบสารสนเทศ
                 อาจเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญ
                 ความล้าสมัยในความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรภายใน
                   ปัญหา
                 ควบคุมการปฏิบัติงานไม่ได้ ?
                 ข้อมูลสำคัญอาจรั่วไหล ?
                 ไม่มีความเป็นอิสระ ต้องพึ่งบริษัทตลอดเวลา ?
                 ขาดความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนระบบ ?
                 ไม่มีโอกาสพัฒนาคนของหน่วยงาน?
ความล้มเหลวของ Outsourcing
                   ผู้บริหารไม่เข้าใจในเทคโนโลยีที่จะต้องบริหารว่า มีผลต่อองค์กร อย่างไร ข้อจำกัดเป็นอย่างไร
                   องค์กรไม่สามารถระบุความต้องการที่แท้จริงได้
                   องค์กรไม่มีความสามารถในการหาแหล่ง Outsource
                   องค์กรไม่มีความสามารถในการเจรจาต่อรองกับ Outsourcer
                   องค์กรไม่มีความสามารถในการประสานงานกับ Outsourcer
ขั้นตอนในการ Outsourcing
                   จัดตั้งคณะทำงานกับแหล่ง Outsource
                   ระบุข้อกำหนดความต้องการใช้บริการที่แท้จริง
                   ดำเนินการจัดทำเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ
                   ประเมินข้อเสนอ
                   ประเมินผู้เสนอให้บริการ
                   เจรจาต่อรองในการทำสัญญา โดยในสัญญาควรพิจารณาในเรื่องที่สำคัญ คือ ระยะเวลาของสัญญา วิธีการวัดผลงาน (ปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลาการนำส่ง) และการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเปลี่ยนแปลง
การบริหารการจัดซื้อจัดจ้างจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยมีแนวทางการปฎิบัติดังต่อไปนี้
1.ควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรว่าเป็นอย่างไร เช่น หากต้องการลดต้นทุน ต้องการควบคุมกำลังคนประจำของบริษัทฯหรือต้องการงานเพิ่มเฉพาะเรื่องหนึ่งๆเท่านั้น
2.ควรหลีกเลี่ยงพนักงาน outsource ในงานที่เกี่ยวกับความลับและเทคโนโลยีที่สำคัญขององค์กร งานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรืองานที่อาจก่อผลกระทบต่อกิจการของบริษัทฯได้มาก
3.ต้องเลือกบริษัทที่มี outsource ที่มีความรับผิดชอบสูง เช่น ไม่เอาเปรียบลูกจ้างของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจ่ายค่าแรงพนักงานต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ การไม่จ่ายค่าแรงในวันลาป่วย/วันหยุดประเพณี  ไม่มีประกันสังคม ไม่มีเงินกองทุนทดแทน ไม่มีวันหยุดประจำปี ซึ่งเหล่านี้จะทำให้ส่งลูกจ้างเข้ามาทำงานในองค์กรไม่มีคุณภาพ ขวัญกำลังใจต่ำ มีการลาออก เข้า- ออกงานสูง
4.ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการใช่พนักงาน outsource กี่เปอร์เซ็นต์ ใช้ในงานด้านไหนบ้าง ทั้งนี้เพื่อที่พนักงานของบริษัทฯรู้สึกชัดเจนในนโยบายของบริษัทฯว่าจำเป็นต้องใช้ outsource ในงานอะไรบ้าง เพราะอะไร ขอบเขตงานแค่ไหน ความชัดเจนนี้จะไม่ทำให้พนักงานรู้สึกถูกคุกคาม
5.Outsource ก็เปรียบเสมือนพนักงานในทีมคนหนึ่งของเราที่เราต้องให้ความดูแล ทั้งการปรึกษาและร่วมแชร์ไอเดียต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางการทำงานและจุดมุ่งหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ โดยหมั่นติดตามผลการทำงานเป็นระยะๆ ไม่ควรทิ้งให้ outsource ทำงานเพียงลำพังตั้งแต่ต้นจนจบ แม้ว่าเราแจ้งจุดมุ่งหมายให้แก่ outsource เข้าใจแล้วก็ตาม เพื่อว่าหากเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมากลางคัน จะได้ช่วยกันแก้ไข้ได้ทันท่วงที
6.ผู้ให้บริการ (Outsourcer) ควรเป็นบริษัทที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ในการให้บริการด้าน Outsource ที่เป็นมาตรฐานสากล
7.ควรกำหนดเกณฑ์วัดผลต่างๆ หรือ KPI (Key Performance Indicator) ไว้ตั้งแต่เริ่มจ้างงาน และระบุลงในสัญญาจ้างให้ชัดเจน เช่น การวัดเวลาดำเนินการ หากงานเสร็จช้ากว่ากำหนดจะมีค่าปรับ หากผลงานหรือผลตอบรับจากลูกค้าไม่ดีอย่างที๋โฆษณาไว้ต้องมีการแก้งานหรือยืด เวลาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
8.หรือถ้า Outsource ทำผลงานออกมาดีมาก ประสบผลสำเร็จมาก อาจจะมีค่าตอบแทนพิเศษให้ และเมื่อ outsource ทำงานไประยะหนึ่งก็ควรมีการประเมินผลงานและปรับเกณฑ์การวัดผลการวัดผลการ ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพของ outsource นั้นๆ หากเกณฑ์สูงเกินกว่าจะเป็นจริงได้ก็อาจจะปรับลดลงมา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ outsource รู้สึกกระตือรือร้นที่จะทำเป้าให้สำเร็จได้มากขึ้น     
      
แหล่งที่มา : 
1.www.lib.ru.ac.th/knowledge/p_jitpanich/INT1005/INT1005_6_step_10_11_55.ppt
2.http://www.whoknown.com
3.thailocal.nso.go.th/nso-cms/itdevelop.html?start=3

4. staff.informatics.buu.ac.th/~wichai/321450Course/Download/M12-SD.ppt

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น