พรบ.คอมพิวเตอร์ปี 50 (
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 )
เริ่มบังคับใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2550
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี “ระบบคอมพิวเตอร์”
เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้
เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต
โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ
เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด
หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย
การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่
โดยสรุปแล้ว
ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา
และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน
ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.
· การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
· การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
· การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
· การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
· การทําให้เสียหาย
ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
· การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
· การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด
· การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่น
· การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล
ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน
พ.ร.บ.
1. ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์
2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า
ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่”
หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์
(Host Service Provider)
- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application
ต่างๆที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ
web board หรือweb service เป็นต้น
ข้อมูลของผู้ใช้บริการ
ผู้ให้บริการทังทีเสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม
ต้องเก็บข้อมูลเท่าทีจําเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้
ไม่ว่าจะเป็นชื่อนามสกุล เลขประจําตัวประชาชน USERNAME
หรือ PIN CODE ไว้ ไม่น้อยกว่า 90
วันนับตังแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงหากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง
50,000 บาทรวมถึงเว็บบอร์ดทัง้หลาย
ซึงมีผู้มาโพสเป็นจํานวนร้อย -พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแลโฮสติ้งหรือผู้ทําอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจเสี่ยงต่อการระมัดระวังข้อความเหล่านั้น
พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตังใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน
และที่สําคัญ
คือผู้ให้บริการซึงรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน
นิสิต นักศึกษาในองค์กรผู้รับผิดชอบมีหน้าทีดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ
"ผู้ให้บริการ"
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิ่งต่อไปนี้เพราะอาจจะทําให้
“เกิดการกระทำความผิด"
1. ไม่ควรบอก
passwordแก่ผู้อื่น
2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนทีเพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
3. อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือทีทํางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
4. อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser
ID และ password ทีไม่ใช่ของท่านเอง
5. อย่านํา user
ID และ passwordของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
6. อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวทีผิดกฎหมาย
7. อย่า กด
"remember me"หรือ "remember
password"ทีเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่า log-in เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินทีเครื่องสาธารณะ
8. อย่าใช้ WiFi
(Wireless LAN)ทีเปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
ความผิดอาญาตามพ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์
มาตรา 5
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ :
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 6
การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง :
ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 7
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ :
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 8
การดักข้อมูลโดยมิชอบ :
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 9
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ :
ผู้ใดทำให้เสียหาย
ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 10 รบกวน ขัดขวาง
ระบบคอมพิวเตอร์ :
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ
เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน
จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 11 สแปมเมล์ (Spam
mail) :
ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าวอันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข
ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 12 การกระทำความผิดต่อประชาชนโดยทั่วไป/ความมั่นคง
:
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา
9 หรือมาตรา 10
1. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที
หรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิด
ขึ้นพร้อมกัน หรือไม่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
2. เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
ความปลอดภัยสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 13
การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด :
ผู้ใดจำหน่าย หรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง
ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 ม าตรา 10 หรือมาตรา 11
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 14
นำเข้า/ปลอม/เท็จ/ภัยมั่นคง/ลามก/ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ :
ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
3. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
4. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด
ๆที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้า ถึงได้
5. เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์
โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
มาตรา 15
ความรับผิดของผู้ให้บริการ :
ผู้ใดให้บริการ
ผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา14
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา
14
มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพ
ตัดต่อ/ดัดแปลง :
ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น
ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หรือวิธีการอื่นใดทั้งนี้
โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น
ถูกเกลียดชัง
หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต
ผู้กระทำไม่มีความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
· ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตามเสียก่อนร้องทุกข์ให้บิดา
มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
ความผิดอื่นใดอาจไม่ได้รับโทษตาม พ.ร.บ. นี้
เพียงอย่างเดียวต้องดูองค์ประกอบ และกฎหมายฉบับอื่นประกอบด้วยเช่น พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์, พ.ร.บ.
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ความผิดทางแพ่ง, อาญา
ส่วนมาตรา 17
พูดถึงขอบข่ายการคุ้มครองของกฏหมายนี้ว่า...แม้จะเป็นเว็บต่างประเทศ
ไม่ใช่เว็บไทย แต่ถ้าเป็นคนไทยโพส
....ไม่ว่าอยู่ที่ไหนในโลก สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้!!!หรือชาวต่างประเทศทำผิด
ถึงแม้จะอยู่ต่างประเทศก็สามารถฟ้องเอาผิดได้เช่นกัน!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น