การที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การค้าในตลาดอาเซียน การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะต้องปรับตัวในเรื่องใดบ้าง


การที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การค้าในตลาดอาเซียน การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะต้องปรับตัวในเรื่องใดบ้าง 
           การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการตลาด E-Commerce ในอาเซียนหรือกลุ่ม AEC มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจ การบริหาร การจัดการ เมื่อเข้าสู่ AEC แล้ว สำหรับประเทศไทยและหน่วยงานธุรกิจจะต้องทำงานค้าขายร่วมกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงจะต้องปรับตัวในเรื่องต่างๆเพื่อรองรับการค้าละการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นดังนี้
1.การส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดอาเซียน
ทำได้โดยการสำรวจความต้องการสินค้าประเภทต่างๆของสมาชิกอาเซียน โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในอาเซียน การจัดคณะผู้แทนการค้าในกลุ่มสินค้าเป้าหมายเยือนประเทศในกลุ่มอาเซียน การเชิญคณะผู้แทนการค้าอาเซียนมาไทย การจัดงานแสดงสินค้าไทย Thailand Exhibitions/Outlets โดยมุ่งเน้นสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค : ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า สินค้าอาหาร : สิงคโปร์ มาเลเซีย สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องหนัง) : สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ยาง : เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย เครื่องใช้ในบ้านของตกแต่งบ้าน : อินโดนีเซีย มาเลเซีย เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/เครื่องปรับอากาศและท้าความเย็น : ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้นโดยที่พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา

จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาและผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดอาเซียน ให้ดีและมีคุณภาพตรงตามความต้องการควบคู่กับการพัฒนาทางเทคโนโลยีทุกๆด้านทั้งทางด้านการผลิต การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมและการขนส่ง เพื่อรองรับกระบวนการทางการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการตลาด E-Commerceต่อไป

2. ด้านภาษา
ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนแต่ละประเทศมีประวัติความเป็นมาในการพัฒนาการศึกษาให้แก่ประชาชนเพื่อมีคุณลักษณะและสมรรถนะที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเจริญรุดหน้าแตกต่างกัน ประเทศที่มีความโดดเด่นในระดับสากล มีดัชนีชี้วัดที่ชัดเจนในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งดัชนีจัดลำดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งแม้จะเป็นประเทศที่มีความสามารถนำพาประชาชนให้มีความสามารถและทักษะทางภาษาอังกฤษเทียบเท่ากับประเทศที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (English as a Native Language) สิงคโปร์ยังมุ่งหน้าพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้แก่ประชาชนของประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน โดยได้บรรจุเป้าหมายด้านภาษาอังกฤษให้เป็นนโยบายของประเทศ ซึ่งสิงคโปร์พัฒนาให้เป็นนโยบายการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ 2 ภาษา (Bilingual Education Policy) ซึ่งกำหนดให้การเรียนการสอนต้องดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษ (English as the first language of instruction) แม้ว่าบริบทโดยรวมของประเทศจะเป็นแบบผสมผสานทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ และภาษา ประกอบด้วย เชื้อสายมาเลย์ จีน และอินเดีย และสิงคโปร์มีภาษาทางการ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง (Mandarin) ภาษามาเลย์ และภาษาทมิฬ
อีกประเทศหนึ่ง ได้แก่ มาเลเซีย มีนโยบายแห่งชาติเรื่องภาษาอังกฤษ โดยบรรจุให้เน้นการสอนภาษาอังกฤษ (English Language Teaching–ELT) ซึ่งผลักดันให้ทั้งประเทศปรับเปลี่ยนมาใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นสื่อในการดำเนินการเรียนการสอนแทนภาษาประจำชาติเดิม ซึ่งได้แก่ Bahasa Malaysia ทั้งนี้ เพื่อผลักดันความก้าวหน้าของประเทศตามเป้าหมายโครงการ "Vision 2020” ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) ซึ่งมาเลเซียได้วิเคราะห์ว่าทักษะและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้โครงการตามแนวคิด Vision 2020 ประสบความสำเร็จได้ แม้ว่าในอดีตยาวนานที่ผ่านมามาเลเซียมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องภาษา Bahasa Malaysia ให้เป็นภาษากลางอย่างเป็นทางการเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศอีกด้วย มาเลเซียได้เริ่มผลักดันให้ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อดำเนินการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและมีแนวทางพัฒนาให้ต่อยอดไปสู่ระดับอุดมศึกษาต่อไปอย่างแน่นอน
            ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนทั้งหมดจึงต้องตื่นตัวในการสร้างประชาชนที่มีทักษะและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษ เพื่อให้ประเทศเป็นสมาชิกที่มีศักยภาพส่งเสริมความแข็งแกร่งของประชาคมอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลกต่อไป 

สำหรับภาษาอังกฤษ ของชั้นฝีมือแรงงานของไทยเรา จะต้องพัฒนามากกว่านี้ เช่นอาชีพบริการ ซึ่งต้องพูดภาษาอังกฤษได้ เพื่อความสะดวกในการสื่อสารกับชาวต่างชาติเช่นที่พักตามแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงร้านค้าและร้านอาหารต่างๆซึ่ง ชาวต่างชาติแต่ละวันจะเยอะมาก พนักงานประจำร้านทุกคนจึงต้องใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ หรืออย่างอาชีพวิศวกร ยิ่งสำคัญมากกว่าเดิม เพราะเป็นอาชีพใน 7 อาชีพที่ที่ตกลงทำ MRA (Mutual RecongitionArrangment) ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะต้องสื่อสารสื่อสารกับผู้ว่าจ้างและส่วนงานอื่นๆได้
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์เช่นการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ทุกเว็บไซด์ที่เปิดการค้าผ่าน E-commerce อย่างหนึ่งที่ต้องมีคือ เมนูหน้าเว็บไซด์ อย่างน้อยต้องมีการแสดงผลได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หากมีภาษาอื่นๆในอาเซียนด้วยย่อมจะเป็นข้อได้เปรียบยิ่งขึ้นไปอีกยิ่งไปกว่านั้น พนักงานในร้าน หรือตัวแทนจำหน่ายต่างๆ จะต้องมีคนที่จะสามารถพูด ติดต่อสื่อสารทั้งทางวาจา หรือผ่าน E-mail ต่างๆได้เป็นอย่างดีเพื่อเป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมการขายซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถขยายโอกาสให้เจริญเติบโตต่อไปได้อีก
อ้างอิงที่มา:
http://www.whoknown.com/2014/03/blog-post_4.html
http://www.thai-aec.com/

http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=5895&filename=index

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น