การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketing)

ความหมายของ E-Marketing :
                การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketing)
หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจการทางการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย
                เป็นกิจกรรมที่เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง และกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถติดต่อกับผู้บริโภคได้ทั่วโลกและตลอดเวลาผ่านช่องทางนี้


ลักษณะพิเศษของการค้า E-Marketing :
ลูกค้าเป็น Niche Market คือ เป็นตลาดเฉพาะ เจาะจง
เป็นการแบ่งส่วนตลาดเชิงพฤติกรรม
เป็นการค้า การตลาดแบบตัวต่อตัว
ลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลก
ผู้ขายเปิดร้านขายได้ตลอดเวลา
ข้อมูลของสินค้าและบริการเป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
เป็นกิจกรรมทางการตลาดแบบผสม
เป็นการสื่อสาร 2 ทาง
เป็นการดำเนินธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำ
สินค้าบางประเภทจะถูกจัดส่งให้ลูกค้าได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว



ความแตกต่างกันระหว่าง E-Marketing, E-Business และ E-Commerce

  E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะหมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  เน้นที่การ ขาย” เป็นหลัก
  ตัวอย่างเช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ทางโทรทัศน์ทางวิทยุหรือแม้แต่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  ความเป็นจริงคำว่า E-Commerce จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า E-Business โดยคำว่า E-Business จะเป็นคำที่มีความหมายที่กว้างกว่าคำว่า E-Commerce
E-Marketing นั้นคือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้ง การทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทาง คอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process) แทน รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ ดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย กว่าเพียงเท่านั้น
ที่มา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น