ข้อแตกต่างระหว่างการทำ CRM และ Social CRM

ข้อแตกต่างระหว่างการทำ CRM และ Social CRM

ภาพจาก socialmediaexaminer
ใครที่ต้องทำ
ในการทำ Social CRM นั้น องค์กรเองจะต้องสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์มากขึ้น องค์กรใดที่ยังยึดติดอยู่กับการสื่อสารกับลูกค้าด้วยรูปแบบเดิมๆ เช่นโทรศัพท์ อีเมล อาจจะมีอุปสรรคต่อความสำเร็จนี้ องค์กรจะต้องพิจารณาว่า Social Media เป็นเครื่องมือในการสื่อสารใหม่กับลูกค้า และจะต้องให้ความสำคัญกับ Social Media มีการอบรมพนักงานทุกคนให้มีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ สร้างความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ ในฐานะตัวแทนขององค์กร ไม่ใช่หน้าที่ของแผนกใดแผนกหนึ่งอีกต่อไป
ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
สำหรับ Social CRM จะมีลูกค้าเป็นผู้กำหนดรูปแบบและแนวทาง เป็นการรับข้อมูลจากลูกค้า และนำมาปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอีกที โดยมีการสื่อสารกับลูกค้าได้ตลอดเวลาผ่านหลายๆ ช่องทาง ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงองค์กรได้สะดวกในทุกช่วงเวลา ในขณะที่การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าในแบบเดิมมีข้อจำกัดมากกว่า เนื่องจากทางองค์กรเป็นผู้กำหนดแนวทางการทำงานตั้งแต่ต้น การทำงานทุกอย่างล้วนเป็นลำดับขั้นตอน มีการทำงานเฉพาะในช่วงเวลาทำงาน และจะมีการติดต่อกับลูกค้าได้ก็ต่อเมื่อมีการทำธุรกิจหรือมีการซื้อขายกันก่อนเท่านั้น จะเห็นว่าข้อเสียเปรียบอย่างชัดเจนของการบริหารสัมพันธ์กับลูกค้าแบบเดิม คือเป็นการสื่อสารทางเดียวจากองค์กรออกสู่ลูกค้าในช่วงเวลาที่จำกัด แตกต่างจาก Social CRM ที่เน้นการรับฟังเสียงจากลูกค้า ซึ่งช่วยให้องค์กรทราบถึงผลตอบรับจากลูกค้า อันเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสินค้าและบริการได้ทันท่วงที

ภาพจาก socialmediaexaminer
นอกจากนี้ เนื่องจากลูกค้าเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์ในสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปากหรือที่เรียกว่า Viral Marketing เกิดการบอกต่อกันไปว่าสินค้าหรือบริการใดดีหรือไม่ดี จากคนไม่กี่คนสามารถกลายเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ทำให้เสียงของปัจเจกชนจากเดิมที่เป็นเสียงเล็กๆ กลายเป็นเสียงใหญ่ที่ทางองค์กรต้องฟัง ซึ่งข้อมูลหรือผลตอบรับนี้ หากองค์กรใดยังใช้สื่อเดิม (Traditional Media) อย่างโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ที่พูดอยู่ข้างเดียวผลลัพธ์ของการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ย่อมช้ากว่าการใช้สื่อแบบใหม่ที่เน้นการแบ่งปัน (share) อย่างแน่นอน
จะเห็นว่าการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าบนสังคมออนไลน์ ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทเข้ามาเป็นส่วนเสริมให้กับการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบดั้งเดิม ทำให้เกิดการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คราวนี้ก็ได้เวลาถามตัวเองแล้วล่ะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเริ่มการทำ Social CRM กับธุรกิจของเรา

สำหรับหลักการการใช้กลยุทธ์ CRM (Customer Relationship Management) หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่ากลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ามีวิธีการดังต่อไปนี้
CRM จะไม่มีทางแจ้งเกิดและประสบความสำเร็จได้เลยตราบใดที่พนักงานอันเป็นสมาชิกภายในองค์กรธุรกิจไม่มีจิตสำนึกถึงความสำคัญและหัวใจของงานบริการลูกค้า ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องถ่ายทอดและปลูกฝังให้มดงานของคุณมองเห็นและเข้าใจว่าลูกค้าคือคนสำคัญของธุรกิจ และความต้องการสูงสุดของพวกเขาคือเป้าหมายในการทำงานในวันนี้ ซึ่งหากพนักงานในองค์กรเข้าใจและตระหนักถึงความมสำคัญของลูกค้าแล้ว นั่นจะถือเป็นการประสบความสำเร็จในขั้นแรกของการนับหนึ่งในการเริ่มสร้างกลยุทธ์ CRM ในทางปฏิบัติ
เมื่อพนักงานเข้าใจความสำคัญของลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าทั้งข้อมูลทางกายภาพ อาทิ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา หน้าที่การงาน ภูมิลำเนา เงินเดือน ระดับสังคม ฯลฯ และข้อมูลด้านอื่นๆที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความต้องการในการใช้สินค้า ความถี่ในการซื้อ ทัศนคติ ฯลฯ ซึ่งการรวบรวมข้อมูลนี้มีความสำคัญมากและอาจจะมีส่วนในการตัดสินความสำเร็จของการทำกลยุทธ์ CRM ด้วย โดยขอแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้ช่องทางให้หลากหลายมากที่สุดในการเก็บข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การรับฟังความคิดเห็นทั้งแบบลงกล่องและแบบแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ การเปิดคู่สาย Call Center เป็นต้น ซึ่งหากยิ่งรวบรวมข้อมูลได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับการทำธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อได้ข้อมูลจากการเก็บรวบรวมในขั้นที่ 2 มาแล้ว ข้อมูลที่ได้มาดังกล่าวจะยังไม่สามารถนำเอามาใช้จริงได้ในทางธุรกิจเพราะยังถือว่าเป็นข้อมูลดิบอยู่ ผู้ประกอบการจะต้องรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเพื่อเอามาประมวลผลและพิจารณาอย่างละเอียดว่าลูกค้าต้องการอะไรจากสินค้าในท้องตลาด และรูปแบบผลิตภัณฑ์ลักษณะไหนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้ ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้เสร็จ ก็จะได้คำตอบว่าควรที่จะสร้างผลิตภัณฑ์และบริการแบบไหนจึงจะเหมาะสมและสามารถเอาชนะใจลูกค้าได้ในท้ายที่สุด
เป็นเรื่องที่มักพบข้อผิดพลาดเป็นจำนวนมากสำหรับเรื่องการเก็บรักษาข้อมูล เพราะผู้ประกอบการและองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่วิธีการให้ได้มามากกว่าการเก็บรักษาตามนิสัยของคนไทย ดังนั้นเมื่อคุณได้ข้อมูลมาแล้วจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวให้ดีด้วยเพื่อความสะดวกในการดึงมาเรียกใช้ได้ทันที โดยขอแนะนำให้ผู้ประกอบการเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสารผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์แทนการเก็บเอกสารในรูปของข้อมูลในแผ่นกระดาษ เพราะมีโอกาสสูงมากที่สูญหาย นอกจากนี้การจัดตั้งบุคคลากรขึ้นมารับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะยังถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกด้วย
เมื่อผู้ประกอบการได้รับทราบความต้องการของลูกค้าที่ได้มาจากกลยุทธ์ CRM แล้ว ก็มาถึงในส่วนขั้นตอนการปฏิบัติที่ผู้ประกอบการจะต้องสร้างแผนทางธุรกิจให้มีความสามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของลูกค้าได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคุณภาพ รสชาติ ราคา ขนาด งานบริการหลังการขาย ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งแผนธุรกิจที่ดีจะต้องเป็นอะไรที่มีความสมบูรณ์แบบในตัวเองและเป็นคำตอบพร้อมตัวเลือกอันดับแรกในใจลูกค้าเสมอ
ผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่าความต้องการของลูกค้าในวันนี้มักจะไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในวันหน้าเสมอไป เพราะเวลาที่เปลี่ยนแปลงมักจะทำให้ความคิด ทัศนคติ รวมถึงความต้องการเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องหมั่นตรวจสอบเพื่อประเมินผลและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อมยึดพื้นที่ส่วนแบ่งทางการตลาดให้ยาวนานถาวร
CRM เป็นกลยุทธ์ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ความคงเส้นคงวาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนจำเป็นจะต้องมีหากคิดจะใช้กลยุทธ์นี้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งความสมบูรณ์ของ CRM มักจะเป็นตัวการันตีความสำเร็จของการประกอบธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี ตราบใดที่คำกล่าวที่ว่าลูกค้าคือพระเจ้ายังไม่ได้ถูกทดแทนด้วยสิ่งอื่นใดในโลกนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น